เอเอฟพี / ซีเอ็นบีซี - สื่อนอกเผย นักลงทุนต่างชาติในไทยต่างออกอาการเดือดดาลและรู้สึกเอือมระอามากขึ้นเป็นลำดับต่อแนวทางจัดการแก้ไขวิกฤตอุทกภัยของรัฐบาลไทย หลังจากที่น้ำได้ทะลักท่วมเขตนิคมอุตสาหกรรมจนจมมิดหลายแห่งและสร้างความเสียหายแก่กิจการของพวกเขามูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ ข้อครหาที่มีต่อรัฐบาลกรณีให้ข่าวสารมั่วส่งเดชก็ยังมีอย่างไม่หยุดหย่อน ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (24) กองทัพเรือของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำต้องสั่งถอนเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือรบอีกหลายลำซึ่งเตรียมจะจอดเทียบท่าในไทยเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัย สืบเนื่องจากทางกองทัพอเมริกันได้รับข้อมูลสับสนขัดแย้งกันเองจากภายในรัฐบาลไทย ระหว่างต้องการให้ช่วยเหลือ หรือไม่ต้องการ
ฮิโรชิ มินามิ ประธานบริษัท โรห์ม อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ไทยแลนด์) หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (เซมิคอนดักเตอร์) รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งมีโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ได้ตำหนิรัฐบาลไทยว่า “พวกเขาพร่ำบอกอยู่นั่นแหละว่าไม่เป็นไร” หลังจากพวกตนต้องระงับการผลิตมาเกือบ 1 สัปดาห์และพื้นที่ชั้น 1 ของโรงงานก็เต็มไปด้วยน้ำ “เราได้นำอุปกรณ์สำคัญๆ ขึ้นไปไว้ชั้น 3 และคิดว่าปลอดภัยแล้ว แต่ตอนนี้พวกมันก็เสี่ยงที่จะถูกน้ำซัดอีก เรากำลังพิจารณาดูว่าจะสามารถใช้เฮลิคอปเตอร์ยกมันออกมาได้หรือไม่ หากว่าบางส่วนยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่”
ด้านโคเฮอิ ทาคาฮาชิ นักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งจีพี มอร์แกน มองว่า แม้ในกรณีดีที่สุดสำหรับบริษัทฮอนด้า ก็ยังต้องระงับการผลิตนานถึง 3 เดือน ซึ่งนั่นจะส่งผลกระทบต่อกำไรจากการดำเนินงานถึง 15,000 ล้านเยน (ราว 6,000 ล้านบาท) และดูเหมือนว่าปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนจะส่งผลกระทบไปทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน ขณะที่โตโยต้า, อีซูซุ, นิสสัน และมิตซูบิชิ ก็ล้วนแต่ประสบปัญหาไม่ต่างกัน
เซยะ สุเกกาวะ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ระบุว่า “ญี่ปุ่นคือนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของไทย พวกเขาคือกลุ่มนายจ้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศนี้ พวกเขามีส่วนส่งเสริมเศรษฐกิจอย่างมหาศาล และจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงหากพวกเขารู้สึกว่าประเทศไทยไม่เหมาะที่จะทำธุรกิจอีกต่อไป ทั้งนี้หากรัฐบาลไม่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ เหล่าเอสเอ็มอีจำนวนมากอาจต้องพังทลาย”
“พวกเราทำอะไรไม่ได้มาสักระยะหนึ่งแล้ว แค่จะเข้าไปตรวจโรงงาน เรายังทำไม่ได้เลย” ยาสุนาริ คูวาโน ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทมินีแบไทย ผู้ผลิตตลับลูกปืนรายใหญ่ป้อนอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์มือถือหลายเจ้า กล่าว
ขณะที่เหล่าผู้บริหารบริษัทญี่ปุ่นอื่นๆ โวยว่า ในแต่ละวันที่ต้องระงับการผลิตนั่นหมายถึงโอกาสที่จะสูญเสียลูกค้าให้กับคู่แข่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันกันดุเดือด อย่างเช่น พวกเครื่องใช้ไฟฟ้า
