รอยเตอร์ - อียูเลื่อนการประชุมสุดยอดออกไปอีกหนึ่งสัปดาห์ เพื่อขยายเวลาในการหาทางออกวิกฤตหนี้กรีซ หลังจากเอเธนส์เผยคุยกับไอเอ็มเอฟ-บรัสเซลส์ได้ข้อสรุปแล้วเรื่องการปล่อยกู้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้
เฮอร์มัน ฟาน รอมปุย ประธานสหภาพยุโรป ประกาศเมื่อวันจันทร์ (10) ว่าการประชุมผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) วาระปกติครั้งถัดไปจะเลื่อนไปเป็นวันที่ 23 ที่จะถึงนี้ เพื่อให้เวลา “สรุปกลยุทธ์ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน
“เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องเพิ่มเข้ามาในการจัดการสถานการณ์ในกรีซ การเพิ่มทุนภาคแบงก์ และการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือรักษาเสถียรภาพ” ฟาน รอมปุยกล่าว ทั้งนี้เครื่องมือรักษาเสถียรภาพนั้น หมายถึงกองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) ที่ผู้นำอียูตกลงกันในเดือนกรกฎาคมว่าจะขยายบทบาทและเพิ่มอำนาจ
กระนั้น นักลงทุนยังไม่มั่นใจเนื่องจากแผนการจากการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี และประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีแห่งฝรั่งเศส เมื่อคืนวันอาทิตย์ (9) ยังขาดรายละเอียดรูปธรรม รวมทั้งมีความเสี่ยงที่การแก้ไขปัญหาจะล่าช้าออกไปเนื่องจากทางตันทางการเมืองในสโลวาเกีย ประเทศเดียวในยูโรโซนที่ยังไม่อนุมัติแผนการขยายอีเอฟเอสเอฟ
ขณะเดียวกัน ทางด้านฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ปฏิเสธที่จะตัดความเป็นไปได้ในการลดหนี้ให้กรีซ 50-60% แต่สำทับว่าไม่ควรคิดว่าลำพังมาตรการลดหนี้จำนวนมากประการเดียวก็เพียงพอแล้ว อีกทั้งยังต้องใส่ใจว่าวิธีการนี้จะไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ปัญหาจะลุกลามไปสู่ส่วนอื่นๆ ในยูโรโซน
ขณะที่เจอร์ก อัสมุสเซน ผู้สมัครชิงตำแหน่งกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จากเยอรมนี แถลงต่อรัฐสภายุโรปเมื่อวันจันทร์ (10) ว่า ธนาคารทั้งหมดที่มีความสำคัญเชิงระบบใน 27 ชาติสมาชิกของอียูควรเพิ่มทุนพร้อมกันเพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติสำหรับเจ้าหนี้เพียงบางราย
ที่เอเธนส์ รัฐมนตรีคลัง อิแวนเจลอส เวนิเซลอส เผยว่ากรีซได้ข้อสรุปในการเจรจากับเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เกี่ยวกับเงินกู้งวดถัดไป 8,000 ล้านยูโรแล้ว นอกจากนั้นเขายังคาดการณ์ว่า สำหรับเงินกู้ช่วยเหลือกรีซก้อนที่ 2 นั้น ผู้ถือพันธบัตรภาคเอกชนจะต้องร่วมสมทบมากกว่าที่ได้เคยตกลงกันเอาไว้ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เอเธนส์เผยว่าต้องการเงินช่วยเหลืองวดใหม่ 8,000 ล้านยูโรภายในเดือนหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนเงินจ่ายเงินเดือนและบำนาญ และการไถ่ถอนพันธบัตรครั้งต่อไปมีกำหนดในเดือนธันวาคม
เวนิเซลอสเสริมว่า ในส่วนของเงินกู้ช่วยเหลือให้แก่กรีซก้อนที่ 2 มูลค่า 109,000 ล้านยูโร ซึ่งอันที่จริงพวกผู้นำยูโรโซนตกลงไว้ในเดือนกรกฎาคมแล้วนั้น น่าจะต้องมีการปรับปรุง โดยที่พวกภาคเอกชนที่ถือพันธบัตรกรีซจะต้องรับภาระขาดทุนมากขึ้น ทั้งนี้ เขาใช้คำว่า PSI Plus ( PSI หรือ Private Sector Involvement หมายถึงการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน)
“เราคาดว่ามูลค่าความช่วยเหลือโดยรวมจะสูงกว่าที่ร่างไว้แต่แรก เนื่องจากต้องพิจารณาปัจจัยใหม่ๆ หลายอย่าง" ขุนคลังกรีซพาดพิงถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยของกรีซซึ่งสูงเกินคาด และส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณของประเทศเลวร้ายลง
มีแนวโน้มว่าคณะผู้แทนของอียู ไอเอ็มเอฟ และอีซีบี หรือ ‘ทรอยกา’ จะสรุปผลการเจรจาในคำแถลงร่วมวันอังคาร (11) ก่อนจัดเตรียมรายงานให้แก่รัฐมนตรีคลังยูโรโซนและบอร์ดไอเอ็มเอฟเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการให้เงินช่วยเหลืองวดต่อไป 8,000 ล้านยูโร แก่กรีซ
อย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์เอฟที ดอยช์แลนด์ของเยอรมนี รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อของรัฐบาลเยอรมนีว่า แมร์ร์เคิลนั้นสรุปแล้วว่ากรีซล้มละลายแล้ว และพยายามผลักดันให้ดำเนินกระบวนการบังคับปรับโครงสร้างหนี้ นอกจากนั้น เบอร์ลินยังกำลังพยายามโน้มน้าวชาติอียูอื่นๆ ให้ยอมรับความเป็นจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ทว่ายังคงเผชิญแรงต้านจากคณะกรรมาธิการยุโรป อีซีบี และสมาชิกยูโรโซนหลายชาติ ซึ่งรวมถึงฝรั่งเศส
ขณะเดียวกัน มอลตาเป็นประเทศที่ 16 ในยูโรโซนที่อนุมัติการเพิ่มอำนาจแก่อีเอฟเอสเอฟ จึงเหลือเพียงสโลวาเกียชาติเดียวเท่านั้น
ทั้งนี้ หนึ่งในพรรคการเมืองขนาดเล็กในพรรคร่วมรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอิเวตา แรดิโควาของสโลวาเกีย คัดค้านแผนการขยายอีเอฟเอสเอฟ ซึ่งต้องการการรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิกยูโรโซนทุกประเทศ นับเป็นตัวอย่างที่บ่งชี้ว่าการวางนโยบายแต่ละเรื่องผ่านความเห็นชอบอย่างพร้อมเพียงโดยทั้ง 17 ประเทศได้ยากเย็นเพียงใด
สภาสโลวาเกียมีกำหนดลงมติวันอังคาร โดยแรดิโควาขู่ว่าหากพรรคร่วมฯ ไม่สนับสนุนมาตรการดังกล่าว จะลาออกหรือจัดให้มีการออกเสียงไว้วางใจอันจะทำให้รัฐบาลล่ม และว่าอาจหันไปขอความสนับสนุนจากฝ่ายค้านหากพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ให้ความร่วมมือ
เฮอร์มัน ฟาน รอมปุย ประธานสหภาพยุโรป ประกาศเมื่อวันจันทร์ (10) ว่าการประชุมผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) วาระปกติครั้งถัดไปจะเลื่อนไปเป็นวันที่ 23 ที่จะถึงนี้ เพื่อให้เวลา “สรุปกลยุทธ์ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน
“เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องเพิ่มเข้ามาในการจัดการสถานการณ์ในกรีซ การเพิ่มทุนภาคแบงก์ และการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือรักษาเสถียรภาพ” ฟาน รอมปุยกล่าว ทั้งนี้เครื่องมือรักษาเสถียรภาพนั้น หมายถึงกองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) ที่ผู้นำอียูตกลงกันในเดือนกรกฎาคมว่าจะขยายบทบาทและเพิ่มอำนาจ
กระนั้น นักลงทุนยังไม่มั่นใจเนื่องจากแผนการจากการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี และประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีแห่งฝรั่งเศส เมื่อคืนวันอาทิตย์ (9) ยังขาดรายละเอียดรูปธรรม รวมทั้งมีความเสี่ยงที่การแก้ไขปัญหาจะล่าช้าออกไปเนื่องจากทางตันทางการเมืองในสโลวาเกีย ประเทศเดียวในยูโรโซนที่ยังไม่อนุมัติแผนการขยายอีเอฟเอสเอฟ
ขณะเดียวกัน ทางด้านฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ปฏิเสธที่จะตัดความเป็นไปได้ในการลดหนี้ให้กรีซ 50-60% แต่สำทับว่าไม่ควรคิดว่าลำพังมาตรการลดหนี้จำนวนมากประการเดียวก็เพียงพอแล้ว อีกทั้งยังต้องใส่ใจว่าวิธีการนี้จะไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ปัญหาจะลุกลามไปสู่ส่วนอื่นๆ ในยูโรโซน
