ASTVผู้จัดการรายวัน - วงการตลาดหุ้นลงขั้นตั้งกองทุนช่วยน้ำท่วม 500 ล้านบาท แบ่งซื้อเครื่องสูบน้ำ 250 ล้านบาท หวังเร่งฟื้้นฟูนิคมฯ เหตุขั้นตอนเบิกจ่ายของรัฐใช้เวลานาน พร้อมเล็งเสนอครม.พิจารณาสิทธิประโยชน์ภาษีกองทุนอินฟาสตรัคเจอร์ฟันด์1-2 สัปดาห์นี้ ด้านนายกสมาคมโบรกเกอรเผย บริษัทสมาชิก เตรียมบริจาครายได้ 50%ของวอลุ่มวันที่สูงสุดในสัปดาห์หน้า เข้าช่วยเหลือ ขณะที่นายกสมาคมบจ.เผย บจ.ได้รับผลกระทบน้ำท่วม 100-150 บริษัท
วานนี้(20 ต.ค.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดประชุมเรื่องการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ร่วมกับหน่วยงานในตลาดทุน สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.)สมาคมตราสารหนี้ไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai)โดยมีคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงพาณิชย์ และคุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.กระทรวงการคลัง ร่วมในการประชุม
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ทางกระทรวงการคลังจะมีการเสนอแผนผ่อนคลายภาษีกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟาสตรัคเจอร์ฟันด์) ให้กับทางคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาใน 1-2 สัปดาห์นี้ เช่น การยกเว้นการเก็บภาษีเงินปันผล ฯลฯ เพื่อสามารถนำเงินจากการเสนอขายกองทุนดังกล่าวนำมาพัฒนาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่จำเป็น โดยเป้าหมายการดำเนินการดังกล่าวเพื่อที่จะต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและสอดคล้องกับแผนฟื้นฟูความเสียหายน้ำท่วมของรัฐบาล
ทั้งนี้จากปัญหาน้ำท่วมนั้นทุกนิคมอุตสาหกรรมจะต้องการลงทุนในการสร้างเขื่อนถาวรล้อมนิคมไว้ โดยจะต้องเป็นเขื่อนที่เป็นคอนกรีตให้มีความสูงกว่าระดับน้ำที่ท่วมในปีนี้อีก 50 % โดยทางกระทรวงคลังจะไม่ออกเป็นกฎหมายบังคับแต่จะดำเนินการผ่านกลไกประกัน เพราะ หากกรณีที่นิคมฯไม่สร้างเขื่อนเวลาทำประกันก็จะต้องเสียเบี้ยประกันที่สูง โดยเงินในการสร้างเขื่อนกั้นน้ำอาจจะเป็นการขอให้ผู้ที่มีโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมนั้นมีการร่วมลงเงินในการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม หรือมาจากการจัดตั้งกองทุนอินฟาสตรัคเจอร์ฟันด์
นอกจากนี้ทางกระทรวงคลังจะหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้บริษัทประกันภัยจ่ายเงินค่าสินไหมให้กับบริษัทที่ทำประกันความเสียหายของโรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ ให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะทำให้ผู้ประกอบการนำไปซ่อมบำรุงและกลับมาผลิตสินค้าได้โดยเร็ว
"ขณะนี้รัฐบาลยังประสบปัญหาและขั้นตอนการเบิกจ่ายงบที่ล่าช้า ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯ และหน่วยงานตลาดทุนจะระดมเงินจัดตั้งกองทุน เพื่อช่วยเหลือน้ำท่วมมูลค่าเริ่มต้นที่ 500 ล้านบาท โดยจะจัดสรรเงินจากกองทุนจำนวน 250 ล้านบาท ไปจัดซื้อเครื่องสูบน้ำ ซึ่งสั่งจากประเทศอังกฤษและที่กั้นน้ำมาเร่งฟื้นฟูความเสียหายก่อน"
นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องที่สำคัญมากที่สุดคือ การสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม 6-7 แห่งที่ได้รับความเสียหายกลับมาดำเนินธุรกิจได้โดยเร็ว รวมถึงการป้องกันไม่ให้ลุกลามถึงนิคมฯ แห่งอื่น สำหรับเงินกองทุนจำนวน 500 ล้านบาท จะแบ่งเป็นส่วนของตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 250 ล้านบาท ส่วนสมาคมในตลาดทุนจะรวมกันใส่เงินที่เหลืออีก 250 ล้านบาท
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ นายกสมาคม บจ. กล่าวว่า ขณะนี้ มี บจ. 100-150 แห่งที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากปัญหาน้ำท่วม ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ และคลังสินค้า เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้ทำประกันครอบคลุมความเสียหาย แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน
“ปัญหาของภาวะตลาดในเศรษฐกิจโลกน่าห่วงมากกว่า และเห็นว่าปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาระยะสั้น แต่ต้องมีการแก้ไขขปัญหาทั้งในระยะสั้น กลางและยาว สำหรับภาพรวมกำไรบจ.ปีนี้ อาจลดลงเล็กน้อย โดยรายได้ในไตรมาส 4 ปีนี้ไม่น่าเห็นผลกระทบชัด กว่าจะเห็นผลคงจะเป็นไตรมาส 1-2 ของปีหน้า”
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ในฐานะนายกสมาคมบล. กล่าวว่า สมาคมบล. ได้หารือกับทางสมาชิกทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจซื้อขายหุ้น อนุพันธ์ และ โบรกเกอร์ทองคำ จะมีการร่วมบริจาคเงินร่วมในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว โดยจะนำรายได้จากมูลค่าการซื้อขายในครึ่งวันของวันที่มีการซื้อขายสูงสุดในสัปดาห์หน้า โดยคาดว่าจะได้เงินบริจาคเข้ากองทุนประมาณ 40-50 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน สมาคมโบรกเกอร์จะสื่อสารกับนักลงทุนต่างประเทศในการสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างประเทศเพื่อที่จะรักษาเม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้นและเพื่อให้เม็ดเงินลงทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย
วานนี้(20 ต.ค.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดประชุมเรื่องการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ร่วมกับหน่วยงานในตลาดทุน สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.)สมาคมตราสารหนี้ไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai)โดยมีคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงพาณิชย์ และคุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.กระทรวงการคลัง ร่วมในการประชุม
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ทางกระทรวงการคลังจะมีการเสนอแผนผ่อนคลายภาษีกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟาสตรัคเจอร์ฟันด์) ให้กับทางคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาใน 1-2 สัปดาห์นี้ เช่น การยกเว้นการเก็บภาษีเงินปันผล ฯลฯ เพื่อสามารถนำเงินจากการเสนอขายกองทุนดังกล่าวนำมาพัฒนาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่จำเป็น โดยเป้าหมายการดำเนินการดังกล่าวเพื่อที่จะต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและสอดคล้องกับแผนฟื้นฟูความเสียหายน้ำท่วมของรัฐบาล
ทั้งนี้จากปัญหาน้ำท่วมนั้นทุกนิคมอุตสาหกรรมจะต้องการลงทุนในการสร้างเขื่อนถาวรล้อมนิคมไว้ โดยจะต้องเป็นเขื่อนที่เป็นคอนกรีตให้มีความสูงกว่าระดับน้ำที่ท่วมในปีนี้อีก 50 % โดยทางกระทรวงคลังจะไม่ออกเป็นกฎหมายบังคับแต่จะดำเนินการผ่านกลไกประกัน เพราะ หากกรณีที่นิคมฯไม่สร้างเขื่อนเวลาทำประกันก็จะต้องเสียเบี้ยประกันที่สูง โดยเงินในการสร้างเขื่อนกั้นน้ำอาจจะเป็นการขอให้ผู้ที่มีโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมนั้นมีการร่วมลงเงินในการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม หรือมาจากการจัดตั้งกองทุนอินฟาสตรัคเจอร์ฟันด์
นอกจากนี้ทางกระทรวงคลังจะหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้บริษัทประกันภัยจ่ายเงินค่าสินไหมให้กับบริษัทที่ทำประกันความเสียหายของโรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ ให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะทำให้ผู้ประกอบการนำไปซ่อมบำรุงและกลับมาผลิตสินค้าได้โดยเร็ว
"ขณะนี้รัฐบาลยังประสบปัญหาและขั้นตอนการเบิกจ่ายงบที่ล่าช้า ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯ และหน่วยงานตลาดทุนจะระดมเงินจัดตั้งกองทุน เพื่อช่วยเหลือน้ำท่วมมูลค่าเริ่มต้นที่ 500 ล้านบาท โดยจะจัดสรรเงินจากกองทุนจำนวน 250 ล้านบาท ไปจัดซื้อเครื่องสูบน้ำ ซึ่งสั่งจากประเทศอังกฤษและที่กั้นน้ำมาเร่งฟื้นฟูความเสียหายก่อน"
นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องที่สำคัญมากที่สุดคือ การสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม 6-7 แห่งที่ได้รับความเสียหายกลับมาดำเนินธุรกิจได้โดยเร็ว รวมถึงการป้องกันไม่ให้ลุกลามถึงนิคมฯ แห่งอื่น สำหรับเงินกองทุนจำนวน 500 ล้านบาท จะแบ่งเป็นส่วนของตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 250 ล้านบาท ส่วนสมาคมในตลาดทุนจะรวมกันใส่เงินที่เหลืออีก 250 ล้านบาท
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ นายกสมาคม บจ. กล่าวว่า ขณะนี้ มี บจ. 100-150 แห่งที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากปัญหาน้ำท่วม ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ และคลังสินค้า เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้ทำประกันครอบคลุมความเสียหาย แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน
“ปัญหาของภาวะตลาดในเศรษฐกิจโลกน่าห่วงมากกว่า และเห็นว่าปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาระยะสั้น แต่ต้องมีการแก้ไขขปัญหาทั้งในระยะสั้น กลางและยาว สำหรับภาพรวมกำไรบจ.ปีนี้ อาจลดลงเล็กน้อย โดยรายได้ในไตรมาส 4 ปีนี้ไม่น่าเห็นผลกระทบชัด กว่าจะเห็นผลคงจะเป็นไตรมาส 1-2 ของปีหน้า”
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ในฐานะนายกสมาคมบล. กล่าวว่า สมาคมบล. ได้หารือกับทางสมาชิกทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจซื้อขายหุ้น อนุพันธ์ และ โบรกเกอร์ทองคำ จะมีการร่วมบริจาคเงินร่วมในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว โดยจะนำรายได้จากมูลค่าการซื้อขายในครึ่งวันของวันที่มีการซื้อขายสูงสุดในสัปดาห์หน้า โดยคาดว่าจะได้เงินบริจาคเข้ากองทุนประมาณ 40-50 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน สมาคมโบรกเกอร์จะสื่อสารกับนักลงทุนต่างประเทศในการสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างประเทศเพื่อที่จะรักษาเม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้นและเพื่อให้เม็ดเงินลงทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย