ASTVผู้จัดการรายวัน-กทม.ประกาศอพยพบางเขนทั้งเขต ลาดพร้าวบางส่วน พร้อมเฝ้าระวังบางชัน คลองสามวา หลังถูกบีบให้เปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา "สุขุมพันธุ์"ฮึดขอใช้กฎหมายซ่อมประตูระบายน้ำ หวั่นนิคมฯ บางชัน ลาดกระบัง กระทบ เตือนบางกะปิ-สะพานสูง-บึงกุ่ม อาจไม่รอด หนักสุดอาจท่วมทั้ง 50 เขต ล่าสุดน้ำลามถึงเมเจอร์ รัชโยธิน เดอะมอลล์บางแคแล้ว "มาร์ค"จวกรัฐบาลอย่าส่งสัญญาณมั่วๆ
สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยังวิกฤตหนัก โดยจนถึงวันนี้ กทม. ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) และรัฐบาลยังทำงานกันคนละทิศละทาง ส่งผลให้น้ำจ่อเข้าถล่มกทม. อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าก่อนหน้านี้กทม. จะประกาศว่า หากทำตามแนวทางที่กำหนดไว้ จะทำให้มีเขตต่างๆ ในกทม. รอดจากน้ำท่วมสูงถึง 22 เขต แต่ล่าสุดพบว่า น้ำเริ่มทะลักเข้าท่วมในเขตต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
***เฝ้าระวังแขวงบางชัน-เขตคลองสามวา
วานนี้ (1 พ.ย.) เวลา 11.00 น. ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหาคร (กทม.) แถลงภายหลังประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ว่า ได้ประกาศให้แขวงบางชัน เขตคลองสามวาเป็นเขตเฝ้าระวังเท่านั้น เพราะได้รับบัญชาจากนายกรัฐมนตรี ให้เปิดประตูน้ำที่คลองสามวาให้กว้าง 1 เมตร เพราะเมื่อเปิดกว้างขนาดนี้ แขวงบางชันจะกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงทันที
ทั้งนี้ ยังคงมีความกังวลว่า ระดับน้ำ ในพื้นที่ กทม. ตะวันออกจะเป็นอย่างไร เบื้องต้น ได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า ศปภ. ไม่สามารถปิดประตูที่คลอง 8 และคลอง 10 ได้ เพราะประชาชนไม่ยอม ซึ่งความต้องการเดิมต้องการเหลือการระบายน้ำ 30 ซม. ดังนั้น เมื่อไม่สามารถปิดประตูลงได้ จะเกิดผลกระทบในเขตหนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง คลองแสนแสบ และคลองลำปะทิว สิ่งเหล่านี้ เพิ่มกับการเปิดประตูคลองสามวา จะมีผลต่อ 2 นิคมอุตสาหกรรมบางชัน และลาดกระบัง อย่างมาก
**ห่วงฝั่งตะวันตกน้ำไม่ลดมีแต่ขยายวง
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กล่าวว่า พื้นที่ที่เป็นห่วงมาก คือ ทางด้านตะวันตก น้ำเริ่มขยายตัวออกไป ยังไม่ลด ยังมีมวลน้ำในจังหวัดนครปฐมจำนวนมาก จึงต้องติดตามกทม. ฝั่งตะวันตกเป็นพิเศษ โดยสิ่งที่ต้องทำ คือ การเร่งระบายน้ำทั้งประตูน้ำและเครื่องสูบน้ำโดยการสูบน้ำออก ในการนี้ต้องขอความสนับสนุนจากทุกฝ่าย เพื่อให้เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา เพราะกทม.ตะวันตก ระบายน้ำไม่ดีเท่า กทม. ตะวันออก
**ลั่นต้องซ่อมปตร.คลองสามวา
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์กล่าวต่อว่า สถานการณ์ขณะนี้ ไม่มีความแน่นอน กทม. ด้านตะวันออก จะมีข้อสรุปอย่างไร ต้องยึดตามที่ได้ตกลงกันไว้ ยืนยันว่าตนเองรักพี่น้องประชาชน แต่บางครั้งต้องใจแข็ง เพื่อส่วนรวม เพราะคือการปกครอง ที่จำเป็นต้องทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ โดยยืนยันว่า ตนเองก็เป็นนักการเมืองที่รักประชาชนเช่นเดียวกับนักการเมืองท่านอื่น แต่ก็ดูผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง
"กทม.จะใช้อำนาจตามกฎหมายตามความในมาตรา 37 วรรคสอง ประกอบมาตรา 21 วรรคสอง (1) แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 โดยผู้ว่าฯ กทม. ในฐานะผู้อำนวยการกทม. ให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดำเนินการรักษาความสงบเรียบร้อย และป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปทำลายประตูระบายน้ำ (ปตร.) คลองสามวา อุปกรณ์ส่วนควบสิ่งก่อสร้าง พื้นที่ดินและแนวกระสอบทราย พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่คุ้มครอง เจ้าหน้าที่กทม.ในการเข้าไปซ่อมแซมประตูระบายน้ำ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ ถ.หทัยมิตร แขวงคลองสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา โดยด่วน เพราะหากปล่อยให้ชำรุดต่อไป ประตูระบายน้ำอาจพังลงมาได้ และในที่สุดอาจทำให้ ถ.รามอินทรา และถ.รามคำแหง น้ำท่วมหนัก และส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย"
**อพยพเขตบางเขน-ลาดพร้าวบางส่วน
ต่อมาเวลา 19.40 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้แถลงผลการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่กทม. ว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมสูงและขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ ดังนั้น กทม. ได้ประกาศพื้นที่อพยพเพิ่มเติม ได้แก่ เขตบางเขนทั้งเขต และเฉพาะหมู่บ้านเสนานิเวศน์ โครงการ 2 แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว และเฉพาะแขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา ส่งผลให้ขณะนี้กทม. มีพื้นที่ประกาศอพยพทั้งเขตแล้ว 7 เขต ประกอบด้วย ดอนเมือง บางพลัด สายไหม ทวีวัฒนา หลักสี่ ตลิ่งชัน และบางเขน นอกจากนี้ กทม. ยังได้ออกประกาศเตือนพื้นที่เฝ้าระวังเพิ่มเติม ได้แก่ แขวงทรายกองดิน และแขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา และเขตหนองจอกทั้งเขต
**เร่งแก้ปัญหาขยะในพื้นที่น้ำท่วม
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวด้วยว่า กทม.กำลังก้าวสู่สภาวะวิกฤต และปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือ ปัญหาขยะ ซึ่งกทม.ไม่สามารถให้บริการเก็บขยะได้ตามปกติ หากพื้นที่ใดน้ำท่วมสูง 70-80 ซม. ขึ้นไป รถเก็บขยะไม่สามารถเข้าไปได้ และจะต้องใช้เรือดำเนินการ แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณการจัดเก็บและจำนวนเรือ จากกรณีเขตบางพลัดซึ่งมีปริมาณขยะถึง 33 ตัน ใช้เวลาจัดเก็บมากกว่า 3 วัน ทำให้การใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางปัญหาขยะส่งผลคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่กทม.จะพยายามเก็บขยะให้ดีที่สุดและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม กทม.ขอให้ประชาชนช่วยแยกขยะ โดยขยะแห้งเก็บไว้ทิ้งในวันข้างหน้า แต่ขยะเปียกและของเสียให้นำมาทิ้งให้เรียบร้อย ซึ่งจะทำให้ปริมาณขยะที่จัดเก็บลดลง
**ห่วงจุดกลับพหลโยธิน-ปตร.คลองสามวา
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำน่าเป็นห่วง 2 จุด คือ 1.จุดกลับรถถนนพหลโยธิน ข้ามคลองรังสิต 2.ที่ประตูระบายน้ำคลองสามวา ซึ่งได้มีมวลชนมากดดันเจ้าหน้าที่ให้เปิดประตูระบายน้ำ ซึ่งขณะนี้ยังมีปริมาณน้ำเหนือไหลเข้ามาในกทม. เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง โดยที่จุดกลับรถถนนพหลโยธิน ข้ามคลองรังสิต มีปริมาณน้ำไหลเข้ามา เฉลี่ยวันละ 400-500 ล้านลบ.ม.ต่อวัน ซึ่งขณะนี้ กทม. ได้นำกระสอบยักษ์ ขนาด 1 x 1 x 1 หนัก 2.5 ตันต่อใบเข้าไปปิดกั้นทางน้ำในจุดดังกล่าว
