ไม่ใช่เป็นการซ้ำเติมนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย แต่เราจำเป็นจะต้องวิจารณ์การบริหารจัดการวิกฤตภัยน้ำท่วมเธออย่างจริงจังและระมัดระวัง ภัยน้ำท่วมถึงวันนี้ได้สร้างความเสียหายมากกว่าแสนล้านบาทแล้ว
เมื่อใครคนหนึ่งอาสาประชาชนเข้ามาบริหารประเทศ ย่อมที่จะต้องตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงถูกวิจารณ์อย่างแน่นอน มากน้อยขึ้นอยู่กับพฤติกรรม ความถูกต้องชอบธรรมและชั่วดีของคนนั้น รวมทั้งการบริหารให้ประเทศชาติรอดปลอดภัยจากภัยทั้งปวง หรืออย่างน้อยก็ควบคุมมิให้ภัยนั้นขยายตัวสร้างความล่มจมทั้งชาติ
ภัยธรรมชาติเป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงลงได้ หรือลดความรุนแรงได้
น้ำท่วมเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มวลมนุษย์ทั้งโลกเผชิญอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะจากการตัดไม้ทำลายป่า และการสร้างภาวะโลกร้อนของมนุษย์เอง
ประเทศไทยมีที่ตั้งอยู่ติดกับทะเล ซึ่งเป็นความโชคดีในด้านการขนส่งทางทะเล การค้าขาย และการประมง แต่เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่โลกใหม่ เป็นที่ต่ำปากแม่น้ำเจ้าพระยา บางปะกง แม่กลอง และท่าจีน ถูกอิทธิพลจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ ทำให้เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนและกั้นไม่ให้น้ำป่าไหลลงสู่ทะเลได้เร็ว ประกอบกับหลักการทางฟิสิกซ์ของกาลิเลโอ และเซอร์ไอแซก นิวตัน ที่พิสูจน์ว่าสสารทั้งมวลในบรรยากาศจะหล่นหรือไหลลงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ หลักการนี้สร้างปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเรื่องน้ำป่าไหลหลากจากภาคเหนือลงสู่อ่าวไทยเป็นประจำทุกปีหลังฤดูมรสุม ที่พัดพาพายุและฝนเข้าสู่ฝั่งอันเป็นธรรมชาติของภูมิอากาศระหว่างพื้นทวีปกับพื้นทะเล หรือมหาสมุทร
คนไทยรู้จักน้ำป่าไหลหลากมาแต่โบราณกาล และใช้ประโยชน์จากภาวการณ์นี้หลายทาง เช่น ในการเพาะปลูกบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำของภาคกลางเป็นแหล่งดินดีและอุดมสมบูรณ์ น้ำจะพัดพาปุ๋ยธรรมชาติมากลบหน้าดินที่นา และน้ำหลากช่วยขับไล่ศัตรูที่มาล้อมพระนครไว้ กรุงศรีอยุธยารอดพ้นจากการถูกยึดครองหลายครั้ง ก็เพราะน้ำหลากพัดกองทัพพม่าให้แตกย่อยยับล่าถอยไป
คนไทยบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นิยมที่จะปลูกบ้านสูงกว่าระดับน้ำในแม่น้ำหลายวา เพราะเป็นการหนีน้ำท่วม อาศัยการสัญจรทางน้ำเป็นปกตินิสัย กรุงเทพมหานครนั้น เป็นเมืองหลวงที่เผชิญกับภาวะน้ำท่วมมาตลอด แต่อาศัยว่าในอดีตก่อน พ.ศ. 2500 นั้น กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยคลองอันเป็นที่ระบายน้ำ รองรับน้ำที่ไหลบ่าลงมาในช่วงหลังวันออกพรรษาจึงพอค่อยทุเลาจากอุทกภัยรุนแรง
