ASTVผู้จัดการรายวัน- น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค เขตอุตสาหกรรมโรจนะ ทำส่งออกรถยนต์สะเทือน ต้องชะลอส่งออกไปยัง 130 ประเทศทั่วโลก เหตุไร้ชิ้นส่วนป้อนโรงประกอบ แม้กระทั่งอินโดนีเซียยังสะเทือนตาม เหตุรอชิ้นส่วนจากไทย ด้านภาคท่องเที่ยว เบื้องต้นสูญกว่า 5 หมื่นล้าน นายกฯ เรียก ครม.เศรษฐกิจ-เอกชน-นิคมอุตฯ หารือฟื้นฟูด่วน
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมโดยเฉพาะนิคมฯบ้านหว้า (ไฮเทค) และเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ ฯลฯส่งผลกระทบต่อโรงงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องปิดกิจการชั่วคราวทำให้ฐานการผลิตรถยนต์ของไทยต้องชะลอการส่งออกรถยนต์ไปยัง 130ประเทศทั่วโลกเพราะไม่มีชิ้นส่วนป้อน โดยในปี 2554 ได้ตั้งเป้าส่งออกรถยนต์ราว 900,000 คัน
นอกจากนี้ โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยถือเป็น 1 ใน 5-6 ประเทศที่เป็นฐานป้อนชิ้นส่วนไปยังทั่วโลก และเมื่อน้ำท่วมโรงงานก็มีผลต่อการส่งออกไปยังฐานการผลิตในต่างประเทศด้วย เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นฐานการผลิตรถยนต์ของค่ายญี่ปุ่นก็ไม่สามารถประกอบรถยนต์ได้เช่นกัน
“มีความเป็นห่วงว่าโรงงานที่ถุกน้ำท่วมเสียหายหนักอาจต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือน ในการฟื้นฟูกิจการให้กลับมาผลิตชิ้นส่วนได้ตามปกติ ส่วนรายที่ถูกน้ำท่วมน้อยก็อาจใช้เวลาราว 1-3 เดือนเท่านั้นจึงจะกลับมาผลิตได้ ทำให้สูญเสียโอกาสในการส่งออกจำนวนมาก” นายศุภรัตน์ กล่าว
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า จากโรงงานประกอบรถยนต์บางค่ายไม่สามารถดำเนินการได้ คาดว่าจะส่งผลกระทบการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียซึ่งมีการส่งออกรถยนต์นั่งจำนวนมาก ส่วนเหตุการณ์น้ำท่วมจะสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมยานยนต์มากน้อยแค่ไหน ยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะรัฐบาลก็ยังไม่มีการประกาศจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้เมื่อใด
อย่างไรก็ตาม แม้ค่ายรถยนต์จะไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ และอาจต้องชะลอการผลิตแต่ก็ยังยืนยันจะจ่ายค่าจ้างให้แก่แรงงานราว 75% เพื่อรักษาแรงงานไว้ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นต้องใช้แรงงานฝีมือ เพราะหากต้องมีการหาคนงานและฝึกอบรมใหม่จะใช่เวลานานถึง 6 เดือน โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์มีแรงงานในระบบกว่า 50,000 คน เมื่อรวมกับอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มีมากกว่า 400,000 คน
“เรายังคงจ่ายค่าจ้างให้กับคนงานเหมือนปี 2552 ที่เกิดวิกฤติแฮมเบอรเกอร์ ซึ่งตอนนั้นคนงานเก่าๆ หายไปราว 20% แม้น้ำท่วมครั้งนี้ จะกระทบต่ออุตสหากรรมยานยนต์ให้เลวร้ายกว่าที่ผ่านมา จนอาจต้องหยุดผลิตนานถึง 6 เดือน ผู้ประกอบการก็ยอมจ่าย เพราะไม่กล้าทิ้งแรงงาน กลัวเกิดการขาดแคลน ขณะเดียวกันระหว่างที่มีการลดการทำงานล่วงเวลา (โอที) ค่ายรถยนต์ได้จัดฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานด้วย” นายสุรพงษ์กล่าว
