ASTVผู้จัดการรายวัน - ภาคเอกชน สุดทน! รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" แก้วิกฤตน้ำท่วมไม่ลุล่วง เสนอระเบิดถนนขวางทางน้ำก้อนมหึมา 5 เส้นทาง เพื่อระบายน้ำฝั่งตะวันออก ท่ามกลางเสียงยังแตกทั้งเห็นด้วย-คัดค้าน “เสรี” ยันไม่สามารถแก้ปัญหาระบายน้ำได้จริง เสนอเร่งรื้อคันดิน กั้นน้ำตรงคลอง 9-13 เพื่อให้น้ำไหลเร็วขึ้น ขณะที่ นายกฯ "ปู" เพิ่งตื่น! ยอมรับวิกฤตแล้ว เหตุฝืนธรรมชาติ ก่อนดราม่า ฝืนกลืนน้ำตา! ยันไม่ย้าย ศปภ.ดอนเมือง ด้านญี่ปุ่นยกทีมผู้เชี่ยวชาญการรถไฟ-ประปา เยือนไทยช่วยรับมือภัยน้ำท่วม
วานนี้ (27 ต.ค.) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและทรัพยากรน้ำชาวไทย นำโดย นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานบริหารบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นายชูลิต วัชรสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำ และนายทศพร ศรีเอี่ยม ได้เข้าพบ .ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอแนวทางในการระบายน้ำในพื้นที่ตะวันออกของกทม. โดยการทำการขุดเจาะถนนจำนวน 5 เส้นทาง เพื่อเปิดทางให้น้ำไหลผ่านได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากพบว่าระบบระบายน้ำยังทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะไม่สามารถผันน้ำเขาเครื่องสูบน้ำได้มากเพียงพอ
หลังจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้มอบหมายให้คณะของนายนินนาท ประชุมหารือร่วมกับ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม กรมทางหลวง กรมชลประทาน และกรุงเทพมหานคร เพื่อประเมินแนวทางในการดำเนินการ รวมไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งทางคณะจะได้ร่วมกันขึ้นเฮลิคอปเตอร์เพื่อสำรวจเส้นทางก่อนสรุปผลและนำเสนอนายกฯอีกครั้ง
โดย นายนินนาท กล่าวก่อนขึ้นสำรวจพื้นที่ ว่า ข้อเสนอในการแก้ปัญหาน้ำท่วม คือการระบายน้ำออกทางภาคตะวันออก ด้วยการเจาะถนนที่ขวางทางน้ำก้อนมหึมาอยู่ในตอนนี้ 5 เส้นทาง ได้แก่ ถ.ประชาร่วมใจ ถ.ราษฎร์อุทิศ ถ.สุวินทวงศ์ ถ.ร่วมพัฒนา และ ถ.นิมิตรใหม่ ซึ่งจะเจาะผ่านถนนจุดละประมาณ 5-6 เมตร โดยเราจะพยายามรวบรวมผู้รับเหมาก่อสร้างทางภาคเอกชนมาช่วยเหลือการขุดเจาะถนน ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องตัดสินใจว่า หากมีการดำเนินการจริงจะมีผลกระทบกับประชาชนที่อยู่ในเส้นทางเหล่านั้นอย่างไร
“ภาคเอกชนพยายามจะรวบรวมแนวทางเสนอให้รัฐบาลสามารถระบายน้ำก่อนใหญ่ซีกตะวันออกให้ลงสู่ทะเลโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยทำให้พื้นที่ กทม.ชั้นในคลายความกังวลไปได้เยอะ เพราะจากการลงพื้นที่เมื่อวานนี้ (26 ต.ค.) พบว่าปั๊มน้ำยังทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำงานได้เพียงร้อยละ 30 เท่านั้น เนื่องจากไม่มีน้ำไหลมาถึงในปริมาณที่มากพอ เพราะมีถนนเป็นคันกั้นน้ำอยู่หลายสาย” นายนินนาท กล่าว
**สุกำพล ยันไม่กระทบ มีบูรพาวิถีรับรอง
พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ขอไปสำรวจเส้นทางที่จะดำเนินการตัดถนนก่อน ซึ่งยอมรับว่ามีถนนของ กทม.และกรมทางหลวง ที่ขวางกั้นทางน้ำ หากจำเป็นจะต้องตัดถนนเพื่อรับายน่ำออกก็ต้องทำ แต่การจะตัดถนนนั้นจะต้องทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่เสียก่อน ส่วน ถ.บางนา-ตราด หากจำเป็นต้องตัดก็จะไม่กระทบต่อเส้นทางที่จะออกไปยังภาคตะวันออก เนื่องจากมีทางพิเศษบางนา-ชลบุรี หรือบูรพาวิถีคอยรองรับอยู่
**“ปลัดคค.”เซ็ง!เสนอทีไร พับตลอด
นายสุพจน์ ทรัพยล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การเจาะถนนระบายน้ำจะต้องรอให้มีการสรุปหลังจากที่ลงพื้นที่สำรวจของคณะทำงานก่อน ขณะนี้ส่วนตัวยังไม่ทราบรายละเอียดมากนัก ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติ ดังนั้นจึงอยู่ที่ระดับนโยบาย และผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการน้ำที่ต้องประเมินถึงผลดีผลเสียอย่างละเอียดก่อนที่จะนำเสนอต่อที่ประชุม เพื่ออนุมัติออกมาเป็นแนวทางดำเนินการอีกครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการดำเนินการดังกล่าว จะสามารถช่วยในการระบายน้ำได้ตามแนวคิดจริงหรือไม่ด้วย
ส่วนตัวมีความเป็นห่วงถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมาจากการตัดหรือเจาะถนนนั้นมีค่อนข้างมาก โดยเฉพาะชุมชนและประชาชนที่อาศัยอยู่ในเส้นทางที่น้ำจะผ่านต้องได้รับความเดือดร้อน อย่างไรก็ตามยอมรับแนวคิดดังกล่าวได้เคยมีการเสนอมาแล้วก่อนหน้านี้ในกรณีการระบายน้ำฝั่งตะวันตกของ กทม. แต่สุดท้ายไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากเห็นว่าทางระบายน้ำเดิมยังมีความเพียงพออยู่
**"ประชา"รอฟังรายละเอียดก่อน
พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)กล่าวถึงแนวทางที่จะมีการเจาะถนนเพื่อระบายน้ำไปทางฝั่งตะวันออกของกทม. ว่า ก็มีปัญหาอยู่มาก เนื่องจากความคิดทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน โดยฝ่ายที่อยากให้ระบายน้ำลงคูคลองก็อยากให้น้ำไหลตามระบบที่ทำไว้ แต่ฝ่ายที่ไม่อยากให้น้ำไหลลงไปก็กลัวว่าจะได้รับผลกระทบ ซึ่งขณะนี้ก็กำลังเร่งทำความเข้าใจได้บางส่วนแล้ว เพราะหากระบายน้ำลงได้ไม่เต็มที่ ก็ขอให้ช่วยสิ่งที่กีดขวางทางน้ำ โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี ขณะที่แนวทางการเจาะแนวทางถนนตนยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน
**ปู ยันผันน้ำวิภาวดีแนวคิดกทม.
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนักวิชาการเสนอให้ถนนวิภาวดี รังสิต เป็นพื้นที่ระบายน้ำ ว่า ได้ข่าวมาว่าทางกทม. ได้มีการหารือกัน แต่ในเชิงของการทำงานไม่แน่ใจว่าจะช่วยได้หรือไม่ ขอให้ภาควิชาการได้วิเคราะห์กัน แต่สำหรับในวันนี้เท่าที่สอบถามมา แนวทางตรงกันคือ การระบายน้ำไปทางฝั่งตะวันออกของกทม. รวมทั้งการระบายน้ำไปทางฝั่งตะวันตกด้วยแต่ยังทำได้ยาก
** ดร.เสรีค้านไม่ระบายน้ำได้จริง
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโดยระบุว่า ไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องและจะไม่สามารถระบายน้ำได้จริง อีกทั้งการเจาะถนนตรงพื้นที่คลอง 13-14 ไม่เกิดประโยชน์ เนื่องจากขณะนี้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าท่วมมาจากคลองเปรมประชากรและคลองรังสิตอย่างเดียว ไม่ได้มาจากที่อื่น
ทั้งนี้ ได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการในขณะนี้ คือ การรื้อคันดินที่กั้นน้ำตรงคลอง 9-13 เพื่อให้น้ำไหลเร็วขึ้น และติดตั้งเครื่องสูบน้ำประมาณ 10 เครื่องบริเวณคลองรังสิตและคลองหกวาสายล่าง แล้วสูบน้ำปล่อยลงไปที่คลอง 13 ซึ่งจะช่วยทำให้น้ำไหลระบายลงสู่อ่าวไทยได้เร็วขึ้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้การระบายน้ำจากฝั่งทางด้านตะวันออกล่าช้านั้น เกิดจากระดับพื้นที่ดินในเขตจ.นครนายกสูงกว่ารังสิต ดังนั้นหากมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำดันกลับไปก็จะทำให้สามารถระบายน้ำทางฝั่งตะวันออกได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่สำรวจเครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งอยู่บริเวณเขื่อนคลองด่านพบว่า เครื่องทำงานได้ดีและสามารถสูบน้ำลงอ่าวไทยได้ในระดับที่น่าพอใจ
** เพิ่งตื่น! “ปู” ยอมรับฝืนธรรมชาติ
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้กทม.อยู่ในขั้นวิกฤติแล้ว “คงจะเป็นเช่นนั้น” วันนี้สิ่งที่เราพยายามทำขอกราบเรียนประชาชน เรากำลังฝืนธรรมชาติของน้ำ เพราะมวลน้ำมันก้อนใหญ่ ดังนั้น หากเราฝืนหมดคงไม่มีทาง เพราะจากการสำรวจเจอหลายจุด ไม่มีแนวที่ทำไว้ก่อน ต้องบอกว่าสภาพทั้งกรุงเทพฯเราได้นำกำลังคนไปกั้น ขณะที่ทำก็ต้องต่อสู้กับน้ำ ต่อสู้กับความแข็งแรงขอพนังกั้นน้ำและยังเจอกับมวลชนด้วย ซึ่งต้องขอความเห็นใจ เพราะบางครั้งหากจะให้ใช้กฎหมายกับมวลชน แต่ในฐานะของมนุษยธรรมด้วยกัน ประชาชนเองก็เจอกับความทุกข์ทรมานกับน้ำมามาก ไม่อยากบอกให้พื้นที่นั้น พื้นที่นี้รับน้ำ ซึ่งในความเป็นจริงเราต้องมาประสานสามัคคีกัน โดยดูว่าธรรมชาติของน้ำไหลไปทางไหน และให้ไหลเร็วที่สุด มันจะทนกับความทุกข์ทรมานได้ อันนี้คือทางออก
เมื่อถามว่า ในวันนี้จะปล่อยให้มวลน้ำไหลไปตามธรรมชาติ โดยที่ไม่ต้องไปกั้นน้ำในพื้นที่จุดใดได้หรือไม่ น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ กล่าวว่า น้ำมวลใหญ่มาก หากเราปล่อยไปตามธรรมชาติมากเกินไปก็ จะทำให้เกิดการทะลัก และทำให้บางพื้นที่ไม่สามารถเตรียมตัวได้ทัน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการกั้นเพื่อชะลอน้ำ เพื่อพยายามให้น้ำไหลไปตามคลอง ซึ่งได้พยายามอย่างดีที่สุด แต่บางครั้งน้ำเยอะ ซึ่งในวันนี้เราได้มีการนำเข้ากระสอบทราย ที่มีความยาว 1 กิโลเมตร ต่อกระสอบมาทดลอง ซึ่งเป็นกระสอบขนาดใหญ่ที่ช่วยประหยัดเวลา แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของทรัพยากรต่างๆ โดยบางพื้นที่ มีการแนะนำให้ใช้แผ่นเหล็กปักลงไป แต่สำหรับพื้นที่บริเวณที่น้ำเชี่ยว อุปกรณ์เครื่องจักร ไม่สามารถเดินทางเข้าไปได้ ขณะเดียวกันวันนี้แผ่นเหล็กต่างๆก็หมดแล้ว พยายามหาทุกที่แล้วก็ไม่มี ซึ่งยมอรับมีปัจจัยต่างๆที่เราควบคุมไม่ค่อยได้
**รับพื้นที่กทม.อาจท่วมเกิน 1 เดือน
เมื่อถามว่า น้ำที่ท่วมขังในกทม.จะกินเวลานานมากถึง 1 เดือนหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า บางพื้นที่อาจกินระยะเวลา 1 เดือน แต่บางพื้นที่อาจเร็วกว่านั้น ขึ้นอยู่กับระบบการสูบน้ำ ที่จะต้องมีการหารือกับทางกทม.ในการเร่งระบายน้ำ แต่หากส่วนไหนที่ทางรัฐบาลและศปภ.ช่วยได้ก็ยินดี ซึ่งวันนี้ต้องขอกำลังใจให้กันและกัน ทางเจ้าหน้าที่ได้ต่อสู้กับน้ำมาประมาณเดือนสองเดือนแล้ว เห็นใจหลายคนเกิดความเหนื่อยล้า ปัจจัยหลายๆอย่างไม่ได้เกิดจากศูนย์ทั้งหมด ขอเรียนว่าศูนย์นี้คนมาเยอะ เป็นที่พักพิงด้วย จึงแน่นอนว่าการสื่อสารต่างๆอาจเกิดความไม่เข้าใจกันบ้าง ซึ่งตนเองก็พยายามกับทีมงานและเห็นใจผู้อำนวยการศูยน์ ซึ่งวันนี้นอนวันละเพียงชั่วโมงสองชั่วโมงเท่านั้น
ทั้งนี้ตนเอง ได้พยายามบอกทางศปภ.ว่า อย่าลืมประชาชนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งมีมากถึง 3 ล้านกว่าคน ซึ่งเราได้ติดตามดูและบางจังหวัดน้ำเริ่มลดลงแล้ว เราต้องเข้าสู่โหมดของการฟื้นฟู
**“ประชา”ไม่รับรองท่วมอนุสาวรีย์ชัยฯ
อีกเรื่อง พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการศปภ.กล่าวว่าต้องยอมรับว่าพื้นที่กทม.เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ธรรมชาติของน้ำต้องเคลื่อนที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ส่วนโอกาสที่น้ำจะเข้าไปยังบริเวณอนุสาวรีชัยสมรภูมิมีหรือไม่ เห็นว่า ธรรมชาติของน้ำคงไม่เว้นที่ใดที่หนึ่ง หากพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ต่ำ น้ำก็คงต้องไหลไป ซึ่งขณะนี้เรากำลังชะลอน้ำในหลายๆจุด ประมาณ 10 จุด แต่กลับพบว่ามีประชาชนที่ไม่เข้าใจมาขัดขวางการทำคันกั้นน้ำ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มีปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องการระบายน้ำ จึงทำให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างช้า
เมื่อถามว่า หากสถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลายจะพิจารณาขยายวันหยุดราชการอีกหรือไม่ พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า จะต้องปรึกษาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีก่อน เมื่อถามว่า ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาของฝั่งธนบุรีมากกว่าฝั่งพระนคร พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า ไม่ได้ครับ รัฐบาลให้ความสำคัญเท่ากันทุกพื้นที่ และทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้ง 21 จังหวัด โดยรัฐบาลพร้อมจะให้ความช่วยเหลือเต็มที่สุดความสามารถ
**“บิ๊กอ๊อด”เตือน28-29 ต.ค.น้ำทะเลหนุนสูง
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวว่า ขณะนี้เราใช้กำลังทหารทั้งหมด สำหรับพื้นที่ที่จะเป็นช่องโหว่ โดยเรามีทหารเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนกรณีที่มีชาวบ้านพยายามพนังกั้นน้ำทางตะวันออกของกรุงเทพ ทางศูนย์ปฏิบัติช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)ได้ติดต่อมาทางตน เพื่อขอให้ผบ.ทบ.ส่งสารวัตรทหารไป่ช่วยตำรวจดูแลพื้นที่ เพราะตำรวจไม่สามารถห้ามประชาชนที่มารื้อพนังกั้นน้ำได้ ทางนายกฯจึงแจ้งมาที่ตน ซึ่งตนได้นำสารวัตรทหารไปเสริมกำลังตำรวจเพื่อรักษาพนังกั้นน้ำ
ในส่วนกทม.จะท่วมทุกพื้นที่หรือไม่ ต้องดูวันที่ 28-29 ต.ค.นี้ โดยเฉพาะวันที่ 28 ต.ค.ที่น้ำทะเลหนุนสูงสุด และถ้าน้ำขึ้นสูงสุดอย่างที่กรมอุทกศาสตร์บอกคือ สูงเกินกว่าพนังกั้นน้ำในกรุงเทพฯซึ่งมีความสูง 2.50 เมตร ถ้าน้ำขึ้นมาประมาณ 2.60 เมตรในวันพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ เราก็ต้องเตรียมเรื่องอพยพไว้ด้วย ซึ่งต้องดูจำนวนน้ำว่าเป็นไปตามที่กรมอุทกศาสตร์บอกหรือไม่
**“ประยุทธ์”เชียร์นายกฯเชิญ “มาร์ค”หารือ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวภายหลังการหารือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า ตอนนี้มีหลายแนวทางที่เสนอมาที่รัฐบาลในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งคาดว่าเร็วๆนี้นายกฯ จะเชิญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และ กทม.เข้ามาหารือ ดีกว่าต่างคนต่างทำงาน เพราะเวลานี้การร่วมมือกันทำงานถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด และกองทัพพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือด้านกำลังคน และยุทโธปกรณ์อย่างเต็มที่
**“ปู”ดราม่าบ่อน้ำตาเกือบแตก
ผู้สื่อข่าวรยงานว่า ภายหลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางถึงและลงจากรถประจำตำแหน่ง ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีรู้สึกสะเทือนใจ เสียใจ และอยากบอกอะไรกับประชาชนในเวลานี้บ้าง หรือรู้สึกอัดอั้นอะไรในขณะนี้
โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า “กราบเรียนพี่น้องประชาชนว่าเราเองมีเจตนาดี และมีความตั้งใจ” ระหว่าง นี้นายกฯเริ่มมีน้ำเสียงที่ติดขัด พร้อมกับมีน้ำตาคลอ ขณะที่ผู้สื่อข่าวพยายามบอกว่าให้หายใจลึกๆเพื่อเป็นการให้กำลังต่อนายกฯ พร้อมกับบอกว่าจะร้องไห้เลยหรือ ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่ท้อ
เมื่อถามว่า หลังจากเจอปัญหานายกฯร้องไห้บ่อยหรือไม่ น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือว่า ขอเรียนว่าไม่ได้ร้องเลย แต่หลายคนที่เห็นภาพมันอาจจะเป็นจังหวะ แต่ไม่เคยร้องไห้ เราอยู่ตรงนี้ต้องเข้มแข็งและยืนยิ้มรับช่วยกัน
เมื่อถามว่า มีมาตรการอะไรพิเศษรองรับปัญหาเพิ่มเติมหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า วันนี้มาตรการป้องกันต้องยอมรับว่าทำได้ยาก และประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นหลายประเทศ ทั้งกัมพูชา เวียดนามก็เจอภาวะแบบเรา ตนเองก็พยายามที่จะคุยกับต่างประเทศในการแก้ปัญหา ซึ่งเขาบอกว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ยากจะควบคุมได้ ดังนั้น มาตรการที่เราจะออกจากนี้คงเป็นการเตรียมฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน โดยต้องคำนวณการใช้เครื่องสูบน้ำทั้งหมด ต้องใช้จำนวนเท่าใด เพราะแค่กู้อุตสาหกรรมนิคมต่างๆก็ใช้นับพันตัว ซึ่งในประเทศไม่เพียงพอ จะต้องนำเข้า และเวลานี้ที่ประเทศจีนก็หายากแล้ว แต่ก็จะสั่งไว้ล่วงหน้า ตรงนี้คือการเตรียมแผนฟื้นฟู
**ปูยันไม่ย้าย ศปภ.ดอนเมือง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงการย้ายที่ทำการศปภ.ว่า ขอเป็นคนสุดท้าย ขอทำหน้าที่ของเราตรงนี้ให้เต็มที่ เวลานี้เส้นทางโทลล์เวย์ยังใช้ได้ แต่ต้องขอดูการเดินทางของเจ้าที่ ที่มาปฏิบัติการที่ศปภ.อีกทั้งต้องดูที่อื่นไว้ด้วย แต่ก็ไม่อยากให้เป็นในลักษณะของการตื่นตระหนกหรือรีบย้าย เพราะศปภ.ได้ มีการติดตั้งระบบไว้อย่างเรียบร้อยแล้ว
ขณะเดียวกันก็ต้องเห็นใจข้าราชการที่ทำงานกันหนัก เนื่องจากศปภ.เป็นเพียงศูนย์เดียวและมีเจ้าหน้าที่จำกัด ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ เองก็กลายเป็นผู้ประสบอุทกภัยด้วย ต้องบอกว่า ศปภ.นี้เกิดจาการรวมพลังของทุกคนในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นขอความกรุณาให้เห็นใจเจ้าหน้าที่ เพราะวันนี้เหนื่อยล้ากันมากขอให้พยายามช่วยกันกู้ขวัญกำลังใจ
ส่วนที่รมว.กลาโหมเสนอให้ใช้พื้นที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี รังสิต จะเป็นไปได้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ในส่วนของบริเวณนี้ถือว่าเป็นแนวเดียวกัน โดยเฉพาะเส้นทางการจราจร ซึ่งตัวอาคารไม่มีปัญหา มีหลายที่อยู่ได้ แต่รู้สึกเป็นห่วงบุคลากรที่มาทำงาน ซึ่งต้องประเมินสถานการณ์ว่า เส้นทางใดที่สะดวกและสามารถขับรถอ้อมเข้ามาปฏิบัติงานใน ศปภ.ได้ ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญ สำหรับสโมสรทหารบกเห็นว่า เป็นสถานที่ ที่ดี แต่จะเจอน้ำเหมือนกัน ไม่ต่างจากที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ดังนั้นขอดูในมุมอื่นๆก่อน แต่ขอยืนยันว่า จะไม่ไปที่จ.ชลบุรีแน่นอน
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวว่า ขึ้นอยุ่กับนายกฯว่าจะพิจารณาย้ายหรือไม่ และหากย้ายจะย้ายไปที่ไหน สำหรับสโมสรทหารบก เป็นศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพบก ถ้าจะย้ายมาใช้ที่เดียวกัน คงไม่มีอะไรขัดข้อง แต่ข่าวว่า จะย้ายไปอยู่ที่สนามศุภชลาศัย ซึ่งทั้งหมดขึ้อนยู่กัยรัฐบาลว่า จะพิจารณาเลือกตรงไหน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวว่า นายกฯยืนยันว่ายังไม่จำเป็นที่ต้องพูดเรื่องนี้ และการเลือกสถานที่ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ส่วนการที่จะไปใช้สถานที่ของกองทัพนั้น อยากบอกว่าจะไม่ให้ทหารมีที่อยู่บ้างเลยหรือ เวลามีกำลังพลเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 4-5 หมื่นคนและจะมีเข้ามาเพิ่มเติมอีก จากกองทัพภาคที่ 2 และ 3
ขณะที่เมื่อช่วงเช้ามืด เจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ได้ตัดกระแสไฟฟ้าทั้งหมดและใช้ไฟสำรองเป็นการชั่วคราว ซึ่งสามารถใช้ได้นาน 5 ชั่วโมง เนื่องจากเขื่อนทางด้านทิศเหนือของสนามบินดอนเมือง ได้แตกลงเมื่อเวลา 04.00 น. ทำให้มีน้ำท่วมขังเข้าไปถึงหม้อแปลงผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังเร่งแก้ไข โดยการสูบน้ำออกจากจุดดังกล่าว ขณะที่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต้องหยุดชะงักลง โดยเฉพาะรายการที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ต้องย้ายไปออกอากาศที่ห้องส่งถนนวิภาวดี ชั่วคราว ส่วนนายกรัฐมนตรี ได้ย้ายมาใช้พื้นที่ศูนย์ปฏิบัติการของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่บริเวณห้องโถงด้านนอก เป็นสถานที่ประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ เนื่องจากห้องประชุมเดิมของศปภ.มีปัญหาระบบไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ในเวลา 10.00 น. เจ้าหน้าที่ได้แก้ไขให้ไฟฟ้ากลับมาใช้ได้ตามปกติแล้ว แต่ก็ยังคงเฝ้าระวังไม่ให้น้ำไหลเข้าไปท่วมหม้อแปลงไฟฟ้าอีก
**ประสาน 8 จังหวัดอพยพ 2 แสนคน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงการวางแผนในการอพยพประชาชน ในกทม. ว่า ได้มีการเตรียมการสำรองไว้ที่จ.ลพบุรี ซึ่งสามารถรองรับประชาชนได้ 5,000 - 10,000 คน รวมทั้งจ.ชลบุรี และอีกหลายๆจังหวัด ทั้งนี้ได้เร่งจังหวัดต่างๆที่สามารถรองรับประชาชนได้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับความสะดวกของประชาชนว่าจะมีความเต็มใจหรือไม่ ซึ่งตนก็ต้องขอความร่วมมือ เพราะไม่มีทางเลือกมานัก ทั้งนี้ ต้องขอความกรุณาประชาชนต่างจังหวัด หากไปใช้ศูนย์ยังต่างจังหวัด จะขอขอบคุณมาก เพราะจะช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนของ กทม.ในภาวะกรณีฉุกเฉิน เพราะสถานที่สำรองในพื้นที่กทม.ที่สำรองไว้เป็นส่วนราชการทั้งหมด
พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า ได้.เตรียมแผนอะไรเพิ่มขึ้นในการอพยพประชาชน ตั้งแต่เมื่อวันที่26 ต.ค. ทั้งแผนการเคลื่อนย้ายประชาชนไปยังศูนย์พักพิง ใน 8 จังหวัดด้วยกัน เช่น ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง นครราชศรีมา กาญจนบุรี นครปฐม เป็นต้น ซึ่งสามารถรับจำนวนประชาชนผู้อพยพได้จำนวน 1-2 แสนคน ส่วนระยะเวลาที่จะแจ้งต่อประชาชนเพื่ออพยพนั้น เราก็จะแจ้งเตือนอีกครั้ง ซึ่งหน่วยงานที่จะลำเลียงคนไปยังศูนย์อพนั้น เราได้ประสานงานไปหลายหน่วยงาน ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของทหารเพียงอย่างเดียว.
