ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้ทรงพระราชทานแก่บุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคล ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ในปีที่มีน้ำท่วมมากความตอนหนึ่งว่า:
“จะค้านว่าเราไม่ได้ใช้ให้น้ำท่วมก็จริง แต่การที่น้ำท่วมเรา ก็เป็นความผิดของคนเหมือนกัน บางทีควรจะกักน้ำเอาไว้เพื่อจะใช้ก็ทิ้งน้ำลงไป บางทีควรจะปล่อยน้ำออกไป ก็กักเอาไว้ กักเอาไว้ไม่ใช่เฉพาะทำเขื่อนเก็บน้ำ แต่กักเอาไว้ โดยทำถนนขวางทางน้ำ โดยทำบ้านจัดสรรก็ตาม โดยทำโรงงานก็ตาม ซึ่งกั้นน้ำไม่ให้ไหล ดังนั้นน้ำที่กักเอาไว้ก็ไปท่วมชาวบ้าน”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นมีความทันสมัยแม่นยำอยู่เสมอสามารถประยุกต์ใช้ได้กับน้ำท่วมทุกยุคทุกสมัย
การกักน้ำเกินความจำเป็นย่อมทำให้เกิดความเสียหาย และน้ำที่ควบคุมไม่ได้คือน้ำที่อันตรายเพราะเมื่อปล่อยออกมา หรือพังทลายการกั้นน้ำออกมาได้ จะมี “แรงดันน้ำ”ที่มีกำลังมหาศาล นอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินของประชาชนแล้ว ความเร็วของแรงดันน้ำยังทำให้ประชาชนไม่สามารถเตรียมตัวในการป้องกันหรืออพยพออกได้อีกด้วย
การ “กั้นหรือกักน้ำที่มากเกินไปจะก่อให้เกิดอันตราย” จึงใช้ได้กับ “เขื่อน” และ “ทำนบกั้น หรือคันกั้นน้ำ” เพราะอยู่ในหลักการเดียวกันที่รัฐบาลชุดนี้ตัดสินใจผิดพลาดมาตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางในเวลานี้
จริงอยู่ที่ว่าปีนี้มีน้ำไหลเข้ามาปริมาณมาก แต่ความจริงแล้วเมื่อรู้ตั้งต้นปีก่อนฤดูฝนแล้วว่าปีนี้มีน้ำมากกว่าปกติ และช่วงฤดูฝนก็มีน้ำมากเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นเชียงใหม่ก็เกิดน้ำท่วมล้นฝายเข้าเมือง ก็ต้องเป็นสัญญาณแล้วว่าจะต้องเร่งทยอยปล่อยน้ำในเขื่อนให้ลงทะเลเร็วที่สุด
แต่ด้วยความล่าช้าในการปล่อยน้ำในเขื่อนภูมิพล รัฐบาลจึงจำยอมต้องปล่อยน้ำในเขื่อนเมื่อน้ำใกล้เต็มแล้วผลก็คือการปล่อยมวลน้ำจำนวน 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป (บางวันเกือบถึง 140 ล้านลูกบาศก์เมตร) เป็นเวลาถึง 7 วัน (5 - 11 ตุลาคม 2554)
คำถามก็คืออะไรคือแรงจูงใจที่ต้องสะสมน้ำมากมายขนาดนี้? ยังมิพักต้องพูดถึงการ “กั๊ก” ไม่ระบายน้ำออกผ่านแม่น้ำท่าจีนเป็นเวลาหลายวัน เพื่อรักษาพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด สุพรรณบุรี ซึ่งถือว่ามีอำนาจต่อรองสูงในรัฐบาลนั้น ได้ทำให้หลายพื้นที่น้ำท่วมขังมากกว่าที่ควรจะเป็น และรุนแรงด้วยแรงดันน้ำที่สูงมากขึ้นไปอีก
นี่คือชนวนเริ่มต้นที่ทำให้ทำนบกั้นน้ำของชาวนครสวรรค์แตกยับเยิน ถนนถูกน้ำตัดขาดเพราะ “แรงดันน้ำ” อันมหาศาล ที่ชาวบ้านไม่สามารถที่จะเตรียมตัวทันได้เลย มวลน้ำที่มีแรงดันสูงขนาดนี้ได้บุกไล่ทำลายอยุธยา ปทุมธานี แตกยับเยินในเวลาต่อมาตามลำดับ
