โดย ดร.สุวินัย ภรณวลัย
www.suvinai-dragon.com
*ท้องผูกเป็นที่มาของโรคแห่งความเสื่อม*
โรคท้องผูกเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คนทั่วไปคาดคิดมากมายนัก หากผู้คนรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อหรือมากกว่า มิหนำซ้ำในแต่ละมื้อก็รับประทานจนแน่นท้อง แต่พอถึงเวลาที่ร่างกายจะเอากากอาหารออก กลับถ่ายยากคือเป็นโรคท้องผูก ต้องเบ่งกันหน้าดำหน้าแดง จงรู้ไว้ด้วยเถิดว่า นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมภายในร่างกายได้ การมีนิสัยกินอาหารที่ไม่ทำให้ท้องผูก จึงมีความสำคัญมากในฐานะที่เป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพดี อวัยวะภายในแข็งแรง
ทั้งนี้ ก็เพราะว่าผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ คือ ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้วันละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย อาจเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้เช่น ริดสีดวงทวารหนัก โลหิตจาง ไส้เลื่อน ลำไส้ใหญ่พองตัว เป็นสิวตามใบหน้า น้ำเหลืองเสีย ทำงานที่ต้องออกแรงเพียงเล็กน้อย ก็จะมีอาการใจสั่นมาก มีโรคภูมิแพ้ หอบหืด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดข้อ โรคไส้ติ่งอักเสบ มีกลิ่นปาก กลิ่นตัว ลิ้นเป็นฝา อาหารไม่ย่อย นอนไม่หลับ หรือเป็นมะเร็งลำไส้ในที่สุด
โรคท้องผูกจึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด หากคนเราไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้วันละครั้งเป็นอย่างน้อย ก็ต้องถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ดีต่อสุขภาพของคนผู้นั้นแล้ว ต้องรีบแก้ไขโดยด่วนโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและอาหารที่กิน ก่อนที่โรคแห่งความเสื่อมของอวัยวะภายในของผู้นั้นจะลุกลามใหญ่โตจนสายเกินแก้
ลำไส้ใหญ่ของคนเราเป็นเหมือนถังขยะที่รองรับของเสียของร่างกาย สารพิษจากแบคทีเรียในเศษอาหารที่ย่อยไม่หมด รวมทั้งน้ำดีอาจพัฒนาไปเป็นโรคไทรอยด์ โรคเชื้อรา โรคสมองอักเสบ โรคเบาหวาน ฯลฯ ได้ (จากหนังสือ “มะเร็ง-ทำอย่างไรไม่เป็นมะเร็ง” โดยสุวัฒน์ สินสุวงศ์ พิมพ์โดย ชมรมคนรักสุขภาพ 7 ก้าว อ., พ.ศ. 2553)
ในลำไส้ใหญ่ของคนเรามีแบคทีเรียอยู่ 2 พวก พวกแรก เป็น แบคทีเรียที่ดี เช่น สเตรปโตคอคคัส แลคโตบาซิลลัส ที่ช่วยสังเคราะห์วิตามินบี 1 บี 6 ด้วยการย่อยกากอาหารที่ได้จากใยอาหารของพืช ผัก ผลไม้ และยังสังเคราะห์วิตามินเคอีกด้วย
