ระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม ที่ผ่านมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เปิดประชุมคณะกรรมการกลางเต็มคณะครั้งที่ 6 (ของคณะกรรมการกลางที่เกิดขึ้นจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคสมัยที่ 17 เมื่อเดือนตุลาคม2007) และผ่านมติสำคัญเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการทำงานทางด้านวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมสังคมนิยมระลอกใหญ่
แถลงการณ์ของที่ประชุมเผยแพร่ตามมา ระบุว่าที่ประชุมได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปทางด้านวัฒนธรรม เพื่อให้วัฒนธรรมสังคมนิยมแบบจีน “พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองระลอกใหญ่” โดยเน้นไปยังการปฏิรูปตัวระบบกลไก (ภาษาจีนว่า “ถี่จื้อ”) ต่างๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยชี้ให้เห็นว่า การปฏิรูปวัฒนธรรมระลอกนี้ จะนำไปสู่การสร้างสังคมจีนให้เป็นสังคมอยู่ดีมีสุขได้อย่างเป็นจริงภายในปี ค.ศ. 2020 พร้อมกับชี้ให้เห็นถึงความหมายยาวไกลของการปฏิรูปวัฒนธรรมระลอกนี้ว่า เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมจีนให้รุ่งเรืองเฟื่องฟุ้งอีกครั้งหนึ่งของประชาชาติจีน (จงหัวหมินจู๋) และว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีจุดยืนแน่วแน่ในการสืบทอดและเผยแพร่วัฒนธรรม ทั้งในห้วงของการปฏิวัติและการสร้างชาติ แสดงบทบาทนำในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาของวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าของจีนมาโดยตลอด ทั้งในการกำหนดทิศทาง และการใช้วัฒนธรรมที่ก้าวหน้าเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นขึ้นในหมู่ชนชาวจีน
ในแถลงการณ์ยังระบุว่า ปัจจุบัน สังคมโลกกำลังอยู่ในห้วงของการ “พัฒนาใหญ่ เปลี่ยนแปลงใหญ่ ปรับตัวใหญ่” พลังรวมของประเทศหนึ่งๆ จะปรากฏออกมาทั้งด้านที่เป็น “พลังแข็ง” และ “พลังนุ่ม” วัฒนธรรมซึ่งเป็นส่วนของ “พลังนุ่ม” จะต้องได้รับการเสริมสร้างอย่างจริงจัง ในสภาวะเช่นนี้ ประเทศจีนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างเสริมศักยภาพทางด้านวัฒนธรรม เพื่อช่วยขยายบทบาทโดยรวมของประเทศจีนบนเวทีโลกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น อีกทั้ง การพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม (พลังนุ่ม) จะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ (พลังแข็ง) เพราะเป็นที่มาของแรงดลใจมหาศาลที่สามารถนำไปสู่การนวัตกรรมใหม่ๆ ในทุกๆ ด้าน ขณะที่ประชาชนชาวจีนเองก็ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างรอบด้าน เมื่ออยู่ดีกินดีได้แล้วเป็นพื้นฐาน ก็ย่อมต้องการบริโภคทางด้านวัฒนธรรม เติมเต็มทางจิตใจ
โดยภาพรวมก็คือ จีนได้ก้าวเข้าสู่ห้วงของ “โอกาสทางยุทธศาสตร์” ระยะใหม่ ในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประเทศ ที่จะต้องถือเอาการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (ปัจจุบันอยู่ในขั้นของการ “เปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต” จากต่ำไปสู่สูง ให้เป็นแบบเน้นคุณภาพ ทั้งอย่างยั่งยืน ประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ) เป็น “หัวใจ” ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม
ดังเช่นทุกครั้งของการประชุมระดับนี้ สื่อจีนทุกประเภทได้โหมกระพือข่าวการประชุมในฐานะข่าวนำอันดับหนึ่งของวัน ติดต่อกันหลายวัน หน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคต่างได้นำเอามติที่ประชุม ไปศึกษาทำความเข้าใจ สำหรับการนำไปสู่การปฏิรูปอย่างเป็นจริง
นักวิชาการจีน ทั้งที่เป็นนักทฤษฎีในสายของพรรคโดยตรง และนักวิชาการในสถาบันและรั้วมหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนนักวิเคราะห์ตลาดทุน ต่างพากันนำเสนอบทวิเคราะห์ ทั้งในห้วงการประชุมและหลังการประชุม แสดงทัศนะในแง่มุมต่างๆ อย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่แล้วสนับสนุนแนวเสนอที่ปรากฏในแถลงการณ์ เนื่องจากตระหนักชัดในข้อจำกัดต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในรูปของระบบกลไกต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางพัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมยุคใหม่ของจีนมานาน โดยเฉพาะหลังจากจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกแล้ว
นายเหรินจ้งผิง ได้เขียนบทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ประชาชนรายวัน” (เหรินหมินรึเป้า) ชี้ให้เห็นถึงความลักลั่นกันของการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับวัฒนธรรมจีนในห้วงปัจจุบัน ว่าขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน เช่น จงสือฮว่า (ซิโนเปค) จงอี๋ต้ง (ไชน่าโมไบล์) เป็นต้น เดินหน้าสู่ตลาดโลก ในฐานะหนึ่งในห้าร้อยธุรกิจใหญ่ที่สุดของโลก แต่ไม่ปรากฏมี “แบรนด์จีน” ทางด้านวัฒนธรรมปรากฏให้เห็นเลย ขณะที่การ์ตูน “ฮวามู่หลัน” ที่ผลิตจากอเมริกาครองตลาดจีน คนจีนกลับติดตัน แสดงออกถึงความขาดทักษะทางด้านความริเริ่มอย่างชัดเจน
เขายังยกตัวอย่างอีกว่ารายได้ของสำนักพิมพ์ห้าร้อยแห่งของจีนในแต่ละปี เทียบไม่ได้กับรายได้ของสำนักพิมพ์แห่งเดียวของเยอรมนี (เบอร์เทลสมานน์)
นี่มองในแง่ของ “ธุรกิจวัฒนธรรม” ซึ่งผู้เขียนจะทยอยนำเสนอในบทต่อไป
แถลงการณ์ของที่ประชุมเผยแพร่ตามมา ระบุว่าที่ประชุมได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปทางด้านวัฒนธรรม เพื่อให้วัฒนธรรมสังคมนิยมแบบจีน “พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองระลอกใหญ่” โดยเน้นไปยังการปฏิรูปตัวระบบกลไก (ภาษาจีนว่า “ถี่จื้อ”) ต่างๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยชี้ให้เห็นว่า การปฏิรูปวัฒนธรรมระลอกนี้ จะนำไปสู่การสร้างสังคมจีนให้เป็นสังคมอยู่ดีมีสุขได้อย่างเป็นจริงภายในปี ค.ศ. 2020 พร้อมกับชี้ให้เห็นถึงความหมายยาวไกลของการปฏิรูปวัฒนธรรมระลอกนี้ว่า เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมจีนให้รุ่งเรืองเฟื่องฟุ้งอีกครั้งหนึ่งของประชาชาติจีน (จงหัวหมินจู๋) และว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีจุดยืนแน่วแน่ในการสืบทอดและเผยแพร่วัฒนธรรม ทั้งในห้วงของการปฏิวัติและการสร้างชาติ แสดงบทบาทนำในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาของวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าของจีนมาโดยตลอด ทั้งในการกำหนดทิศทาง และการใช้วัฒนธรรมที่ก้าวหน้าเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นขึ้นในหมู่ชนชาวจีน
ในแถลงการณ์ยังระบุว่า ปัจจุบัน สังคมโลกกำลังอยู่ในห้วงของการ “พัฒนาใหญ่ เปลี่ยนแปลงใหญ่ ปรับตัวใหญ่” พลังรวมของประเทศหนึ่งๆ จะปรากฏออกมาทั้งด้านที่เป็น “พลังแข็ง” และ “พลังนุ่ม” วัฒนธรรมซึ่งเป็นส่วนของ “พลังนุ่ม” จะต้องได้รับการเสริมสร้างอย่างจริงจัง ในสภาวะเช่นนี้ ประเทศจีนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างเสริมศักยภาพทางด้านวัฒนธรรม เพื่อช่วยขยายบทบาทโดยรวมของประเทศจีนบนเวทีโลกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น อีกทั้ง การพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม (พลังนุ่ม) จะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ (พลังแข็ง) เพราะเป็นที่มาของแรงดลใจมหาศาลที่สามารถนำไปสู่การนวัตกรรมใหม่ๆ ในทุกๆ ด้าน ขณะที่ประชาชนชาวจีนเองก็ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างรอบด้าน เมื่ออยู่ดีกินดีได้แล้วเป็นพื้นฐาน ก็ย่อมต้องการบริโภคทางด้านวัฒนธรรม เติมเต็มทางจิตใจ
โดยภาพรวมก็คือ จีนได้ก้าวเข้าสู่ห้วงของ “โอกาสทางยุทธศาสตร์” ระยะใหม่ ในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประเทศ ที่จะต้องถือเอาการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (ปัจจุบันอยู่ในขั้นของการ “เปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต” จากต่ำไปสู่สูง ให้เป็นแบบเน้นคุณภาพ ทั้งอย่างยั่งยืน ประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ) เป็น “หัวใจ” ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม
ดังเช่นทุกครั้งของการประชุมระดับนี้ สื่อจีนทุกประเภทได้โหมกระพือข่าวการประชุมในฐานะข่าวนำอันดับหนึ่งของวัน ติดต่อกันหลายวัน หน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคต่างได้นำเอามติที่ประชุม ไปศึกษาทำความเข้าใจ สำหรับการนำไปสู่การปฏิรูปอย่างเป็นจริง
นักวิชาการจีน ทั้งที่เป็นนักทฤษฎีในสายของพรรคโดยตรง และนักวิชาการในสถาบันและรั้วมหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนนักวิเคราะห์ตลาดทุน ต่างพากันนำเสนอบทวิเคราะห์ ทั้งในห้วงการประชุมและหลังการประชุม แสดงทัศนะในแง่มุมต่างๆ อย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่แล้วสนับสนุนแนวเสนอที่ปรากฏในแถลงการณ์ เนื่องจากตระหนักชัดในข้อจำกัดต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในรูปของระบบกลไกต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางพัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมยุคใหม่ของจีนมานาน โดยเฉพาะหลังจากจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกแล้ว
นายเหรินจ้งผิง ได้เขียนบทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ประชาชนรายวัน” (เหรินหมินรึเป้า) ชี้ให้เห็นถึงความลักลั่นกันของการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับวัฒนธรรมจีนในห้วงปัจจุบัน ว่าขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน เช่น จงสือฮว่า (ซิโนเปค) จงอี๋ต้ง (ไชน่าโมไบล์) เป็นต้น เดินหน้าสู่ตลาดโลก ในฐานะหนึ่งในห้าร้อยธุรกิจใหญ่ที่สุดของโลก แต่ไม่ปรากฏมี “แบรนด์จีน” ทางด้านวัฒนธรรมปรากฏให้เห็นเลย ขณะที่การ์ตูน “ฮวามู่หลัน” ที่ผลิตจากอเมริกาครองตลาดจีน คนจีนกลับติดตัน แสดงออกถึงความขาดทักษะทางด้านความริเริ่มอย่างชัดเจน
เขายังยกตัวอย่างอีกว่ารายได้ของสำนักพิมพ์ห้าร้อยแห่งของจีนในแต่ละปี เทียบไม่ได้กับรายได้ของสำนักพิมพ์แห่งเดียวของเยอรมนี (เบอร์เทลสมานน์)
นี่มองในแง่ของ “ธุรกิจวัฒนธรรม” ซึ่งผู้เขียนจะทยอยนำเสนอในบทต่อไป