เมื่อเวลา 14.30 น. วานนี้ (21 ต.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะได้ลงพื้นที่ตรวจสภาพปัญหาน้ำท่วม บริเวณเลียบคลองประปา พบว่ามีรอยรั่วซึมจากบริเวณคันกั้นน้ำตลอดแนว ทำให้น้ำไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านประชาชนจนได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง ขณะที่กำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพออุดรอยรั่วดังกล่าว ทำให้นายอภิรักษ์ แจ้งทีมงาน ส.ก.- ส.ข. ให้รีบโพสต์ข้อความขออาสาสมัครจากประชาชนเพื่อช่วยตักทราย และวางแนวกระสอบทราย อุดรอยรั่วต่างๆ
จากนั้นคณะของนายกรณ์ ได้เดินทางไปยังการประปานครหลวง บางเขน เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ และสอบถามถึงปัญหาการทำงานของการประปา โดนมีนายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการประปานครหลวง และผู้บริหารให้ข้อมูล กรณีที่น้ำจากคลองเชียงราก ไหลเข้าคลองประปาว่า เกิดจากการมีรอยแตกเกิดขึ้นบริเวณไซฟ่อน คลองรังสิต ทำให้น้ำไหลเข้าในช่องทางดังกล่าวสู่คลองประปา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการปิดช่องแตก แต่ยังไม่สำเร็จ เนื่องจากน้ำไหลแรง นอกจากนี้ยังมีปัญหาชาวบ้านไม่เข้าใจการทำงานของการประปา ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาคุณภาพน้ำในคลองประปา เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตน้ำให้คนกรุงเทพฯใช้ ทำให้เกิดความขัดแย้งจากประชาชนสองฟากบ่อยครั้ง และไม่สามารถแก้ปัญหาการระบายน้ำออกจากคลองประปาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ว่าฯการประปา ยืนยันว่า มีการวัดตรวจสอบคุณภาพน้ำ ยังสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบมาผลิตน้ำประปากับคนกรุงเทพฯได้ไม่มีปัญหา สิ่งที่อยากให้รัฐบาลช่วยคือ ไม่ควรคิดถึงแต่การแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่ต้องประชาสัมพันธ์กับประชาชน เกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องรักษาคลองประปาด้วย
** จวก ศปภ.ไร้กึ๋นจัดการบริหารน้ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำชี้แจงของผู้บริหารการประปา ทำให้เห็นถึงความอึดอัดต่อการทำงานของ ศปภ. ถึงขนาด นายมานิตย์ พงษ์เฉลิมพร ผอ.ฝ่ายโรงงานผลิต ระบุว่า ศปภ.ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ไม่มีการจัดบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านน้ำมาช่วยแก้ปัญหา ทำให้การบริหารจัดการน้ำไม่มีประสิทธิภาพ และขณะนี้กลายเป็นว่า การประปาถูกชาวบ้านตำหนิว่า เป็นคนทำให้น้ำท่วม ทั้งที่หน้าที่ของเราคือ รักษาคลองประปาไว้ ส่วนการแก้ปัญหาน้ำท่วมเป็นของ ศปภ. จึงอยากให้ประชาชนเข้าใจในส่วนนี้ด้วย ว่าหากคลองประปาเสียหาย ผลกระทบก็จะเกิดกับคนกรุงเทพฯ ทั้งหมด
" ความจริงกรมชลประทาน มีหน้าที่ในการจัดหาน้ำดิบให้การประปา ส่วนการประปามีหน้าที่ผลิตน้ำที่มีคุณภาพให้ประชาชนใช้ ถามว่าทำไมในวันที่น้ำเต็มเขื่อน ถึงไม่มีการบริหารจัดการพร่องน้ำ จนทำให้ปัญหาลุกลามมาขนาดนี้ เราทำงานเต็มที่จนแทบจะไม่ได้หลับไม่ได้นอน แล้วต้องเจอประชาชนโทรมาต่อว่าตลอดเวลาว่า ทำน้ำท่วม ทั้งที่การดูแลเรื่องน้ำท่วมไม่ใช่หน้าที่ของเรา และเราได้ทำอย่างเต็มกำลัง เพื่อรักษาคลองประปาเอาไว้"