พวกที่สอง เป็น แบคทีเรียวายร้าย เช่น อีโคไล แบคเตอรอยเดส บิฟิโตแบคทีเรีย ซึ่งจะทำการเปลี่ยนกรดน้ำดีชนิดที่ปนอยู่ในอุจจาระให้เป็นสารที่มีพิษต่อร่างกาย และเป็นสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังเปลี่ยนกรดน้ำดีบางชนิดให้กลายเป็นสารที่ยับยั้งตับไม่ให้สร้างกรดน้ำดีจากคอเลสเตอรอล ทำให้มีคอเลสเตอรอลเหลือในเลือดมากขึ้น มีผลต่อระบบหัวใจทำให้เส้นเลือดกระด้าง ไม่มีความยืดหยุ่น เกิดมีไขมันอุดตันในเส้นเลือด และจากการสร้างกรดน้ำดีน้อยลงทำให้ย่อยไขมันได้ไม่หมด เป็นเหตุให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ นอกจากนี้แบคทีเรียวายร้ายนี้ยังผลิตเอนไซม์ที่ชื่อ ยูรีแอสออกมาเปลี่ยนยูเรียที่เกิดจากสารพวกโปรตีนที่ถูกขับจากตับลงสู่ลำไส้ใหญ่ให้เป็น แอมโมเนียซึ่งเป็นด่างที่มีพิษต่อตับไต รวมทั้งเป็นสารที่ทำให้อุจจาระมีกลิ่นเหม็นมาก
การที่สารพิษที่อยู่ในลำไส้ใหญ่นี้มีสภาวะเป็นด่าง จะไปทำให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติ เพราะตามธรรมชาติแล้ว ลำไส้มีสภาวะเป็นกรด เมื่อสารพิษเหล่านี้ถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด (เนื่องจากมีอาการท้องผูก สารพิษเหล่านี้จึงถูกหมักหมมเอาไว้นานเกินไปจนถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด) ทำให้ตับต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อทำลายพิษที่เกิดจากอุจจาระ และขับออกจากร่างกายทางไต ในรูปของปัสสาวะ บางส่วนก็ต้องออกมาทางอุจจาระอีก
เพราะฉะนั้น ถ้าคนผู้นั้นยังท้องผูกอยู่ก็จะขับสารพิษเหล่านี้ไม่ออก แบคทีเรียวายร้ายในลำไส้ใหญ่ก็จะทำการเปลี่ยนกรดน้ำดีชนิดที่ปนอยู่ในอุจจาระให้เป็นสารพิษเพิ่มขึ้นไปอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ทุกๆ วัน นานวันเข้าทั้งตับและไตของคนผู้นั้นก็จะเสื่อมลง ส่งผลทำให้ระบบน้ำเหลือง ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบอื่นๆ ในร่างกายเกิดความขัดข้อง ชำรุด ทรุดโทรมตามไปทั้งหมดด้วย จนเป็นที่มาของโรคแห่งความเสื่อม หรือโรคเรื้อรังร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเกาต์ โรคภูมิแพ้ โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ
การมีความสามารถแยกแยะลักษณะของอุจจาระที่เราถ่ายออกมาในแต่ละวัน จึงมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรง โดยปกติลักษณะของอุจจาระแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
(1) อุจจาระที่หลวมๆ ไม่มีเมือกเหนียว อุจจาระประเภทนี้จะไม่ค่อยมีกลิ่นเหม็น เวลาถ่ายไม่ต้องเบ่งมาก เมื่อถ่ายออกมาอุจจาระกระจายตัวในน้ำไม่จับตัวเป็นก้อน กากอาหารหรืออุจจาระพวกนี้จะใช้เวลาผ่านลำไส้ใหญ่ 12-24 ชั่วโมง อาหารที่ให้กากลักษณะนี้เป็นอาหารประเภทที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง เผือก มัน ข้าวโพด ขนมปังโฮลวีต ทำให้แบคทีเรียวายร้ายไม่มีเวลาหมักอาหารให้เกิดการบูดเน่า อุจจาระจึงไม่ค่อยมีกลิ่นเหม็น และใยอาหารเหล่านี้ยังอุ้มน้ำช่วยให้กากอาหารไม่จับตัวเป็นก้อนแข็งทำให้ถ่ายได้ง่าย เวลาถ่ายอุจจาระ เราจึงควรมองในโถส้วมหลังการถ่ายเพื่อดูว่าอุจจาระของเรามีลักษณะอย่างไร เราจะพบว่า อุจจาระประเภทนี้จะกระจายตัวลอยในน้ำไม่จับตัวเป็นก้อน และมักจะมีสีเขียวขี้ม้า หรือสีเหลืองทอง ผู้ที่ถ่ายอุจจาระลักษณะนี้จะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ผิวพรรณผุดผ่อง
