ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังเตรียมเสนอมาตรการเยียวยาหลังน้ำท่วม “บุญทรง เตริยาภิรมย์” สั่งแบงก์รัฐเตรียมข้อมูลพักหนี้ลูกค้าวงเงินต่ำกว่า 5 แสนบาท ขีดเส้นสิ้นเดือนนี้ต้องเห็นเป็นรูปธรรม เริ่มต้นที่ลูกค้าที่เดือดร้อนจากอุทกภัยและเอ็นพีแอลกลุ่มแรกก่อนขยายไปยังลูกค้าทั่วไป พร้อมอัดฉีดหมู่บ้านเอสเอ็มแอลวงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาทสมทบกองทุนหมู่บ้านที่ได้ไปหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมช.คลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 6 แห่งประกอบไปด้วยธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหรือไอแบงก์ เพื่อรวมรวมข้อมูลลูกค้ารายย่อยสำหรับโครงการพักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท
โดยโครงการนี้รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาจะพักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี - และสำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้สามารถทำมาหากิน พอมีรายได้ค่อยมาใช้คืน ซึ่งในเบื้องต้นได้ให้ทั้ง 6 แบงก์หารูปแบบและประเมินโครงการว่าจะดำเนินการสำหรับลูกค้าแต่แต่ละกลุ่มได้อย่างไรบ้าง โดยต้องรีบดำเนินการหลังน้ำลดเพื่อเร่งเยียวยาประชาชนที่เดือดร้อน
“ตอนนี้บอร์ดแต่ละแบงก์ได้ไปรวบรวมอยู่ว่าจะช่วยเหลือในโครงการพักหนี้ในรูปแบบใดบ้างตามความเหมาะสมของลูกค้าซึ่งได้สั่งการให้เร่งรวบรวมข้อมูลแล้วเสนอมาเป็นแพ็กเกจพร้อมกันซึ่งจะได้ข้อสรุปได้ภายในสิ้นเดือนนี้เพื่อที่จะได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากอุทกภัยครั้งนี้ได้โดยเร็ว” นายบุญทรงกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า เท่าที่ได้สำรวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่ามีลูกค้าที่เข้าข่ายเดือดร้อนจากอุทกภัยในครั้งนี้และต้องรับการเยียวยาโดยการพักหนี้ได้ทันทีในหลักหมื่นรายแต่ต้องรอตัวเลขที่นิ่งหลังน้ำลดอีกครั้งเพราะตอนนี้แต่ละแบงก์ยังไม่สามารถสำรวจข้อมูลของลูกค้าที่ได้รับความเดือดร้อนได้ทั้งหมด ซึ่งหากจะดำเนินการทั้งระบบอาจมีลูกค้าของแบงก์รัฐหลายล้านรายที่เข้าข่ายซึ่งต้องใช้เงินอุดหนุนหลายหมื่นล้านบาท
“ในส่วนของแบงก์รัฐไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเพราะสามารถแยกเป็นบัญชีการดำเนินการตามนโยบายรัฐต่างหากไม่ส่งผลต่อการดำเนินการของแบงก์ แต่หากจะทำโครงการให้ครอบคลุมลูกค้าทั้งระบบต้องขอความร่วมมือจากแบงก์พาณิชย์ด้วยซึ่งต้องหารูปแบบอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรเนื่องจากตามกฎหมายไม่สามารถให้เงินอุดหนุนแก่แบงก์พาณิชย์ได้อาจให้ซอฟท์โลนแทนหากรัฐบาลต้องการ" แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังได้หารือกับสำนักงบประมาณเพื่อเร่งดำเนินการอุดหนุนหมู่บ้านเอสเอ็มแอล หมู่บ้านละ 3 – 5 แสนบาท จำนวน 8 หมื่นหมู่บ้าน ต่อเนื่องจากการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านหมู่บ้านละ 1 ล้านบาทตามที่รับบาลเห็นชอบไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งสำนักงบประมาณก็เห็นชอบกับการดำเนินการนี้และมีช่องทางดำเนินการได้ตามกฎหมายของสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังก็มีช่องทางจัดหาเงินอุกหนุนโครงการเอสเอ็มแอลตามกฎหมายได้เช่นกัน
“โครงการทั้งพักหนี้และเอสเอ็มแอลน่าจะดำเนินการได้ในระยะเดียวกันตามความต้องการของรัฐบาลและสามารถช่วยเยียวยาประชาชนที่ประสบภัยจากน้ำท่วมในครั้งนี้ได้ ซึ่งนโยบายทั้งสองนี้คงได้ข้อสรุปได้ภายในสิ้นเดือนนี้เพื่อเสนอต่อ ครม.ให้ดำเนินการได้โดยเร็ว” แหล่งข่าวกล่าว.
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมช.คลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 6 แห่งประกอบไปด้วยธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหรือไอแบงก์ เพื่อรวมรวมข้อมูลลูกค้ารายย่อยสำหรับโครงการพักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท
โดยโครงการนี้รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาจะพักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี - และสำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้สามารถทำมาหากิน พอมีรายได้ค่อยมาใช้คืน ซึ่งในเบื้องต้นได้ให้ทั้ง 6 แบงก์หารูปแบบและประเมินโครงการว่าจะดำเนินการสำหรับลูกค้าแต่แต่ละกลุ่มได้อย่างไรบ้าง โดยต้องรีบดำเนินการหลังน้ำลดเพื่อเร่งเยียวยาประชาชนที่เดือดร้อน
“ตอนนี้บอร์ดแต่ละแบงก์ได้ไปรวบรวมอยู่ว่าจะช่วยเหลือในโครงการพักหนี้ในรูปแบบใดบ้างตามความเหมาะสมของลูกค้าซึ่งได้สั่งการให้เร่งรวบรวมข้อมูลแล้วเสนอมาเป็นแพ็กเกจพร้อมกันซึ่งจะได้ข้อสรุปได้ภายในสิ้นเดือนนี้เพื่อที่จะได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากอุทกภัยครั้งนี้ได้โดยเร็ว” นายบุญทรงกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า เท่าที่ได้สำรวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่ามีลูกค้าที่เข้าข่ายเดือดร้อนจากอุทกภัยในครั้งนี้และต้องรับการเยียวยาโดยการพักหนี้ได้ทันทีในหลักหมื่นรายแต่ต้องรอตัวเลขที่นิ่งหลังน้ำลดอีกครั้งเพราะตอนนี้แต่ละแบงก์ยังไม่สามารถสำรวจข้อมูลของลูกค้าที่ได้รับความเดือดร้อนได้ทั้งหมด ซึ่งหากจะดำเนินการทั้งระบบอาจมีลูกค้าของแบงก์รัฐหลายล้านรายที่เข้าข่ายซึ่งต้องใช้เงินอุดหนุนหลายหมื่นล้านบาท
“ในส่วนของแบงก์รัฐไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเพราะสามารถแยกเป็นบัญชีการดำเนินการตามนโยบายรัฐต่างหากไม่ส่งผลต่อการดำเนินการของแบงก์ แต่หากจะทำโครงการให้ครอบคลุมลูกค้าทั้งระบบต้องขอความร่วมมือจากแบงก์พาณิชย์ด้วยซึ่งต้องหารูปแบบอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรเนื่องจากตามกฎหมายไม่สามารถให้เงินอุดหนุนแก่แบงก์พาณิชย์ได้อาจให้ซอฟท์โลนแทนหากรัฐบาลต้องการ" แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังได้หารือกับสำนักงบประมาณเพื่อเร่งดำเนินการอุดหนุนหมู่บ้านเอสเอ็มแอล หมู่บ้านละ 3 – 5 แสนบาท จำนวน 8 หมื่นหมู่บ้าน ต่อเนื่องจากการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านหมู่บ้านละ 1 ล้านบาทตามที่รับบาลเห็นชอบไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งสำนักงบประมาณก็เห็นชอบกับการดำเนินการนี้และมีช่องทางดำเนินการได้ตามกฎหมายของสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังก็มีช่องทางจัดหาเงินอุกหนุนโครงการเอสเอ็มแอลตามกฎหมายได้เช่นกัน
“โครงการทั้งพักหนี้และเอสเอ็มแอลน่าจะดำเนินการได้ในระยะเดียวกันตามความต้องการของรัฐบาลและสามารถช่วยเยียวยาประชาชนที่ประสบภัยจากน้ำท่วมในครั้งนี้ได้ ซึ่งนโยบายทั้งสองนี้คงได้ข้อสรุปได้ภายในสิ้นเดือนนี้เพื่อเสนอต่อ ครม.ให้ดำเนินการได้โดยเร็ว” แหล่งข่าวกล่าว.