ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.ไฟเขียวงบรายจ่ายปี 55 ขาดดุลเพิ่มอีก 5 หมื่นล้านบาท ใช้แก้ปัญหาน้ำท่วม คลังรับลูก "กิตติรัตน์"ออกพ.ร.ก.กู้ฉุกเฉินแก้น้ำท่วมแบบบูรณาการอีกหลายแสนล้าน ดึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายระดมสมองร่วมแก้ปัญหา ด้านสบน. พร้อมกู้เงินตามพ.ร.ก. ระบุยังไม่เกินเพดานหนี้สาธารณะ
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (18 ต.ค.) ที่ประชุมได้มีมติขยายวงเงินงบขาดดุลในปีงบประมาณ 2555 ออกไปอีก 5 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้วงเงินงบขาดดุลเพิ่มเป็น 4 แสนล้านบาท และภาพรวมงบประมาณรายจ่ายจะเพิ่มเป็น 2.38 ล้านล้านบาท โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นจะอยู่ในในงบกลางเพื่อนำเงินมาฟื้นฟูประเทศภายหลังจากเหตุอุทกภัย
สำหรับงบประมาณรายจ่ายปี 2555 แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำ 1.85 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 78% เป็นงบลงทุน 4.2 แสนล้าน คิดเป็น 17.8% ส่วนการขาดดุล 4 แสนล้าน เป็นการขาดดุลที่คิดเป็น 3.4% ของจีดีพี ถือว่ายังน้อยกว่าการขาดดุลในปีงบประมาณ 2554 ที่เป็นการขาดดุล 3.7% ของจีดีพีหรือ 4.2 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม. ยังหารือเกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานระยะยาวในการป้องกันปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจะมีการตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด เพื่อเสนอความเห็นในการดำเนินการ ซึ่งกระทรวงการคลังพร้อมที่จะออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้สรุปวงเงิน ขึ้นอยู่ความจำเป็นในการใช้เงิน
“ที่ไม่กู้ขาดดุลมากกว่านี้ เพราะมองว่า 5 หมื่นล้านที่เพิ่มขึ้นจะนำมาใช้ในระยะสั้น ส่วนการใช้เงินในระยะ 3-5 ปี เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบนั้น จะมีกฎหมายพิเศษออกมาอีกครั้ง แม้จะใช้เงินจำนวนมาก ก็มองว่าคุ้มค่าในการลงทุน โดยคณะกรรมการจะเชิญผู้รู้และนำข้อมูลที่เคยศึกษาการลงทุนด้านน้ำที่ทำไว้มาพิจารณา หากโครงการใดเหมาะสม จำเป็น ก็เดินหน้าต่อ หรือโครงการใดต้องปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น ก็ต้องปรับ”นายธีระชัยกล่าว
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กล่าวภายหลังการประชุมครม.ว่า นายกรัฐมนตรียังมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาหนึ่งชุด โดยมีนายยงยุทธ์ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย เป็นประธาน และมีกระทรวงต่างๆ ที่ดูแลเรื่องการจัดการโครงสร้างต่างๆ ของประเทศ รวมทั้งตน และรมว.คลัง ก็จะทำหน้าที่มีส่วนร่วมในการทำงานกับคณะทำงานชุดนี้
"ทราบดีว่ามีเวลาไม่มาก เพราะว่า กว่าน้ำจะลด ก็คงใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์ และเมื่อน้ำลดแล้ว การดำเนินการอะไรต่างๆ ให้เสร็จก่อนฝนใหม่ ก็เป็นภารกิจที่จะต้องเร่งทำ โดยนายกฯ ได้กำชับว่า ขณะนี้เราอยู่ท่ามกลางวิกฤติอุทกภัย การดำเนินการต่างๆ รัฐมนตรีแต่ละกระทรวง ต้องทำหน้าที่ในแต่ละกระทรวงให้ดี"นายกิตติรัตน์กล่าว