(2) อุจจาระเป็นก้อนเหนียว อุจจาระประเภทนี้ เมื่อถ่ายอุจจาระจะไม่กระจายตัว เป็นก้อนแข็งมีสีน้ำตาลออกดำ เป็นคราบเหนียวติดอยู่ตามชักโครก และมีกลิ่นเหม็นมาก อาหารที่ให้กากลักษณะนี้มาจากอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ไขมัน ข้าวขัดขาว ขนมปังขาว คุกกี้และเค้ก อาหารเหล่านี้ไม่มีเส้นใยอาหาร เมื่อถูกย่อยและดูดซึมจากลำไส้เล็กก็จะเหลือแต่กากที่เหนียวเหมือนยางมะตอย เมื่อผ่านลำไส้ใหญ่ที่มีลักษณะเป็นกระพุ้งๆ ทำให้แต่ละช่วง คราบเหนียวๆ เหล่านี้จะติดอยู่ตามผนังลำไส้ใหญ่ซึ่งยาวประมาณ 4.5-5 ฟุต
อุจจาระที่เหนียวหนับนี้ต้องใช้เวลา 2-5 วันกว่าจะถึงปากทวารหนัก (หมายความว่า หากถ่ายอุจจาระในวันศุกร์ อุจจาระที่ถ่ายออกมาคือ กากอาหารเย็นของวันอังคาร หรืออาหารวันพุธ) และตลอดเวลาที่กากอาหารนี้อยู่ในลำไส้ใหญ่ ยังมีการดูดซึมน้ำกลับสู่ร่างกายตลอดเวลา จึงเป็นสาเหตุให้อุจจาระแข็งขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้ กรดน้ำดีซึ่งปนมากับกากอาหารในลำไส้ใหญ่ที่กระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ขับเมือกปริมาณมากมายออกมาเคลือบผนังลำไส้ ไม่ให้ดูดซับพิษจากอาหารขยะ และเมื่อเมือกไม่ถูกขับออกไปเนื่องจากท้องผูก แล้วรับประทานอาหารขยะอย่างนี้ซ้ำๆ เข้าไปอีก เมือกก็จะถูกขับออกมาสะสมมากขึ้นๆ ในที่สุด เมือกจะจับตัวคล้ายหนังยางหนาบุลำไส้หล่อตามแม่พิมพ์เป็นรูปลำไส้ เรียกว่ามิวคอยด์ พลัก (Mucoid plaque) นานวันเข้าทั้งตับและไตของผู้นั้นจะเสื่อมลง ระบบน้ำเหลือง ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบอื่นๆ เกิดความขัดข้อง ชำรุด ทรุดโทรมไปทั้งหมด
มีรายงานการชันสูตรศพของชาวอังกฤษนับร้อยๆ รายพบว่า ลำไส้ใหญ่พองใหญ่เป็นสองเท่าของขนาดปกติ เมื่อผ่าเข้าไปดูที่บริเวณลำไส้ใหญ่ที่พองตัวนั้น ปรากฏว่ามีกากอาหารเก่าๆ ที่ผ่านการย่อยจนละเอียดยิบเหนียวหนับเหมือนยางมะตอยเคลือบติดผนังลำไส้ด้านในจนหนา (เป็นมิวคอยด์ พลัก) เหลือเพียงรูตรงกลางขนาดไม่ใหญ่กว่านิ้วหัวแม่มือพอเป็นทางให้อุจจาระผ่านออกไปได้เท่านั้น เมื่อตรวจประวัติคนไข้เหล่านี้ ก็ไม่เคยบอกหมอว่าเป็นโรคท้องผูก เพราะรู้สึกว่าตัวเองถ่ายได้ตามปกติ โดยที่คนไข้เหล่านี้ไม่เคยทราบเลยว่า อุจจาระของตนผ่านออกมาทางรูกลวงเล็กๆ เท่าหัวแม่มือเท่านั้น
ในกรณีอย่างนี้ ตัวคนไข้จะละเลยปัญหาของการขับถ่าย เพราะคิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นโรคท้องผูก จึงไม่ได้เปลี่ยนแปลงการกินอาหารของตน ที่กินอาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อย เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดกินอาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อยเป็นประจำ แต่ไม่มีอาการท้องผูกก็อย่าได้ประมาทหรือชะล่าใจเป็นอันขาด