**ทหารรอคำสั่งให้แจกของบริจาค ***
สำหรับกรณีที่ ศปภ. มีแนวคิดจะให้ทหารเข้าไปดูแลเรื่องของบริจาค หลังเกิดปัญหาการกระจายไม่ทั่วถึงผู้ประสบอุทกภัย นั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า การจะให้กองทัพเข้าไปดำเนินการต้องไปรับคำสั่งจากศปภ. แต่ขณะนี้ศปภ.ยังไม่ได้สั่งการมายังกระทรวงกลาโหม แต่ถ้าหากจะให้เราทำ เราก็พร้อมสนับสนุนรัฐบาล จะทำให้ให้เป็นระบบและดีที่สุด
*** "ไอ้เต้น"ฉุนเด็กพท.ยกย่องมหาจำลอง ***
ส่วนประเด็นที่นายฉลอง เรี่ยวแรง ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ระบุการแจกสิ่งของบริจาค จะเอื้อประโยชน์เฉพาะคนเสื้อแดง นั้น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า นายฉลองไม่ใช่คนที่เราจะไปถกเถียงกันอีก เพราะการพูดถึงคนเสื้อแดงว่า ส.ส.จะต้องคอยให้เงิน และมีบางส่วนคอยแสวงหาผลประโยชน์ หรือการที่กล่าวยกย่อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่าเป็นผู้นำที่น่านับถือ ก็เป็นข้อสรุปว่านายฉลองไม่เคยเข้าใจความเป็นคนเสื้อแดง ฉะนั้นทัศนคติแบบนี้ คนเสื้อแดงที่มาทำงานเป็นจิตอาสาก็ไม่ควรไปเสียเวลา และไม่ควรเก็บมาเป็นสาระ
ส่วนกรณีที่นายฉลองท้าทายให้แกนนำคนเสื้อแดงหรือนายณัฐวุฒิ ลงสมัคร ส.ส.นนทบุรี หรือ กทม.ไม่ให้หนีไปลงแบบบัญชีรายชื่อนั้น นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ความจริงการลงสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นเรื่องที่ทางพรรคมอบหมาย เพราะเห็นว่าสามารถที่จะช่วยการรณรงค์หาเสียงให้กับผู้สมัครได้ทั่วประเทศ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ตนต้องการหลบหนี หรือหาความสะดวกสบาย แต่ถ้าพรรคสั่งให้ลง ส.ส.เขต ตนก็พร้อมจะลงได้ โดยเฉพาะหากบอกว่าจะให้ตนไปลงสมัคร ส.ส.เขตนนทบุรีของนายฉลอง ก็อาจจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
นอกจากนี้นายณัฐวุฒิยังกล่าวแสดงความเห็นถึงกรณี ศปภ.นำนายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา มารับหน้าที่โฆษก ศปภ.ว่า เพื่อให้การสื่อสารเกี่ยวกัยสถานการณ์ขณะนี้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยส่วนตัว ตนคิดว่าทีมโฆษกที่ทำหน้าที่อยู่ ก็ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงก็ต้องมีการปรับงานให้สอดรับกับสถานการณ์ ซึ่งเป็นเรื่อธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ ท่ามกลางวิกฤติขณะนี้
ทั้งนี้นายณัฐวุฒิได้เปิดเผยถึงกรณีผู้ประสบอุทกภัยในภาคอีสาน ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐเท่าที่ควร กลุ่ม นปช.จะมีมาตรการช่วยเหลืออย่างไรว่า หลังจากนี้จะมีการรณรงค์ไปตามพื้นที่ประสบภัยจังหวัดภาคอีสาน ซึ่งเป็นเรื่องที่คนเสื้อแดงแต่ละจังหวัดจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตนยืนยันว่าไม่มีการละเลยปัญหาประชาชนในภาคอีสาน
***นพเหล่ ออกโรงช่วย"ทักษิณ"
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ความจริงของบริจาคต่างๆ ที่ส่งไปยังศปภ. ไม่ควรมีป้ายนักการเมืองคนใดไปติดอยู่แล้ว ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวิตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่มีนโยบาย หรือแนวคิดอะไรที่จะทำอย่างนั้น และไม่เคยสั่งการให้ใครทำ
"เรื่องนี้ไม่อยากมองว่า เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง แต่เป็นไปได้ว่า อาจมีประชาชนที่รักและชอบ พ.ต.ท.ทักษิณดำเนินการรูปแบบนั้น ซึ่งต้องขอความกรุณาว่าอย่าทำเลย เพราะจะเป็นประเด็นการเมืองให้ถูกโจมตีได้ วันนี้ทุกคนกำลังเครียดกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ก็อยากให้กำลังใจและทุ่มเวลาไปแก้ไขดีกว่าจะมาตอบโต้ทางการเมือง" นายนพดล กล่าว
**ญี่ปุ่นส่งทีมผู้เชี่ยวชาญช่วยไทย**
หนังสือพิมพ์ไมนิจิของญี่ปุ่นรายงานว่า ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการประปา และรถไฟใต้ดินของญี่ปุ่นออกเดินทางมายังประเทศไทยในวันพุธ (26) เพื่อปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือทางการไทยรับมือภัยน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ภายใต้สังกัดสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของแดนอาทิตย์อุทัย
คณะเจ้าหน้าที่ดังกล่าว อันได้แก่ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทโตเกียว เมโทร และอีก 2 ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานโอซากา วอเตอร์ ซัปพลาย จะลงสำรวจพื้นที่ประสบภัย และให้คำแนะนำถึงวิธีจัดการ และบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคสำคัญของกรุงเทพฯ
ด้านโยชิโอ โอตสึกิ วัย 55 ปี จากบริษัทโตเกียว เมโทร ซึ่งมีส่วนในการออกแบบ และพัฒนาระบบรถไฟใต้ดินของกรุงเทพฯ ที่เปิดให้บริการในปี 2004 กล่าวก่อนหน้าออกเดินทางจากสนามบินนาริตะว่า "ในฐานะสหายของผู้ประกอบการรถไฟ เราอยากจะช่วยเหลือในการรับรองความปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร"
นอกจากนี้ มาซามิชิ โอโน วัย 46 ปี เพื่อนร่วมงานของเขายังเสริมว่า เขาหวังจะตอบแทนคนไทย ที่บริจาคเงินช่วยเหลือญี่ปุ่น เมื่อครั้งประสบกับมหาภัยพิบัติ ทั้งแผ่นดินไหว และสึนามิ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
**น้ำท่วมไทยทำ"โตโยต้า" ระงับการผลิตในอเมริกาเหนือ**
สำนักข่าวเอเอฟีรายงานว่า บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่นประกาศหยุดการผลิตรถยนต์ที่โรงงาน 4 แห่งในอเมริกาเหนือ ช่วงสุดสัปดาห์นี้ เนื่องจากกอุทกภัยร้ายแรงที่สุดไทย ก่อให้เกิดความกังวลว่าชิ้นส่วนรถยนต์จะขาดแคลน