“แรงดันน้ำ” อันมหาศาลจากมวลน้ำขนาดนี้ ยังถูกรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คอยประกาศมาโดยตลอดว่า “เอาอยู่” อีกทั้งยังขาดความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่จะเข้าแก้ปัญหาน้ำ จึงทำไปแบบมั่วๆ ระดมกระสอบทราย เรียงผิด เรียงถูก แถมไม่สามารถรับแรงดันน้ำได้ตลอดเส้นทาง
เริ่มตั้งแต่นครสวรรค์ มาอยุธยา ไปจนถึงปทุมธานี และยังเสียนิคมอุตสาหกรรมไปหลายแห่ง ทั้ง นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งทุกแห่งมีอาการเหมือนกันหมดก็คือ ทำนบกระสอบทรายแตกเพราะทนแรงดันน้ำไว้ไม่ได้
ความผิดพลาดเพราะไม่มีความรู้ของรัฐบาล แทนที่มวลน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อนภูมิพลจะถูกเตือนจากรัฐบาลให้อพยพ หรือให้โรงานอุตสาหกรรมหยุดทำการแล้วยกเครื่องจักรขึ้นสูงก็สามารถจะทำได้ เพราะความจริงแล้วมวลน้ำ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรขึ้นไปต่อวันที่ถูกปล่อยออกมา สามารถเตือนก่อนล่วงหน้าได้หลายวันทั้งในนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งทั้งในอยุธยาและปทุมธานี
ถามว่าอาการความรู้สึกช้าที่เป็นสาเหตุที่ทำให้นักธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศเตือนก่อนภัยพิบัติจะมาถึง 48 ชั่วโมง ไม่ใช่ให้เตรียมตัวเมื่อน้ำมาแล้ว หรือก่อนน้ำจะมาเพียงแค่ 2-3 ชั่วโมง
เพราะความคิดไม่ต้องการให้น้ำท่วมเลยจึงกักน้ำในเขื่อนมากเกินไป จึงนำมาด้วยการปล่อยมวลน้ำอันมหึมาที่ไม่ใครต้านได้ เพราะต้องการป้องกันพื้นที่ต่างๆไม่ให้ท่วมเลยจึงตั้งทำนบกั้นและทำกระสอบทรายและสุดท้ายก็กันเอาไว้ไม่ได้
สำหรับน้ำแล้วยิ่งกั้นมากหากกั้นไม่อยู่ก็จะยิ่งแรงมากขึ้นจนทำลายทุกทำนบและแนวคันกั้นน้ำแทบทุกแห่ง ในทางตรงกันข้ามหากเร่งปล่อยน้ำให้ออกให้ท่วมบ้างบางส่วนตั้งแต่ตอนต้น (แบบมีการบริหารจัดการ) เราจะบริหารน้ำได้โดยยังรักษาทำนบและแนวคันกั้นน้ำได้ และจำกัดความเสียหายของพื้นที่น้ำท่วมได้
ซึ่งเรื่องนี้ผมเองได้เขียนบทความเอาไว้แล้วในเว็บไซต์ www.manager.co.th ตั้งแต่วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ในหัวข้อเรื่องว่าหัวข้อ “วิกฤติของชาติน้ำท่วมขนาดนี้ องค์กรวิชชาชีพหายไปไหนกันหมด!?” ความตอนหนึ่งถึงทางออกในเรื่องนี้ว่า
“ต้องลดแรงดันน้ำเพื่อรักษาแนวคันกั้นน้ำของกรุงเทพมหานคร ซึ่งทางเลือกก็คือยอมให้ กรุงเทพมหานครท่วมบ้าง (เป็นการท่วมแบบจัดการได้) ดีกว่าปล่อยให้แรงดันน้ำสูงขึ้นจนพังแนวคันกั้นน้ำแล้วเข้ามาในกรุงเทพมหานครจนไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ (ซึ่งจะทำให้ประชาชนเตรียมความพร้อมก่อนรับมือได้)
เพราะถ้าคิดแต่ว่ากรุงเทพมหานครจะเลือกหนทางไม่ท่วมเลย ก็ต้องไปเสี่ยงเอาว่าแนวคันกั้นน้ำของกรุงเทพมหานครจะรับแรงดันที่เพิ่มสูงได้หรือไม่?”