ขณะที่เจอร์ก อัสมุสเซน ผู้สมัครชิงตำแหน่งกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จากเยอรมนี แถลงต่อรัฐสภายุโรปเมื่อวันจันทร์ (10) ว่า ธนาคารทั้งหมดที่มีความสำคัญเชิงระบบใน 27 ชาติสมาชิกของอียูควรเพิ่มทุนพร้อมกันเพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติสำหรับเจ้าหนี้เพียงบางราย
ที่เอเธนส์ รัฐมนตรีคลัง อิแวนเจลอส เวนิเซลอส เผยว่ากรีซได้ข้อสรุปในการเจรจากับเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เกี่ยวกับเงินกู้งวดถัดไป 8,000 ล้านยูโรแล้ว นอกจากนั้นเขายังคาดการณ์ว่า สำหรับเงินกู้ช่วยเหลือกรีซก้อนที่ 2 นั้น ผู้ถือพันธบัตรภาคเอกชนจะต้องร่วมสมทบมากกว่าที่ได้เคยตกลงกันเอาไว้ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เอเธนส์เผยว่าต้องการเงินช่วยเหลืองวดใหม่ 8,000 ล้านยูโรภายในเดือนหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนเงินจ่ายเงินเดือนและบำนาญ และการไถ่ถอนพันธบัตรครั้งต่อไปมีกำหนดในเดือนธันวาคม
เวนิเซลอสเสริมว่า ในส่วนของเงินกู้ช่วยเหลือให้แก่กรีซก้อนที่ 2 มูลค่า 109,000 ล้านยูโร ซึ่งอันที่จริงพวกผู้นำยูโรโซนตกลงไว้ในเดือนกรกฎาคมแล้วนั้น น่าจะต้องมีการปรับปรุง โดยที่พวกภาคเอกชนที่ถือพันธบัตรกรีซจะต้องรับภาระขาดทุนมากขึ้น ทั้งนี้ เขาใช้คำว่า PSI Plus ( PSI หรือ Private Sector Involvement หมายถึงการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน)
“เราคาดว่ามูลค่าความช่วยเหลือโดยรวมจะสูงกว่าที่ร่างไว้แต่แรก เนื่องจากต้องพิจารณาปัจจัยใหม่ๆ หลายอย่าง" ขุนคลังกรีซพาดพิงถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยของกรีซซึ่งสูงเกินคาด และส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณของประเทศเลวร้ายลง
มีแนวโน้มว่าคณะผู้แทนของอียู ไอเอ็มเอฟ และอีซีบี หรือ ‘ทรอยกา’ จะสรุปผลการเจรจาในคำแถลงร่วมวันอังคาร (11) ก่อนจัดเตรียมรายงานให้แก่รัฐมนตรีคลังยูโรโซนและบอร์ดไอเอ็มเอฟเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการให้เงินช่วยเหลืองวดต่อไป 8,000 ล้านยูโร แก่กรีซ
อย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์เอฟที ดอยช์แลนด์ของเยอรมนี รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อของรัฐบาลเยอรมนีว่า แมร์ร์เคิลนั้นสรุปแล้วว่ากรีซล้มละลายแล้ว และพยายามผลักดันให้ดำเนินกระบวนการบังคับปรับโครงสร้างหนี้ นอกจากนั้น เบอร์ลินยังกำลังพยายามโน้มน้าวชาติอียูอื่นๆ ให้ยอมรับความเป็นจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ทว่ายังคงเผชิญแรงต้านจากคณะกรรมาธิการยุโรป อีซีบี และสมาชิกยูโรโซนหลายชาติ ซึ่งรวมถึงฝรั่งเศส
ขณะเดียวกัน มอลตาเป็นประเทศที่ 16 ในยูโรโซนที่อนุมัติการเพิ่มอำนาจแก่อีเอฟเอสเอฟ จึงเหลือเพียงสโลวาเกียชาติเดียวเท่านั้น
ทั้งนี้ หนึ่งในพรรคการเมืองขนาดเล็กในพรรคร่วมรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอิเวตา แรดิโควาของสโลวาเกีย คัดค้านแผนการขยายอีเอฟเอสเอฟ ซึ่งต้องการการรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิกยูโรโซนทุกประเทศ นับเป็นตัวอย่างที่บ่งชี้ว่าการวางนโยบายแต่ละเรื่องผ่านความเห็นชอบอย่างพร้อมเพียงโดยทั้ง 17 ประเทศได้ยากเย็นเพียงใด
สภาสโลวาเกียมีกำหนดลงมติวันอังคาร โดยแรดิโควาขู่ว่าหากพรรคร่วมฯ ไม่สนับสนุนมาตรการดังกล่าว จะลาออกหรือจัดให้มีการออกเสียงไว้วางใจอันจะทำให้รัฐบาลล่ม และว่าอาจหันไปขอความสนับสนุนจากฝ่ายค้านหากพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ให้ความร่วมมือ