(3) อุจจาระชนิดกึ่งกลางระหว่างประเภทที่หนึ่งกับประเภทที่สอง อุจจาระประเภทนี้ จะออกมาเป็นก้อนต่อเมื่อกดชักโครก จึงจะกระจายตัวมีกลิ่นไม่เหม็นมาก มีสีน้ำตาลอ่อน เพราะยังรับประทานเนื้อสัตว์มากกว่าผัก ผลไม้ คนที่ถ่ายอุจจาระลักษณะนี้ พบว่ายังมีตะกรันสะสมอยู่ในลำไส้ อาการโรคท้องผูกจึงไม่ได้หมายถึงกรณีถ่ายยาก ถ่ายไม่ออก หรือถ่ายทุก 3-7 วันเท่านั้น ต่อให้บางคนถ่ายทุกวัน แต่ถ้าอุจจาระที่ออกมาเหนียวแข็ง หรือบางทีถ่ายเหลวสลับกับถ่ายแข็ง หรือเมื่อถ่ายเสร็จพอออกจากห้องน้ำก็จะรู้สึกปวดถ่ายอีกเหมือนถ่ายไม่สุด แต่พอไปนั่งถ่ายใหม่ก็ถ่ายไม่ออก หรือออกนิดเดียวเป็นลูกกระสุนแข็งๆ ทั้งนี้เพราะมีอุจจาระเหนียวเป็นตะกรันคั่งค้างอยู่ตลอดความยาวของลำไส้ใหญ่
ในกรณีอย่างนี้ก็ต้องถือว่าเป็นอาการท้องผูกอย่างหนึ่งเช่นกัน อาการท้องผูกทำให้ตดเหม็น อุจจาระมีกลิ่นเหม็น และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคแห่งความเสื่อมต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว โรคท้องผูกจึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนเรามากกว่าที่คนทั่วไปคาดคิด วิธีแก้ไขโรคท้องผูกทำได้วิธีเดียวคือ ต้องรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมากทุกวัน และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 หนึ่งลิตร
www.suvinai-dragon.com
*ท้องผูกเป็นที่มาของโรคแห่งความเสื่อม*
โรคท้องผูกเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คนทั่วไปคาดคิดมากมายนัก หากผู้คนรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อหรือมากกว่า มิหนำซ้ำในแต่ละมื้อก็รับประทานจนแน่นท้อง แต่พอถึงเวลาที่ร่างกายจะเอากากอาหารออก กลับถ่ายยากคือเป็นโรคท้องผูก ต้องเบ่งกันหน้าดำหน้าแดง จงรู้ไว้ด้วยเถิดว่า นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมภายในร่างกายได้ การมีนิสัยกินอาหารที่ไม่ทำให้ท้องผูก จึงมีความสำคัญมากในฐานะที่เป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพดี อวัยวะภายในแข็งแรง
ทั้งนี้ ก็เพราะว่าผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ คือ ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้วันละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย อาจเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้เช่น ริดสีดวงทวารหนัก โลหิตจาง ไส้เลื่อน ลำไส้ใหญ่พองตัว เป็นสิวตามใบหน้า น้ำเหลืองเสีย ทำงานที่ต้องออกแรงเพียงเล็กน้อย ก็จะมีอาการใจสั่นมาก มีโรคภูมิแพ้ หอบหืด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดข้อ โรคไส้ติ่งอักเสบ มีกลิ่นปาก กลิ่นตัว ลิ้นเป็นฝา อาหารไม่ย่อย นอนไม่หลับ หรือเป็นมะเร็งลำไส้ในที่สุด