จากข้อความนี้หมายความว่า หากเราเลือกที่จะให้กรุงเทพมหานครแห้งหมด เราจะเสี่ยงที่จะทำให้กรุงเทพมหานครท่วมหมดเหมือนนิคมอุตสาหกรรมต่างๆสร้างความเสียหายจนไม่สามารถควบคุมได้ แต่ถ้าเราให้มีน้ำท่วมแบบมีการจัดการได้ เราก็จะสามารถรักษาพนังกันน้ำเอาไว้ได้และรักษาระดับน้ำท่วมและจำกัดความเสียหายในกรุงเทพมหานครเอาไว้ได้ด้วย
นายอภิชาติ สุทธิศิลธรรม เป็นวิศวกรเอกชนอีกคนหนึ่ง ที่พยายามเผยแพร่แนวคิดนี้เช่นกัน โดยการนำเสนอผ่านยูทูป และเฟสบุ๊คโดยใช้ชื่อ Moosa Taneewong เพื่อเสนอให้น้ำท่วมหลังแนวกั้นน้ำด้านในแบบมีการจัดการ ประการแรกเพื่อเป็นการลดระดับน้ำและแรงดันน้ำด้านนอกให้ลดปริมาณลง ประการที่สองการปล่อยให้มีการน้ำท่วมด้านในแนวคันกั้นน้ำจะทำให้มีแรงดันน้ำยันกลับจากอีกด้านหนึ่งไปด้วย แนวคิดดังกล่าวเห็นว่าจะเป็นประโยชน์จึงขอนำเสนอความบางตอนจาก เฟสบุ๊ค ดังนี้
“ตัวอย่างความสำเร็จคือโรงงานมินิแบ ที่ทำกำแพงถึง 3 ชั้น และที่เขื่อนดินไม่พังโดยบังเอิญคือตลาดไท ที่น้ำเข้าท่วมบางส่วนเป็นแรงดันน้ำจากภายในไม่ให้เขื่อนพัง (ยอมให้ท่วมบางส่วน) และกทม.ตะวันออกที่น้ำมาทางเหนือและเข้าท่วม ทำให้ตามแนวกำแพงดินระดับภายนอกกับภายในไม่ต่างกันมาก คันดินจึงไม่พังโดยบังเอิญ แต่ที่นวนครเอาแต่เสริมคันดินและเพิ่มความแข็งแรงของคัน แต่ฐานคันบางส่วนไม่แข็งแรง ในที่สุดเขื่อนส่วนใดที่ฐานถูกน้ำเซาะเพราะแรงดันจากภายนอกจนขาดแรงยึดติดกับพื้น และในที่สุดก็พังลง ก็จะบ่าเข้าท่วมนิคม เหมือนนิคมอุตฯอื่นที่ผ่านมา”
“สวนอุตสาหกรรมบางกะดีกำลังจะซ้ำรอย เพราะเอาแต่เสริมพนังกั้นน้ำ ทำพนังหลายชั้นแต่ไม่เอาน้ำเข้าไปท่วมภายใน ในที่สุดเขื่อนก็จะพังและท่วมหมดอยู่ดี ตอนนี้ต้องเอาน้ำเข้าไปท่วมภายในก่อนที่เขื่อนจะพัง ชั้นนอกพัง ชั้นในก็จะพัง ระดับน้ำที่สูงจะบ่าประชิดโรงงานเสียหาย น้ำมาถึงบางกะดีตามการคาดการณ์ของผม ยอมท่วมน้อย ดีกว่าท่วมหนัก เลิกมั่นใจว่าป้องกันได้เสียที ยอมรับความจริงตอนนี้ยังไม่สาย และมาบอกว่าน้ำมันมามากทีหลัง ตอนนี้ต้องรู้แล้วว่าน้ำมันมาเยอะแน่ อย่าประมาทคิดในแง่ร้ายที่สุดไว้ก่อน”
ความจริงแล้วแนวคิดให้กรุงเทพน้ำท่วมบ้าง ดีกว่าปล่อยให้น้ำท่วมหนัก นั้น รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และอดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็เห็นด้วยกับหลักการนี้
เพราะอย่างน้อยนอกจากในแง่วิศวกรรมศาสตร์แล้ว การให้น้ำท่วมกรุงเทพมหานครบ้างแบบมีการจัดการก็ยังเป็นการผ่อนคลายความทุกข์ร้อนของคนไทยร่วมชาติให้มีระดับน้ำที่ต่ำลงมาบ้าง
จะว่าไปแล้วยังมีอีกแนวคิดหนึ่งที่น่าเสียดายที่ฝ่ายรัฐบาลไม่ฟังและไม่ให้ความสำคัญ ก็คือแนวคิดจากนายชวลิต จันทรรัตน์ วิศวกรแห่งน้ำ บริษัท ทีมกรุ๊ป ได้เสนอทางออกในเรื่องนี้ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ด้วยการเร่งระบายน้ำออกทะเลให้เร็วที่สุด โดยการเจาะทะลุพื้นที่ฝั่งตะวันออก คือเจาะตัดขาดถนนหลายๆสาย เพื่อให้น้ำผ่านได้เร็วขึ้น เพราะเท่าที่ประเมินในเวลานี้เห็นว่าหากไม่เร่งระบาย พนังกันน้ำในหลายพื้นที่อาจจะสู้ไม่ไหว
“แม้ว่ารัฐบาลจะเลือกพื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ระบายน้ำ เนื่องจากฝั่งตะวันตก แม่น้ำท่าจีนคดเคี้ยวทำให้ระบายได้ไม่มาก แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ฝั่งตะวันออก ก็มีถนน 50 สาย ที่ขวางเส้นทางน้ำ นายชวลิตจึงเสนอว่า หากต้องการะบายน้ำ สิ่งที่ต้องทำก็คือการตัดถนน 8 เส้นในฝั่งตะวันออก เช่น ถนนบริเวณ ต.หนองเสือ ปทุมธานี และถนนบริเวณบางน้ำเปรี้ยวเพื่อตัดน้ำลงไปสู่ทะเลที่บริเวณคลองด่าน”
ข้อเสนอข้างต้นนี้รัฐบาลก็เพิกเฉยอีก !
เพราะน้ำท่วมก็ต้องเร่งระบายน้ำออกให้เร็ว ยิ่งกักกั้นขวางไว้นาน นอกจากประชาชนที่จมน้ำจะเดือดร้อนแสนสาหัสแล้ว ยังทำให้แรงดันน้ำสูงมากขึ้นเรื่อยๆจากน้ำเหนือกำลังจะไหลบ่าเพิ่มเติมมาอีก และความจริงแล้วน้ำท่วมขนาดนี้ย่อมไม่มีทางปล่อยให้ระเหยไปในอากาศเองได้
รัฐบาลยิ่งลักษณ์มัวแต่ที่จะพูดว่า “เอาอยู่” เพราะมัวคิดว่าจะทำให้พื้นที่แห้งได้ตลอดเวลา แต่ความเป็นจริงแล้วแรงดันน้ำจากน้ำท่วมครั้งนี้ได้ทำลายทำนบคันกั้นน้ำพังกันไปแถบๆแล้ว
คำว่า “เอาอยู่” ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จึงเป็นเรื่องที่น่าสะพรึงกลัวสยดสยองไปแล้วสำหรับประชาชน ดังนั้นยิ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศว่า “เอาอยู่”มากขึ้นเท่าใด ประชาชนก็คงต้องเตรียมช่วยเหลือตัวเองรับมือกับน้ำท่วมที่ควบคุมไม่ได้ และเตรียมรับมือกับทำนบคันกั้นน้ำที่พังทลายมากขึ้นเท่านั้น !!?
