xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

บูรณาการ Social Network ช่วยผู้ประสบอุทกภัย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ท่ามกลางน้ำตาของคนไทยที่จะต้องเจอกับอุทกภัยครั้งใหญ่ แม้รัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” จะตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)” ที่เทอร์มินัล 2 บริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง พร้อมเปิด“กองอำนวยการลงฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม” แต่การประสานงานหลายๆอย่างผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ ระบบโทรศัพท์พื้นฐานหรืออื่น ๆยังคงมีปัญหาตลอด

หากย้อนกลับไปดูในอดีต ก่อนที่จะมียุค Social Network การติดตามข่าวสารผ่านสื่อเฉพาะช่วงเวลาข่าว หรือเสนอแบบวันต่อวัน แต่ด้วยยุคปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตใช้งานอย่างแพร่หลาย หน่วยงานต่างๆ ผู้สื่อข่าว และประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ใช้อินเตอร์เน็ตในรายงานข้อมูลข่าวสาร แจ้งขอรับความช่วยเหลือ ตลอดจนใช้ในการแจ้งเตือนภัยให้กับชาวบ้านได้ตลอด 24 ชั่วโมงแบบ Realtime ทราบได้ทันที

ทั้งรัฐและภาคเอกชน ใช้ Social Network ร่วมบูรณาการ

“กระทรวงไอซีที” ได้เปิดช่องทางแจ้งข้อมูลความช่วยเหลือและติดตาม สถานการณ์น้ำท่วมผ่านศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชนของรัฐบาล “โทรสายด่วน 1111 กด 5” เพื่อช่วยรับเรื่องร้องเรียนและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนจาก สถานการณ์น้ำท่วมโดยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม

โดยมีการเปิดเผยว่า มียอดผู้โทรให้ช่วยเหลือแจ้งวันละกว่า 3,000 สาย ยอดตอนนี้คาดว่าจะทะลุหลักแสนหลายไปแล้ว ขณะที่องค์กรต่าง ๆของ รัฐบาลมีเครื่องมือ เช่น “http://www.ndwc.go.th”ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ รวบรวมข่าวสารภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีการติดตามสถานการณ์น้ำท่วม แถมยังมี “แผ่นดินไหว” และการแจ้งเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิตลอดเวลา

www.rid.go.th” ของกรมชลประทาน สามารถติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำอย่างเป็นทางการ ประกาศเตือนภัย ปริมาณน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำทะเล

Flood.gistda.or.th” ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)เป็นเว็บไซต์แสดง ข้อมูลแผนที่รายงานคาดการณ์สถานการณ์น้ำท่วม (Thailand Flood Monitoring System ) โดยจะแสดงสีฟ้าบนแผนที่ตามจังหวัดต่างๆที่ถูกน้ำท่วมแล้วและจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งเว็บไซต์นี้อยู่ในระหว่างการวิจัย แต่เปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการ

http://dds.bangkok.go.th/Canal/”ของตรวจระดับน้ำในคลองหลักกว่าร้อยคลอง ของ กรุงเทพมหานคร เป็นเว็บไซต์ที่ติดตามและเตือนภัยระดับน้ำในคลองหลักต่างๆของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะคลองหลักที่อยู่ใกล้บ้านของผู้เข้าไปตรวจสอบดู ว่าระดับน้ำสูงจะเต็มหรือจะล้นตลิ่งหรือยัง พบว่า จะเปิดให้อัพเดททุก ๆ 15 นาที

@bkk_best , facebook.com/bkk.best และ http://dds.bangkok.go.th/m ของศูนย์ป้องกันน้ำท่วม สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เป้นอีกส่วนหนึ่ง ที่เตรียมไว้สำหรับประกาศฉุกเฉินของทางกรุงเทพมหานคร รายงานสภาพระดับน้ำตามคลองต่างๆ สภาพอากาศทั่วกรุงเทพ และสภาพน้ำท่วมในเขตกรุงเทพ ด้วย

www.tmd.go.th” ของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่รายงานสภาพอากาศ และประกาศเตือนภัยไปยังจังหวัดต่างๆให้รับมือสภาพอากาศที่แปรปรวน จากลมมรสุม ฝนตก พายุ และน้ำทะเลหนุนสูง แบบวันต่อวัน

ขณะที่ภาคเอกชนที่เด่นสุดคือ “ twitter @thaiflood , tag twitter ชื่อ #thaiflood และ Facebook Page ทาง facebook.com/thaiflood” ของศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ หรือ Thaiflood ที่ที่เปิดตัวขึ้นครั้งแรกเพื่อประสานงานข้อมูลสถานการณ์ การขอความช่วยเหลือจากผู้ประสบอุทกภัย ในช่วงวิกฤตน้ำท่วมในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง

นอกรายงานจังหวัดที่ได้รับผลกระทบอุทกภัย โดยแสดงเป็นสีระดับเตือนภัยแล้วยังรวมเบอร์โทรศัพท์แจ้งหน่วยงานต่างๆ แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวง รวมเลขทีบัญชีบริจาคทรัพย์สิ่งของ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย รวมเรื่องน่ารู้รับมือน้ำท่วม แถมยังมี “แบบฟอร์มแจ้งความต้องการในพื่นที่และแจ้งการเข้าไปช่วยเหลือ”

ขณะที่เอกชน จากต่างประเทศ “Google” ได้จัดทำ Google Crisis Response หลังจากมีประสบการณ์จากภายสึนามิ ประเทศญี่ปุ่น และ แผ่นดินไหวที่นิวซีแลนด์

ครั้งนี้ “Google ประเทศไทย” เปิดตัวบริการข้อมูล วิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย 2554กำหนด “ศูนย์อพยพและศูนย์พักพิง” ผ่านทวิตเตอร์ @GoogleThailand หรือที่ บล็อก Google ประเทศไทย (RSS) โดยอ้างอิงข้อมูลล่าสุดจากเว็บไซต์ ThaiFlood.com
(http://www.facebook.com/room2680) ส่วนนี้ คือFacebook Page “น้ำขึ้นให้รีบบอก” ชื่อกวนๆ ที่รายงานสถานการณ์น้ำท่วม และแจ้งขอความช่วยเหลือ โดยชาว facebook โดยตรง แถมน่าจะมีคนติดตามกดLIKE มากกว่าแสนคนแล้วด้วย

ขณะที่เอกชนค่ายโทรศัพท์มือถือ ก็มีการเพิ่มแอพพลิเคชั่น กับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน รายงานสถานการณ์น้ำท่วมโดยดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ thaiflood.com ในหลายๆระบบด้วยกัน

นอกจากนี้สื่อมวลชนสาขาต่าง ๆยังนำข่าวสาร ทีมีการกลั่นกรองลงเวปไซค์ข่าวของตัวเอง เพื่อให้ประชาชนติดตามเช่นกัน ทั้งหมดนี้ คือบทบาทเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยเตือนภัย รายงานสถานการณ์ และช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม เพื่อร่วมบูรณาการกับรัฐบาล.


กำลังโหลดความคิดเห็น