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า การกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณอีก 5 หมื่นล้านบาท เป็น 4 แสนล้านบาทนั้น ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร สบน.สามารถจัดลำดับความสำคัญของการกู้เงินได้ในระยะต่อไป ประกอบกับมองว่าสภาพคล่องในประเทศยังมีเพียงพอทั้งจากตลาดเงินและการออกพันธบัตร โดยหากจะใช้เงินเร่งด่วนก็สามารถกู้ระยะสั้นได้ ก่อนจะแปลงเป็นเงินกู้ระยะยาว เพราะขณะนี้ต้นทุนการกู้ 1 ปีอยู่ที่ 3.44% ขณะที่การออกพันธบัตรระยะ 10 ปี ต้นทุนอยู่ที่ 3.5% ซึ่งไม่แตกต่างกันนัก
ส่วนแนวทางการออกพ.ร.ก.กู้เงินอีกหลายแสนล้านบาทตามกระแสข่าวนั้น ทางสบน.ยังไม่ไดรับมอบหมายให้เตรียมความพร้อมใดๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายที่จะสั่งการมา ซึ่งสามารถทำได้เหมือนออกพ.ร.ก.กู้เงินไทยเข้มแข็ง หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อการลงทุนเร่งด่วน หากวงเงินอยู่ที่ 5 แสนล้านบาท ก็ยังสามารถกู้เงินในประเทศได้ เพราะสภาพคล่องส่วนเกินในระบบที่แบงก์ชาติต้องดูดซับขณะนี้ก็อยู่ที่ประมาณ 5 แสนล้านบาท และยังไม่ทำให้หนี้สาธารณะสูงเกินเพดาน โดยน่าจะขึ้นไปอยู่ที่ 47% แต่สบน.มองว่าการใช้เงินกู้จากกฎหมายพิเศษหรือกู้จากต่างประเทศอาจไม่จำเป็น เพราะยังมีวงเงินขาดดุลได้อีกแสนล้านบาทและยังมีเงินคงคลังที่ไม่มีภาระผูกพันใช้ได้ไปก่อนอีกแสนล้านบาท
“หากกระทรวงการคลังจะกู้เงินในตลาด แบงก์ชาติก็หยุดดูดสภาพคล่องกลับเข้าไป ก็น่าจะบริหารเงินกู้ได้ ทั้งกู้ระยะสั้นหรือกู้ระยาว ต้องดูช่วงเวลาของการใช้เงิน เพราะเข้าใจว่าน่าจะเป็นการใช้เงินผูกพันหลายปี”นายจักรกฤศฎิ์ กล่าวและว่า สิ่งสำคัญอยู่ที่โครงการลงทุนที่จะใช้เงินกู้ดังกล่าวต้องมีความชัดเจนและทำได้เร็ว ซึ่งโครงการลงทุนด้านน้ำนั้น มีการศึกษาไว้อยู่แล้วน่าจะดำเนินการได้ หากต้องรอทำโครงการใหม่ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นได้เร็ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะกู้เงินมากองไว้
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (18 ต.ค.) ที่ประชุมได้มีมติขยายวงเงินงบขาดดุลในปีงบประมาณ 2555 ออกไปอีก 5 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้วงเงินงบขาดดุลเพิ่มเป็น 4 แสนล้านบาท และภาพรวมงบประมาณรายจ่ายจะเพิ่มเป็น 2.38 ล้านล้านบาท โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นจะอยู่ในในงบกลางเพื่อนำเงินมาฟื้นฟูประเทศภายหลังจากเหตุอุทกภัย
สำหรับงบประมาณรายจ่ายปี 2555 แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำ 1.85 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 78% เป็นงบลงทุน 4.2 แสนล้าน คิดเป็น 17.8% ส่วนการขาดดุล 4 แสนล้าน เป็นการขาดดุลที่คิดเป็น 3.4% ของจีดีพี ถือว่ายังน้อยกว่าการขาดดุลในปีงบประมาณ 2554 ที่เป็นการขาดดุล 3.7% ของจีดีพีหรือ 4.2 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม. ยังหารือเกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานระยะยาวในการป้องกันปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจะมีการตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด เพื่อเสนอความเห็นในการดำเนินการ ซึ่งกระทรวงการคลังพร้อมที่จะออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้สรุปวงเงิน ขึ้นอยู่ความจำเป็นในการใช้เงิน