ทั้งนี้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคม มีแนวโน้มล้มเหลวไม่อาจหยุดยั้งกระแสน้ำถาโถมเข้าใส่กรุงเทพฯ ได้ โดยที่คลองระบายน้ำหลายแห่งเริ่มเอ่อล้น ขณะที่แนวคันน้ำตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ก็เป็นที่กังวลกันว่าสามารถต้านมวลน้ำก้อนใหญ่จากทางเหนือซึ่งไหลลงมาได้หรือไม่
นอกจากความล้มเหลวในเรื่องการสกัดน้ำท่วมแล้ว รัฐบาลไทยยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแบบคลุมเครือไม่ชัดเจนอีกด้วย โดยล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (24) ที่ผ่านมา นาวาตรี จอห์น เพอร์กินส์ โฆษกกองทัพเรือสหรัฐฯ ภาคแปซิฟิกซึ่งมีฐานในฮาวาย ระบุว่า เดิมทีเรือบรรทุกเครื่องบิน “จอร์จ วอชิงตัน” และเรือรบอื่นๆ อีกหลายลำ ได้ถูกส่งเข้าไปประจำการแถวเขตน่านน้ำไทย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เหตุภัยพิบัติในไทย แต่แล้ว ทางกองทัพสหรัฐฯ ก็ไม่ได้รับคำร้องขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการมาจากรัฐบาลไทยเลย
ด้วยเหตุนี้กองเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งนอกจากเรือ จอร์จ วอชิงตัน แล้ว ยังประกอบด้วยเรือคุ้มกันอีก 2 ลำ และเรือลำที่ 4 คือ เรือพิฆาต ยูเอสเอส คิดด์ ซึ่งตามมาสมทบทีหลัง จึงแล่นออกจากน่านน้ำไทยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (21) เพอร์กินส์ กล่าว
“เราพร้อมให้ความช่วยเหลือ ทว่า เราไม่ได้รับคำร้องขอ” เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ รายหนึ่งที่ไม่เปิดเผยชื่อกล่าวเสริม
“มีการสื่อสารมา 2 ทาง (มาจากในรัฐบาลไทย) โดยที่ฝ่ายหนึ่งบอก 'ใช่' แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับบอก 'ไม่'”
ทั้งนี้กองเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน ได้แล่นมาถึงท่าเรือสิงคโปร์ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม และ 4 วันต่อมาก็มุ่งหน้ามาถึงไทย เพื่อเตรียมพร้อมรอไว้ (สแตนด์บาย) ในกรณีได้รับร้องขอความช่วยเหลือ เช่นเดียวกับเรือยูเอสเอส คิดด์ ที่ผละจากการซ้อมรบร่วมกับกองทัพกัมพูชาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
รายงานข่าวระบุว่า เวลานี้เรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน กำลังมุ่งหน้าสู่ญี่ปุ่น เพื่อร่วมซ้อมรบประจำปีต่อไป
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ทีมนาวิกโยธินอเมริกัน กลุ่มเล็ก 10 นายได้เดินทางมาถึงไทย เพื่อส่งมอบกระสอบบรรจุทรายและเข้าประเมินสถานการณ์ว่ากองทัพอเมริกาควรให้ความช่วยเหลืออย่างไร
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดปรากฏว่า หน่วยนาวิกโยธินกลุ่มนี้เตรียมเดินทางกลับแล้ว โดยที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงเมื่อวานนี้(25)ว่ายังไม่ทราบรายละเอียด พร้อมกับปฏิเสธที่จะตอบว่าปัญหาเกิดจากกองทัพไทยหรือไม่ และยืนยันว่าความช่วยเหลือจากประเทศอื่นยังมีอยู่
ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง นายสุรพงษ์ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่พอใจที่ไทยปฏิเสธความช่วยเหลือว่า ตนยังไม่ทราบรายละเอียด แต่จะกลับไปหารือที่กระทรวงว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร ซึ่งเท่าที่ทราบหลังสุดนั้น ทางสหรัฐฯ กับทหารไทยได้ลงสำรวจพื้นที่ประสบภัย จากนั้นก็ได้ข้อสรุปร่วมกัน ทว่าตนยังไม่เห็น จึงจะให้ผู้เกี่ยวข้องทำข้อสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรมาก่อน แต่ตอนแรกที่สหรัฐฯ ประสงค์จะให้ความช่วยเหลือ ประเทศไทยก็มีความยินดี พวกเขาก็เลยส่งเจ้าหน้าที่นาวิกโยธินมาร่วมประชุมกับกองทัพไทย แต่ล่าสุดเป็นอย่างไร ต้องขอดูรายงานก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมาการประสานงานของกองทัพหรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ตนก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน จะต้องรอดูอีกทีหนึ่ง อย่างไรก็ตามเชื่อว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไร แต่จนถึงขณะนี้เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยก็ยังไม่มีการติดต่อมา
เมื่อถามว่า ขณะนี้คณะช่วยเหลือจากต่างประเทศเดินทางกลับไปบ้างหรือยัง นายสุรพงษ์ ตอบว่า ยังไม่กลับ แต่เท่าที่ทราบคือ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะเดินทางกลับแล้ว แต่ของประเทศอื่นไม่มีปัญหา เช่น ประเทศจีนก็ยังสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำพวกเรือ แต่ไม่ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมา
นอกจากนี้ นายสุรพงษ์ เปิดเผยด้วยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ดูแลสถานทูตและบ้านพักเอกอัครราชทูตที่ประจำในประเทศไทย รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ประสบปัญหา เพราะรัฐบาลต้องการให้ข้อมูลที่รวดเร็วกับนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะมีการแจ้งเตือน และอาจจะมีศูนย์กลางของกระทรวงการต่างประเทศ หรือข้อมูลการท่องเที่ยว โดยจะเปิดสายด่วนฮอตไลน์ เพื่อให้มีการติดต่อได้โดยตรง แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสถานทูตใดได้รับผลกระทบ มีเพียงบ้านพักของเอกอัครราชทูตต่างประเทศบางท่านที่ได้รับผลกระทบบ้าง และได้ย้ายออกมาพักอยู่ที่โรงแรมแล้ว
ฮิโรชิ มินามิ ประธานบริษัท โรห์ม อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ไทยแลนด์) หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (เซมิคอนดักเตอร์) รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งมีโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ได้ตำหนิรัฐบาลไทยว่า “พวกเขาพร่ำบอกอยู่นั่นแหละว่าไม่เป็นไร” หลังจากพวกตนต้องระงับการผลิตมาเกือบ 1 สัปดาห์และพื้นที่ชั้น 1 ของโรงงานก็เต็มไปด้วยน้ำ “เราได้นำอุปกรณ์สำคัญๆ ขึ้นไปไว้ชั้น 3 และคิดว่าปลอดภัยแล้ว แต่ตอนนี้พวกมันก็เสี่ยงที่จะถูกน้ำซัดอีก เรากำลังพิจารณาดูว่าจะสามารถใช้เฮลิคอปเตอร์ยกมันออกมาได้หรือไม่ หากว่าบางส่วนยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่”
ด้านโคเฮอิ ทาคาฮาชิ นักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งจีพี มอร์แกน มองว่า แม้ในกรณีดีที่สุดสำหรับบริษัทฮอนด้า ก็ยังต้องระงับการผลิตนานถึง 3 เดือน ซึ่งนั่นจะส่งผลกระทบต่อกำไรจากการดำเนินงานถึง 15,000 ล้านเยน (ราว 6,000 ล้านบาท) และดูเหมือนว่าปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนจะส่งผลกระทบไปทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน ขณะที่โตโยต้า, อีซูซุ, นิสสัน และมิตซูบิชิ ก็ล้วนแต่ประสบปัญหาไม่ต่างกัน
เซยะ สุเกกาวะ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ระบุว่า “ญี่ปุ่นคือนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของไทย พวกเขาคือกลุ่มนายจ้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศนี้ พวกเขามีส่วนส่งเสริมเศรษฐกิจอย่างมหาศาล และจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงหากพวกเขารู้สึกว่าประเทศไทยไม่เหมาะที่จะทำธุรกิจอีกต่อไป ทั้งนี้หากรัฐบาลไม่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ เหล่าเอสเอ็มอีจำนวนมากอาจต้องพังทลาย”
“พวกเราทำอะไรไม่ได้มาสักระยะหนึ่งแล้ว แค่จะเข้าไปตรวจโรงงาน เรายังทำไม่ได้เลย” ยาสุนาริ คูวาโน ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทมินีแบไทย ผู้ผลิตตลับลูกปืนรายใหญ่ป้อนอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์มือถือหลายเจ้า กล่าว
ขณะที่เหล่าผู้บริหารบริษัทญี่ปุ่นอื่นๆ โวยว่า ในแต่ละวันที่ต้องระงับการผลิตนั่นหมายถึงโอกาสที่จะสูญเสียลูกค้าให้กับคู่แข่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันกันดุเดือด อย่างเช่น พวกเครื่องใช้ไฟฟ้า
ทั้งนี้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคม มีแนวโน้มล้มเหลวไม่อาจหยุดยั้งกระแสน้ำถาโถมเข้าใส่กรุงเทพฯ ได้ โดยที่คลองระบายน้ำหลายแห่งเริ่มเอ่อล้น ขณะที่แนวคันน้ำตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ก็เป็นที่กังวลกันว่าสามารถต้านมวลน้ำก้อนใหญ่จากทางเหนือซึ่งไหลลงมาได้หรือไม่
นอกจากความล้มเหลวในเรื่องการสกัดน้ำท่วมแล้ว รัฐบาลไทยยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแบบคลุมเครือไม่ชัดเจนอีกด้วย โดยล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (24) ที่ผ่านมา นาวาตรี จอห์น เพอร์กินส์ โฆษกกองทัพเรือสหรัฐฯ ภาคแปซิฟิกซึ่งมีฐานในฮาวาย ระบุว่า เดิมทีเรือบรรทุกเครื่องบิน “จอร์จ วอชิงตัน” และเรือรบอื่นๆ อีกหลายลำ ได้ถูกส่งเข้าไปประจำการแถวเขตน่านน้ำไทย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เหตุภัยพิบัติในไทย แต่แล้ว ทางกองทัพสหรัฐฯ ก็ไม่ได้รับคำร้องขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการมาจากรัฐบาลไทยเลย
ด้วยเหตุนี้กองเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งนอกจากเรือ จอร์จ วอชิงตัน แล้ว ยังประกอบด้วยเรือคุ้มกันอีก 2 ลำ และเรือลำที่ 4 คือ เรือพิฆาต ยูเอสเอส คิดด์ ซึ่งตามมาสมทบทีหลัง จึงแล่นออกจากน่านน้ำไทยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (21) เพอร์กินส์ กล่าว
“เราพร้อมให้ความช่วยเหลือ ทว่า เราไม่ได้รับคำร้องขอ” เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ รายหนึ่งที่ไม่เปิดเผยชื่อกล่าวเสริม
“มีการสื่อสารมา 2 ทาง (มาจากในรัฐบาลไทย) โดยที่ฝ่ายหนึ่งบอก 'ใช่' แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับบอก 'ไม่'”
ทั้งนี้กองเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน ได้แล่นมาถึงท่าเรือสิงคโปร์ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม และ 4 วันต่อมาก็มุ่งหน้ามาถึงไทย เพื่อเตรียมพร้อมรอไว้ (สแตนด์บาย) ในกรณีได้รับร้องขอความช่วยเหลือ เช่นเดียวกับเรือยูเอสเอส คิดด์ ที่ผละจากการซ้อมรบร่วมกับกองทัพกัมพูชาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