***ท่องเที่ยวสูญกว่า 5 หมื่นล้าน
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า สทท. ได้ประเมินความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วม ที่มีผลต่อภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เบื้องต้น คาดว่า จะสูญเสียรายได้ราว 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น สองส่วน คือ คำนวนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่า ตุลาคม-ธันวาคม จะอยู่ที่ 5 ล้านคน แต่ผลจากน้ำท่วมจำนวนจะลดลงราว 20% หรือ 1 ล้านคน คิดเป็นรายได้ 40,000 ล้านบาท ,ในส่วนส่วนนักท่องเที่ยวไทย คาดลดลงราว 30% คิดเป็นรายได้ที่สูญไปวันละ 350 ล้านบาท หากรวม 3 เดือนเป็นเงิน 10,000 ล้านบาท ที่กระทบเยอะ เพราะปรกติคนกรุงเทพฯ จะท่องเที่ยว แต่ขณะนี้เริ่มมีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ อีกทั้งการเดินทางไปเที่ยวก็ลำบากขึ้น
ทั้งนี้ ภาคธุรกิจท่องเที่ยวต้องการให้รัฐเร่งออกมาตรการช่วยเหลือแรงงาน เพื่อป้องกันการปลดคนงาน ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่มีผู้ประกอบการใดเลิกจ้าง เพราะเป็นไฮซีซั่น ซึ่งยังคาดหวังว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวมาก และการใช้พนักงาน ช่วยทำงานภายหลังน้ำลด
***ส.โรงแรมรับมีนักท่องเที่ยวขอเลื่อน
ทางด้านนายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า อัตราเข้าพักโรงแรมในกรุงเทพฯ เดือนนี้ ภาพรวมยังอยู่ที่ 60-70% แต่บางแห่งเริ่มมีสัญญาณการเลื่อนและยกเลิก การเดินทางของแขกแล้ว ทำให้อัตราเข้าพักเหลือ 40-50% จากปรกติช่วงนี้จะอยู่ที่ 75-80% ซึ่งเป็นผลจากการคาดการณ์ว่า กรุงเทพฯ จะต้องเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วม นานกว่า 1 เดือน
“ที่ผ่านมาผู้ปรำกอบการพยายาม เจรจาเปลี่ยนเดสติเนชั่น ไปพักจังหวัดอื่นที่น้ำไม่ท่วม เช่น สมุย ภูเก็ต ที่อัตราเข้าพักยังอยู่ที่ 70% แต่บางรายก็ยืนยันของเปลี่ยนไปประเทศอื่น ซึ่งผู้ประกอบการยังยืนยันว่าน้ำท่วม จะมีผลระยะสั้น และไม่ส่งผลต่อการปรับขึ้นราคาห้องพักของเอเยนต์ในปีหน้า เพราะโรงแรมของไทยไม่ได้ขึ้นราคามา 3 ปีแล้ว “
***รร.แม่น้ำฯยอดยกเลิกกว่า 50%
น.พ. พิชัย ตั้งสิน กรรมการผู้จัดการ โรงแรมแม่น้ำรามาด้า พลาซา ถนนเจริญกรุง กล่าวว่า ลูกค้าที่จองเข้าพักซึ่งส่วนใหญ่ เป็นชาวต่างประเทศ เช่น เยอรมัน เริ่มทยอยขอยกเลิกการจองห้องพักแล้วก่า 50% โดยยกเลิกยาวไปถึงยอดจองในเดือน พฤศจิกายน ส่วนลูกค้าที่จองเดินทางมาช่วงเดือน ธันวาคม ก็มีติดต่อขอยกเลิกเช่นกัน แต่ทางโรงแรมได้เจรจาขอไว้ก่อนให้รอดูสถานการณ์น้ำอีก 2 สัปดาห์ ค่อยตัดสินใจ ในส่วนของลูกค้าคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรุ๊ปสัมมนาของหน่วยงานราชการก็ยกเลิก 100% แล้ว
“ตอนนี้อัตราเข้าพักโรงแรมเหลือแค่ 30% จากทุกปีช่วงนี้ถือเป็นไฮซีซั่น อัตราเข้าพักอยู่ในช่วงขาขึ้นเฉลี่ย 3 เดือนสุดท้ายจะอยู่ที่ 80% ส่วนลูกค้าที่ยังเหลืออยู่คือ กลุ่มที่เป็นงานหมั้น และ งานแต่งงาน ซึ่งโรงแรมตั้งมา 25 ปี แม้น้ำจะทวมพื้นที่รอบข้าง แต่โรงแรมไม่เคยท่วมไม่มีผลกระทบ แต่ปีนี้ถือเว่าหนักสุดครั้งแรก ยังประเมินมูลค่าเสียหายไม่ได้ ”