**บางกะปิ-สะพานสูง-บึงกุ่มอาจไม่รอด
นายธีระชนกล่าวว่า การเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวากว้างถึง 1 เมตรอาจจะส่งผลกระทบทำให้พื้นที่ 50 เขตของ กทม.ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยพื้นที่ชั้นในที่รับน้ำ 3 เขตแรก คือ บางกะปิ สะพานสูง และบึงกุ่ม ซึ่งจากที่ตนเองเคยประเมินไว้ว่า 19 เขตโอกาสรอดก็จะไม่เหลือเลย เพราะต้องอย่าลืมว่าการดูแลหรือบริหารจัดการน้ำอย่ามองแค่ผิวข้างบนถนน แต่ต้องคิดถึงหลักวิศวกรรมข้างใต้ด้วย ทั้งนี้ กทม.มีคลองทั้งหมด 2,000 คลองและท่อใต้ดินอีกมหาศาลเชื่อมโยงกันเป็นใยแมงมุม เมื่อน้ำถูกปล่อยลงสู่คลองแสนแสบ ก็จะเชื่อมโยงไปยังคลองและท่ออื่นๆ ใน 50 เขตด้วย
"ที่ประตูระบายน้ำคลองสามวาจะต้องมีการควบคุมมวลชนที่ขัดขวางการควบคุมการระบายน้ำในจุดนี้ แต่หากไม่สามารถควบคุมได้ ตนเห็นว่ารัฐบาลควรจะประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปควบคุมมวลชน เพราะเกรงว่าหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ อาจจะทำให้พื้นที่กทม.ทั้ง 50 เขต กลับเข้าสู่สภาวะน้ำท่วมทั้งหมดได้"
**วอนประชาชนหยุดพังเขื่อนคลองประปา
นายธีระชนกล่าวเพิ่มเติมว่า ในฐานะคณะทำงานในฐานะคณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำ ในพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรง เป็นห่วงกรณีที่มีมวลชนเข้ารื้อคันกั้นน้ำบริเวณคลองประปา เพราะเกรงว่าสถานการณ์จะเลวร้ายขึ้น เพราะจะทำน้ำเสียที่ท่วมอยู่นั้นไหลลงคลองประปา และจะส่งผลต่อการผลิตน้ำประปาโดยตรง ซึ่งจะกระทบกับผู้บริโภคน้ำประปาเป็นล้านคนในกทม. โดยเฉพาะด้านสุขภาพอาจจะเสี่ยงต่อโรคท้องร่วง อย่างไรก็ตาม กทม.ขอให้ประชาชนใจเย็น มีสติ อดทนต่อสถานการณ์ อย่าทำอะไรขาดสติ เพราะอาจจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้นจนเกินที่จะแก้ไขได้
**ม.เกษตรจมหมดลามต่อถึงรัชดาภิเษก
นายธีระชนกล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน พบว่าเป็นมวลน้ำที่ขึ้นมาจากท่อระบายน้ำ หลังจากที่น้ำเหนือได้ไหลบางส่วนได้ไหลทะลักลงสู่ระบบคลองและถนนหลายสาย โดยเมื่อมีปริมาณน้ำสูงขึ้นก็ขยายตัวท่วมเป็นวงกว้าง น้ำส่วนหนึ่งที่อยู่ในคลองจะมุดเข้าท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงหลายพันกิโลเมตรในกทม. ดังนั้น หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ หรือไม่สามารถควบคุมบานประตูระบายน้ำได้ กทม.มีสิทธิ์เสี่ยงจมน้ำทั้งหมด โดยพื้นที่ที่จะเสี่ยงน้ำท่วมต่อไป คือ สะพานลอยข้ามแยกรัชดาวิภา ถนนรัชดาภิเษก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดเวลา 19.00 น. บริเวรถนนรัชดาภิเษกน้ำเริ่มผุดตามท่อระบายน้ำและมีแนวโน้มสูงขึ้นแล้ว โดยเฉพาะหน้าห้างเมเจอร์ รัชโยธิน การสัญจรเริ่มมีความลำบาก
**ลาดปลาเค้าเริ่มท่วม-รามอินทราน้ำสูง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ที่ ถ.ลาดปลาเค้า และ ถ.รามอินทรา ซึ่งรับน้ำต่อมาจากสะพานใหม่กับคลองบางบัวน้ำเริ่มท่วมสูง โดยเฉพาะหน้าวัดลาดปลาเค้า หรือลาดปลาเค้า ซอย 56 ติดกับหมู่บ้านอารียา เป็นบริเวณที่น้ำท่วมขังประมาณ 20-30 ซม.เนื่องจากน้ำทะลักล้นคลองหลุมไผ่ซึ่งติดกับบ้านเรือนละแวกนั้นมา 3 วันแล้ว
ด้านถ.รามอินทรา ที่น้ำท่วมหนักมา 2 วัน ปรากฏว่าในช่วงเช้าวานนี้ น้ำได้เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยประมาณ 20 ซม. จากเซ็นทรัลรามอินทรามาถึงแยกลาดปลาเค้า โดยพื้นที่ถูกน้ำท่วมหนักจนต้องอพยพ ได้แก่ รามอินทรา ซอย 5 และ รามอินทรา ซอย 19 ซึ่งเป็นซอยที่สามารถทะลุผ่านถึงกันได้ นอกจากนี้ รามอินทรา ซอย 15 น้ำได้สูงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดประมาณ 40 ซม.หรืออยู่ที่ระดับเข่า ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านต่างๆ ทยอยขนข้าวของออกมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ระดับน้ำในคลอง 6 วา ยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้น้ำเอ่อล้นจากท่อระบายน้ำเข้าท่วม ถ.สายไหม ถนนสุขาภิบาล 5 และ ถ.หทัยราษฎร์ สูงประมาณ 50 ซม. จนรถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านได้ ส่วน ถ.หทัยราษฎร์ เขตคลองสามวานั้น น้ำได้ไหลเอ่อท่วมข้ามถนนไปยังฝั่งวัชรพล สูงประมาณ 20 ซม. ส่งผลให้ตลาดวงศกรเริ่มมีน้ำเอ่อท่วมท่อระบายบ้างเล็กน้อยแนวโน้มที่จะท่วมเพิ่มสูงขึ้นอีก