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้ทรงพระราชทานแก่บุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคล ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ในปีที่มีน้ำท่วมมากความตอนหนึ่งว่า:
“จะค้านว่าเราไม่ได้ใช้ให้น้ำท่วมก็จริง แต่การที่น้ำท่วมเรา ก็เป็นความผิดของคนเหมือนกัน บางทีควรจะกักน้ำเอาไว้เพื่อจะใช้ก็ทิ้งน้ำลงไป บางทีควรจะปล่อยน้ำออกไป ก็กักเอาไว้ กักเอาไว้ไม่ใช่เฉพาะทำเขื่อนเก็บน้ำ แต่กักเอาไว้ โดยทำถนนขวางทางน้ำ โดยทำบ้านจัดสรรก็ตาม โดยทำโรงงานก็ตาม ซึ่งกั้นน้ำไม่ให้ไหล ดังนั้นน้ำที่กักเอาไว้ก็ไปท่วมชาวบ้าน”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นมีความทันสมัยแม่นยำอยู่เสมอสามารถประยุกต์ใช้ได้กับน้ำท่วมทุกยุคทุกสมัย
การกักน้ำเกินความจำเป็นย่อมทำให้เกิดความเสียหาย และน้ำที่ควบคุมไม่ได้คือน้ำที่อันตรายเพราะเมื่อปล่อยออกมา หรือพังทลายการกั้นน้ำออกมาได้ จะมี “แรงดันน้ำ”ที่มีกำลังมหาศาล นอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินของประชาชนแล้ว ความเร็วของแรงดันน้ำยังทำให้ประชาชนไม่สามารถเตรียมตัวในการป้องกันหรืออพยพออกได้อีกด้วย
การ “กั้นหรือกักน้ำที่มากเกินไปจะก่อให้เกิดอันตราย” จึงใช้ได้กับ “เขื่อน” และ “ทำนบกั้น หรือคันกั้นน้ำ” เพราะอยู่ในหลักการเดียวกันที่รัฐบาลชุดนี้ตัดสินใจผิดพลาดมาตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางในเวลานี้
จริงอยู่ที่ว่าปีนี้มีน้ำไหลเข้ามาปริมาณมาก แต่ความจริงแล้วเมื่อรู้ตั้งต้นปีก่อนฤดูฝนแล้วว่าปีนี้มีน้ำมากกว่าปกติ และช่วงฤดูฝนก็มีน้ำมากเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นเชียงใหม่ก็เกิดน้ำท่วมล้นฝายเข้าเมือง ก็ต้องเป็นสัญญาณแล้วว่าจะต้องเร่งทยอยปล่อยน้ำในเขื่อนให้ลงทะเลเร็วที่สุด
แต่ด้วยความล่าช้าในการปล่อยน้ำในเขื่อนภูมิพล รัฐบาลจึงจำยอมต้องปล่อยน้ำในเขื่อนเมื่อน้ำใกล้เต็มแล้วผลก็คือการปล่อยมวลน้ำจำนวน 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป (บางวันเกือบถึง 140 ล้านลูกบาศก์เมตร) เป็นเวลาถึง 7 วัน (5 - 11 ตุลาคม 2554)
คำถามก็คืออะไรคือแรงจูงใจที่ต้องสะสมน้ำมากมายขนาดนี้? ยังมิพักต้องพูดถึงการ “กั๊ก” ไม่ระบายน้ำออกผ่านแม่น้ำท่าจีนเป็นเวลาหลายวัน เพื่อรักษาพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด สุพรรณบุรี ซึ่งถือว่ามีอำนาจต่อรองสูงในรัฐบาลนั้น ได้ทำให้หลายพื้นที่น้ำท่วมขังมากกว่าที่ควรจะเป็น และรุนแรงด้วยแรงดันน้ำที่สูงมากขึ้นไปอีก
นี่คือชนวนเริ่มต้นที่ทำให้ทำนบกั้นน้ำของชาวนครสวรรค์แตกยับเยิน ถนนถูกน้ำตัดขาดเพราะ “แรงดันน้ำ” อันมหาศาล ที่ชาวบ้านไม่สามารถที่จะเตรียมตัวทันได้เลย มวลน้ำที่มีแรงดันสูงขนาดนี้ได้บุกไล่ทำลายอยุธยา ปทุมธานี แตกยับเยินในเวลาต่อมาตามลำดับ