ทั้งนี้ ทางโรงแรม มีการเตรียมพร้อม เช่น วางกระสอบทรายบริเวณที่ติดกับแม่น้ำสูงจากพื้นกว่า 1 เมตร ในส่วนของไฟ ได้ทำการแยกคัตเอาท์ ทุกจุด ทำพนังกั้นห้องช่างและห้องเครื่องเพื่อให้มีไฟไว้คอยบริการลูกค้า จัดทีมช่างดูแลพร้อมปฎิบัติการ 24 ชั่วโมง พร้อมจัดพนักงานที่มีจิตอาสา ส่วนหนึ่ง ไปช่วยสำนักงานเขต หากต้องการความช่วยเหลือเรื่องแรงงาน
ส่วนในด้านการตลาด ได้ถ่ายรูปพื้นที่จริงของโรงแรม อัพเดทขึ้นเว็บไซต์ และ ส่งให้ลูกค้า เอเยนต์ทัวร์ในต่างประเทศ ดูเป็นระยะๆ เพื่อสร้างความมั่นใจ
***จัดแพกเกจขายในงานWTM กู้ยอด
สำหรับช่วงนี้ ทางโรงแรม ยังจัดโปรโมชั่น ลดราคาห้องพักเหลือ 1,500 บาท ต่อคืน จากราคาปกติ คืนละกว่า 3,000 บาท และในงานเวิลด์ ทราเวล มาร์ท หรือ WTM ที่ กรุงลอดดอน ประเทศอังกฤษ เดือน พ.ย. นี้ ทางโรงแรม เตรียม จัดโปรโมชั่นพิเศษ ไปนำเสนอขายห้องพัก เพื่อสร้างรายได้ชดเชยที่สูญไปในช่วงนี้ เน้น เพิ่มมูลค่าให้ลูกค้า แทนการลดราคา เช่น พัก 3 คืน แถม สปา หรือ พัก 2 คืน แถม นวดไทยเป็นต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างกรจัดทำแพกเกจ อย่างไรก็ตาม ทางโรงแรมยังคงจัดการ่าดินเนอร์ คืนวันลอยกระทง วันที่ 10 พ.ย. ซึ่งมียอดจองแล้วกว่า 70% จาก 250 ที่นั่ง ราคาเฉลี่ย 4,000 บาทต่อคน ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญของทุกปีที่สร้างรายได้ให้โรงแรม โดย ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ หาก ใน 1 สัปดาห์ สถานการณ์ไม่ดีขึ้น โรงแรมคงต่องยอมยกเลิกการจัดงาน
**“ยิ่งลักษณ์” เรียกหน่วยงานด้าน ศก.ถก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 14.00 น.วานนี้ (23 ต.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย รมว.คลัง รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ และรมว.อุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหลังน้ำลดจากกรณีที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ โดยภายหลังการหารือได้ประชุมอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการเชิญตัวแทนจากอุตสาหกรรมบางกระดี อุตสาหกรรมไฮเทค และประธานสภาอุตสาหกรรม เข้าร่วมหารือและจะแถลงความคืบหน้าให้ทราบต่อไป
***เชิญนิคมฯถกแนวทางฟื้นฟู
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ได้เชิญผู้ประกอบอุตสาหกรรมของนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยและผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางกอบกู้และฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม ในวันที่ 24 ต.ค.นี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจแก่นักลงทุนว่านิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวจะสามารถประกอบกิจการต่อไปได้โดยเร็ว
ในการประชุมครั้งนี้ยังมี นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม น.ส.อัญชลี ชวนิชย์ นายกสมาคมนิคมอุตสากรรมไทย นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง.
