เอเจนซีส์ – รัฐสภาสโลวาเกียทำรัฐบาลล่ม ด้วยการปฏิเสธแผนขยายกองทุนรักษาเสถียรภาพยูโรโซน ซึ่งสำคัญจำเป็นต่อการควบคุมการแพร่เชื้อของวิกฤตหนี้ ขณะที่ทรอยกาได้ข้อสรุปเบื้องต้นที่อาจนำไปสู่การปล่อยกู้กรีซต้นเดือนหน้า
แม้นายกรัฐมนตรีอิเวตา ราดิโควา พ่วงการเปิดอภิปรายไว้วางใจกับการลงมติ เพื่อป้องกันหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาลคือ ฟรีดอม แอนด์ โซลิดาริตี้ (เอสเอเอส) คัดค้านแผนขยายกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงิน (อีเอฟเอสเอฟ) แต่ไม่เป็นผล
ในการลงคะแนนเมื่อวันอังคาร (11) ปรากฏว่ามีผู้สนับสนุนมติการขยายอีเอฟเอสเอฟ 55 เสียง คัคค้าน 9 เสียง จากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 150 คน ที่เหลือซึ่งรวมถึงลูกพรรคเอสเอเอส งดออกเสียง ส่งผลให้มตินี้ต้องตกไป
อิวาน ไมคลอส ผู้ที่กลายเป็นอดีตรัฐมนตรีคลังไปโดยปริยาย เนื่องจากการขอเปิดอภิปรายไว้วางใจของราดิโควาเพื่อขอเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ประสบความสำเร็จดังหวังนั้น คาดว่าราดิโควาจะจัดให้มีการลงคะแนนรอบสองภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งน่าจะผ่านความเห็นชอบอย่างง่ายดายจากการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านใหญ่ สเมอร์ ที่ยื่นข้อแลกเปลี่ยนด้วยการยุบสภาหรือขอให้รัฐบาลลาออก
โรเบิร์ต ฟิโก ผู้นำพรรคสเมอร์และอดีตนายกฯ กล่าวกับรัฐสภาว่าสเมอร์พร้อมเจรจา และกำลังรอว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะเสนอสิ่งใดเป็นข้อแลกเปลี่ยนสำหรับการเร่งรัดอนุมัติมตินี้ที่มีความสำคัญต่อสโลวาเกีย
กริกอริจ เมเซสไซคอฟ นักวิเคราะห์การเมือง คาดว่าข้อเสนอเกี่ยวกับอีเอฟเอสเอฟจะผ่านการรับรองภายใน 4 วัน เนื่องจากขณะนี้สโลวาเกียได้เข้าสู่สถานการณ์ใหม่ และฟิโกจะตั้งตัวเป็นผู้พิทักษ์ยูโรโซนและสโลวาเกีย
ทั้งนี้ สโลวาเกียเป็นสมาชิกยูโรโซนชาติเดียวที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองข้อตกลงขยายอำนาจอีเอฟเอสเอฟ และแนวโน้มความล่าช้านี้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อตลาดที่มีความกดดันเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจากสัญญาณว่า วิกฤตกำลังลุกลามออกนอกพรมแดนกรีซ
อย่างไรก็ตาม แม้สโลวาเกียยังถกเถียงกันไม่จบเกี่ยวกับข้อตกลงเมื่อเดือนกรกฎาคม แต่ทางด้านผู้นำยูโรโซนกำลังพยายามผลักดันให้กองทุนรักษาเสถียรภาพที่มีมูลค่า 440,000 ล้านยูโร มีขอบข่ายอำนาจกว้างขวางขึ้น
เยอรมนีและฝรั่งเศส มหาอำนาจในยูโรโซน สัญญาว่าจะเสนอกลยุทธ์ที่ครอบคลุมเพื่อต่อสู้วิกฤตหนี้ในที่ประชุมสุดยอดสหภาพยุโรป (อียู) วันที่ 23 เดือนนี้ ขณะที่มีการเห็นพ้องกันมากขึ้นว่าข้อตกลงช่วยเหลือกรีซก้อนที่ 2 ที่ตกลงกันในเดือนกรกฎาคมพร้อมกับการเสนอขยายกองทุนอีเอฟเอสเอฟนั้นอาจไม่เพียงพอ
สิ่งสำคัญเร่งด่วนขณะนี้คือ การเสริมกองทุนรักษาเสถียรภาพและเพิ่มทุนแบงก์ ฌอง-โคลด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวเมื่อวันอังคารว่า วิกฤตครั้งนี้กลายเป็นภัยคุกคามเชิงระบบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจโลก
สำหรับความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเอเธนส์งวดต่อไป (ของความช่วยเหลือก้อนแรกที่ตกลงกันในเดือนพฤษภาคม 2010) นั้น อียู คณะกรรมาธิการยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หรือทรอยกา เผยว่าได้ข้อสรุปในระดับเจ้าหน้าที่แล้ว