“แรงดันน้ำ” อันมหาศาลจากมวลน้ำขนาดนี้ ยังถูกรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คอยประกาศมาโดยตลอดว่า “เอาอยู่” อีกทั้งยังขาดความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่จะเข้าแก้ปัญหาน้ำ จึงทำไปแบบมั่วๆ ระดมกระสอบทราย เรียงผิด เรียงถูก แถมไม่สามารถรับแรงดันน้ำได้ตลอดเส้นทาง
เริ่มตั้งแต่นครสวรรค์ มาอยุธยา ไปจนถึงปทุมธานี และยังเสียนิคมอุตสาหกรรมไปหลายแห่ง ทั้ง นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งทุกแห่งมีอาการเหมือนกันหมดก็คือ ทำนบกระสอบทรายแตกเพราะทนแรงดันน้ำไว้ไม่ได้
ความผิดพลาดเพราะไม่มีความรู้ของรัฐบาล แทนที่มวลน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อนภูมิพลจะถูกเตือนจากรัฐบาลให้อพยพ หรือให้โรงานอุตสาหกรรมหยุดทำการแล้วยกเครื่องจักรขึ้นสูงก็สามารถจะทำได้ เพราะความจริงแล้วมวลน้ำ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรขึ้นไปต่อวันที่ถูกปล่อยออกมา สามารถเตือนก่อนล่วงหน้าได้หลายวันทั้งในนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งทั้งในอยุธยาและปทุมธานี
ถามว่าอาการความรู้สึกช้าที่เป็นสาเหตุที่ทำให้นักธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศเตือนก่อนภัยพิบัติจะมาถึง 48 ชั่วโมง ไม่ใช่ให้เตรียมตัวเมื่อน้ำมาแล้ว หรือก่อนน้ำจะมาเพียงแค่ 2-3 ชั่วโมง
เพราะความคิดไม่ต้องการให้น้ำท่วมเลยจึงกักน้ำในเขื่อนมากเกินไป จึงนำมาด้วยการปล่อยมวลน้ำอันมหึมาที่ไม่ใครต้านได้ เพราะต้องการป้องกันพื้นที่ต่างๆไม่ให้ท่วมเลยจึงตั้งทำนบกั้นและทำกระสอบทรายและสุดท้ายก็กันเอาไว้ไม่ได้
สำหรับน้ำแล้วยิ่งกั้นมากหากกั้นไม่อยู่ก็จะยิ่งแรงมากขึ้นจนทำลายทุกทำนบและแนวคันกั้นน้ำแทบทุกแห่ง ในทางตรงกันข้ามหากเร่งปล่อยน้ำให้ออกให้ท่วมบ้างบางส่วนตั้งแต่ตอนต้น (แบบมีการบริหารจัดการ) เราจะบริหารน้ำได้โดยยังรักษาทำนบและแนวคันกั้นน้ำได้ และจำกัดความเสียหายของพื้นที่น้ำท่วมได้
ซึ่งเรื่องนี้ผมเองได้เขียนบทความเอาไว้แล้วในเว็บไซต์ www.manager.co.th ตั้งแต่วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ในหัวข้อเรื่องว่าหัวข้อ “วิกฤติของชาติน้ำท่วมขนาดนี้ องค์กรวิชชาชีพหายไปไหนกันหมด!?” ความตอนหนึ่งถึงทางออกในเรื่องนี้ว่า
“ต้องลดแรงดันน้ำเพื่อรักษาแนวคันกั้นน้ำของกรุงเทพมหานคร ซึ่งทางเลือกก็คือยอมให้ กรุงเทพมหานครท่วมบ้าง (เป็นการท่วมแบบจัดการได้) ดีกว่าปล่อยให้แรงดันน้ำสูงขึ้นจนพังแนวคันกั้นน้ำแล้วเข้ามาในกรุงเทพมหานครจนไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ (ซึ่งจะทำให้ประชาชนเตรียมความพร้อมก่อนรับมือได้)
เพราะถ้าคิดแต่ว่ากรุงเทพมหานครจะเลือกหนทางไม่ท่วมเลย ก็ต้องไปเสี่ยงเอาว่าแนวคันกั้นน้ำของกรุงเทพมหานครจะรับแรงดันที่เพิ่มสูงได้หรือไม่?”
จากข้อความนี้หมายความว่า หากเราเลือกที่จะให้กรุงเทพมหานครแห้งหมด เราจะเสี่ยงที่จะทำให้กรุงเทพมหานครท่วมหมดเหมือนนิคมอุตสาหกรรมต่างๆสร้างความเสียหายจนไม่สามารถควบคุมได้ แต่ถ้าเราให้มีน้ำท่วมแบบมีการจัดการได้ เราก็จะสามารถรักษาพนังกันน้ำเอาไว้ได้และรักษาระดับน้ำท่วมและจำกัดความเสียหายในกรุงเทพมหานครเอาไว้ได้ด้วย
นายอภิชาติ สุทธิศิลธรรม เป็นวิศวกรเอกชนอีกคนหนึ่ง ที่พยายามเผยแพร่แนวคิดนี้เช่นกัน โดยการนำเสนอผ่านยูทูป และเฟสบุ๊คโดยใช้ชื่อ Moosa Taneewong เพื่อเสนอให้น้ำท่วมหลังแนวกั้นน้ำด้านในแบบมีการจัดการ ประการแรกเพื่อเป็นการลดระดับน้ำและแรงดันน้ำด้านนอกให้ลดปริมาณลง ประการที่สองการปล่อยให้มีการน้ำท่วมด้านในแนวคันกั้นน้ำจะทำให้มีแรงดันน้ำยันกลับจากอีกด้านหนึ่งไปด้วย แนวคิดดังกล่าวเห็นว่าจะเป็นประโยชน์จึงขอนำเสนอความบางตอนจาก เฟสบุ๊ค ดังนี้
“ตัวอย่างความสำเร็จคือโรงงานมินิแบ ที่ทำกำแพงถึง 3 ชั้น และที่เขื่อนดินไม่พังโดยบังเอิญคือตลาดไท ที่น้ำเข้าท่วมบางส่วนเป็นแรงดันน้ำจากภายในไม่ให้เขื่อนพัง (ยอมให้ท่วมบางส่วน) และกทม.ตะวันออกที่น้ำมาทางเหนือและเข้าท่วม ทำให้ตามแนวกำแพงดินระดับภายนอกกับภายในไม่ต่างกันมาก คันดินจึงไม่พังโดยบังเอิญ แต่ที่นวนครเอาแต่เสริมคันดินและเพิ่มความแข็งแรงของคัน แต่ฐานคันบางส่วนไม่แข็งแรง ในที่สุดเขื่อนส่วนใดที่ฐานถูกน้ำเซาะเพราะแรงดันจากภายนอกจนขาดแรงยึดติดกับพื้น และในที่สุดก็พังลง ก็จะบ่าเข้าท่วมนิคม เหมือนนิคมอุตฯอื่นที่ผ่านมา”
“สวนอุตสาหกรรมบางกะดีกำลังจะซ้ำรอย เพราะเอาแต่เสริมพนังกั้นน้ำ ทำพนังหลายชั้นแต่ไม่เอาน้ำเข้าไปท่วมภายใน ในที่สุดเขื่อนก็จะพังและท่วมหมดอยู่ดี ตอนนี้ต้องเอาน้ำเข้าไปท่วมภายในก่อนที่เขื่อนจะพัง ชั้นนอกพัง ชั้นในก็จะพัง ระดับน้ำที่สูงจะบ่าประชิดโรงงานเสียหาย น้ำมาถึงบางกะดีตามการคาดการณ์ของผม ยอมท่วมน้อย ดีกว่าท่วมหนัก เลิกมั่นใจว่าป้องกันได้เสียที ยอมรับความจริงตอนนี้ยังไม่สาย และมาบอกว่าน้ำมันมามากทีหลัง ตอนนี้ต้องรู้แล้วว่าน้ำมันมาเยอะแน่ อย่าประมาทคิดในแง่ร้ายที่สุดไว้ก่อน”
ความจริงแล้วแนวคิดให้กรุงเทพน้ำท่วมบ้าง ดีกว่าปล่อยให้น้ำท่วมหนัก นั้น รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และอดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็เห็นด้วยกับหลักการนี้