“ที่ไม่กู้ขาดดุลมากกว่านี้ เพราะมองว่า 5 หมื่นล้านที่เพิ่มขึ้นจะนำมาใช้ในระยะสั้น ส่วนการใช้เงินในระยะ 3-5 ปี เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบนั้น จะมีกฎหมายพิเศษออกมาอีกครั้ง แม้จะใช้เงินจำนวนมาก ก็มองว่าคุ้มค่าในการลงทุน โดยคณะกรรมการจะเชิญผู้รู้และนำข้อมูลที่เคยศึกษาการลงทุนด้านน้ำที่ทำไว้มาพิจารณา หากโครงการใดเหมาะสม จำเป็น ก็เดินหน้าต่อ หรือโครงการใดต้องปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น ก็ต้องปรับ”นายธีระชัยกล่าว
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กล่าวภายหลังการประชุมครม.ว่า นายกรัฐมนตรียังมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาหนึ่งชุด โดยมีนายยงยุทธ์ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย เป็นประธาน และมีกระทรวงต่างๆ ที่ดูแลเรื่องการจัดการโครงสร้างต่างๆ ของประเทศ รวมทั้งตน และรมว.คลัง ก็จะทำหน้าที่มีส่วนร่วมในการทำงานกับคณะทำงานชุดนี้
"ทราบดีว่ามีเวลาไม่มาก เพราะว่า กว่าน้ำจะลด ก็คงใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์ และเมื่อน้ำลดแล้ว การดำเนินการอะไรต่างๆ ให้เสร็จก่อนฝนใหม่ ก็เป็นภารกิจที่จะต้องเร่งทำ โดยนายกฯ ได้กำชับว่า ขณะนี้เราอยู่ท่ามกลางวิกฤติอุทกภัย การดำเนินการต่างๆ รัฐมนตรีแต่ละกระทรวง ต้องทำหน้าที่ในแต่ละกระทรวงให้ดี"นายกิตติรัตน์กล่าว
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า การกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณอีก 5 หมื่นล้านบาท เป็น 4 แสนล้านบาทนั้น ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร สบน.สามารถจัดลำดับความสำคัญของการกู้เงินได้ในระยะต่อไป ประกอบกับมองว่าสภาพคล่องในประเทศยังมีเพียงพอทั้งจากตลาดเงินและการออกพันธบัตร โดยหากจะใช้เงินเร่งด่วนก็สามารถกู้ระยะสั้นได้ ก่อนจะแปลงเป็นเงินกู้ระยะยาว เพราะขณะนี้ต้นทุนการกู้ 1 ปีอยู่ที่ 3.44% ขณะที่การออกพันธบัตรระยะ 10 ปี ต้นทุนอยู่ที่ 3.5% ซึ่งไม่แตกต่างกันนัก
ส่วนแนวทางการออกพ.ร.ก.กู้เงินอีกหลายแสนล้านบาทตามกระแสข่าวนั้น ทางสบน.ยังไม่ไดรับมอบหมายให้เตรียมความพร้อมใดๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายที่จะสั่งการมา ซึ่งสามารถทำได้เหมือนออกพ.ร.ก.กู้เงินไทยเข้มแข็ง หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อการลงทุนเร่งด่วน หากวงเงินอยู่ที่ 5 แสนล้านบาท ก็ยังสามารถกู้เงินในประเทศได้ เพราะสภาพคล่องส่วนเกินในระบบที่แบงก์ชาติต้องดูดซับขณะนี้ก็อยู่ที่ประมาณ 5 แสนล้านบาท และยังไม่ทำให้หนี้สาธารณะสูงเกินเพดาน โดยน่าจะขึ้นไปอยู่ที่ 47% แต่สบน.มองว่าการใช้เงินกู้จากกฎหมายพิเศษหรือกู้จากต่างประเทศอาจไม่จำเป็น เพราะยังมีวงเงินขาดดุลได้อีกแสนล้านบาทและยังมีเงินคงคลังที่ไม่มีภาระผูกพันใช้ได้ไปก่อนอีกแสนล้านบาท
“หากกระทรวงการคลังจะกู้เงินในตลาด แบงก์ชาติก็หยุดดูดสภาพคล่องกลับเข้าไป ก็น่าจะบริหารเงินกู้ได้ ทั้งกู้ระยะสั้นหรือกู้ระยาว ต้องดูช่วงเวลาของการใช้เงิน เพราะเข้าใจว่าน่าจะเป็นการใช้เงินผูกพันหลายปี”นายจักรกฤศฎิ์ กล่าวและว่า สิ่งสำคัญอยู่ที่โครงการลงทุนที่จะใช้เงินกู้ดังกล่าวต้องมีความชัดเจนและทำได้เร็ว ซึ่งโครงการลงทุนด้านน้ำนั้น มีการศึกษาไว้อยู่แล้วน่าจะดำเนินการได้ หากต้องรอทำโครงการใหม่ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นได้เร็ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะกู้เงินมากองไว้