โตโยต้าแถลงว่า อุทกภัยในประเทศไทยเป็นสาเหตุให้พวกซัปพลายเออร์ที่ส่งชิ้นหนึ่งไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือจำนวนหนึ่งต้องหยุดการผลิต ทางบริษัทจึงจะระงับการผลิตรถยนต์ที่โรงงานในมลรัฐ อินดิแอนา, เคนทักกี ของสหรัฐฯ และในรัฐออนตาริโอ ของแคนาดา ตลอดจนการผลิตเครื่องยนต์ที่โรงงานในเวสต์เวอร์จิเนีย ในวันเสาร์ (29) นี้
บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นแห่งนี้เสริมว่า ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเริ่มการผลิตใหม่อีกครั้งในสัปดาห์หน้าหรือไม่
วานนี้ (27 ต.ค.) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและทรัพยากรน้ำชาวไทย นำโดย นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานบริหารบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นายชูลิต วัชรสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำ และนายทศพร ศรีเอี่ยม ได้เข้าพบ .ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอแนวทางในการระบายน้ำในพื้นที่ตะวันออกของกทม. โดยการทำการขุดเจาะถนนจำนวน 5 เส้นทาง เพื่อเปิดทางให้น้ำไหลผ่านได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากพบว่าระบบระบายน้ำยังทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะไม่สามารถผันน้ำเขาเครื่องสูบน้ำได้มากเพียงพอ
หลังจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้มอบหมายให้คณะของนายนินนาท ประชุมหารือร่วมกับ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม กรมทางหลวง กรมชลประทาน และกรุงเทพมหานคร เพื่อประเมินแนวทางในการดำเนินการ รวมไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งทางคณะจะได้ร่วมกันขึ้นเฮลิคอปเตอร์เพื่อสำรวจเส้นทางก่อนสรุปผลและนำเสนอนายกฯอีกครั้ง
โดย นายนินนาท กล่าวก่อนขึ้นสำรวจพื้นที่ ว่า ข้อเสนอในการแก้ปัญหาน้ำท่วม คือการระบายน้ำออกทางภาคตะวันออก ด้วยการเจาะถนนที่ขวางทางน้ำก้อนมหึมาอยู่ในตอนนี้ 5 เส้นทาง ได้แก่ ถ.ประชาร่วมใจ ถ.ราษฎร์อุทิศ ถ.สุวินทวงศ์ ถ.ร่วมพัฒนา และ ถ.นิมิตรใหม่ ซึ่งจะเจาะผ่านถนนจุดละประมาณ 5-6 เมตร โดยเราจะพยายามรวบรวมผู้รับเหมาก่อสร้างทางภาคเอกชนมาช่วยเหลือการขุดเจาะถนน ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องตัดสินใจว่า หากมีการดำเนินการจริงจะมีผลกระทบกับประชาชนที่อยู่ในเส้นทางเหล่านั้นอย่างไร
“ภาคเอกชนพยายามจะรวบรวมแนวทางเสนอให้รัฐบาลสามารถระบายน้ำก่อนใหญ่ซีกตะวันออกให้ลงสู่ทะเลโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยทำให้พื้นที่ กทม.ชั้นในคลายความกังวลไปได้เยอะ เพราะจากการลงพื้นที่เมื่อวานนี้ (26 ต.ค.) พบว่าปั๊มน้ำยังทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำงานได้เพียงร้อยละ 30 เท่านั้น เนื่องจากไม่มีน้ำไหลมาถึงในปริมาณที่มากพอ เพราะมีถนนเป็นคันกั้นน้ำอยู่หลายสาย” นายนินนาท กล่าว
**สุกำพล ยันไม่กระทบ มีบูรพาวิถีรับรอง
พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ขอไปสำรวจเส้นทางที่จะดำเนินการตัดถนนก่อน ซึ่งยอมรับว่ามีถนนของ กทม.และกรมทางหลวง ที่ขวางกั้นทางน้ำ หากจำเป็นจะต้องตัดถนนเพื่อรับายน่ำออกก็ต้องทำ แต่การจะตัดถนนนั้นจะต้องทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่เสียก่อน ส่วน ถ.บางนา-ตราด หากจำเป็นต้องตัดก็จะไม่กระทบต่อเส้นทางที่จะออกไปยังภาคตะวันออก เนื่องจากมีทางพิเศษบางนา-ชลบุรี หรือบูรพาวิถีคอยรองรับอยู่
**“ปลัดคค.”เซ็ง!เสนอทีไร พับตลอด
นายสุพจน์ ทรัพยล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การเจาะถนนระบายน้ำจะต้องรอให้มีการสรุปหลังจากที่ลงพื้นที่สำรวจของคณะทำงานก่อน ขณะนี้ส่วนตัวยังไม่ทราบรายละเอียดมากนัก ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติ ดังนั้นจึงอยู่ที่ระดับนโยบาย และผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการน้ำที่ต้องประเมินถึงผลดีผลเสียอย่างละเอียดก่อนที่จะนำเสนอต่อที่ประชุม เพื่ออนุมัติออกมาเป็นแนวทางดำเนินการอีกครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการดำเนินการดังกล่าว จะสามารถช่วยในการระบายน้ำได้ตามแนวคิดจริงหรือไม่ด้วย
ส่วนตัวมีความเป็นห่วงถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมาจากการตัดหรือเจาะถนนนั้นมีค่อนข้างมาก โดยเฉพาะชุมชนและประชาชนที่อาศัยอยู่ในเส้นทางที่น้ำจะผ่านต้องได้รับความเดือดร้อน อย่างไรก็ตามยอมรับแนวคิดดังกล่าวได้เคยมีการเสนอมาแล้วก่อนหน้านี้ในกรณีการระบายน้ำฝั่งตะวันตกของ กทม. แต่สุดท้ายไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากเห็นว่าทางระบายน้ำเดิมยังมีความเพียงพออยู่
**"ประชา"รอฟังรายละเอียดก่อน
พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)กล่าวถึงแนวทางที่จะมีการเจาะถนนเพื่อระบายน้ำไปทางฝั่งตะวันออกของกทม. ว่า ก็มีปัญหาอยู่มาก เนื่องจากความคิดทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน โดยฝ่ายที่อยากให้ระบายน้ำลงคูคลองก็อยากให้น้ำไหลตามระบบที่ทำไว้ แต่ฝ่ายที่ไม่อยากให้น้ำไหลลงไปก็กลัวว่าจะได้รับผลกระทบ ซึ่งขณะนี้ก็กำลังเร่งทำความเข้าใจได้บางส่วนแล้ว เพราะหากระบายน้ำลงได้ไม่เต็มที่ ก็ขอให้ช่วยสิ่งที่กีดขวางทางน้ำ โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี ขณะที่แนวทางการเจาะแนวทางถนนตนยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน
**ปู ยันผันน้ำวิภาวดีแนวคิดกทม.
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนักวิชาการเสนอให้ถนนวิภาวดี รังสิต เป็นพื้นที่ระบายน้ำ ว่า ได้ข่าวมาว่าทางกทม. ได้มีการหารือกัน แต่ในเชิงของการทำงานไม่แน่ใจว่าจะช่วยได้หรือไม่ ขอให้ภาควิชาการได้วิเคราะห์กัน แต่สำหรับในวันนี้เท่าที่สอบถามมา แนวทางตรงกันคือ การระบายน้ำไปทางฝั่งตะวันออกของกทม. รวมทั้งการระบายน้ำไปทางฝั่งตะวันตกด้วยแต่ยังทำได้ยาก
** ดร.เสรีค้านไม่ระบายน้ำได้จริง
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโดยระบุว่า ไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องและจะไม่สามารถระบายน้ำได้จริง อีกทั้งการเจาะถนนตรงพื้นที่คลอง 13-14 ไม่เกิดประโยชน์ เนื่องจากขณะนี้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าท่วมมาจากคลองเปรมประชากรและคลองรังสิตอย่างเดียว ไม่ได้มาจากที่อื่น
ทั้งนี้ ได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการในขณะนี้ คือ การรื้อคันดินที่กั้นน้ำตรงคลอง 9-13 เพื่อให้น้ำไหลเร็วขึ้น และติดตั้งเครื่องสูบน้ำประมาณ 10 เครื่องบริเวณคลองรังสิตและคลองหกวาสายล่าง แล้วสูบน้ำปล่อยลงไปที่คลอง 13 ซึ่งจะช่วยทำให้น้ำไหลระบายลงสู่อ่าวไทยได้เร็วขึ้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้การระบายน้ำจากฝั่งทางด้านตะวันออกล่าช้านั้น เกิดจากระดับพื้นที่ดินในเขตจ.นครนายกสูงกว่ารังสิต ดังนั้นหากมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำดันกลับไปก็จะทำให้สามารถระบายน้ำทางฝั่งตะวันออกได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่สำรวจเครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งอยู่บริเวณเขื่อนคลองด่านพบว่า เครื่องทำงานได้ดีและสามารถสูบน้ำลงอ่าวไทยได้ในระดับที่น่าพอใจ
** เพิ่งตื่น! “ปู” ยอมรับฝืนธรรมชาติ
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้กทม.อยู่ในขั้นวิกฤติแล้ว “คงจะเป็นเช่นนั้น” วันนี้สิ่งที่เราพยายามทำขอกราบเรียนประชาชน เรากำลังฝืนธรรมชาติของน้ำ เพราะมวลน้ำมันก้อนใหญ่ ดังนั้น หากเราฝืนหมดคงไม่มีทาง เพราะจากการสำรวจเจอหลายจุด ไม่มีแนวที่ทำไว้ก่อน ต้องบอกว่าสภาพทั้งกรุงเทพฯเราได้นำกำลังคนไปกั้น ขณะที่ทำก็ต้องต่อสู้กับน้ำ ต่อสู้กับความแข็งแรงขอพนังกั้นน้ำและยังเจอกับมวลชนด้วย ซึ่งต้องขอความเห็นใจ เพราะบางครั้งหากจะให้ใช้กฎหมายกับมวลชน แต่ในฐานะของมนุษยธรรมด้วยกัน ประชาชนเองก็เจอกับความทุกข์ทรมานกับน้ำมามาก ไม่อยากบอกให้พื้นที่นั้น พื้นที่นี้รับน้ำ ซึ่งในความเป็นจริงเราต้องมาประสานสามัคคีกัน โดยดูว่าธรรมชาติของน้ำไหลไปทางไหน และให้ไหลเร็วที่สุด มันจะทนกับความทุกข์ทรมานได้ อันนี้คือทางออก
เมื่อถามว่า ในวันนี้จะปล่อยให้มวลน้ำไหลไปตามธรรมชาติ โดยที่ไม่ต้องไปกั้นน้ำในพื้นที่จุดใดได้หรือไม่ น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ กล่าวว่า น้ำมวลใหญ่มาก หากเราปล่อยไปตามธรรมชาติมากเกินไปก็ จะทำให้เกิดการทะลัก และทำให้บางพื้นที่ไม่สามารถเตรียมตัวได้ทัน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการกั้นเพื่อชะลอน้ำ เพื่อพยายามให้น้ำไหลไปตามคลอง ซึ่งได้พยายามอย่างดีที่สุด แต่บางครั้งน้ำเยอะ ซึ่งในวันนี้เราได้มีการนำเข้ากระสอบทราย ที่มีความยาว 1 กิโลเมตร ต่อกระสอบมาทดลอง ซึ่งเป็นกระสอบขนาดใหญ่ที่ช่วยประหยัดเวลา แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของทรัพยากรต่างๆ โดยบางพื้นที่ มีการแนะนำให้ใช้แผ่นเหล็กปักลงไป แต่สำหรับพื้นที่บริเวณที่น้ำเชี่ยว อุปกรณ์เครื่องจักร ไม่สามารถเดินทางเข้าไปได้ ขณะเดียวกันวันนี้แผ่นเหล็กต่างๆก็หมดแล้ว พยายามหาทุกที่แล้วก็ไม่มี ซึ่งยมอรับมีปัจจัยต่างๆที่เราควบคุมไม่ค่อยได้
**รับพื้นที่กทม.อาจท่วมเกิน 1 เดือน
เมื่อถามว่า น้ำที่ท่วมขังในกทม.จะกินเวลานานมากถึง 1 เดือนหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า บางพื้นที่อาจกินระยะเวลา 1 เดือน แต่บางพื้นที่อาจเร็วกว่านั้น ขึ้นอยู่กับระบบการสูบน้ำ ที่จะต้องมีการหารือกับทางกทม.ในการเร่งระบายน้ำ แต่หากส่วนไหนที่ทางรัฐบาลและศปภ.ช่วยได้ก็ยินดี ซึ่งวันนี้ต้องขอกำลังใจให้กันและกัน ทางเจ้าหน้าที่ได้ต่อสู้กับน้ำมาประมาณเดือนสองเดือนแล้ว เห็นใจหลายคนเกิดความเหนื่อยล้า ปัจจัยหลายๆอย่างไม่ได้เกิดจากศูนย์ทั้งหมด ขอเรียนว่าศูนย์นี้คนมาเยอะ เป็นที่พักพิงด้วย จึงแน่นอนว่าการสื่อสารต่างๆอาจเกิดความไม่เข้าใจกันบ้าง ซึ่งตนเองก็พยายามกับทีมงานและเห็นใจผู้อำนวยการศูยน์ ซึ่งวันนี้นอนวันละเพียงชั่วโมงสองชั่วโมงเท่านั้น
ทั้งนี้ตนเอง ได้พยายามบอกทางศปภ.ว่า อย่าลืมประชาชนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งมีมากถึง 3 ล้านกว่าคน ซึ่งเราได้ติดตามดูและบางจังหวัดน้ำเริ่มลดลงแล้ว เราต้องเข้าสู่โหมดของการฟื้นฟู
**“ประชา”ไม่รับรองท่วมอนุสาวรีย์ชัยฯ
อีกเรื่อง พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการศปภ.กล่าวว่าต้องยอมรับว่าพื้นที่กทม.เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ธรรมชาติของน้ำต้องเคลื่อนที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ส่วนโอกาสที่น้ำจะเข้าไปยังบริเวณอนุสาวรีชัยสมรภูมิมีหรือไม่ เห็นว่า ธรรมชาติของน้ำคงไม่เว้นที่ใดที่หนึ่ง หากพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ต่ำ น้ำก็คงต้องไหลไป ซึ่งขณะนี้เรากำลังชะลอน้ำในหลายๆจุด ประมาณ 10 จุด แต่กลับพบว่ามีประชาชนที่ไม่เข้าใจมาขัดขวางการทำคันกั้นน้ำ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มีปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องการระบายน้ำ จึงทำให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างช้า
เมื่อถามว่า หากสถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลายจะพิจารณาขยายวันหยุดราชการอีกหรือไม่ พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า จะต้องปรึกษาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีก่อน เมื่อถามว่า ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาของฝั่งธนบุรีมากกว่าฝั่งพระนคร พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า ไม่ได้ครับ รัฐบาลให้ความสำคัญเท่ากันทุกพื้นที่ และทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้ง 21 จังหวัด โดยรัฐบาลพร้อมจะให้ความช่วยเหลือเต็มที่สุดความสามารถ
**“บิ๊กอ๊อด”เตือน28-29 ต.ค.น้ำทะเลหนุนสูง
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวว่า ขณะนี้เราใช้กำลังทหารทั้งหมด สำหรับพื้นที่ที่จะเป็นช่องโหว่ โดยเรามีทหารเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนกรณีที่มีชาวบ้านพยายามพนังกั้นน้ำทางตะวันออกของกรุงเทพ ทางศูนย์ปฏิบัติช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)ได้ติดต่อมาทางตน เพื่อขอให้ผบ.ทบ.ส่งสารวัตรทหารไป่ช่วยตำรวจดูแลพื้นที่ เพราะตำรวจไม่สามารถห้ามประชาชนที่มารื้อพนังกั้นน้ำได้ ทางนายกฯจึงแจ้งมาที่ตน ซึ่งตนได้นำสารวัตรทหารไปเสริมกำลังตำรวจเพื่อรักษาพนังกั้นน้ำ
ในส่วนกทม.จะท่วมทุกพื้นที่หรือไม่ ต้องดูวันที่ 28-29 ต.ค.นี้ โดยเฉพาะวันที่ 28 ต.ค.ที่น้ำทะเลหนุนสูงสุด และถ้าน้ำขึ้นสูงสุดอย่างที่กรมอุทกศาสตร์บอกคือ สูงเกินกว่าพนังกั้นน้ำในกรุงเทพฯซึ่งมีความสูง 2.50 เมตร ถ้าน้ำขึ้นมาประมาณ 2.60 เมตรในวันพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ เราก็ต้องเตรียมเรื่องอพยพไว้ด้วย ซึ่งต้องดูจำนวนน้ำว่าเป็นไปตามที่กรมอุทกศาสตร์บอกหรือไม่
**“ประยุทธ์”เชียร์นายกฯเชิญ “มาร์ค”หารือ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวภายหลังการหารือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า ตอนนี้มีหลายแนวทางที่เสนอมาที่รัฐบาลในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งคาดว่าเร็วๆนี้นายกฯ จะเชิญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และ กทม.เข้ามาหารือ ดีกว่าต่างคนต่างทำงาน เพราะเวลานี้การร่วมมือกันทำงานถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด และกองทัพพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือด้านกำลังคน และยุทโธปกรณ์อย่างเต็มที่
**“ปู”ดราม่าบ่อน้ำตาเกือบแตก
ผู้สื่อข่าวรยงานว่า ภายหลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางถึงและลงจากรถประจำตำแหน่ง ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีรู้สึกสะเทือนใจ เสียใจ และอยากบอกอะไรกับประชาชนในเวลานี้บ้าง หรือรู้สึกอัดอั้นอะไรในขณะนี้
โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า “กราบเรียนพี่น้องประชาชนว่าเราเองมีเจตนาดี และมีความตั้งใจ” ระหว่าง นี้นายกฯเริ่มมีน้ำเสียงที่ติดขัด พร้อมกับมีน้ำตาคลอ ขณะที่ผู้สื่อข่าวพยายามบอกว่าให้หายใจลึกๆเพื่อเป็นการให้กำลังต่อนายกฯ พร้อมกับบอกว่าจะร้องไห้เลยหรือ ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่ท้อ
เมื่อถามว่า หลังจากเจอปัญหานายกฯร้องไห้บ่อยหรือไม่ น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือว่า ขอเรียนว่าไม่ได้ร้องเลย แต่หลายคนที่เห็นภาพมันอาจจะเป็นจังหวะ แต่ไม่เคยร้องไห้ เราอยู่ตรงนี้ต้องเข้มแข็งและยืนยิ้มรับช่วยกัน
เมื่อถามว่า มีมาตรการอะไรพิเศษรองรับปัญหาเพิ่มเติมหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า วันนี้มาตรการป้องกันต้องยอมรับว่าทำได้ยาก และประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นหลายประเทศ ทั้งกัมพูชา เวียดนามก็เจอภาวะแบบเรา ตนเองก็พยายามที่จะคุยกับต่างประเทศในการแก้ปัญหา ซึ่งเขาบอกว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ยากจะควบคุมได้ ดังนั้น มาตรการที่เราจะออกจากนี้คงเป็นการเตรียมฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน โดยต้องคำนวณการใช้เครื่องสูบน้ำทั้งหมด ต้องใช้จำนวนเท่าใด เพราะแค่กู้อุตสาหกรรมนิคมต่างๆก็ใช้นับพันตัว ซึ่งในประเทศไม่เพียงพอ จะต้องนำเข้า และเวลานี้ที่ประเทศจีนก็หายากแล้ว แต่ก็จะสั่งไว้ล่วงหน้า ตรงนี้คือการเตรียมแผนฟื้นฟู
**ปูยันไม่ย้าย ศปภ.ดอนเมือง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงการย้ายที่ทำการศปภ.ว่า ขอเป็นคนสุดท้าย ขอทำหน้าที่ของเราตรงนี้ให้เต็มที่ เวลานี้เส้นทางโทลล์เวย์ยังใช้ได้ แต่ต้องขอดูการเดินทางของเจ้าที่ ที่มาปฏิบัติการที่ศปภ.อีกทั้งต้องดูที่อื่นไว้ด้วย แต่ก็ไม่อยากให้เป็นในลักษณะของการตื่นตระหนกหรือรีบย้าย เพราะศปภ.ได้ มีการติดตั้งระบบไว้อย่างเรียบร้อยแล้ว
ขณะเดียวกันก็ต้องเห็นใจข้าราชการที่ทำงานกันหนัก เนื่องจากศปภ.เป็นเพียงศูนย์เดียวและมีเจ้าหน้าที่จำกัด ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ เองก็กลายเป็นผู้ประสบอุทกภัยด้วย ต้องบอกว่า ศปภ.นี้เกิดจาการรวมพลังของทุกคนในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นขอความกรุณาให้เห็นใจเจ้าหน้าที่ เพราะวันนี้เหนื่อยล้ากันมากขอให้พยายามช่วยกันกู้ขวัญกำลังใจ
ส่วนที่รมว.กลาโหมเสนอให้ใช้พื้นที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี รังสิต จะเป็นไปได้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ในส่วนของบริเวณนี้ถือว่าเป็นแนวเดียวกัน โดยเฉพาะเส้นทางการจราจร ซึ่งตัวอาคารไม่มีปัญหา มีหลายที่อยู่ได้ แต่รู้สึกเป็นห่วงบุคลากรที่มาทำงาน ซึ่งต้องประเมินสถานการณ์ว่า เส้นทางใดที่สะดวกและสามารถขับรถอ้อมเข้ามาปฏิบัติงานใน ศปภ.ได้ ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญ สำหรับสโมสรทหารบกเห็นว่า เป็นสถานที่ ที่ดี แต่จะเจอน้ำเหมือนกัน ไม่ต่างจากที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ดังนั้นขอดูในมุมอื่นๆก่อน แต่ขอยืนยันว่า จะไม่ไปที่จ.ชลบุรีแน่นอน
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวว่า ขึ้นอยุ่กับนายกฯว่าจะพิจารณาย้ายหรือไม่ และหากย้ายจะย้ายไปที่ไหน สำหรับสโมสรทหารบก เป็นศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพบก ถ้าจะย้ายมาใช้ที่เดียวกัน คงไม่มีอะไรขัดข้อง แต่ข่าวว่า จะย้ายไปอยู่ที่สนามศุภชลาศัย ซึ่งทั้งหมดขึ้อนยู่กัยรัฐบาลว่า จะพิจารณาเลือกตรงไหน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวว่า นายกฯยืนยันว่ายังไม่จำเป็นที่ต้องพูดเรื่องนี้ และการเลือกสถานที่ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ส่วนการที่จะไปใช้สถานที่ของกองทัพนั้น อยากบอกว่าจะไม่ให้ทหารมีที่อยู่บ้างเลยหรือ เวลามีกำลังพลเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 4-5 หมื่นคนและจะมีเข้ามาเพิ่มเติมอีก จากกองทัพภาคที่ 2 และ 3
ขณะที่เมื่อช่วงเช้ามืด เจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ได้ตัดกระแสไฟฟ้าทั้งหมดและใช้ไฟสำรองเป็นการชั่วคราว ซึ่งสามารถใช้ได้นาน 5 ชั่วโมง เนื่องจากเขื่อนทางด้านทิศเหนือของสนามบินดอนเมือง ได้แตกลงเมื่อเวลา 04.00 น. ทำให้มีน้ำท่วมขังเข้าไปถึงหม้อแปลงผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังเร่งแก้ไข โดยการสูบน้ำออกจากจุดดังกล่าว ขณะที่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต้องหยุดชะงักลง โดยเฉพาะรายการที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ต้องย้ายไปออกอากาศที่ห้องส่งถนนวิภาวดี ชั่วคราว ส่วนนายกรัฐมนตรี ได้ย้ายมาใช้พื้นที่ศูนย์ปฏิบัติการของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่บริเวณห้องโถงด้านนอก เป็นสถานที่ประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ เนื่องจากห้องประชุมเดิมของศปภ.มีปัญหาระบบไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ในเวลา 10.00 น. เจ้าหน้าที่ได้แก้ไขให้ไฟฟ้ากลับมาใช้ได้ตามปกติแล้ว แต่ก็ยังคงเฝ้าระวังไม่ให้น้ำไหลเข้าไปท่วมหม้อแปลงไฟฟ้าอีก
**ประสาน 8 จังหวัดอพยพ 2 แสนคน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงการวางแผนในการอพยพประชาชน ในกทม. ว่า ได้มีการเตรียมการสำรองไว้ที่จ.ลพบุรี ซึ่งสามารถรองรับประชาชนได้ 5,000 - 10,000 คน รวมทั้งจ.ชลบุรี และอีกหลายๆจังหวัด ทั้งนี้ได้เร่งจังหวัดต่างๆที่สามารถรองรับประชาชนได้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับความสะดวกของประชาชนว่าจะมีความเต็มใจหรือไม่ ซึ่งตนก็ต้องขอความร่วมมือ เพราะไม่มีทางเลือกมานัก ทั้งนี้ ต้องขอความกรุณาประชาชนต่างจังหวัด หากไปใช้ศูนย์ยังต่างจังหวัด จะขอขอบคุณมาก เพราะจะช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนของ กทม.ในภาวะกรณีฉุกเฉิน เพราะสถานที่สำรองในพื้นที่กทม.ที่สำรองไว้เป็นส่วนราชการทั้งหมด
พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า ได้.เตรียมแผนอะไรเพิ่มขึ้นในการอพยพประชาชน ตั้งแต่เมื่อวันที่26 ต.ค. ทั้งแผนการเคลื่อนย้ายประชาชนไปยังศูนย์พักพิง ใน 8 จังหวัดด้วยกัน เช่น ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง นครราชศรีมา กาญจนบุรี นครปฐม เป็นต้น ซึ่งสามารถรับจำนวนประชาชนผู้อพยพได้จำนวน 1-2 แสนคน ส่วนระยะเวลาที่จะแจ้งต่อประชาชนเพื่ออพยพนั้น เราก็จะแจ้งเตือนอีกครั้ง ซึ่งหน่วยงานที่จะลำเลียงคนไปยังศูนย์อพนั้น เราได้ประสานงานไปหลายหน่วยงาน ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของทหารเพียงอย่างเดียว.
**ทหารรอคำสั่งให้แจกของบริจาค ***
สำหรับกรณีที่ ศปภ. มีแนวคิดจะให้ทหารเข้าไปดูแลเรื่องของบริจาค หลังเกิดปัญหาการกระจายไม่ทั่วถึงผู้ประสบอุทกภัย นั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า การจะให้กองทัพเข้าไปดำเนินการต้องไปรับคำสั่งจากศปภ. แต่ขณะนี้ศปภ.ยังไม่ได้สั่งการมายังกระทรวงกลาโหม แต่ถ้าหากจะให้เราทำ เราก็พร้อมสนับสนุนรัฐบาล จะทำให้ให้เป็นระบบและดีที่สุด
*** "ไอ้เต้น"ฉุนเด็กพท.ยกย่องมหาจำลอง ***
ส่วนประเด็นที่นายฉลอง เรี่ยวแรง ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ระบุการแจกสิ่งของบริจาค จะเอื้อประโยชน์เฉพาะคนเสื้อแดง นั้น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า นายฉลองไม่ใช่คนที่เราจะไปถกเถียงกันอีก เพราะการพูดถึงคนเสื้อแดงว่า ส.ส.จะต้องคอยให้เงิน และมีบางส่วนคอยแสวงหาผลประโยชน์ หรือการที่กล่าวยกย่อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่าเป็นผู้นำที่น่านับถือ ก็เป็นข้อสรุปว่านายฉลองไม่เคยเข้าใจความเป็นคนเสื้อแดง ฉะนั้นทัศนคติแบบนี้ คนเสื้อแดงที่มาทำงานเป็นจิตอาสาก็ไม่ควรไปเสียเวลา และไม่ควรเก็บมาเป็นสาระ
ส่วนกรณีที่นายฉลองท้าทายให้แกนนำคนเสื้อแดงหรือนายณัฐวุฒิ ลงสมัคร ส.ส.นนทบุรี หรือ กทม.ไม่ให้หนีไปลงแบบบัญชีรายชื่อนั้น นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ความจริงการลงสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นเรื่องที่ทางพรรคมอบหมาย เพราะเห็นว่าสามารถที่จะช่วยการรณรงค์หาเสียงให้กับผู้สมัครได้ทั่วประเทศ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ตนต้องการหลบหนี หรือหาความสะดวกสบาย แต่ถ้าพรรคสั่งให้ลง ส.ส.เขต ตนก็พร้อมจะลงได้ โดยเฉพาะหากบอกว่าจะให้ตนไปลงสมัคร ส.ส.เขตนนทบุรีของนายฉลอง ก็อาจจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
นอกจากนี้นายณัฐวุฒิยังกล่าวแสดงความเห็นถึงกรณี ศปภ.นำนายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา มารับหน้าที่โฆษก ศปภ.ว่า เพื่อให้การสื่อสารเกี่ยวกัยสถานการณ์ขณะนี้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยส่วนตัว ตนคิดว่าทีมโฆษกที่ทำหน้าที่อยู่ ก็ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงก็ต้องมีการปรับงานให้สอดรับกับสถานการณ์ ซึ่งเป็นเรื่อธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ ท่ามกลางวิกฤติขณะนี้
ทั้งนี้นายณัฐวุฒิได้เปิดเผยถึงกรณีผู้ประสบอุทกภัยในภาคอีสาน ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐเท่าที่ควร กลุ่ม นปช.จะมีมาตรการช่วยเหลืออย่างไรว่า หลังจากนี้จะมีการรณรงค์ไปตามพื้นที่ประสบภัยจังหวัดภาคอีสาน ซึ่งเป็นเรื่องที่คนเสื้อแดงแต่ละจังหวัดจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตนยืนยันว่าไม่มีการละเลยปัญหาประชาชนในภาคอีสาน
***นพเหล่ ออกโรงช่วย"ทักษิณ"
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ความจริงของบริจาคต่างๆ ที่ส่งไปยังศปภ. ไม่ควรมีป้ายนักการเมืองคนใดไปติดอยู่แล้ว ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวิตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่มีนโยบาย หรือแนวคิดอะไรที่จะทำอย่างนั้น และไม่เคยสั่งการให้ใครทำ
"เรื่องนี้ไม่อยากมองว่า เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง แต่เป็นไปได้ว่า อาจมีประชาชนที่รักและชอบ พ.ต.ท.ทักษิณดำเนินการรูปแบบนั้น ซึ่งต้องขอความกรุณาว่าอย่าทำเลย เพราะจะเป็นประเด็นการเมืองให้ถูกโจมตีได้ วันนี้ทุกคนกำลังเครียดกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ก็อยากให้กำลังใจและทุ่มเวลาไปแก้ไขดีกว่าจะมาตอบโต้ทางการเมือง" นายนพดล กล่าว
**ญี่ปุ่นส่งทีมผู้เชี่ยวชาญช่วยไทย**
หนังสือพิมพ์ไมนิจิของญี่ปุ่นรายงานว่า ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการประปา และรถไฟใต้ดินของญี่ปุ่นออกเดินทางมายังประเทศไทยในวันพุธ (26) เพื่อปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือทางการไทยรับมือภัยน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ภายใต้สังกัดสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของแดนอาทิตย์อุทัย
คณะเจ้าหน้าที่ดังกล่าว อันได้แก่ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทโตเกียว เมโทร และอีก 2 ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานโอซากา วอเตอร์ ซัปพลาย จะลงสำรวจพื้นที่ประสบภัย และให้คำแนะนำถึงวิธีจัดการ และบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคสำคัญของกรุงเทพฯ
ด้านโยชิโอ โอตสึกิ วัย 55 ปี จากบริษัทโตเกียว เมโทร ซึ่งมีส่วนในการออกแบบ และพัฒนาระบบรถไฟใต้ดินของกรุงเทพฯ ที่เปิดให้บริการในปี 2004 กล่าวก่อนหน้าออกเดินทางจากสนามบินนาริตะว่า "ในฐานะสหายของผู้ประกอบการรถไฟ เราอยากจะช่วยเหลือในการรับรองความปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร"
นอกจากนี้ มาซามิชิ โอโน วัย 46 ปี เพื่อนร่วมงานของเขายังเสริมว่า เขาหวังจะตอบแทนคนไทย ที่บริจาคเงินช่วยเหลือญี่ปุ่น เมื่อครั้งประสบกับมหาภัยพิบัติ ทั้งแผ่นดินไหว และสึนามิ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
**น้ำท่วมไทยทำ"โตโยต้า" ระงับการผลิตในอเมริกาเหนือ**
สำนักข่าวเอเอฟีรายงานว่า บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่นประกาศหยุดการผลิตรถยนต์ที่โรงงาน 4 แห่งในอเมริกาเหนือ ช่วงสุดสัปดาห์นี้ เนื่องจากกอุทกภัยร้ายแรงที่สุดไทย ก่อให้เกิดความกังวลว่าชิ้นส่วนรถยนต์จะขาดแคลน
โตโยต้าแถลงว่า อุทกภัยในประเทศไทยเป็นสาเหตุให้พวกซัปพลายเออร์ที่ส่งชิ้นหนึ่งไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือจำนวนหนึ่งต้องหยุดการผลิต ทางบริษัทจึงจะระงับการผลิตรถยนต์ที่โรงงานในมลรัฐ อินดิแอนา, เคนทักกี ของสหรัฐฯ และในรัฐออนตาริโอ ของแคนาดา ตลอดจนการผลิตเครื่องยนต์ที่โรงงานในเวสต์เวอร์จิเนีย ในวันเสาร์ (29) นี้
บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นแห่งนี้เสริมว่า ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเริ่มการผลิตใหม่อีกครั้งในสัปดาห์หน้าหรือไม่