ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังเมินใช้นโยบายภาษีเยียวยาผู้ประกอบการน้ำท่วม ระบุจ่ายลดลงตามกำไรที่สูญไปอยู่แล้ว เล็งอัดฉีดซอฟท์โลน 5 หมื่นล้านบาทผ่านเอสเอ็มอีแบงก์และแบงก์พาณิชย์ พร้อมหนุน Venture Cap หวังสร้างผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่ม ระบุ 8 นิคมฯ จมน้ำวงเงินประกันสูงถึง 5 แสนล้านบาท ขณะที่ธ.ก.ส.เล็งจัดระเบียบทำนาพื้นที่ภาคกลางใหม่ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น
นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการด้านภาษีเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบเหตุอุทกภัย เพราะมองว่า เมื่อกิจการได้รับความเสียหายจากเหตุน้ำท่วมแล้ว ก็ส่งผลต่อกำไรของธุรกิจลดลงโดยอัตโนมัติ ภาระการจ่ายภาษีก็ลดลงไปด้วย และค่าใช้จ่ายจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็สามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เต็มจำนวนอยู่แล้ว
สำหรับแนวทางที่กระทรวงการคลังจะดำเนินการคือ การจัดให้มีวงเงินเพื่อการฟื้นฟูหลังเหตุน้ำท่วมให้เพียงพอและคล่องตัวขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ซึ่งจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในสัปดาห์หน้า ให้มีการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(ธพว.)วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท และปล่อยกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์อีก 5 หมื่นล้านบาท เพราะมีความคล่องตัวกว่า แต่จะเป็นการให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)มาร่วมค้ำประกันสินเชื่อ โดยจะเพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันเพิ่มจากปัจจุบันที่ทำอยู่ 15% เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น
***อัดงบหมื่นล้านหนุน Venture Capital
นอกจากนี้ยังจะมีอีกวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ที่จะค้ำประกันสำหรับธุรกิจเกิดใหม่หรือตั้งตัวใหม่ที่ดำเนินธุรกิจไม่เกิน 2 ปี ที่ต้องการเงินทุนในการเสริมธุรกิจ ด้วยการตั้งกองทุนร่วมทุน (Venture Capital) เพื่อมาลงทุนในธุรกิจเกิดใหม่ ที่ต้องการเงินเงินลงทุน ซึ่งกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการคิดว่าจะมีการชดเชยให้ครึ่งหนึ่งหรือไม่ โดยธนาคารพาณิชย์ต้องมีการพิจารณาความเป็นไปได้ของธุรกิจประกอบด้วย
"กระทรวงการคลังจะเสนอให้ปีหน้าเป็นปีแห่งการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยนอกจากการเตรียมความพร้อมจากผลกระทบในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทแล้ว ก็ยังจะมีมาตรการเพิ่มเติมสำหรับธุรกิจที่ลงทุนในการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนสินค้า เพิ่มมูลค่าการผลิต ก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือธุรกิจเอสเอ็มอี หากมีการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ ก็จะปรับเกณฑ์ให้สามารถหักค่าเสื่อมได้เต็มจำนวนในปีแรก หรือสามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักจากกำไรได้ 100% ในปีแรกหรือหากกำไรไม่พอก็สามารถทยอยหักได้ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นขึ้น และอำนวยความสะดวกในการลงทุนด้วย" นายธีระชัยกล่าว
***เยียวยาต่างด้าวลดผลกระทบสังคม
นายธีระชัยกล่าวว่า สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ที่ถูกน้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ ซึ่งจากการหารือเบื้องต้นพบว่า ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเป็นกังวล เพราะมีการประกันภัยทรัพย์สินและการเสียรายได้จากการทำธุรกิจ รวมทั้งยังมี ธนาคารของชาติผู้ลงทุนในการดูแลปล่อยสินเชื่อระยะสั้น พร้อมเชื่อว่าในระยะสั้นบริษัทเหล่านี้จะไม่ปลดคนงาน เพราะมีเงินช่วยเหลือจากบริษัทแม่ในต่างชาติ หรือหากจำเป็นก็จะจ่ายเงินบางส่วนให้คนงานด้วย โดยสิ่งที่รัฐบาลจะเร่งเข้าไปดำเนินการคือ เข้าไปช่วยบริษัทเหล่านั้นกู้คืนโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ให้กลับมาผลิตโดยเร็ว ทั้งการเข้าช่วยทำความสะอาด รวมถึงการของคืนเงินประกันภัยด้วย
"หากธุรกิจที่ไม่ไหว และจำเป็นต้องล้มหายตายจากไป รัฐบาลก็จะเข้าไปดูแล โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว ที่ต้องว่างงานจากโรงงานหยุดการผลิต รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้เข้าไปดูแล และประสานงานให้โยกย้ายไปทำงานในโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมเป็นการชั่วคราว เพื่อลดผลกระทบต่อสังคมที่จะตามมา และวันที่ 21 ตุลาคมนี้ ผมก็จะหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย เพื่อหารือในรายละเอียดของมาตรการธนาคารพาณิชย์ และการยกเว้นดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม" นายธีระชัยกล่าว
**8นิคมฯ ทำประกันรวม 5 แสนล้าน
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการทำประกันภัยนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย จำนวน 6 แห่ง คือ สหรัตนนคร โรจนะ ไฮเทค บางปะอิน แฟคตอรี่แลนด์ และนวนครและพื้นที่เสี่ยงอีก 2 นิคมคือบางกระดี และลาดกระบัง รวมมีวงเงินเอาประกันภัยจากการประกันภัยทรัพย์สินรวมเกือบ 5 แสนล้านบาท จำนวนผู้เอาประกัน เกือบพันรายซึ่งน้อยกว่าจำนวนโรงงานเพราะส่วนหนึ่งเป็นการประกันภัยเป็นกลุ่ม โดยจำนวนเงินประกันดังกล่าวมีการทำประกันกับบริษัทประกันญี่ปุ่น 60%
ส่วนบริษัทประกันภัยของไทยที่รับประกัน 40% นั้นส่วนใหญ่ส่งไปทำประกันภัยต่อ จึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบจาการจ่ายสินไหมในอนาคต ซึ่งขณะนี้บริษัทในนิคม 6 แห่งได้แจ้งขอเคลมประกันเข้ามาแล้วประมาณ 1แสนล้านบาท
"บริษัทขนาดใหญ่ในนิคมทีได้รับความเสียหายไม่น่าห่วงมากเพราะส่วนใหญ่มีการทำประกันภัยน้ำท่วมและการสูญเสียรายได้ทางธุรกิจไว้แล้ว โดยหลังน้ำลดได้กำชับให้คปภ.ดูแลบริษัทประกันให้เข้าไปตรวจสอบคามเสียหายและจ่ายค่าสินไหมโดยเร็วไม่เกินภายใน 30 วัน โดยอาจผ่อนปรนระเบียบให้รวดเร็วขึ้นเพื่อช่วยให้เอกชนสารถฟื้นฟูกิจการได้โดยเร็ว"นายอารีพงศ์ กล่าว
***ธ.ก.ส.เร่งหาข้อสรุปลดพื้นที่ทำนา
นายลักษณ์ วัจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวว่ารมว.คลังได้มอบหมายให้เร่งศึกษามาตรการจูงใจให้เกษตรกรในพนที่เสี่ยงประสบภัยน้ำท่วมลดการปลูกข้าวลงเพื่อให้เหลือพื้นที่ว่างรอบรับน้ำที่ไหลบ่ามาจากเขื่อนโดยน่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงใกล้ระบบชลประทานแถบจังหวัดภากลาง ภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันตก ที่มีการทำนา 2 กรอบครึ่งรวมพื้นที่กว่า 10 ล้านไร่ น่าจะมีบางจุดที่สามารถทำให้เป็นนาว่างรองรับน้ำที่ไหลบ่ามาได้โดยเฉาะในปีที่น้ำมาก
"ไม่ได้หมายความว่าทั้ง 10 ล้านไรต้องเลิกทำนาทั้งหมด โดยจะร่วมหารอกับกระทรวงเกษตรกรและหน่วยงานทีเกี่ยวข้องเพื่อพิจาณาความเหมาะสมอีกครั่งว่าพื้นที่ใดควรลดการทำนาเหลือ 2 กรอบเพ่อให้มีช่วงนาว่างเดือนส.ค.-ต.ค.เพื่อรองรับน้ำ แต่ไม่น่าจะพื้นที่ที่เสียหายหนักในเวลานี้อย่างอยุธยา นครสวรรค์ ลพบุรี อ่างทอง เป็นต้น” นายลักษณ์ กล่าวและว่ามาตรการจูงใจลดการทำนานอกจากการกำหนดรับข้าวเข้าโครงการจำนำแค่ 2 กรอบยังอาจรวมไปถึงการให้แรงจูงใจด้านการประกันภัยพืชผลด้วย"
นายลักษณ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรกรก็เคยศึกษาไว้แล้วในการลดพื้นที่การทำนาลงเพื่อจัดระเบียบการปลูกข้าวและรักษาพื้นดิน แต่ในจังหวัดภาคกลางยังไม่ค่อยเห็นด้วยเพราะบริเวณนี้สามารถทำนาได้ทั้งปี จึงอยากให้ได้ผลผลิตจำนวนมากๆ แต่ต่อไปเมื่อมีประสบการณ์จากความเสียหายครั้งนี้น่าจะทำให้เกษตรกรและชาวบ้านหันมาให้ความสำคัญและร่วมมือมากขึ้นเพราะความเดือดร้อนไม่เฉพาะตัวเกษตรกรเองยังรวมไปถึงครอบครัวที่ทำงานในนิคมอุตสากรรมต่างๆด้วย
นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการด้านภาษีเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบเหตุอุทกภัย เพราะมองว่า เมื่อกิจการได้รับความเสียหายจากเหตุน้ำท่วมแล้ว ก็ส่งผลต่อกำไรของธุรกิจลดลงโดยอัตโนมัติ ภาระการจ่ายภาษีก็ลดลงไปด้วย และค่าใช้จ่ายจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็สามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เต็มจำนวนอยู่แล้ว
สำหรับแนวทางที่กระทรวงการคลังจะดำเนินการคือ การจัดให้มีวงเงินเพื่อการฟื้นฟูหลังเหตุน้ำท่วมให้เพียงพอและคล่องตัวขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ซึ่งจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในสัปดาห์หน้า ให้มีการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(ธพว.)วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท และปล่อยกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์อีก 5 หมื่นล้านบาท เพราะมีความคล่องตัวกว่า แต่จะเป็นการให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)มาร่วมค้ำประกันสินเชื่อ โดยจะเพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันเพิ่มจากปัจจุบันที่ทำอยู่ 15% เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น
***อัดงบหมื่นล้านหนุน Venture Capital
นอกจากนี้ยังจะมีอีกวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ที่จะค้ำประกันสำหรับธุรกิจเกิดใหม่หรือตั้งตัวใหม่ที่ดำเนินธุรกิจไม่เกิน 2 ปี ที่ต้องการเงินทุนในการเสริมธุรกิจ ด้วยการตั้งกองทุนร่วมทุน (Venture Capital) เพื่อมาลงทุนในธุรกิจเกิดใหม่ ที่ต้องการเงินเงินลงทุน ซึ่งกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการคิดว่าจะมีการชดเชยให้ครึ่งหนึ่งหรือไม่ โดยธนาคารพาณิชย์ต้องมีการพิจารณาความเป็นไปได้ของธุรกิจประกอบด้วย
"กระทรวงการคลังจะเสนอให้ปีหน้าเป็นปีแห่งการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยนอกจากการเตรียมความพร้อมจากผลกระทบในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทแล้ว ก็ยังจะมีมาตรการเพิ่มเติมสำหรับธุรกิจที่ลงทุนในการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนสินค้า เพิ่มมูลค่าการผลิต ก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือธุรกิจเอสเอ็มอี หากมีการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ ก็จะปรับเกณฑ์ให้สามารถหักค่าเสื่อมได้เต็มจำนวนในปีแรก หรือสามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักจากกำไรได้ 100% ในปีแรกหรือหากกำไรไม่พอก็สามารถทยอยหักได้ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นขึ้น และอำนวยความสะดวกในการลงทุนด้วย" นายธีระชัยกล่าว
***เยียวยาต่างด้าวลดผลกระทบสังคม
นายธีระชัยกล่าวว่า สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ที่ถูกน้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ ซึ่งจากการหารือเบื้องต้นพบว่า ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเป็นกังวล เพราะมีการประกันภัยทรัพย์สินและการเสียรายได้จากการทำธุรกิจ รวมทั้งยังมี ธนาคารของชาติผู้ลงทุนในการดูแลปล่อยสินเชื่อระยะสั้น พร้อมเชื่อว่าในระยะสั้นบริษัทเหล่านี้จะไม่ปลดคนงาน เพราะมีเงินช่วยเหลือจากบริษัทแม่ในต่างชาติ หรือหากจำเป็นก็จะจ่ายเงินบางส่วนให้คนงานด้วย โดยสิ่งที่รัฐบาลจะเร่งเข้าไปดำเนินการคือ เข้าไปช่วยบริษัทเหล่านั้นกู้คืนโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ให้กลับมาผลิตโดยเร็ว ทั้งการเข้าช่วยทำความสะอาด รวมถึงการของคืนเงินประกันภัยด้วย