โรคท้องผูกจึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด หากคนเราไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้วันละครั้งเป็นอย่างน้อย ก็ต้องถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ดีต่อสุขภาพของคนผู้นั้นแล้ว ต้องรีบแก้ไขโดยด่วนโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและอาหารที่กิน ก่อนที่โรคแห่งความเสื่อมของอวัยวะภายในของผู้นั้นจะลุกลามใหญ่โตจนสายเกินแก้
ลำไส้ใหญ่ของคนเราเป็นเหมือนถังขยะที่รองรับของเสียของร่างกาย สารพิษจากแบคทีเรียในเศษอาหารที่ย่อยไม่หมด รวมทั้งน้ำดีอาจพัฒนาไปเป็นโรคไทรอยด์ โรคเชื้อรา โรคสมองอักเสบ โรคเบาหวาน ฯลฯ ได้ (จากหนังสือ “มะเร็ง-ทำอย่างไรไม่เป็นมะเร็ง” โดยสุวัฒน์ สินสุวงศ์ พิมพ์โดย ชมรมคนรักสุขภาพ 7 ก้าว อ., พ.ศ. 2553)
ในลำไส้ใหญ่ของคนเรามีแบคทีเรียอยู่ 2 พวก พวกแรก เป็น แบคทีเรียที่ดี เช่น สเตรปโตคอคคัส แลคโตบาซิลลัส ที่ช่วยสังเคราะห์วิตามินบี 1 บี 6 ด้วยการย่อยกากอาหารที่ได้จากใยอาหารของพืช ผัก ผลไม้ และยังสังเคราะห์วิตามินเคอีกด้วย
พวกที่สอง เป็น แบคทีเรียวายร้าย เช่น อีโคไล แบคเตอรอยเดส บิฟิโตแบคทีเรีย ซึ่งจะทำการเปลี่ยนกรดน้ำดีชนิดที่ปนอยู่ในอุจจาระให้เป็นสารที่มีพิษต่อร่างกาย และเป็นสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังเปลี่ยนกรดน้ำดีบางชนิดให้กลายเป็นสารที่ยับยั้งตับไม่ให้สร้างกรดน้ำดีจากคอเลสเตอรอล ทำให้มีคอเลสเตอรอลเหลือในเลือดมากขึ้น มีผลต่อระบบหัวใจทำให้เส้นเลือดกระด้าง ไม่มีความยืดหยุ่น เกิดมีไขมันอุดตันในเส้นเลือด และจากการสร้างกรดน้ำดีน้อยลงทำให้ย่อยไขมันได้ไม่หมด เป็นเหตุให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ นอกจากนี้แบคทีเรียวายร้ายนี้ยังผลิตเอนไซม์ที่ชื่อ ยูรีแอสออกมาเปลี่ยนยูเรียที่เกิดจากสารพวกโปรตีนที่ถูกขับจากตับลงสู่ลำไส้ใหญ่ให้เป็น แอมโมเนียซึ่งเป็นด่างที่มีพิษต่อตับไต รวมทั้งเป็นสารที่ทำให้อุจจาระมีกลิ่นเหม็นมาก
การที่สารพิษที่อยู่ในลำไส้ใหญ่นี้มีสภาวะเป็นด่าง จะไปทำให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติ เพราะตามธรรมชาติแล้ว ลำไส้มีสภาวะเป็นกรด เมื่อสารพิษเหล่านี้ถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด (เนื่องจากมีอาการท้องผูก สารพิษเหล่านี้จึงถูกหมักหมมเอาไว้นานเกินไปจนถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด) ทำให้ตับต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อทำลายพิษที่เกิดจากอุจจาระ และขับออกจากร่างกายทางไต ในรูปของปัสสาวะ บางส่วนก็ต้องออกมาทางอุจจาระอีก