เมื่อความเจริญทางวัตถุแบบตะวันตกเข้าเต็มที่ มีรถยนต์วิ่งแทนที่เรือ คลองถูกถมจนหมดสิ้น เหลืออยู่บ้าง ทำให้ทางน้ำมีจำกัด จึงเกิดน้ำถล่มขึ้นเกือบทุกปี โดยเฉพาะหลังวิกฤตมรสุมที่เปลี่ยนเป็นพายุดีเปรสชันทำให้ฝนตกต่อเนื่องเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน และเหตุนี้ทำให้น้ำท่วม กทม.ปี พ.ศ. 2518, 2521, 2523, 2526, 2529, 2533, 2537, 2538 และ 2549
ในปี พ.ศ. 2538 นั้น พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแนวคิดเรื่อง Flood Way ให้บรรดาวิศวกรชลประทาน และข้าราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหลายได้รับรู้ถึงแนวทางในการป้องกันน้ำท่วม กทม. โดยพระองค์รับสั่งเชิงเปรียบเทียบว่ามีโมเดลที่ควรศึกษาจากต่างประเทศ เช่น นครซานฟรานซิสโก และกรุงลอนดอน เป็นต้น
พระราชดำรัสของในหลวงที่ว่า “ฉันสนใจงานชลประทานมาตั้งแต่ยังเล็ก” เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสนพระทัยเรื่องน้ำเป็นพิเศษของพระองค์ และอาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทานเคยบรรยายว่า “ในหลวงทรงพระราชทานภาพถ่ายดาวเทียม และตารางฝนตกในโลกและในประเทศไทย ให้กับอาจารย์อยู่ตลอดเวลา และหลักการคำนวณการไหลของน้ำของพระองค์เหลือล้ำจริงๆ ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ในการชลประทาน”
ทฤษฎีแก้มลิงของพระองค์ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดอยุธยา ได้แก่ทุ่งบางบาล ทุ่งมหาราช ทุ่งผักไห่ ทุ่งไชโย และทุ่งมะขามหย่อง สามารถใช้ทำแก้มลิงรองรับน้ำเหนือไหลบ่าลงสู่ที่ลุ่มตอนใต้อยุธยาได้ดีและได้พิสูจน์มาแล้ว
ในการป้องกันน้ำท่วม กทม.ปี พ.ศ. 2549 นั้น ในหลวงพระราชทานอนุญาตให้ใช้ทุ่งมะขามหย่อง อันเป็นที่ส่วนพระองค์ทำเป็นแก้มลิง เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้น้ำท่วมที่นาแต่ไม่ท่วม กทม.รุนแรง เป็นการชะลอน้ำป่าและจัดการให้ไหลลงสู่อ่าวไทยได้ตามธรรมชาติ
อย่างไรก็ดี น้ำท่วมระหว่าง 27 สิงหาคม ถึง 16 ตุลาคม 2549 นั้น 46 จังหวัดจมน้ำ ประชาชนเดือดร้อน 2,452,513 คน มีพื้นที่เกษตรเสียหาย 1,806,418 ไร่ แต่ กทม.รอดพ้นจากวิกฤตน้ำท่วมเช่นทุกวันนี้
มีบทความของ ดร.ธงชัย โรจนกนันท์ เรื่อง การเตรียมความพร้อมรับปัญหาน้ำท่วมปี 2549-2550 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2549 ซึ่งให้รายละเอียดเชิงวิเคราะห์ไว้พร้อมมูลสามารถประยุกต์ได้ดีสำหรับปีไหนๆ ก็ได้แต่ปัจจุบันไม่มีใครสนใจ
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ได้แสดงภาพถ่ายดาวเทียมถึงภาวะวิกฤตฝนตกหนักในภาคเหนือและภาคอีสาน และหลังจากนั้นก็เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัดภาคเหนือเป็นสัญญาณเตือนภัยน้ำท่วม
รัฐบาลพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตัง และจัดตั้งรัฐบาลในช่วงที่ภาคเหนือน้ำท่วมแล้ว และเริ่มท่วมภาคเหนือตอนกลางและใต้ แต่รัฐบาลปูแดงไม่ได้ให้ความสนใจจัดลำดับความเร่งด่วนและความสำคัญ