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมโดยเฉพาะนิคมฯบ้านหว้า (ไฮเทค) และเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ ฯลฯส่งผลกระทบต่อโรงงานผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องปิดกิจการชั่วคราวทำให้ฐานการผลิตรถยนต์ของไทยต้องชะลอการส่งออกรถยนต์ไปยัง 130ประเทศทั่วโลกเพราะไม่มีชิ้นส่วนป้อน โดยในปี 2554 ได้ตั้งเป้าส่งออกรถยนต์ราว 900,000 คัน
นอกจากนี้ โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยถือเป็น 1 ใน 5-6 ประเทศที่เป็นฐานป้อนชิ้นส่วนไปยังทั่วโลก และเมื่อน้ำท่วมโรงงานก็มีผลต่อการส่งออกไปยังฐานการผลิตในต่างประเทศด้วย เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นฐานการผลิตรถยนต์ของค่ายญี่ปุ่นก็ไม่สามารถประกอบรถยนต์ได้เช่นกัน
“มีความเป็นห่วงว่าโรงงานที่ถุกน้ำท่วมเสียหายหนักอาจต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือน ในการฟื้นฟูกิจการให้กลับมาผลิตชิ้นส่วนได้ตามปกติ ส่วนรายที่ถูกน้ำท่วมน้อยก็อาจใช้เวลาราว 1-3 เดือนเท่านั้นจึงจะกลับมาผลิตได้ ทำให้สูญเสียโอกาสในการส่งออกจำนวนมาก” นายศุภรัตน์ กล่าว
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า จากโรงงานประกอบรถยนต์บางค่ายไม่สามารถดำเนินการได้ คาดว่าจะส่งผลกระทบการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียซึ่งมีการส่งออกรถยนต์นั่งจำนวนมาก ส่วนเหตุการณ์น้ำท่วมจะสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมยานยนต์มากน้อยแค่ไหน ยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะรัฐบาลก็ยังไม่มีการประกาศจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้เมื่อใด
อย่างไรก็ตาม แม้ค่ายรถยนต์จะไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ และอาจต้องชะลอการผลิตแต่ก็ยังยืนยันจะจ่ายค่าจ้างให้แก่แรงงานราว 75% เพื่อรักษาแรงงานไว้ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นต้องใช้แรงงานฝีมือ เพราะหากต้องมีการหาคนงานและฝึกอบรมใหม่จะใช่เวลานานถึง 6 เดือน โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์มีแรงงานในระบบกว่า 50,000 คน เมื่อรวมกับอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มีมากกว่า 400,000 คน
“เรายังคงจ่ายค่าจ้างให้กับคนงานเหมือนปี 2552 ที่เกิดวิกฤติแฮมเบอรเกอร์ ซึ่งตอนนั้นคนงานเก่าๆ หายไปราว 20% แม้น้ำท่วมครั้งนี้ จะกระทบต่ออุตสหากรรมยานยนต์ให้เลวร้ายกว่าที่ผ่านมา จนอาจต้องหยุดผลิตนานถึง 6 เดือน ผู้ประกอบการก็ยอมจ่าย เพราะไม่กล้าทิ้งแรงงาน กลัวเกิดการขาดแคลน ขณะเดียวกันระหว่างที่มีการลดการทำงานล่วงเวลา (โอที) ค่ายรถยนต์ได้จัดฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานด้วย” นายสุรพงษ์กล่าว
***ท่องเที่ยวสูญกว่า 5 หมื่นล้าน
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า สทท. ได้ประเมินความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วม ที่มีผลต่อภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เบื้องต้น คาดว่า จะสูญเสียรายได้ราว 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น สองส่วน คือ คำนวนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่า ตุลาคม-ธันวาคม จะอยู่ที่ 5 ล้านคน แต่ผลจากน้ำท่วมจำนวนจะลดลงราว 20% หรือ 1 ล้านคน คิดเป็นรายได้ 40,000 ล้านบาท ,ในส่วนส่วนนักท่องเที่ยวไทย คาดลดลงราว 30% คิดเป็นรายได้ที่สูญไปวันละ 350 ล้านบาท หากรวม 3 เดือนเป็นเงิน 10,000 ล้านบาท ที่กระทบเยอะ เพราะปรกติคนกรุงเทพฯ จะท่องเที่ยว แต่ขณะนี้เริ่มมีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ อีกทั้งการเดินทางไปเที่ยวก็ลำบากขึ้น
ทั้งนี้ ภาคธุรกิจท่องเที่ยวต้องการให้รัฐเร่งออกมาตรการช่วยเหลือแรงงาน เพื่อป้องกันการปลดคนงาน ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่มีผู้ประกอบการใดเลิกจ้าง เพราะเป็นไฮซีซั่น ซึ่งยังคาดหวังว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวมาก และการใช้พนักงาน ช่วยทำงานภายหลังน้ำลด
***ส.โรงแรมรับมีนักท่องเที่ยวขอเลื่อน
ทางด้านนายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า อัตราเข้าพักโรงแรมในกรุงเทพฯ เดือนนี้ ภาพรวมยังอยู่ที่ 60-70% แต่บางแห่งเริ่มมีสัญญาณการเลื่อนและยกเลิก การเดินทางของแขกแล้ว ทำให้อัตราเข้าพักเหลือ 40-50% จากปรกติช่วงนี้จะอยู่ที่ 75-80% ซึ่งเป็นผลจากการคาดการณ์ว่า กรุงเทพฯ จะต้องเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วม นานกว่า 1 เดือน
“ที่ผ่านมาผู้ปรำกอบการพยายาม เจรจาเปลี่ยนเดสติเนชั่น ไปพักจังหวัดอื่นที่น้ำไม่ท่วม เช่น สมุย ภูเก็ต ที่อัตราเข้าพักยังอยู่ที่ 70% แต่บางรายก็ยืนยันของเปลี่ยนไปประเทศอื่น ซึ่งผู้ประกอบการยังยืนยันว่าน้ำท่วม จะมีผลระยะสั้น และไม่ส่งผลต่อการปรับขึ้นราคาห้องพักของเอเยนต์ในปีหน้า เพราะโรงแรมของไทยไม่ได้ขึ้นราคามา 3 ปีแล้ว “
***รร.แม่น้ำฯยอดยกเลิกกว่า 50%
น.พ. พิชัย ตั้งสิน กรรมการผู้จัดการ โรงแรมแม่น้ำรามาด้า พลาซา ถนนเจริญกรุง กล่าวว่า ลูกค้าที่จองเข้าพักซึ่งส่วนใหญ่ เป็นชาวต่างประเทศ เช่น เยอรมัน เริ่มทยอยขอยกเลิกการจองห้องพักแล้วก่า 50% โดยยกเลิกยาวไปถึงยอดจองในเดือน พฤศจิกายน ส่วนลูกค้าที่จองเดินทางมาช่วงเดือน ธันวาคม ก็มีติดต่อขอยกเลิกเช่นกัน แต่ทางโรงแรมได้เจรจาขอไว้ก่อนให้รอดูสถานการณ์น้ำอีก 2 สัปดาห์ ค่อยตัดสินใจ ในส่วนของลูกค้าคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรุ๊ปสัมมนาของหน่วยงานราชการก็ยกเลิก 100% แล้ว
“ตอนนี้อัตราเข้าพักโรงแรมเหลือแค่ 30% จากทุกปีช่วงนี้ถือเป็นไฮซีซั่น อัตราเข้าพักอยู่ในช่วงขาขึ้นเฉลี่ย 3 เดือนสุดท้ายจะอยู่ที่ 80% ส่วนลูกค้าที่ยังเหลืออยู่คือ กลุ่มที่เป็นงานหมั้น และ งานแต่งงาน ซึ่งโรงแรมตั้งมา 25 ปี แม้น้ำจะทวมพื้นที่รอบข้าง แต่โรงแรมไม่เคยท่วมไม่มีผลกระทบ แต่ปีนี้ถือเว่าหนักสุดครั้งแรก ยังประเมินมูลค่าเสียหายไม่ได้ ”