"หากธุรกิจที่ไม่ไหว และจำเป็นต้องล้มหายตายจากไป รัฐบาลก็จะเข้าไปดูแล โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว ที่ต้องว่างงานจากโรงงานหยุดการผลิต รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้เข้าไปดูแล และประสานงานให้โยกย้ายไปทำงานในโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมเป็นการชั่วคราว เพื่อลดผลกระทบต่อสังคมที่จะตามมา และวันที่ 21 ตุลาคมนี้ ผมก็จะหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย เพื่อหารือในรายละเอียดของมาตรการธนาคารพาณิชย์ และการยกเว้นดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม" นายธีระชัยกล่าว
**8นิคมฯ ทำประกันรวม 5 แสนล้าน
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการทำประกันภัยนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย จำนวน 6 แห่ง คือ สหรัตนนคร โรจนะ ไฮเทค บางปะอิน แฟคตอรี่แลนด์ และนวนครและพื้นที่เสี่ยงอีก 2 นิคมคือบางกระดี และลาดกระบัง รวมมีวงเงินเอาประกันภัยจากการประกันภัยทรัพย์สินรวมเกือบ 5 แสนล้านบาท จำนวนผู้เอาประกัน เกือบพันรายซึ่งน้อยกว่าจำนวนโรงงานเพราะส่วนหนึ่งเป็นการประกันภัยเป็นกลุ่ม โดยจำนวนเงินประกันดังกล่าวมีการทำประกันกับบริษัทประกันญี่ปุ่น 60%
ส่วนบริษัทประกันภัยของไทยที่รับประกัน 40% นั้นส่วนใหญ่ส่งไปทำประกันภัยต่อ จึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบจาการจ่ายสินไหมในอนาคต ซึ่งขณะนี้บริษัทในนิคม 6 แห่งได้แจ้งขอเคลมประกันเข้ามาแล้วประมาณ 1แสนล้านบาท
"บริษัทขนาดใหญ่ในนิคมทีได้รับความเสียหายไม่น่าห่วงมากเพราะส่วนใหญ่มีการทำประกันภัยน้ำท่วมและการสูญเสียรายได้ทางธุรกิจไว้แล้ว โดยหลังน้ำลดได้กำชับให้คปภ.ดูแลบริษัทประกันให้เข้าไปตรวจสอบคามเสียหายและจ่ายค่าสินไหมโดยเร็วไม่เกินภายใน 30 วัน โดยอาจผ่อนปรนระเบียบให้รวดเร็วขึ้นเพื่อช่วยให้เอกชนสารถฟื้นฟูกิจการได้โดยเร็ว"นายอารีพงศ์ กล่าว
***ธ.ก.ส.เร่งหาข้อสรุปลดพื้นที่ทำนา
นายลักษณ์ วัจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวว่ารมว.คลังได้มอบหมายให้เร่งศึกษามาตรการจูงใจให้เกษตรกรในพนที่เสี่ยงประสบภัยน้ำท่วมลดการปลูกข้าวลงเพื่อให้เหลือพื้นที่ว่างรอบรับน้ำที่ไหลบ่ามาจากเขื่อนโดยน่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงใกล้ระบบชลประทานแถบจังหวัดภากลาง ภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันตก ที่มีการทำนา 2 กรอบครึ่งรวมพื้นที่กว่า 10 ล้านไร่ น่าจะมีบางจุดที่สามารถทำให้เป็นนาว่างรองรับน้ำที่ไหลบ่ามาได้โดยเฉาะในปีที่น้ำมาก
"ไม่ได้หมายความว่าทั้ง 10 ล้านไรต้องเลิกทำนาทั้งหมด โดยจะร่วมหารอกับกระทรวงเกษตรกรและหน่วยงานทีเกี่ยวข้องเพื่อพิจาณาความเหมาะสมอีกครั่งว่าพื้นที่ใดควรลดการทำนาเหลือ 2 กรอบเพ่อให้มีช่วงนาว่างเดือนส.ค.-ต.ค.เพื่อรองรับน้ำ แต่ไม่น่าจะพื้นที่ที่เสียหายหนักในเวลานี้อย่างอยุธยา นครสวรรค์ ลพบุรี อ่างทอง เป็นต้น” นายลักษณ์ กล่าวและว่ามาตรการจูงใจลดการทำนานอกจากการกำหนดรับข้าวเข้าโครงการจำนำแค่ 2 กรอบยังอาจรวมไปถึงการให้แรงจูงใจด้านการประกันภัยพืชผลด้วย"
นายลักษณ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรกรก็เคยศึกษาไว้แล้วในการลดพื้นที่การทำนาลงเพื่อจัดระเบียบการปลูกข้าวและรักษาพื้นดิน แต่ในจังหวัดภาคกลางยังไม่ค่อยเห็นด้วยเพราะบริเวณนี้สามารถทำนาได้ทั้งปี จึงอยากให้ได้ผลผลิตจำนวนมากๆ แต่ต่อไปเมื่อมีประสบการณ์จากความเสียหายครั้งนี้น่าจะทำให้เกษตรกรและชาวบ้านหันมาให้ความสำคัญและร่วมมือมากขึ้นเพราะความเดือดร้อนไม่เฉพาะตัวเกษตรกรเองยังรวมไปถึงครอบครัวที่ทำงานในนิคมอุตสากรรมต่างๆด้วย