ผลจากการแย่งตำแหน่งกันทำให้รัฐบาลนี้ไม่มีแผนเผชิญเหตุภัยน้ำท่วม และมัวแต่ให้ความสนใจการปรับแผนประชานิยมให้กระชับขึ้น สร้างความแข็งแกร่งในลัทธินี้ให้มากขึ้น และสร้างยุทธศาสตร์นิรโทษกรรมให้กับทักษิณด้วยการหาเรื่องทหาร
ครั้นเมื่อวิกฤตมาถึง รัฐบาลปูแดงก็ขาดเอกภาพในการบริหารจัดการเรื่องภัยน้ำท่วม ไม่มีแผนรองรับ ปราศจากความเด็ดขาดในการจัดการ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรและอะไรก่อน อะไรหลัง
หากรัฐบาลปูแดงได้ศึกษา และสร้างความตระหนักในเรื่องภาวะภัยน้ำท่วมอย่างมืออาชีพแล้ว ภัยและหายนะก็คงไม่เกิดขึ้นกับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ทำให้เศรษฐกิจไทยจะต้องตกต่ำไปอีกนาน เพราะสินค้าส่งออกด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ HONDA ในประเทศไทยเสียหายจากน้ำท่วม ไม่สามารถส่งไปสหรัฐอเมริกาได้ ทำให้ยอดการผลิตรถยนต์ HONDA ในสหรัฐฯ ลดลงครึ่งหนึ่ง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์เสียหายนับแสนล้านเพราะยอดการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะตกต่ำไปหลายปีและอาจสูญเสียเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
ถ้ารัฐบาลนี้ นายกรัฐมนตรีคนนี้ ได้ศึกษาทุ่งมะขามหย่องโมเดลแล้ว ความเสียหายอาจจะไม่ถึงแสนๆ ล้านบาท เพราะชาวนาสามารถปลูกข้าวนาปรังได้ ชาวนายินดีที่จะให้รัฐบาลเช่าที่นาทำแก้มลิง เพราะชาวนาได้กับได้ และไม่ต้องทำนาให้เหนื่อยแต่ได้ค่าเช่านา โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมหลายแห่งก็จะไม่เสียหาย แต่เพราะสมองนายกรัฐมนตรีท่านนี้ถูกน้ำท่วมหมด
เมื่อใครคนหนึ่งอาสาประชาชนเข้ามาบริหารประเทศ ย่อมที่จะต้องตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงถูกวิจารณ์อย่างแน่นอน มากน้อยขึ้นอยู่กับพฤติกรรม ความถูกต้องชอบธรรมและชั่วดีของคนนั้น รวมทั้งการบริหารให้ประเทศชาติรอดปลอดภัยจากภัยทั้งปวง หรืออย่างน้อยก็ควบคุมมิให้ภัยนั้นขยายตัวสร้างความล่มจมทั้งชาติ
ภัยธรรมชาติเป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงลงได้ หรือลดความรุนแรงได้
น้ำท่วมเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มวลมนุษย์ทั้งโลกเผชิญอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะจากการตัดไม้ทำลายป่า และการสร้างภาวะโลกร้อนของมนุษย์เอง
ประเทศไทยมีที่ตั้งอยู่ติดกับทะเล ซึ่งเป็นความโชคดีในด้านการขนส่งทางทะเล การค้าขาย และการประมง แต่เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่โลกใหม่ เป็นที่ต่ำปากแม่น้ำเจ้าพระยา บางปะกง แม่กลอง และท่าจีน ถูกอิทธิพลจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ ทำให้เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนและกั้นไม่ให้น้ำป่าไหลลงสู่ทะเลได้เร็ว ประกอบกับหลักการทางฟิสิกซ์ของกาลิเลโอ และเซอร์ไอแซก นิวตัน ที่พิสูจน์ว่าสสารทั้งมวลในบรรยากาศจะหล่นหรือไหลลงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ หลักการนี้สร้างปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเรื่องน้ำป่าไหลหลากจากภาคเหนือลงสู่อ่าวไทยเป็นประจำทุกปีหลังฤดูมรสุม ที่พัดพาพายุและฝนเข้าสู่ฝั่งอันเป็นธรรมชาติของภูมิอากาศระหว่างพื้นทวีปกับพื้นทะเล หรือมหาสมุทร
