สำนักปากท้องกระทรวงการคลังเร่งศึกษา "บัตรเครดิตชาวนา-พักหนี้ครัวเรือน" สนองนโยบายประชานิยมรากหญ้า ชี้ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายว่าจำกัดสำหรับเกษตรกรหรือไม่ ส่วนแผนอัดฉีดเงินกองทุนหมู่บ้านเพิ่ม ทำได้ทันที ยกเว้นหมู่บ้านที่มีปัญหาต้องแก้ปัญหาเก่าก่อนใส่เงิน
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและระบบการคลัง ในฐานะผู้อำนวยการสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (สพช.) หรือสำนักปากท้อง เปิดเผยว่า ขณะนี้ สพช.กำลังเร่งศึกษาข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศไว้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนระดับรากหญ้า ทั้งนโยบายบัตรเครดิตชาวนาและการพักหนี้ครัวเรือน
“สพช.เกี่ยวข้องกับปัญหาปากท้องของประชาชนโดยตรงจึงต้องเตรียมศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ เตรียมพร้อมรับนโยบายของรัฐบาลที่น่าจะทำตามที่ประกาศไว้ ซึ่งมีหลายนโยบายและมีทั้งใช้เงินงบประมาณจึงน่าจะเป็นงานที่หนักในอนาคต” นายพรชัยกล่าว
ทั้งนี้ ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจนว่าหมายถึงคนกลุ่มไหน ให้เป็นการทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และเป็นหนี้ที่เกิดจากสาเหตุใด ไม่เช่นนั้นจะหมายถึงทุกครัวเรือนในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวนมาก คงเป็นเรื่องยากและที่สำคัญหากเป็นหนี้ทีเกี่ยวกับสถาบันการเงินภาคเอกชนอาจจะติดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ที่ ธปท. เป็นผู้กำกับดูแล
"หนี้ของสถาบันการเงินรัฐนั้นอาจจะดำเนินการได้ง่ายกว่าแต่ก็ต้องรอดูว่าจะจำกัดลักษณะหนี้ไว้อย่างไร เช่น หนี้มีปัญหาหรือกลุ่มลูกหนี้ดี แต่คงไม่ครอบคลุมถึงหนี้ที่เกิดจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น"
ส่วนการอัดฉีดเงินให้กองทุนหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 1 ล้านบาทนั้นสามารถทำได้ง่ายเพราะเป็นกลไกที่เดินอยู่แล้ว โดยหลักการจัดสรรพิจารณากองทุนที่มีการบริหารจัดการที่ดีและไม่มีหนี้เสียมาก เพราะจากข้อมูลพบว่าบางกองทุนไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่องหรือมีการจัดการไม่ดี ส่วนนี้ควรเข้าไปแก้ปัญหาก่อนจะใส่เงินเข้าไป
นายพรชัย ยังกล่าวถึงการดำเนินโครงการรีไฟแนนซ์สินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้การกำกับที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์วงเงิน 10,000 ล้านบาท ว่าเหตุที่ไม่ขยายให้สินเชื่อบุคคลของสถาบันการเงิน เนื่องจากมองว่าไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการช่วยเหลือ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลส่วนใหญ่เงินเดือนรายได้มากกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน แต่กลุ่มลูกค้าของนอนแบงก์จะเป็นผู้มีรายได้น้อยเงินเดือนเพียง 5-7 พันบาทต่อเดือนเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หากธนาคารของรัฐเห็นว่าควรผ่อนผันเงื่อนไขการปล่อยกู้ เช่นการขยายวลาชำระหนี้จาก 3 ปีเป็น 5 ปีหรือนานกว่านั้นก็สามารถทำได้ เพราะการพิจารณาความเสี่ยงในการปล่อยกู้เป็นอำนาจการตัดสินใจของแบงก์เองไม่ใช่กระทรวงการคลัง รวมถึงการให้วงเงินมากกว่า 3 แสนบาทต่อรายก็สามารถดึงเข้าไปสู่สินเชื่อปกติของแบงก์เองได้แต่อาจมีดอกเบี้ยที่สูงกว่า 14% ตามที่กำหนดในโครงการ
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและระบบการคลัง ในฐานะผู้อำนวยการสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (สพช.) หรือสำนักปากท้อง เปิดเผยว่า ขณะนี้ สพช.กำลังเร่งศึกษาข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศไว้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนระดับรากหญ้า ทั้งนโยบายบัตรเครดิตชาวนาและการพักหนี้ครัวเรือน
“สพช.เกี่ยวข้องกับปัญหาปากท้องของประชาชนโดยตรงจึงต้องเตรียมศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ เตรียมพร้อมรับนโยบายของรัฐบาลที่น่าจะทำตามที่ประกาศไว้ ซึ่งมีหลายนโยบายและมีทั้งใช้เงินงบประมาณจึงน่าจะเป็นงานที่หนักในอนาคต” นายพรชัยกล่าว
ทั้งนี้ ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจนว่าหมายถึงคนกลุ่มไหน ให้เป็นการทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และเป็นหนี้ที่เกิดจากสาเหตุใด ไม่เช่นนั้นจะหมายถึงทุกครัวเรือนในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวนมาก คงเป็นเรื่องยากและที่สำคัญหากเป็นหนี้ทีเกี่ยวกับสถาบันการเงินภาคเอกชนอาจจะติดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ที่ ธปท. เป็นผู้กำกับดูแล
"หนี้ของสถาบันการเงินรัฐนั้นอาจจะดำเนินการได้ง่ายกว่าแต่ก็ต้องรอดูว่าจะจำกัดลักษณะหนี้ไว้อย่างไร เช่น หนี้มีปัญหาหรือกลุ่มลูกหนี้ดี แต่คงไม่ครอบคลุมถึงหนี้ที่เกิดจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น"
ส่วนการอัดฉีดเงินให้กองทุนหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 1 ล้านบาทนั้นสามารถทำได้ง่ายเพราะเป็นกลไกที่เดินอยู่แล้ว โดยหลักการจัดสรรพิจารณากองทุนที่มีการบริหารจัดการที่ดีและไม่มีหนี้เสียมาก เพราะจากข้อมูลพบว่าบางกองทุนไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่องหรือมีการจัดการไม่ดี ส่วนนี้ควรเข้าไปแก้ปัญหาก่อนจะใส่เงินเข้าไป
นายพรชัย ยังกล่าวถึงการดำเนินโครงการรีไฟแนนซ์สินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้การกำกับที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์วงเงิน 10,000 ล้านบาท ว่าเหตุที่ไม่ขยายให้สินเชื่อบุคคลของสถาบันการเงิน เนื่องจากมองว่าไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการช่วยเหลือ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลส่วนใหญ่เงินเดือนรายได้มากกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน แต่กลุ่มลูกค้าของนอนแบงก์จะเป็นผู้มีรายได้น้อยเงินเดือนเพียง 5-7 พันบาทต่อเดือนเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หากธนาคารของรัฐเห็นว่าควรผ่อนผันเงื่อนไขการปล่อยกู้ เช่นการขยายวลาชำระหนี้จาก 3 ปีเป็น 5 ปีหรือนานกว่านั้นก็สามารถทำได้ เพราะการพิจารณาความเสี่ยงในการปล่อยกู้เป็นอำนาจการตัดสินใจของแบงก์เองไม่ใช่กระทรวงการคลัง รวมถึงการให้วงเงินมากกว่า 3 แสนบาทต่อรายก็สามารถดึงเข้าไปสู่สินเชื่อปกติของแบงก์เองได้แต่อาจมีดอกเบี้ยที่สูงกว่า 14% ตามที่กำหนดในโครงการ