นายมานิต ยังฝากว่า หากพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสได้เป็นรัฐบาล สิ่งที่ต้องเตรียมแผนล่วงหน้าคือ การรวมน้ำจากแหล่งน้ำดิบสำรองอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำแม่กลอง ขณะที่ผู้บริหารบางคนเสนอว่า ควรจะมีองค์กรอิสระ เช่นเดียวกับ กสทช. มาดูแลการจัดการน้ำ อย่างเป็นระบบ
**ท่วมโรงผลิตประปา คนกรุงวุ่นแน่
จากนั้น นายมานิตย์ ได้นำคณะของนายกรณ์ ไปดูขั้นตอนการผลิตน้ำประปา เพื่อยืนยันถึงคุณภาพน้ำว่าไม่มีปัญหา และได้ชี้ให้เห็นว่าโรงผลิตน้ำบางเขน กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการจมน้ำด้วยเช่นกัน เนื่องจากระดับน้ำสูงขึ้นวันละ 5 ซ.ม. หากยังไม่สามารถปิดรูรั่ว บริเวณไซฟ่อนคลองรังสิตได้น้ำก็จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ หากเลย 80 ซ.ม. ก็มีโอกาสล้นทะลักเข้าท่วมโรงผลิตน้ำประปา ก็จะกระทบต่อการผลิตโดยทันที ทำให้ปริมาณน้ำที่หล่อเลี้ยงคนกรุงเทพฯ หายไป 70 เปอร์เซนต์ ส่วน 30 เปอร์เซนต์ ที่ผลิตที่โรงผลิตประปามหาสวัสดิ์ ก็ไม่มีแรงดันมากพอที่จะแจกจ่ายเข้ามาหล่อเลี้ยงในกรุงเทพฯ ชั้นใน
"เรื่องนี้เป็นภาวะวิกฤตที่ ศปภ. ยังไม่เคยส่งคนมาดูปัญหาหน้างานแม้แต่ครั้งเดียว นายชูชาติ ( หาญสวัสดิ์ รมช. มหาดไทย ) เคยเดินทางมา แต่ก็ทำแค่นำน้ำประปาที่บรรจุขวดไปแจกชาวบ้านเท่านั้น ขณะนี้ระดับน้ำในแต่ละวันสูงขึ้นประมาณ 5-10 ซ.ม. และปลายเดือนนี้ น้ำทะเลจะหนุนสูงอีก จึงถือเป็นช่วงอันตรายที่ต้องเร่งแก้ปัญหาให้ได้ ไม่เช่นนั้นคนกรุงเทพฯ จะเหลือน้ำใช้คนละ 5 ลิตร ต่อวันเท่านั้น แต่ปัญหาคือ โรงผลิตที่มหาสวัสดิ์ ไม่มีแรงน้ำมากพอส่งน้ำเข้ามาในเมือง ยกเว้นฝั่งธนบุรี ผมพูดได้เลยว่า ถ้าโรงผลิตนี้อยู่ไม่ได้ รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้ เพราะคนกรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบมหาศาล ภาคอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ก็จะได้รับผลกระทบด้วย "
** เตือน 7 วันอันตราย
ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงว่า รัฐบาลมีปัญหาในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยความจำเป็นเร่งด่วน นอกเหนือจากการดูแลปัญหาน้ำท่วมแล้วยังต้องปกป้องคลองประปา ซึ่งหากได้รับผลกระทบ ก็จะทำให้คนกรุงเทพฯ เดือดร้อนมหาศาล และขณะนี้ถือว่าปัญหาเข้าขั้นวิกฤตแล้ว โดยเฉพาะกรณีโรงผลิตน้ำประปาบางเขน ภายใน 7 วันนี้ คือว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการได้รับความเสียหายต่อน้ำท่วม อันจะส่งผลให้กำลังผลิตน้ำประชาชนลดลงทันที แต่รัฐบาลกลับไม่ให้ความสำคัญ ที่จะแก้ปัญหา ไม่มีใครมาดูสภาพปัญหาที่แท้จริง ซึ่งทางพรรคจะทำหนังสืออย่างเป็นทางการชี้ให้รัฐบาลเห็นปัญหาพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อยื่นต่อนายกรัฐมนตรีในวันนี้
" นายอภิสิทธิ์ ได้เคยสะท้อนปัญหาผ่าน นายยงยุทธ ตั้งแต่ปัญหาพึ่งเริ่มต้น ถ้ารัฐบาลใส่ใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ก็จะไม่ลุกลามเหมือนที่เป็นอยู่ขณะนี้ อยากให้ประชาชนเข้าใจด้วยว่าคลองประปาไม่ใช่ช่องทางระบายน้ำ แต่เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตน้ำประปา คนกรุงเทพก็มีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ ดังนั้นจึงต้องเร่งปิดช่องบริเวณไซฟ่อนด่วนเพื่อไม่ให้น้ำจากคลองเชียงรากไหลเข้ามาอีก หวังว่าในครั้งนี้ที่พรรคเห็นปัญหาและจะแจ้งไปยังนายกฯจะได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลในการเข้ามาแก้ปัญหานี้เร่งด่วนก่อนคนกรุงเทพจะต้องอยู่ในสภาพไม่มีน้ำกินน้ำใช้"
ส่วนกรณีที่รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.ก.บรรเทาสาธารณะภัย ม. 31 โดยไม่ยอมประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายกรณ์ กล่าวว่ารัฐบาลควรหยุดอ้างเรื่องผลกระทบต่อนักลงทุนได้แล้ว เพราะขณะนี้บุตรชายตนที่เรียนอยู่ในต่างประเทศ โทรศัพท์ มาเล่าว่า อาจารย์ให้ทำรายงานเปรียบเทียบปัญหาอุทกภัยในประเทศไทย กับอเมริกา แสดงว่าชาวโลกเขารับรู้ปัญหาทั้งหมด สิ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศชาติได้รับความเชื่อมั่นคือ การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาล ไม่ใช่การบิดเบือนข้อเท็จจริง และ ศปภ. ต้องยอมรับความจริงว่า ขณะนี้ประชาชนไม่ให้ความเชื่อมั่นในเรื่อวการสื่อสารของ ศปภ. การบิดเบือนข้อเท็จจริง จะยิ่งซ้ำเติมปัญหามากขึ้น
จากนั้นคณะของนายกรณ์ ได้เดินทางไปยังการประปานครหลวง บางเขน เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ และสอบถามถึงปัญหาการทำงานของการประปา โดนมีนายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการประปานครหลวง และผู้บริหารให้ข้อมูล กรณีที่น้ำจากคลองเชียงราก ไหลเข้าคลองประปาว่า เกิดจากการมีรอยแตกเกิดขึ้นบริเวณไซฟ่อน คลองรังสิต ทำให้น้ำไหลเข้าในช่องทางดังกล่าวสู่คลองประปา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการปิดช่องแตก แต่ยังไม่สำเร็จ เนื่องจากน้ำไหลแรง นอกจากนี้ยังมีปัญหาชาวบ้านไม่เข้าใจการทำงานของการประปา ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาคุณภาพน้ำในคลองประปา เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตน้ำให้คนกรุงเทพฯใช้ ทำให้เกิดความขัดแย้งจากประชาชนสองฟากบ่อยครั้ง และไม่สามารถแก้ปัญหาการระบายน้ำออกจากคลองประปาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ว่าฯการประปา ยืนยันว่า มีการวัดตรวจสอบคุณภาพน้ำ ยังสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบมาผลิตน้ำประปากับคนกรุงเทพฯได้ไม่มีปัญหา สิ่งที่อยากให้รัฐบาลช่วยคือ ไม่ควรคิดถึงแต่การแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่ต้องประชาสัมพันธ์กับประชาชน เกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องรักษาคลองประปาด้วย
** จวก ศปภ.ไร้กึ๋นจัดการบริหารน้ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำชี้แจงของผู้บริหารการประปา ทำให้เห็นถึงความอึดอัดต่อการทำงานของ ศปภ. ถึงขนาด นายมานิตย์ พงษ์เฉลิมพร ผอ.ฝ่ายโรงงานผลิต ระบุว่า ศปภ.ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ไม่มีการจัดบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านน้ำมาช่วยแก้ปัญหา ทำให้การบริหารจัดการน้ำไม่มีประสิทธิภาพ และขณะนี้กลายเป็นว่า การประปาถูกชาวบ้านตำหนิว่า เป็นคนทำให้น้ำท่วม ทั้งที่หน้าที่ของเราคือ รักษาคลองประปาไว้ ส่วนการแก้ปัญหาน้ำท่วมเป็นของ ศปภ. จึงอยากให้ประชาชนเข้าใจในส่วนนี้ด้วย ว่าหากคลองประปาเสียหาย ผลกระทบก็จะเกิดกับคนกรุงเทพฯ ทั้งหมด
" ความจริงกรมชลประทาน มีหน้าที่ในการจัดหาน้ำดิบให้การประปา ส่วนการประปามีหน้าที่ผลิตน้ำที่มีคุณภาพให้ประชาชนใช้ ถามว่าทำไมในวันที่น้ำเต็มเขื่อน ถึงไม่มีการบริหารจัดการพร่องน้ำ จนทำให้ปัญหาลุกลามมาขนาดนี้ เราทำงานเต็มที่จนแทบจะไม่ได้หลับไม่ได้นอน แล้วต้องเจอประชาชนโทรมาต่อว่าตลอดเวลาว่า ทำน้ำท่วม ทั้งที่การดูแลเรื่องน้ำท่วมไม่ใช่หน้าที่ของเรา และเราได้ทำอย่างเต็มกำลัง เพื่อรักษาคลองประปาเอาไว้"
นายมานิต ยังฝากว่า หากพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสได้เป็นรัฐบาล สิ่งที่ต้องเตรียมแผนล่วงหน้าคือ การรวมน้ำจากแหล่งน้ำดิบสำรองอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำแม่กลอง ขณะที่ผู้บริหารบางคนเสนอว่า ควรจะมีองค์กรอิสระ เช่นเดียวกับ กสทช. มาดูแลการจัดการน้ำ อย่างเป็นระบบ
**ท่วมโรงผลิตประปา คนกรุงวุ่นแน่
จากนั้น นายมานิตย์ ได้นำคณะของนายกรณ์ ไปดูขั้นตอนการผลิตน้ำประปา เพื่อยืนยันถึงคุณภาพน้ำว่าไม่มีปัญหา และได้ชี้ให้เห็นว่าโรงผลิตน้ำบางเขน กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการจมน้ำด้วยเช่นกัน เนื่องจากระดับน้ำสูงขึ้นวันละ 5 ซ.ม. หากยังไม่สามารถปิดรูรั่ว บริเวณไซฟ่อนคลองรังสิตได้น้ำก็จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ หากเลย 80 ซ.ม. ก็มีโอกาสล้นทะลักเข้าท่วมโรงผลิตน้ำประปา ก็จะกระทบต่อการผลิตโดยทันที ทำให้ปริมาณน้ำที่หล่อเลี้ยงคนกรุงเทพฯ หายไป 70 เปอร์เซนต์ ส่วน 30 เปอร์เซนต์ ที่ผลิตที่โรงผลิตประปามหาสวัสดิ์ ก็ไม่มีแรงดันมากพอที่จะแจกจ่ายเข้ามาหล่อเลี้ยงในกรุงเทพฯ ชั้นใน