คนไทยรู้จักน้ำป่าไหลหลากมาแต่โบราณกาล และใช้ประโยชน์จากภาวการณ์นี้หลายทาง เช่น ในการเพาะปลูกบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำของภาคกลางเป็นแหล่งดินดีและอุดมสมบูรณ์ น้ำจะพัดพาปุ๋ยธรรมชาติมากลบหน้าดินที่นา และน้ำหลากช่วยขับไล่ศัตรูที่มาล้อมพระนครไว้ กรุงศรีอยุธยารอดพ้นจากการถูกยึดครองหลายครั้ง ก็เพราะน้ำหลากพัดกองทัพพม่าให้แตกย่อยยับล่าถอยไป
คนไทยบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นิยมที่จะปลูกบ้านสูงกว่าระดับน้ำในแม่น้ำหลายวา เพราะเป็นการหนีน้ำท่วม อาศัยการสัญจรทางน้ำเป็นปกตินิสัย กรุงเทพมหานครนั้น เป็นเมืองหลวงที่เผชิญกับภาวะน้ำท่วมมาตลอด แต่อาศัยว่าในอดีตก่อน พ.ศ. 2500 นั้น กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยคลองอันเป็นที่ระบายน้ำ รองรับน้ำที่ไหลบ่าลงมาในช่วงหลังวันออกพรรษาจึงพอค่อยทุเลาจากอุทกภัยรุนแรง
เมื่อความเจริญทางวัตถุแบบตะวันตกเข้าเต็มที่ มีรถยนต์วิ่งแทนที่เรือ คลองถูกถมจนหมดสิ้น เหลืออยู่บ้าง ทำให้ทางน้ำมีจำกัด จึงเกิดน้ำถล่มขึ้นเกือบทุกปี โดยเฉพาะหลังวิกฤตมรสุมที่เปลี่ยนเป็นพายุดีเปรสชันทำให้ฝนตกต่อเนื่องเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน และเหตุนี้ทำให้น้ำท่วม กทม.ปี พ.ศ. 2518, 2521, 2523, 2526, 2529, 2533, 2537, 2538 และ 2549
ในปี พ.ศ. 2538 นั้น พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแนวคิดเรื่อง Flood Way ให้บรรดาวิศวกรชลประทาน และข้าราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหลายได้รับรู้ถึงแนวทางในการป้องกันน้ำท่วม กทม. โดยพระองค์รับสั่งเชิงเปรียบเทียบว่ามีโมเดลที่ควรศึกษาจากต่างประเทศ เช่น นครซานฟรานซิสโก และกรุงลอนดอน เป็นต้น
พระราชดำรัสของในหลวงที่ว่า “ฉันสนใจงานชลประทานมาตั้งแต่ยังเล็ก” เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสนพระทัยเรื่องน้ำเป็นพิเศษของพระองค์ และอาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทานเคยบรรยายว่า “ในหลวงทรงพระราชทานภาพถ่ายดาวเทียม และตารางฝนตกในโลกและในประเทศไทย ให้กับอาจารย์อยู่ตลอดเวลา และหลักการคำนวณการไหลของน้ำของพระองค์เหลือล้ำจริงๆ ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ในการชลประทาน”
ทฤษฎีแก้มลิงของพระองค์ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดอยุธยา ได้แก่ทุ่งบางบาล ทุ่งมหาราช ทุ่งผักไห่ ทุ่งไชโย และทุ่งมะขามหย่อง สามารถใช้ทำแก้มลิงรองรับน้ำเหนือไหลบ่าลงสู่ที่ลุ่มตอนใต้อยุธยาได้ดีและได้พิสูจน์มาแล้ว
ในการป้องกันน้ำท่วม กทม.ปี พ.ศ. 2549 นั้น ในหลวงพระราชทานอนุญาตให้ใช้ทุ่งมะขามหย่อง อันเป็นที่ส่วนพระองค์ทำเป็นแก้มลิง เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้น้ำท่วมที่นาแต่ไม่ท่วม กทม.รุนแรง เป็นการชะลอน้ำป่าและจัดการให้ไหลลงสู่อ่าวไทยได้ตามธรรมชาติ
อย่างไรก็ดี น้ำท่วมระหว่าง 27 สิงหาคม ถึง 16 ตุลาคม 2549 นั้น 46 จังหวัดจมน้ำ ประชาชนเดือดร้อน 2,452,513 คน มีพื้นที่เกษตรเสียหาย 1,806,418 ไร่ แต่ กทม.รอดพ้นจากวิกฤตน้ำท่วมเช่นทุกวันนี้
มีบทความของ ดร.ธงชัย โรจนกนันท์ เรื่อง การเตรียมความพร้อมรับปัญหาน้ำท่วมปี 2549-2550 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2549 ซึ่งให้รายละเอียดเชิงวิเคราะห์ไว้พร้อมมูลสามารถประยุกต์ได้ดีสำหรับปีไหนๆ ก็ได้แต่ปัจจุบันไม่มีใครสนใจ
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ได้แสดงภาพถ่ายดาวเทียมถึงภาวะวิกฤตฝนตกหนักในภาคเหนือและภาคอีสาน และหลังจากนั้นก็เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัดภาคเหนือเป็นสัญญาณเตือนภัยน้ำท่วม
รัฐบาลพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตัง และจัดตั้งรัฐบาลในช่วงที่ภาคเหนือน้ำท่วมแล้ว และเริ่มท่วมภาคเหนือตอนกลางและใต้ แต่รัฐบาลปูแดงไม่ได้ให้ความสนใจจัดลำดับความเร่งด่วนและความสำคัญ
ผลจากการแย่งตำแหน่งกันทำให้รัฐบาลนี้ไม่มีแผนเผชิญเหตุภัยน้ำท่วม และมัวแต่ให้ความสนใจการปรับแผนประชานิยมให้กระชับขึ้น สร้างความแข็งแกร่งในลัทธินี้ให้มากขึ้น และสร้างยุทธศาสตร์นิรโทษกรรมให้กับทักษิณด้วยการหาเรื่องทหาร
ครั้นเมื่อวิกฤตมาถึง รัฐบาลปูแดงก็ขาดเอกภาพในการบริหารจัดการเรื่องภัยน้ำท่วม ไม่มีแผนรองรับ ปราศจากความเด็ดขาดในการจัดการ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรและอะไรก่อน อะไรหลัง
หากรัฐบาลปูแดงได้ศึกษา และสร้างความตระหนักในเรื่องภาวะภัยน้ำท่วมอย่างมืออาชีพแล้ว ภัยและหายนะก็คงไม่เกิดขึ้นกับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ทำให้เศรษฐกิจไทยจะต้องตกต่ำไปอีกนาน เพราะสินค้าส่งออกด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ HONDA ในประเทศไทยเสียหายจากน้ำท่วม ไม่สามารถส่งไปสหรัฐอเมริกาได้ ทำให้ยอดการผลิตรถยนต์ HONDA ในสหรัฐฯ ลดลงครึ่งหนึ่ง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์เสียหายนับแสนล้านเพราะยอดการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะตกต่ำไปหลายปีและอาจสูญเสียเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
ถ้ารัฐบาลนี้ นายกรัฐมนตรีคนนี้ ได้ศึกษาทุ่งมะขามหย่องโมเดลแล้ว ความเสียหายอาจจะไม่ถึงแสนๆ ล้านบาท เพราะชาวนาสามารถปลูกข้าวนาปรังได้ ชาวนายินดีที่จะให้รัฐบาลเช่าที่นาทำแก้มลิง เพราะชาวนาได้กับได้ และไม่ต้องทำนาให้เหนื่อยแต่ได้ค่าเช่านา โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมหลายแห่งก็จะไม่เสียหาย แต่เพราะสมองนายกรัฐมนตรีท่านนี้ถูกน้ำท่วมหมด