เพราะฉะนั้น ถ้าคนผู้นั้นยังท้องผูกอยู่ก็จะขับสารพิษเหล่านี้ไม่ออก แบคทีเรียวายร้ายในลำไส้ใหญ่ก็จะทำการเปลี่ยนกรดน้ำดีชนิดที่ปนอยู่ในอุจจาระให้เป็นสารพิษเพิ่มขึ้นไปอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ทุกๆ วัน นานวันเข้าทั้งตับและไตของคนผู้นั้นก็จะเสื่อมลง ส่งผลทำให้ระบบน้ำเหลือง ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบอื่นๆ ในร่างกายเกิดความขัดข้อง ชำรุด ทรุดโทรมตามไปทั้งหมดด้วย จนเป็นที่มาของโรคแห่งความเสื่อม หรือโรคเรื้อรังร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเกาต์ โรคภูมิแพ้ โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ
การมีความสามารถแยกแยะลักษณะของอุจจาระที่เราถ่ายออกมาในแต่ละวัน จึงมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรง โดยปกติลักษณะของอุจจาระแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
(1) อุจจาระที่หลวมๆ ไม่มีเมือกเหนียว อุจจาระประเภทนี้จะไม่ค่อยมีกลิ่นเหม็น เวลาถ่ายไม่ต้องเบ่งมาก เมื่อถ่ายออกมาอุจจาระกระจายตัวในน้ำไม่จับตัวเป็นก้อน กากอาหารหรืออุจจาระพวกนี้จะใช้เวลาผ่านลำไส้ใหญ่ 12-24 ชั่วโมง อาหารที่ให้กากลักษณะนี้เป็นอาหารประเภทที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง เผือก มัน ข้าวโพด ขนมปังโฮลวีต ทำให้แบคทีเรียวายร้ายไม่มีเวลาหมักอาหารให้เกิดการบูดเน่า อุจจาระจึงไม่ค่อยมีกลิ่นเหม็น และใยอาหารเหล่านี้ยังอุ้มน้ำช่วยให้กากอาหารไม่จับตัวเป็นก้อนแข็งทำให้ถ่ายได้ง่าย เวลาถ่ายอุจจาระ เราจึงควรมองในโถส้วมหลังการถ่ายเพื่อดูว่าอุจจาระของเรามีลักษณะอย่างไร เราจะพบว่า อุจจาระประเภทนี้จะกระจายตัวลอยในน้ำไม่จับตัวเป็นก้อน และมักจะมีสีเขียวขี้ม้า หรือสีเหลืองทอง ผู้ที่ถ่ายอุจจาระลักษณะนี้จะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ผิวพรรณผุดผ่อง
(2) อุจจาระเป็นก้อนเหนียว อุจจาระประเภทนี้ เมื่อถ่ายอุจจาระจะไม่กระจายตัว เป็นก้อนแข็งมีสีน้ำตาลออกดำ เป็นคราบเหนียวติดอยู่ตามชักโครก และมีกลิ่นเหม็นมาก อาหารที่ให้กากลักษณะนี้มาจากอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ไขมัน ข้าวขัดขาว ขนมปังขาว คุกกี้และเค้ก อาหารเหล่านี้ไม่มีเส้นใยอาหาร เมื่อถูกย่อยและดูดซึมจากลำไส้เล็กก็จะเหลือแต่กากที่เหนียวเหมือนยางมะตอย เมื่อผ่านลำไส้ใหญ่ที่มีลักษณะเป็นกระพุ้งๆ ทำให้แต่ละช่วง คราบเหนียวๆ เหล่านี้จะติดอยู่ตามผนังลำไส้ใหญ่ซึ่งยาวประมาณ 4.5-5 ฟุต
อุจจาระที่เหนียวหนับนี้ต้องใช้เวลา 2-5 วันกว่าจะถึงปากทวารหนัก (หมายความว่า หากถ่ายอุจจาระในวันศุกร์ อุจจาระที่ถ่ายออกมาคือ กากอาหารเย็นของวันอังคาร หรืออาหารวันพุธ) และตลอดเวลาที่กากอาหารนี้อยู่ในลำไส้ใหญ่ ยังมีการดูดซึมน้ำกลับสู่ร่างกายตลอดเวลา จึงเป็นสาเหตุให้อุจจาระแข็งขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้ กรดน้ำดีซึ่งปนมากับกากอาหารในลำไส้ใหญ่ที่กระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ขับเมือกปริมาณมากมายออกมาเคลือบผนังลำไส้ ไม่ให้ดูดซับพิษจากอาหารขยะ และเมื่อเมือกไม่ถูกขับออกไปเนื่องจากท้องผูก แล้วรับประทานอาหารขยะอย่างนี้ซ้ำๆ เข้าไปอีก เมือกก็จะถูกขับออกมาสะสมมากขึ้นๆ ในที่สุด เมือกจะจับตัวคล้ายหนังยางหนาบุลำไส้หล่อตามแม่พิมพ์เป็นรูปลำไส้ เรียกว่ามิวคอยด์ พลัก (Mucoid plaque) นานวันเข้าทั้งตับและไตของผู้นั้นจะเสื่อมลง ระบบน้ำเหลือง ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบอื่นๆ เกิดความขัดข้อง ชำรุด ทรุดโทรมไปทั้งหมด
มีรายงานการชันสูตรศพของชาวอังกฤษนับร้อยๆ รายพบว่า ลำไส้ใหญ่พองใหญ่เป็นสองเท่าของขนาดปกติ เมื่อผ่าเข้าไปดูที่บริเวณลำไส้ใหญ่ที่พองตัวนั้น ปรากฏว่ามีกากอาหารเก่าๆ ที่ผ่านการย่อยจนละเอียดยิบเหนียวหนับเหมือนยางมะตอยเคลือบติดผนังลำไส้ด้านในจนหนา (เป็นมิวคอยด์ พลัก) เหลือเพียงรูตรงกลางขนาดไม่ใหญ่กว่านิ้วหัวแม่มือพอเป็นทางให้อุจจาระผ่านออกไปได้เท่านั้น เมื่อตรวจประวัติคนไข้เหล่านี้ ก็ไม่เคยบอกหมอว่าเป็นโรคท้องผูก เพราะรู้สึกว่าตัวเองถ่ายได้ตามปกติ โดยที่คนไข้เหล่านี้ไม่เคยทราบเลยว่า อุจจาระของตนผ่านออกมาทางรูกลวงเล็กๆ เท่าหัวแม่มือเท่านั้น
ในกรณีอย่างนี้ ตัวคนไข้จะละเลยปัญหาของการขับถ่าย เพราะคิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นโรคท้องผูก จึงไม่ได้เปลี่ยนแปลงการกินอาหารของตน ที่กินอาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อย เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดกินอาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อยเป็นประจำ แต่ไม่มีอาการท้องผูกก็อย่าได้ประมาทหรือชะล่าใจเป็นอันขาด
(3) อุจจาระชนิดกึ่งกลางระหว่างประเภทที่หนึ่งกับประเภทที่สอง อุจจาระประเภทนี้ จะออกมาเป็นก้อนต่อเมื่อกดชักโครก จึงจะกระจายตัวมีกลิ่นไม่เหม็นมาก มีสีน้ำตาลอ่อน เพราะยังรับประทานเนื้อสัตว์มากกว่าผัก ผลไม้ คนที่ถ่ายอุจจาระลักษณะนี้ พบว่ายังมีตะกรันสะสมอยู่ในลำไส้ อาการโรคท้องผูกจึงไม่ได้หมายถึงกรณีถ่ายยาก ถ่ายไม่ออก หรือถ่ายทุก 3-7 วันเท่านั้น ต่อให้บางคนถ่ายทุกวัน แต่ถ้าอุจจาระที่ออกมาเหนียวแข็ง หรือบางทีถ่ายเหลวสลับกับถ่ายแข็ง หรือเมื่อถ่ายเสร็จพอออกจากห้องน้ำก็จะรู้สึกปวดถ่ายอีกเหมือนถ่ายไม่สุด แต่พอไปนั่งถ่ายใหม่ก็ถ่ายไม่ออก หรือออกนิดเดียวเป็นลูกกระสุนแข็งๆ ทั้งนี้เพราะมีอุจจาระเหนียวเป็นตะกรันคั่งค้างอยู่ตลอดความยาวของลำไส้ใหญ่
ในกรณีอย่างนี้ก็ต้องถือว่าเป็นอาการท้องผูกอย่างหนึ่งเช่นกัน อาการท้องผูกทำให้ตดเหม็น อุจจาระมีกลิ่นเหม็น และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคแห่งความเสื่อมต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว โรคท้องผูกจึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนเรามากกว่าที่คนทั่วไปคาดคิด วิธีแก้ไขโรคท้องผูกทำได้วิธีเดียวคือ ต้องรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมากทุกวัน และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 หนึ่งลิตร