"เรื่องนี้เป็นภาวะวิกฤตที่ ศปภ. ยังไม่เคยส่งคนมาดูปัญหาหน้างานแม้แต่ครั้งเดียว นายชูชาติ ( หาญสวัสดิ์ รมช. มหาดไทย ) เคยเดินทางมา แต่ก็ทำแค่นำน้ำประปาที่บรรจุขวดไปแจกชาวบ้านเท่านั้น ขณะนี้ระดับน้ำในแต่ละวันสูงขึ้นประมาณ 5-10 ซ.ม. และปลายเดือนนี้ น้ำทะเลจะหนุนสูงอีก จึงถือเป็นช่วงอันตรายที่ต้องเร่งแก้ปัญหาให้ได้ ไม่เช่นนั้นคนกรุงเทพฯ จะเหลือน้ำใช้คนละ 5 ลิตร ต่อวันเท่านั้น แต่ปัญหาคือ โรงผลิตที่มหาสวัสดิ์ ไม่มีแรงน้ำมากพอส่งน้ำเข้ามาในเมือง ยกเว้นฝั่งธนบุรี ผมพูดได้เลยว่า ถ้าโรงผลิตนี้อยู่ไม่ได้ รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้ เพราะคนกรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบมหาศาล ภาคอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ก็จะได้รับผลกระทบด้วย "
** เตือน 7 วันอันตราย
ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงว่า รัฐบาลมีปัญหาในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยความจำเป็นเร่งด่วน นอกเหนือจากการดูแลปัญหาน้ำท่วมแล้วยังต้องปกป้องคลองประปา ซึ่งหากได้รับผลกระทบ ก็จะทำให้คนกรุงเทพฯ เดือดร้อนมหาศาล และขณะนี้ถือว่าปัญหาเข้าขั้นวิกฤตแล้ว โดยเฉพาะกรณีโรงผลิตน้ำประปาบางเขน ภายใน 7 วันนี้ คือว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการได้รับความเสียหายต่อน้ำท่วม อันจะส่งผลให้กำลังผลิตน้ำประชาชนลดลงทันที แต่รัฐบาลกลับไม่ให้ความสำคัญ ที่จะแก้ปัญหา ไม่มีใครมาดูสภาพปัญหาที่แท้จริง ซึ่งทางพรรคจะทำหนังสืออย่างเป็นทางการชี้ให้รัฐบาลเห็นปัญหาพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อยื่นต่อนายกรัฐมนตรีในวันนี้
" นายอภิสิทธิ์ ได้เคยสะท้อนปัญหาผ่าน นายยงยุทธ ตั้งแต่ปัญหาพึ่งเริ่มต้น ถ้ารัฐบาลใส่ใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ก็จะไม่ลุกลามเหมือนที่เป็นอยู่ขณะนี้ อยากให้ประชาชนเข้าใจด้วยว่าคลองประปาไม่ใช่ช่องทางระบายน้ำ แต่เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตน้ำประปา คนกรุงเทพก็มีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ ดังนั้นจึงต้องเร่งปิดช่องบริเวณไซฟ่อนด่วนเพื่อไม่ให้น้ำจากคลองเชียงรากไหลเข้ามาอีก หวังว่าในครั้งนี้ที่พรรคเห็นปัญหาและจะแจ้งไปยังนายกฯจะได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลในการเข้ามาแก้ปัญหานี้เร่งด่วนก่อนคนกรุงเทพจะต้องอยู่ในสภาพไม่มีน้ำกินน้ำใช้"
ส่วนกรณีที่รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.ก.บรรเทาสาธารณะภัย ม. 31 โดยไม่ยอมประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายกรณ์ กล่าวว่ารัฐบาลควรหยุดอ้างเรื่องผลกระทบต่อนักลงทุนได้แล้ว เพราะขณะนี้บุตรชายตนที่เรียนอยู่ในต่างประเทศ โทรศัพท์ มาเล่าว่า อาจารย์ให้ทำรายงานเปรียบเทียบปัญหาอุทกภัยในประเทศไทย กับอเมริกา แสดงว่าชาวโลกเขารับรู้ปัญหาทั้งหมด สิ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศชาติได้รับความเชื่อมั่นคือ การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาล ไม่ใช่การบิดเบือนข้อเท็จจริง และ ศปภ. ต้องยอมรับความจริงว่า ขณะนี้ประชาชนไม่ให้ความเชื่อมั่นในเรื่อวการสื่อสารของ ศปภ. การบิดเบือนข้อเท็จจริง จะยิ่งซ้ำเติมปัญหามากขึ้น