รายงานข่าวระบุว่า เวลานี้เรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน กำลังมุ่งหน้าสู่ญี่ปุ่น เพื่อร่วมซ้อมรบประจำปีต่อไป
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ทีมนาวิกโยธินอเมริกัน กลุ่มเล็ก 10 นายได้เดินทางมาถึงไทย เพื่อส่งมอบกระสอบบรรจุทรายและเข้าประเมินสถานการณ์ว่ากองทัพอเมริกาควรให้ความช่วยเหลืออย่างไร
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดปรากฏว่า หน่วยนาวิกโยธินกลุ่มนี้เตรียมเดินทางกลับแล้ว โดยที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงเมื่อวานนี้(25)ว่ายังไม่ทราบรายละเอียด พร้อมกับปฏิเสธที่จะตอบว่าปัญหาเกิดจากกองทัพไทยหรือไม่ และยืนยันว่าความช่วยเหลือจากประเทศอื่นยังมีอยู่
ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง นายสุรพงษ์ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่พอใจที่ไทยปฏิเสธความช่วยเหลือว่า ตนยังไม่ทราบรายละเอียด แต่จะกลับไปหารือที่กระทรวงว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร ซึ่งเท่าที่ทราบหลังสุดนั้น ทางสหรัฐฯ กับทหารไทยได้ลงสำรวจพื้นที่ประสบภัย จากนั้นก็ได้ข้อสรุปร่วมกัน ทว่าตนยังไม่เห็น จึงจะให้ผู้เกี่ยวข้องทำข้อสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรมาก่อน แต่ตอนแรกที่สหรัฐฯ ประสงค์จะให้ความช่วยเหลือ ประเทศไทยก็มีความยินดี พวกเขาก็เลยส่งเจ้าหน้าที่นาวิกโยธินมาร่วมประชุมกับกองทัพไทย แต่ล่าสุดเป็นอย่างไร ต้องขอดูรายงานก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมาการประสานงานของกองทัพหรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ตนก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน จะต้องรอดูอีกทีหนึ่ง อย่างไรก็ตามเชื่อว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไร แต่จนถึงขณะนี้เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยก็ยังไม่มีการติดต่อมา
เมื่อถามว่า ขณะนี้คณะช่วยเหลือจากต่างประเทศเดินทางกลับไปบ้างหรือยัง นายสุรพงษ์ ตอบว่า ยังไม่กลับ แต่เท่าที่ทราบคือ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะเดินทางกลับแล้ว แต่ของประเทศอื่นไม่มีปัญหา เช่น ประเทศจีนก็ยังสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำพวกเรือ แต่ไม่ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมา
นอกจากนี้ นายสุรพงษ์ เปิดเผยด้วยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ดูแลสถานทูตและบ้านพักเอกอัครราชทูตที่ประจำในประเทศไทย รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ประสบปัญหา เพราะรัฐบาลต้องการให้ข้อมูลที่รวดเร็วกับนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะมีการแจ้งเตือน และอาจจะมีศูนย์กลางของกระทรวงการต่างประเทศ หรือข้อมูลการท่องเที่ยว โดยจะเปิดสายด่วนฮอตไลน์ เพื่อให้มีการติดต่อได้โดยตรง แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสถานทูตใดได้รับผลกระทบ มีเพียงบ้านพักของเอกอัครราชทูตต่างประเทศบางท่านที่ได้รับผลกระทบบ้าง และได้ย้ายออกมาพักอยู่ที่โรงแรมแล้ว