คำแถลงการณ์ของทรอยการะบุว่า มีแนวโน้มสูงสุดว่าเงินกู้งวดต่อไป จำนวน 8,000 ล้านยูโรจะพร้อมในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ภายหลังการอนุมัติของรัฐมนตรีคลังยูโรโซนและคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟ
คณะผู้ตรวจสอบของอียู-ไอเอ็มเอฟยังชมเชยกรีซที่สามารถลดหนี้สาธารณะลงจำนวนมากนับจากเริ่มเข้าโครงการปรับโครงสร้างเมื่อปีที่แล้ว แม้ประสบภาวะถดถอยรุนแรงที่สหภาพแรงงานกล่าวโทษว่าเนื่องมาจากมาตรการรัดเข็มขัดก็ตาม
กระนั้น แถลงการณ์ตั้งข้อสังเกตว่า เศรษฐกิจกรีซที่หดตัวมากกว่าเดิม และความล้มเหลวในการดำเนินการมาตรการที่ตกลงไว้ทำให้เป้าหมายการลดยอดขาดดุลในปี 2011 ไม่บรรลุผล โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ความท้าทายหลักของเอเธนส์คือ การปรับโครงสร้าง
ต้นเดือนนี้ เอเธนส์ปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ยอดขาดดุลของปีนี้เป็น 8.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จากเป้าหมายเดิมที่ตกลงไว้กับไอเอ็มเอฟและอียูเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้วที่ 7.4%
คณะผู้ตรวจสอบกล่าวว่า มาตรการเพิ่มเติมที่เอเธนส์ประกาศหลังการเจรจาล่มต้นเดือนที่แล้ว อาจเพียงพอที่จะรักษาเป้าหมายการขาดดุลที่ 14,900 ล้านยูโร แต่ตั้งข้อสังเกตว่า กรีซอาจต้องดำเนินมาตรการอื่นๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำหรับปี 2013 และ 2014 พร้อมเตือนรัฐบาลให้ใช้นโยบายคุมเข้มการคลัง ‘ในรูปแบบที่สังคมยอมรับได้’ ภายหลังเกิดการประท้วงต่อต้านรุนแรงต่อมาตรการรัดเข็มขัดล่าสุดที่รวมถึงการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์และการลดมาตรการอุดหนุนภาษีรายได้ และการปลดข้าราชการ 30,000 คนชั่วคราว
ทรอยกายังตั้งข้อสังเกตว่า รายได้จากการแปรรูปกิจการที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูกรีซอาจลดลงอย่างมากๆจากที่คาดไว้ เนื่องจากความล่าช้าในการเตรียมการและสภาพตลาดที่ไม่เป็นใจ
แม้นายกรัฐมนตรีอิเวตา ราดิโควา พ่วงการเปิดอภิปรายไว้วางใจกับการลงมติ เพื่อป้องกันหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาลคือ ฟรีดอม แอนด์ โซลิดาริตี้ (เอสเอเอส) คัดค้านแผนขยายกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงิน (อีเอฟเอสเอฟ) แต่ไม่เป็นผล
ในการลงคะแนนเมื่อวันอังคาร (11) ปรากฏว่ามีผู้สนับสนุนมติการขยายอีเอฟเอสเอฟ 55 เสียง คัคค้าน 9 เสียง จากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 150 คน ที่เหลือซึ่งรวมถึงลูกพรรคเอสเอเอส งดออกเสียง ส่งผลให้มตินี้ต้องตกไป
อิวาน ไมคลอส ผู้ที่กลายเป็นอดีตรัฐมนตรีคลังไปโดยปริยาย เนื่องจากการขอเปิดอภิปรายไว้วางใจของราดิโควาเพื่อขอเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ประสบความสำเร็จดังหวังนั้น คาดว่าราดิโควาจะจัดให้มีการลงคะแนนรอบสองภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งน่าจะผ่านความเห็นชอบอย่างง่ายดายจากการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านใหญ่ สเมอร์ ที่ยื่นข้อแลกเปลี่ยนด้วยการยุบสภาหรือขอให้รัฐบาลลาออก
โรเบิร์ต ฟิโก ผู้นำพรรคสเมอร์และอดีตนายกฯ กล่าวกับรัฐสภาว่าสเมอร์พร้อมเจรจา และกำลังรอว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะเสนอสิ่งใดเป็นข้อแลกเปลี่ยนสำหรับการเร่งรัดอนุมัติมตินี้ที่มีความสำคัญต่อสโลวาเกีย
กริกอริจ เมเซสไซคอฟ นักวิเคราะห์การเมือง คาดว่าข้อเสนอเกี่ยวกับอีเอฟเอสเอฟจะผ่านการรับรองภายใน 4 วัน เนื่องจากขณะนี้สโลวาเกียได้เข้าสู่สถานการณ์ใหม่ และฟิโกจะตั้งตัวเป็นผู้พิทักษ์ยูโรโซนและสโลวาเกีย
