ASTVผู้จัดการรายวัน – น้ำท่วมอาจส่งผลให้แผนการออกบัตรเครดิตพลังงาน 6.5 หมื่นใบที่จะเปิดตัวปลายต.ค.นี้ อาจต้องเลื่อนออกไป เหตุเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปวางระบบในปั๊มเอ็นจีวีได้
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำท่วมส่งผลให้ขณะนี้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถไปวางระบบในปั๊มก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ได้ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อแผนการออกบัตรเครดิตพลังงาน เพื่อช่วยเหลือรถบริการสาธารณะที่อาจต้องเลื่อนการเปิดตัวจากเดิมวันที่ 26-30 ต.ค. และมีผลใช้ในวันที่ 1 ธ.ค.2554 ออกไปก่อน
"เดิมจะเปิดรับสมัครในปลายเดือนนี้ โดยเปิดรับสมัครลงทะเบียนสำหรับผู้ที่ขับขี่รถสาธารณะที่ใช้เอ็นจีวีในกลุ่มรถแท็กซี่ 5.7 หมื่นคัน รถตู้โดยสาร 6,000-7,000 คัน และรถตุ๊กตุ๊กอีก 1,500-1,600 คัน โดยวงเงินของบัตรเครดิตพลังงานกำหนดให้วงเงินใบละ 3,000 บาท เพื่อใช้รูดเติมเอ็นจีวี มีรูปแบบการใช้เหมือนบัตรเครดิตทั่วไป ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง โดยให้ธนาคารกรุงไทยเข้ามาบริหารการให้บริการ แต่ปตท.จะเป็นผู้จัดหาวงเงินเองคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 196 ล้านบาท"แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า วงเงินเกือบ 200 ล้านบาทที่บมจ.ปตท.เป็นผู้จัดหามาใช้กับบัตรเครดิตพลังงาน มั่นใจจะไม่เกิดปัญหนี้เสีย เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาลและมีกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกัน ประกอบกับหากผู้ใช้บัตรและไม่ชำระคืนก็จะเสียเครดิตมีผลต่อการเติมเอ็นจีวีในครั้งต่อไป ซึ่งไม่ได้รับส่วนลด และจะมีวีการทวงหนี้ตามกระบวนการของธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม บัตรเครดิตพลังงาน จะให้สิทธิ์เฉพาะผู้ที่มีใบขับขี่ไม่ใช่เจ้าของอู่แท็กซี่ หรือเจ้าของวินรถตู้
นอกจากนี้ จะรองรับกับแผนการปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีที่จะเริ่มทยอยปรับราคาตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.2555 ในอัตราเดือนละ50 สต./ก.ก.จนถึงเดือนธ.ค.2555 ปัจจุบันปตท.ยังจำหน่ายราคาขายปลีกเอ็นจีวีอยู่ที่ 8.50 บาท/ก.ก. ต่ำกว่าต้นทุนจริงที่ 15-16 บาท/ก.ก. ส่งผลให้มีภาระปีละ 1หมื่นล้านบาท และมีภาระสะสมอยู่ 2.7 หมื่นล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำท่วมส่งผลให้ขณะนี้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถไปวางระบบในปั๊มก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ได้ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อแผนการออกบัตรเครดิตพลังงาน เพื่อช่วยเหลือรถบริการสาธารณะที่อาจต้องเลื่อนการเปิดตัวจากเดิมวันที่ 26-30 ต.ค. และมีผลใช้ในวันที่ 1 ธ.ค.2554 ออกไปก่อน
"เดิมจะเปิดรับสมัครในปลายเดือนนี้ โดยเปิดรับสมัครลงทะเบียนสำหรับผู้ที่ขับขี่รถสาธารณะที่ใช้เอ็นจีวีในกลุ่มรถแท็กซี่ 5.7 หมื่นคัน รถตู้โดยสาร 6,000-7,000 คัน และรถตุ๊กตุ๊กอีก 1,500-1,600 คัน โดยวงเงินของบัตรเครดิตพลังงานกำหนดให้วงเงินใบละ 3,000 บาท เพื่อใช้รูดเติมเอ็นจีวี มีรูปแบบการใช้เหมือนบัตรเครดิตทั่วไป ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง โดยให้ธนาคารกรุงไทยเข้ามาบริหารการให้บริการ แต่ปตท.จะเป็นผู้จัดหาวงเงินเองคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 196 ล้านบาท"แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า วงเงินเกือบ 200 ล้านบาทที่บมจ.ปตท.เป็นผู้จัดหามาใช้กับบัตรเครดิตพลังงาน มั่นใจจะไม่เกิดปัญหนี้เสีย เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาลและมีกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกัน ประกอบกับหากผู้ใช้บัตรและไม่ชำระคืนก็จะเสียเครดิตมีผลต่อการเติมเอ็นจีวีในครั้งต่อไป ซึ่งไม่ได้รับส่วนลด และจะมีวีการทวงหนี้ตามกระบวนการของธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม บัตรเครดิตพลังงาน จะให้สิทธิ์เฉพาะผู้ที่มีใบขับขี่ไม่ใช่เจ้าของอู่แท็กซี่ หรือเจ้าของวินรถตู้
นอกจากนี้ จะรองรับกับแผนการปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีที่จะเริ่มทยอยปรับราคาตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.2555 ในอัตราเดือนละ50 สต./ก.ก.จนถึงเดือนธ.ค.2555 ปัจจุบันปตท.ยังจำหน่ายราคาขายปลีกเอ็นจีวีอยู่ที่ 8.50 บาท/ก.ก. ต่ำกว่าต้นทุนจริงที่ 15-16 บาท/ก.ก. ส่งผลให้มีภาระปีละ 1หมื่นล้านบาท และมีภาระสะสมอยู่ 2.7 หมื่นล้านบาท