***เดอะมอลล์บางแคน้ำท่วมแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (1 พ.ย.) ที่เดอะมอลล์บางแค ล่าสุดน้ำได้มุดมาตามท่อเป็นวันเเรก โดยคาดว่าน้ำดังกล่าวไหลมาจากถนนกาญจนาภิเษก ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความแตกตื่นให้กับประชาชนที่อยู่ละแวกนั้น ทำให้พนักงานห้างรวมถึงชาวบ้านได้ออกมาถ่ายรูปอย่างคึกคัก อย่างไรก็ตาม เมื่อสองวันก่อนบริเวณเส้นถนนกาญจนาภิเษกเริ่มมีน้ำบนผิวถนนเล็กน้อย แต่ยังมาไม่ถึงหน้าห้าง ขณะที่บริเวณถนนเพชรเกษมมุ่งหน้าไปนครปฐมขาออก การจราจรเคลื่อนตัวช้าสลับหยุดนิ่ง เเต่ขาเข้ายังเคลื่อนตัวได้ปกติ
**นครปฐมจมน้ำเกือบทุกพื้นที่
ส่วนที่จ.นครปฐม ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ได้จมน้ำแล้ว โดยที่อ.บางเลน ทุกพื้นที่จมน้ำ 100% ระดับน้ำในพื้นที่ ท่วมสูงตั้งแต่ 50 ซม.จนถึง 2 เมตร อ.พุทธมณฑล มีการลำเลียงเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยที่ติดค้างออกจากจากพื้นที่น้ำท่วมสูง ยังเหลือตกค้างเพียงเล็กน้อยที่ยังไม่ยอมออก ที่อ.นครชัยศรี พื้นที่ ต.ท่ากระชับ และบางแก้ว ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 40 ซม. เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีนที่เพิ่มขึ้น จากการผันน้ำจาก กทม., นนทบุรี, ปทุมธานี รวมถึงที่อ.สามพราน ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 7 ต.หอมเกร็ด เขตติดต่อ ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี น้ำได้ไหลท่วมแหล่งชุมชน และโรงงานผลิตธนบัตรแห่งชาติ
** "มาร์ค"จวกรัฐบาลส่งสัญญาณมั่ว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีศปภ.ยังมีการทำงานที่ขัดแย้งกับกทม. ในเรื่องการปิด-เปิดประตูระบายน้ำ ว่า อยากให้รัฐบาลและกทม. ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะมวลน้ำทั้งฝั่งตะวันออก และตะวันตก โดยเฉพาะเขตธนบุรี ชัดเจนว่าได้ไหลเข้ามาท่วมในหลายพื้นที่ ทั้งๆ ที่หลายฝ่ายคิดว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัย ดังนั้น การส่งสัญญาณว่าพื้นที่ใดปลอดภัย จะส่งผลให้ประชาชนไม่ได้เตรียมตัวอย่างที่ควรทำ รัฐบาลไม่ควรส่งสัญญาณว่าปัญหาคลี่คลายแล้ว เพราะจากการที่ตนได้ลงพื้นที่ในบางจุด น้ำเริ่มไหลเข้ามาแล้ว
การส่งสัญญาณใดๆ ต้องระมัดระวังและมีความสอดคล้องกัน โดยเฉพาะปัญหาที่เห็นได้ชัด คือ เมื่อวันที่ 31 ต.ค. มีมวลชนกดดันให้เปิดประตูน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการในภาพรวม และเท่าที่เห็นพื้นที่ที่เรียกร้องให้เปิดประตูน้ำที่คลองสามวา ก็ไม่ได้มีระดับน้ำที่ลดลง แต่กลับทรงตัว และเพิ่มขึ้นอีกด้วย เรื่องนี้นากยกฯ ต้องส่งสัญญาณให้ชัดเจน"นายอภิสิทธิ์กล่าว
**ไม่จำเป็นต้องเร่งกู้สนามบินดอนเมือง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการที่รัฐบาลสั่งกู้สนามบินดอนเมืองให้กลับคือสู่สภาวะปกติโดยเร็วว่า ไม่ทราบเจตนาว่าจะนำสนามบินดอนเมืองไปใช้อะไรเป็นการเร่งด่วน แต่ควรที่จะระดมกำลังไปป้องกันในส่วนอื่นจะดีกว่า เพราะจากที่ได้ตรวจสภาพพื้นที่ดอนเมือง ยังมองไม่เห็นว่าจะเอาอะไรมากู้ในตอนนี้ เพราะมวลน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเขตดอนเมืองและสายไหม หากรัฐบาลไม่ระดมกำลังป้องกันในจุดอื่น หลังจากนี้ เขตลาดพร้าว จตุจักร วังทองหลาง ห้วยขวางและดินแดง จะเป็นเหยื่อในขั้นต่อไป
สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยังวิกฤตหนัก โดยจนถึงวันนี้ กทม. ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) และรัฐบาลยังทำงานกันคนละทิศละทาง ส่งผลให้น้ำจ่อเข้าถล่มกทม. อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าก่อนหน้านี้กทม. จะประกาศว่า หากทำตามแนวทางที่กำหนดไว้ จะทำให้มีเขตต่างๆ ในกทม. รอดจากน้ำท่วมสูงถึง 22 เขต แต่ล่าสุดพบว่า น้ำเริ่มทะลักเข้าท่วมในเขตต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
***เฝ้าระวังแขวงบางชัน-เขตคลองสามวา
วานนี้ (1 พ.ย.) เวลา 11.00 น. ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหาคร (กทม.) แถลงภายหลังประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ว่า ได้ประกาศให้แขวงบางชัน เขตคลองสามวาเป็นเขตเฝ้าระวังเท่านั้น เพราะได้รับบัญชาจากนายกรัฐมนตรี ให้เปิดประตูน้ำที่คลองสามวาให้กว้าง 1 เมตร เพราะเมื่อเปิดกว้างขนาดนี้ แขวงบางชันจะกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงทันที
ทั้งนี้ ยังคงมีความกังวลว่า ระดับน้ำ ในพื้นที่ กทม. ตะวันออกจะเป็นอย่างไร เบื้องต้น ได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า ศปภ. ไม่สามารถปิดประตูที่คลอง 8 และคลอง 10 ได้ เพราะประชาชนไม่ยอม ซึ่งความต้องการเดิมต้องการเหลือการระบายน้ำ 30 ซม. ดังนั้น เมื่อไม่สามารถปิดประตูลงได้ จะเกิดผลกระทบในเขตหนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง คลองแสนแสบ และคลองลำปะทิว สิ่งเหล่านี้ เพิ่มกับการเปิดประตูคลองสามวา จะมีผลต่อ 2 นิคมอุตสาหกรรมบางชัน และลาดกระบัง อย่างมาก
**ห่วงฝั่งตะวันตกน้ำไม่ลดมีแต่ขยายวง
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กล่าวว่า พื้นที่ที่เป็นห่วงมาก คือ ทางด้านตะวันตก น้ำเริ่มขยายตัวออกไป ยังไม่ลด ยังมีมวลน้ำในจังหวัดนครปฐมจำนวนมาก จึงต้องติดตามกทม. ฝั่งตะวันตกเป็นพิเศษ โดยสิ่งที่ต้องทำ คือ การเร่งระบายน้ำทั้งประตูน้ำและเครื่องสูบน้ำโดยการสูบน้ำออก ในการนี้ต้องขอความสนับสนุนจากทุกฝ่าย เพื่อให้เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา เพราะกทม.ตะวันตก ระบายน้ำไม่ดีเท่า กทม. ตะวันออก
**ลั่นต้องซ่อมปตร.คลองสามวา
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์กล่าวต่อว่า สถานการณ์ขณะนี้ ไม่มีความแน่นอน กทม. ด้านตะวันออก จะมีข้อสรุปอย่างไร ต้องยึดตามที่ได้ตกลงกันไว้ ยืนยันว่าตนเองรักพี่น้องประชาชน แต่บางครั้งต้องใจแข็ง เพื่อส่วนรวม เพราะคือการปกครอง ที่จำเป็นต้องทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ โดยยืนยันว่า ตนเองก็เป็นนักการเมืองที่รักประชาชนเช่นเดียวกับนักการเมืองท่านอื่น แต่ก็ดูผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง
"กทม.จะใช้อำนาจตามกฎหมายตามความในมาตรา 37 วรรคสอง ประกอบมาตรา 21 วรรคสอง (1) แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 โดยผู้ว่าฯ กทม. ในฐานะผู้อำนวยการกทม. ให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดำเนินการรักษาความสงบเรียบร้อย และป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปทำลายประตูระบายน้ำ (ปตร.) คลองสามวา อุปกรณ์ส่วนควบสิ่งก่อสร้าง พื้นที่ดินและแนวกระสอบทราย พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่คุ้มครอง เจ้าหน้าที่กทม.ในการเข้าไปซ่อมแซมประตูระบายน้ำ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ ถ.หทัยมิตร แขวงคลองสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา โดยด่วน เพราะหากปล่อยให้ชำรุดต่อไป ประตูระบายน้ำอาจพังลงมาได้ และในที่สุดอาจทำให้ ถ.รามอินทรา และถ.รามคำแหง น้ำท่วมหนัก และส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย"