ทั้งนี้ สโลวาเกียเป็นสมาชิกยูโรโซนชาติเดียวที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองข้อตกลงขยายอำนาจอีเอฟเอสเอฟ และแนวโน้มความล่าช้านี้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อตลาดที่มีความกดดันเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจากสัญญาณว่า วิกฤตกำลังลุกลามออกนอกพรมแดนกรีซ
อย่างไรก็ตาม แม้สโลวาเกียยังถกเถียงกันไม่จบเกี่ยวกับข้อตกลงเมื่อเดือนกรกฎาคม แต่ทางด้านผู้นำยูโรโซนกำลังพยายามผลักดันให้กองทุนรักษาเสถียรภาพที่มีมูลค่า 440,000 ล้านยูโร มีขอบข่ายอำนาจกว้างขวางขึ้น
เยอรมนีและฝรั่งเศส มหาอำนาจในยูโรโซน สัญญาว่าจะเสนอกลยุทธ์ที่ครอบคลุมเพื่อต่อสู้วิกฤตหนี้ในที่ประชุมสุดยอดสหภาพยุโรป (อียู) วันที่ 23 เดือนนี้ ขณะที่มีการเห็นพ้องกันมากขึ้นว่าข้อตกลงช่วยเหลือกรีซก้อนที่ 2 ที่ตกลงกันในเดือนกรกฎาคมพร้อมกับการเสนอขยายกองทุนอีเอฟเอสเอฟนั้นอาจไม่เพียงพอ
สิ่งสำคัญเร่งด่วนขณะนี้คือ การเสริมกองทุนรักษาเสถียรภาพและเพิ่มทุนแบงก์ ฌอง-โคลด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวเมื่อวันอังคารว่า วิกฤตครั้งนี้กลายเป็นภัยคุกคามเชิงระบบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจโลก
สำหรับความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเอเธนส์งวดต่อไป (ของความช่วยเหลือก้อนแรกที่ตกลงกันในเดือนพฤษภาคม 2010) นั้น อียู คณะกรรมาธิการยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หรือทรอยกา เผยว่าได้ข้อสรุปในระดับเจ้าหน้าที่แล้ว
คำแถลงการณ์ของทรอยการะบุว่า มีแนวโน้มสูงสุดว่าเงินกู้งวดต่อไป จำนวน 8,000 ล้านยูโรจะพร้อมในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ภายหลังการอนุมัติของรัฐมนตรีคลังยูโรโซนและคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟ
คณะผู้ตรวจสอบของอียู-ไอเอ็มเอฟยังชมเชยกรีซที่สามารถลดหนี้สาธารณะลงจำนวนมากนับจากเริ่มเข้าโครงการปรับโครงสร้างเมื่อปีที่แล้ว แม้ประสบภาวะถดถอยรุนแรงที่สหภาพแรงงานกล่าวโทษว่าเนื่องมาจากมาตรการรัดเข็มขัดก็ตาม
กระนั้น แถลงการณ์ตั้งข้อสังเกตว่า เศรษฐกิจกรีซที่หดตัวมากกว่าเดิม และความล้มเหลวในการดำเนินการมาตรการที่ตกลงไว้ทำให้เป้าหมายการลดยอดขาดดุลในปี 2011 ไม่บรรลุผล โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ความท้าทายหลักของเอเธนส์คือ การปรับโครงสร้าง
ต้นเดือนนี้ เอเธนส์ปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ยอดขาดดุลของปีนี้เป็น 8.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จากเป้าหมายเดิมที่ตกลงไว้กับไอเอ็มเอฟและอียูเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้วที่ 7.4%
คณะผู้ตรวจสอบกล่าวว่า มาตรการเพิ่มเติมที่เอเธนส์ประกาศหลังการเจรจาล่มต้นเดือนที่แล้ว อาจเพียงพอที่จะรักษาเป้าหมายการขาดดุลที่ 14,900 ล้านยูโร แต่ตั้งข้อสังเกตว่า กรีซอาจต้องดำเนินมาตรการอื่นๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำหรับปี 2013 และ 2014 พร้อมเตือนรัฐบาลให้ใช้นโยบายคุมเข้มการคลัง ‘ในรูปแบบที่สังคมยอมรับได้’ ภายหลังเกิดการประท้วงต่อต้านรุนแรงต่อมาตรการรัดเข็มขัดล่าสุดที่รวมถึงการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์และการลดมาตรการอุดหนุนภาษีรายได้ และการปลดข้าราชการ 30,000 คนชั่วคราว
ทรอยกายังตั้งข้อสังเกตว่า รายได้จากการแปรรูปกิจการที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูกรีซอาจลดลงอย่างมากๆจากที่คาดไว้ เนื่องจากความล่าช้าในการเตรียมการและสภาพตลาดที่ไม่เป็นใจ