เพราะอย่างน้อยนอกจากในแง่วิศวกรรมศาสตร์แล้ว การให้น้ำท่วมกรุงเทพมหานครบ้างแบบมีการจัดการก็ยังเป็นการผ่อนคลายความทุกข์ร้อนของคนไทยร่วมชาติให้มีระดับน้ำที่ต่ำลงมาบ้าง
จะว่าไปแล้วยังมีอีกแนวคิดหนึ่งที่น่าเสียดายที่ฝ่ายรัฐบาลไม่ฟังและไม่ให้ความสำคัญ ก็คือแนวคิดจากนายชวลิต จันทรรัตน์ วิศวกรแห่งน้ำ บริษัท ทีมกรุ๊ป ได้เสนอทางออกในเรื่องนี้ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ด้วยการเร่งระบายน้ำออกทะเลให้เร็วที่สุด โดยการเจาะทะลุพื้นที่ฝั่งตะวันออก คือเจาะตัดขาดถนนหลายๆสาย เพื่อให้น้ำผ่านได้เร็วขึ้น เพราะเท่าที่ประเมินในเวลานี้เห็นว่าหากไม่เร่งระบาย พนังกันน้ำในหลายพื้นที่อาจจะสู้ไม่ไหว
“แม้ว่ารัฐบาลจะเลือกพื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ระบายน้ำ เนื่องจากฝั่งตะวันตก แม่น้ำท่าจีนคดเคี้ยวทำให้ระบายได้ไม่มาก แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ฝั่งตะวันออก ก็มีถนน 50 สาย ที่ขวางเส้นทางน้ำ นายชวลิตจึงเสนอว่า หากต้องการะบายน้ำ สิ่งที่ต้องทำก็คือการตัดถนน 8 เส้นในฝั่งตะวันออก เช่น ถนนบริเวณ ต.หนองเสือ ปทุมธานี และถนนบริเวณบางน้ำเปรี้ยวเพื่อตัดน้ำลงไปสู่ทะเลที่บริเวณคลองด่าน”
ข้อเสนอข้างต้นนี้รัฐบาลก็เพิกเฉยอีก !
เพราะน้ำท่วมก็ต้องเร่งระบายน้ำออกให้เร็ว ยิ่งกักกั้นขวางไว้นาน นอกจากประชาชนที่จมน้ำจะเดือดร้อนแสนสาหัสแล้ว ยังทำให้แรงดันน้ำสูงมากขึ้นเรื่อยๆจากน้ำเหนือกำลังจะไหลบ่าเพิ่มเติมมาอีก และความจริงแล้วน้ำท่วมขนาดนี้ย่อมไม่มีทางปล่อยให้ระเหยไปในอากาศเองได้
รัฐบาลยิ่งลักษณ์มัวแต่ที่จะพูดว่า “เอาอยู่” เพราะมัวคิดว่าจะทำให้พื้นที่แห้งได้ตลอดเวลา แต่ความเป็นจริงแล้วแรงดันน้ำจากน้ำท่วมครั้งนี้ได้ทำลายทำนบคันกั้นน้ำพังกันไปแถบๆแล้ว
คำว่า “เอาอยู่” ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จึงเป็นเรื่องที่น่าสะพรึงกลัวสยดสยองไปแล้วสำหรับประชาชน ดังนั้นยิ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศว่า “เอาอยู่”มากขึ้นเท่าใด ประชาชนก็คงต้องเตรียมช่วยเหลือตัวเองรับมือกับน้ำท่วมที่ควบคุมไม่ได้ และเตรียมรับมือกับทำนบคันกั้นน้ำที่พังทลายมากขึ้นเท่านั้น !!?