**อพยพเขตบางเขน-ลาดพร้าวบางส่วน
ต่อมาเวลา 19.40 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้แถลงผลการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่กทม. ว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมสูงและขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ ดังนั้น กทม. ได้ประกาศพื้นที่อพยพเพิ่มเติม ได้แก่ เขตบางเขนทั้งเขต และเฉพาะหมู่บ้านเสนานิเวศน์ โครงการ 2 แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว และเฉพาะแขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา ส่งผลให้ขณะนี้กทม. มีพื้นที่ประกาศอพยพทั้งเขตแล้ว 7 เขต ประกอบด้วย ดอนเมือง บางพลัด สายไหม ทวีวัฒนา หลักสี่ ตลิ่งชัน และบางเขน นอกจากนี้ กทม. ยังได้ออกประกาศเตือนพื้นที่เฝ้าระวังเพิ่มเติม ได้แก่ แขวงทรายกองดิน และแขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา และเขตหนองจอกทั้งเขต
**เร่งแก้ปัญหาขยะในพื้นที่น้ำท่วม
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวด้วยว่า กทม.กำลังก้าวสู่สภาวะวิกฤต และปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือ ปัญหาขยะ ซึ่งกทม.ไม่สามารถให้บริการเก็บขยะได้ตามปกติ หากพื้นที่ใดน้ำท่วมสูง 70-80 ซม. ขึ้นไป รถเก็บขยะไม่สามารถเข้าไปได้ และจะต้องใช้เรือดำเนินการ แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณการจัดเก็บและจำนวนเรือ จากกรณีเขตบางพลัดซึ่งมีปริมาณขยะถึง 33 ตัน ใช้เวลาจัดเก็บมากกว่า 3 วัน ทำให้การใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางปัญหาขยะส่งผลคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่กทม.จะพยายามเก็บขยะให้ดีที่สุดและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม กทม.ขอให้ประชาชนช่วยแยกขยะ โดยขยะแห้งเก็บไว้ทิ้งในวันข้างหน้า แต่ขยะเปียกและของเสียให้นำมาทิ้งให้เรียบร้อย ซึ่งจะทำให้ปริมาณขยะที่จัดเก็บลดลง
**ห่วงจุดกลับพหลโยธิน-ปตร.คลองสามวา
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำน่าเป็นห่วง 2 จุด คือ 1.จุดกลับรถถนนพหลโยธิน ข้ามคลองรังสิต 2.ที่ประตูระบายน้ำคลองสามวา ซึ่งได้มีมวลชนมากดดันเจ้าหน้าที่ให้เปิดประตูระบายน้ำ ซึ่งขณะนี้ยังมีปริมาณน้ำเหนือไหลเข้ามาในกทม. เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง โดยที่จุดกลับรถถนนพหลโยธิน ข้ามคลองรังสิต มีปริมาณน้ำไหลเข้ามา เฉลี่ยวันละ 400-500 ล้านลบ.ม.ต่อวัน ซึ่งขณะนี้ กทม. ได้นำกระสอบยักษ์ ขนาด 1 x 1 x 1 หนัก 2.5 ตันต่อใบเข้าไปปิดกั้นทางน้ำในจุดดังกล่าว
**บางกะปิ-สะพานสูง-บึงกุ่มอาจไม่รอด
นายธีระชนกล่าวว่า การเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวากว้างถึง 1 เมตรอาจจะส่งผลกระทบทำให้พื้นที่ 50 เขตของ กทม.ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยพื้นที่ชั้นในที่รับน้ำ 3 เขตแรก คือ บางกะปิ สะพานสูง และบึงกุ่ม ซึ่งจากที่ตนเองเคยประเมินไว้ว่า 19 เขตโอกาสรอดก็จะไม่เหลือเลย เพราะต้องอย่าลืมว่าการดูแลหรือบริหารจัดการน้ำอย่ามองแค่ผิวข้างบนถนน แต่ต้องคิดถึงหลักวิศวกรรมข้างใต้ด้วย ทั้งนี้ กทม.มีคลองทั้งหมด 2,000 คลองและท่อใต้ดินอีกมหาศาลเชื่อมโยงกันเป็นใยแมงมุม เมื่อน้ำถูกปล่อยลงสู่คลองแสนแสบ ก็จะเชื่อมโยงไปยังคลองและท่ออื่นๆ ใน 50 เขตด้วย
"ที่ประตูระบายน้ำคลองสามวาจะต้องมีการควบคุมมวลชนที่ขัดขวางการควบคุมการระบายน้ำในจุดนี้ แต่หากไม่สามารถควบคุมได้ ตนเห็นว่ารัฐบาลควรจะประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปควบคุมมวลชน เพราะเกรงว่าหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ อาจจะทำให้พื้นที่กทม.ทั้ง 50 เขต กลับเข้าสู่สภาวะน้ำท่วมทั้งหมดได้"
**วอนประชาชนหยุดพังเขื่อนคลองประปา
นายธีระชนกล่าวเพิ่มเติมว่า ในฐานะคณะทำงานในฐานะคณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำ ในพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรง เป็นห่วงกรณีที่มีมวลชนเข้ารื้อคันกั้นน้ำบริเวณคลองประปา เพราะเกรงว่าสถานการณ์จะเลวร้ายขึ้น เพราะจะทำน้ำเสียที่ท่วมอยู่นั้นไหลลงคลองประปา และจะส่งผลต่อการผลิตน้ำประปาโดยตรง ซึ่งจะกระทบกับผู้บริโภคน้ำประปาเป็นล้านคนในกทม. โดยเฉพาะด้านสุขภาพอาจจะเสี่ยงต่อโรคท้องร่วง อย่างไรก็ตาม กทม.ขอให้ประชาชนใจเย็น มีสติ อดทนต่อสถานการณ์ อย่าทำอะไรขาดสติ เพราะอาจจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้นจนเกินที่จะแก้ไขได้
**ม.เกษตรจมหมดลามต่อถึงรัชดาภิเษก
นายธีระชนกล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน พบว่าเป็นมวลน้ำที่ขึ้นมาจากท่อระบายน้ำ หลังจากที่น้ำเหนือได้ไหลบางส่วนได้ไหลทะลักลงสู่ระบบคลองและถนนหลายสาย โดยเมื่อมีปริมาณน้ำสูงขึ้นก็ขยายตัวท่วมเป็นวงกว้าง น้ำส่วนหนึ่งที่อยู่ในคลองจะมุดเข้าท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงหลายพันกิโลเมตรในกทม. ดังนั้น หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ หรือไม่สามารถควบคุมบานประตูระบายน้ำได้ กทม.มีสิทธิ์เสี่ยงจมน้ำทั้งหมด โดยพื้นที่ที่จะเสี่ยงน้ำท่วมต่อไป คือ สะพานลอยข้ามแยกรัชดาวิภา ถนนรัชดาภิเษก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดเวลา 19.00 น. บริเวรถนนรัชดาภิเษกน้ำเริ่มผุดตามท่อระบายน้ำและมีแนวโน้มสูงขึ้นแล้ว โดยเฉพาะหน้าห้างเมเจอร์ รัชโยธิน การสัญจรเริ่มมีความลำบาก
**ลาดปลาเค้าเริ่มท่วม-รามอินทราน้ำสูง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ที่ ถ.ลาดปลาเค้า และ ถ.รามอินทรา ซึ่งรับน้ำต่อมาจากสะพานใหม่กับคลองบางบัวน้ำเริ่มท่วมสูง โดยเฉพาะหน้าวัดลาดปลาเค้า หรือลาดปลาเค้า ซอย 56 ติดกับหมู่บ้านอารียา เป็นบริเวณที่น้ำท่วมขังประมาณ 20-30 ซม.เนื่องจากน้ำทะลักล้นคลองหลุมไผ่ซึ่งติดกับบ้านเรือนละแวกนั้นมา 3 วันแล้ว
ด้านถ.รามอินทรา ที่น้ำท่วมหนักมา 2 วัน ปรากฏว่าในช่วงเช้าวานนี้ น้ำได้เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยประมาณ 20 ซม. จากเซ็นทรัลรามอินทรามาถึงแยกลาดปลาเค้า โดยพื้นที่ถูกน้ำท่วมหนักจนต้องอพยพ ได้แก่ รามอินทรา ซอย 5 และ รามอินทรา ซอย 19 ซึ่งเป็นซอยที่สามารถทะลุผ่านถึงกันได้ นอกจากนี้ รามอินทรา ซอย 15 น้ำได้สูงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดประมาณ 40 ซม.หรืออยู่ที่ระดับเข่า ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านต่างๆ ทยอยขนข้าวของออกมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ระดับน้ำในคลอง 6 วา ยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้น้ำเอ่อล้นจากท่อระบายน้ำเข้าท่วม ถ.สายไหม ถนนสุขาภิบาล 5 และ ถ.หทัยราษฎร์ สูงประมาณ 50 ซม. จนรถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านได้ ส่วน ถ.หทัยราษฎร์ เขตคลองสามวานั้น น้ำได้ไหลเอ่อท่วมข้ามถนนไปยังฝั่งวัชรพล สูงประมาณ 20 ซม. ส่งผลให้ตลาดวงศกรเริ่มมีน้ำเอ่อท่วมท่อระบายบ้างเล็กน้อยแนวโน้มที่จะท่วมเพิ่มสูงขึ้นอีก
***เดอะมอลล์บางแคน้ำท่วมแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (1 พ.ย.) ที่เดอะมอลล์บางแค ล่าสุดน้ำได้มุดมาตามท่อเป็นวันเเรก โดยคาดว่าน้ำดังกล่าวไหลมาจากถนนกาญจนาภิเษก ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความแตกตื่นให้กับประชาชนที่อยู่ละแวกนั้น ทำให้พนักงานห้างรวมถึงชาวบ้านได้ออกมาถ่ายรูปอย่างคึกคัก อย่างไรก็ตาม เมื่อสองวันก่อนบริเวณเส้นถนนกาญจนาภิเษกเริ่มมีน้ำบนผิวถนนเล็กน้อย แต่ยังมาไม่ถึงหน้าห้าง ขณะที่บริเวณถนนเพชรเกษมมุ่งหน้าไปนครปฐมขาออก การจราจรเคลื่อนตัวช้าสลับหยุดนิ่ง เเต่ขาเข้ายังเคลื่อนตัวได้ปกติ
**นครปฐมจมน้ำเกือบทุกพื้นที่
ส่วนที่จ.นครปฐม ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ได้จมน้ำแล้ว โดยที่อ.บางเลน ทุกพื้นที่จมน้ำ 100% ระดับน้ำในพื้นที่ ท่วมสูงตั้งแต่ 50 ซม.จนถึง 2 เมตร อ.พุทธมณฑล มีการลำเลียงเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยที่ติดค้างออกจากจากพื้นที่น้ำท่วมสูง ยังเหลือตกค้างเพียงเล็กน้อยที่ยังไม่ยอมออก ที่อ.นครชัยศรี พื้นที่ ต.ท่ากระชับ และบางแก้ว ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 40 ซม. เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีนที่เพิ่มขึ้น จากการผันน้ำจาก กทม., นนทบุรี, ปทุมธานี รวมถึงที่อ.สามพราน ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 7 ต.หอมเกร็ด เขตติดต่อ ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี น้ำได้ไหลท่วมแหล่งชุมชน และโรงงานผลิตธนบัตรแห่งชาติ
** "มาร์ค"จวกรัฐบาลส่งสัญญาณมั่ว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีศปภ.ยังมีการทำงานที่ขัดแย้งกับกทม. ในเรื่องการปิด-เปิดประตูระบายน้ำ ว่า อยากให้รัฐบาลและกทม. ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะมวลน้ำทั้งฝั่งตะวันออก และตะวันตก โดยเฉพาะเขตธนบุรี ชัดเจนว่าได้ไหลเข้ามาท่วมในหลายพื้นที่ ทั้งๆ ที่หลายฝ่ายคิดว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัย ดังนั้น การส่งสัญญาณว่าพื้นที่ใดปลอดภัย จะส่งผลให้ประชาชนไม่ได้เตรียมตัวอย่างที่ควรทำ รัฐบาลไม่ควรส่งสัญญาณว่าปัญหาคลี่คลายแล้ว เพราะจากการที่ตนได้ลงพื้นที่ในบางจุด น้ำเริ่มไหลเข้ามาแล้ว
การส่งสัญญาณใดๆ ต้องระมัดระวังและมีความสอดคล้องกัน โดยเฉพาะปัญหาที่เห็นได้ชัด คือ เมื่อวันที่ 31 ต.ค. มีมวลชนกดดันให้เปิดประตูน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการในภาพรวม และเท่าที่เห็นพื้นที่ที่เรียกร้องให้เปิดประตูน้ำที่คลองสามวา ก็ไม่ได้มีระดับน้ำที่ลดลง แต่กลับทรงตัว และเพิ่มขึ้นอีกด้วย เรื่องนี้นากยกฯ ต้องส่งสัญญาณให้ชัดเจน"นายอภิสิทธิ์กล่าว
**ไม่จำเป็นต้องเร่งกู้สนามบินดอนเมือง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการที่รัฐบาลสั่งกู้สนามบินดอนเมืองให้กลับคือสู่สภาวะปกติโดยเร็วว่า ไม่ทราบเจตนาว่าจะนำสนามบินดอนเมืองไปใช้อะไรเป็นการเร่งด่วน แต่ควรที่จะระดมกำลังไปป้องกันในส่วนอื่นจะดีกว่า เพราะจากที่ได้ตรวจสภาพพื้นที่ดอนเมือง ยังมองไม่เห็นว่าจะเอาอะไรมากู้ในตอนนี้ เพราะมวลน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเขตดอนเมืองและสายไหม หากรัฐบาลไม่ระดมกำลังป้องกันในจุดอื่น หลังจากนี้ เขตลาดพร้าว จตุจักร วังทองหลาง ห้วยขวางและดินแดง จะเป็นเหยื่อในขั้นต่อไป