ทั้งนี้ ทางโรงแรม มีการเตรียมพร้อม เช่น วางกระสอบทรายบริเวณที่ติดกับแม่น้ำสูงจากพื้นกว่า 1 เมตร ในส่วนของไฟ ได้ทำการแยกคัตเอาท์ ทุกจุด ทำพนังกั้นห้องช่างและห้องเครื่องเพื่อให้มีไฟไว้คอยบริการลูกค้า จัดทีมช่างดูแลพร้อมปฎิบัติการ 24 ชั่วโมง พร้อมจัดพนักงานที่มีจิตอาสา ส่วนหนึ่ง ไปช่วยสำนักงานเขต หากต้องการความช่วยเหลือเรื่องแรงงาน
ส่วนในด้านการตลาด ได้ถ่ายรูปพื้นที่จริงของโรงแรม อัพเดทขึ้นเว็บไซต์ และ ส่งให้ลูกค้า เอเยนต์ทัวร์ในต่างประเทศ ดูเป็นระยะๆ เพื่อสร้างความมั่นใจ
***จัดแพกเกจขายในงานWTM กู้ยอด
สำหรับช่วงนี้ ทางโรงแรม ยังจัดโปรโมชั่น ลดราคาห้องพักเหลือ 1,500 บาท ต่อคืน จากราคาปกติ คืนละกว่า 3,000 บาท และในงานเวิลด์ ทราเวล มาร์ท หรือ WTM ที่ กรุงลอดดอน ประเทศอังกฤษ เดือน พ.ย. นี้ ทางโรงแรม เตรียม จัดโปรโมชั่นพิเศษ ไปนำเสนอขายห้องพัก เพื่อสร้างรายได้ชดเชยที่สูญไปในช่วงนี้ เน้น เพิ่มมูลค่าให้ลูกค้า แทนการลดราคา เช่น พัก 3 คืน แถม สปา หรือ พัก 2 คืน แถม นวดไทยเป็นต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างกรจัดทำแพกเกจ อย่างไรก็ตาม ทางโรงแรมยังคงจัดการ่าดินเนอร์ คืนวันลอยกระทง วันที่ 10 พ.ย. ซึ่งมียอดจองแล้วกว่า 70% จาก 250 ที่นั่ง ราคาเฉลี่ย 4,000 บาทต่อคน ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญของทุกปีที่สร้างรายได้ให้โรงแรม โดย ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ หาก ใน 1 สัปดาห์ สถานการณ์ไม่ดีขึ้น โรงแรมคงต่องยอมยกเลิกการจัดงาน
**“ยิ่งลักษณ์” เรียกหน่วยงานด้าน ศก.ถก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 14.00 น.วานนี้ (23 ต.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย รมว.คลัง รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ และรมว.อุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหลังน้ำลดจากกรณีที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ โดยภายหลังการหารือได้ประชุมอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการเชิญตัวแทนจากอุตสาหกรรมบางกระดี อุตสาหกรรมไฮเทค และประธานสภาอุตสาหกรรม เข้าร่วมหารือและจะแถลงความคืบหน้าให้ทราบต่อไป
***เชิญนิคมฯถกแนวทางฟื้นฟู
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ได้เชิญผู้ประกอบอุตสาหกรรมของนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยและผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางกอบกู้และฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม ในวันที่ 24 ต.ค.นี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจแก่นักลงทุนว่านิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวจะสามารถประกอบกิจการต่อไปได้โดยเร็ว
ในการประชุมครั้งนี้ยังมี นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม น.ส.อัญชลี ชวนิชย์ นายกสมาคมนิคมอุตสากรรมไทย นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง.