ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังประเมินใช้เงินกว่า 1 แสนล้าน เยียวยาน้ำท่วม ใช้วิธีเกลี่ยงบปี 55 เบื้องต้นดึงเงินคงคลัง 5 แสนล้านออกมาใช้ก่อนตั้งชดเชยคืนในงบปี 56 ลดภาระดอกเบี้ย ยันหากต้องกู้ ทำได้เพราะกฎหมายเปิดช่องได้อีก 1.5 แสนล้านบาท พร้อมหารือรัฐบาลญี่ปุ่น ดึงโมเดลสึนามิมาปรับใช้ฟื้นฟูประเทศ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การใช้งบประมาณในการฟื้นฟูอุทกภัยในเบื้องต้นรัฐบาลประเมินว่าจะใช้เงินกว่า 1 แสนล้านบาทโดยเป็นการเกลี่ยมาจากงบประมาณปี 2555 ที่อยู่ระกว่างการจัดทำรายละเอียดโครงการของส่วนราชการต่างๆ ซึ่งน่าจะเพียงพอเพราะการแก้ปัญหาหรือฟื้นฟูหลังน้ำท่วมนั้นภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้สามารถนำเงินคงคลังออกมาสำรองจ่ายในกรณีจำเป็นเร่งด่วนได้ จากนั้นสามารถไปตั้งงบชำระคืนในปีงบประมาณ 2556 ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่าการกู้เงินไม่ว่าจะเป็นทั้งจากในประเทศหรือต่างประเทศมาใช้ เพราะเป็นเงินที่มีต้นทุนหรือภาระดอกเบี้ย ขณะที่เงินคงคลังที่ขณะนี้มีประมาณ 5 แสนล้านบาทสามารถส่วนที่ไม่มีภาระผูกพันหรือที่ไม่ได้เป็นกู้มาใช้ในยามจำเป็นได้ ซึ่งจะช่วยให้เงินคงคลังลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วย
ทั้งนี้ หากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจก็สามารถตั้งงบกลางปีได้ โดยตั้งอยู่บนหลักการที่ว่ามีการจัดเก็บรายได้เข้ามาเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งขณะนี้คงยังเร็วเกินไปที่จะประเมินเพราะเพิ่งเป็นเดือนแรกของปีงบปีงบประมาณ 2555 แต่หากมีความจำเป็นเร่งเด่นที่ภาครัฐต้องอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศก็สามารถตั้งงบกลางปีได้โดยไม่ต้องรอให้มีรายได้เข้ามาเกินเป้า แต่สามารถเพิ่มการกู้เงินชดเชยขาดดุลงบประมาณได้เช่นกัน โดยงบประมาณรายจ่ายปี 2555 ที่ตั้งงบรายจ่ายไว้ที่ 2.33 ล้านล้านบาท และกรอบรายได้ไว้ที่ 1.98 ขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ 3.5 แสนล้านบาท แต่ตามกรอบวงเงินรายจ่ายแล้วสามารถขาดดุลได้ถึง 5.07 แสนล้านบาท หรือสามารถขาดดุลได้เพิ่มอีก 1.57 แสนล้านบาทโดยไม่กระทบวินัยทางการคลัง
“การตั้งงบกลางปีโดยที่ยังไม่มีรายได้เข้ามาเกินเป้าหมายก็สามารถทำได้โดยการขาดดุลเพิ่ม และมองว่าการเร่งอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งผลดีให้มีรายได้เข้ามามากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะรายได้จากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่มาจากการอุปโภคบริโภค แม้ขณะนี้มองว่าสถานการณน้ำท่วมจะกระทบรายได้ของรัฐบาลให้รายไปแล้วประมาณ 1 หมื่นล้านบาทแต่ในปีหน้ามองว่าหลังน้ำลดจะฟื้นฟูได้เร็วและภาคเอกชนจะฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้และรายได้ภาครัฐก็จะกลับคืนมา” นายสมชัย กล่าว
นอกจากนี้ สศค. อยู่ระหว่างเตรียมพร้อมพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งอาจมีมาตรการใหม่ๆ ออกมาสนับสนุนเตรียมเสนอให้นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง หากมีความจำเป็นต้องนำมาใช้ นอกจากเหนือจากมาตรการช่วยเหลือแบบเดิมๆ ที่เคยใช้มาในอดีต ทั้งการพักหนี้ การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือการผ่อนผันการชำระภาษี เป็นต้น โดยในเร็วๆ นี้จะหารือกับทางหน่วยงานราชการญี่ปุ่นว่ามีแนวทางในการช่วยเหลือภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสึนามิในช่วงที่ผ่านมาอย่างไร เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการช่วยเหลือภาคเอกชนของไทยต่อไป.
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การใช้งบประมาณในการฟื้นฟูอุทกภัยในเบื้องต้นรัฐบาลประเมินว่าจะใช้เงินกว่า 1 แสนล้านบาทโดยเป็นการเกลี่ยมาจากงบประมาณปี 2555 ที่อยู่ระกว่างการจัดทำรายละเอียดโครงการของส่วนราชการต่างๆ ซึ่งน่าจะเพียงพอเพราะการแก้ปัญหาหรือฟื้นฟูหลังน้ำท่วมนั้นภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้สามารถนำเงินคงคลังออกมาสำรองจ่ายในกรณีจำเป็นเร่งด่วนได้ จากนั้นสามารถไปตั้งงบชำระคืนในปีงบประมาณ 2556 ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่าการกู้เงินไม่ว่าจะเป็นทั้งจากในประเทศหรือต่างประเทศมาใช้ เพราะเป็นเงินที่มีต้นทุนหรือภาระดอกเบี้ย ขณะที่เงินคงคลังที่ขณะนี้มีประมาณ 5 แสนล้านบาทสามารถส่วนที่ไม่มีภาระผูกพันหรือที่ไม่ได้เป็นกู้มาใช้ในยามจำเป็นได้ ซึ่งจะช่วยให้เงินคงคลังลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วย
ทั้งนี้ หากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจก็สามารถตั้งงบกลางปีได้ โดยตั้งอยู่บนหลักการที่ว่ามีการจัดเก็บรายได้เข้ามาเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งขณะนี้คงยังเร็วเกินไปที่จะประเมินเพราะเพิ่งเป็นเดือนแรกของปีงบปีงบประมาณ 2555 แต่หากมีความจำเป็นเร่งเด่นที่ภาครัฐต้องอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศก็สามารถตั้งงบกลางปีได้โดยไม่ต้องรอให้มีรายได้เข้ามาเกินเป้า แต่สามารถเพิ่มการกู้เงินชดเชยขาดดุลงบประมาณได้เช่นกัน โดยงบประมาณรายจ่ายปี 2555 ที่ตั้งงบรายจ่ายไว้ที่ 2.33 ล้านล้านบาท และกรอบรายได้ไว้ที่ 1.98 ขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ 3.5 แสนล้านบาท แต่ตามกรอบวงเงินรายจ่ายแล้วสามารถขาดดุลได้ถึง 5.07 แสนล้านบาท หรือสามารถขาดดุลได้เพิ่มอีก 1.57 แสนล้านบาทโดยไม่กระทบวินัยทางการคลัง
“การตั้งงบกลางปีโดยที่ยังไม่มีรายได้เข้ามาเกินเป้าหมายก็สามารถทำได้โดยการขาดดุลเพิ่ม และมองว่าการเร่งอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งผลดีให้มีรายได้เข้ามามากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะรายได้จากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่มาจากการอุปโภคบริโภค แม้ขณะนี้มองว่าสถานการณน้ำท่วมจะกระทบรายได้ของรัฐบาลให้รายไปแล้วประมาณ 1 หมื่นล้านบาทแต่ในปีหน้ามองว่าหลังน้ำลดจะฟื้นฟูได้เร็วและภาคเอกชนจะฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้และรายได้ภาครัฐก็จะกลับคืนมา” นายสมชัย กล่าว
นอกจากนี้ สศค. อยู่ระหว่างเตรียมพร้อมพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งอาจมีมาตรการใหม่ๆ ออกมาสนับสนุนเตรียมเสนอให้นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง หากมีความจำเป็นต้องนำมาใช้ นอกจากเหนือจากมาตรการช่วยเหลือแบบเดิมๆ ที่เคยใช้มาในอดีต ทั้งการพักหนี้ การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือการผ่อนผันการชำระภาษี เป็นต้น โดยในเร็วๆ นี้จะหารือกับทางหน่วยงานราชการญี่ปุ่นว่ามีแนวทางในการช่วยเหลือภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสึนามิในช่วงที่ผ่านมาอย่างไร เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการช่วยเหลือภาคเอกชนของไทยต่อไป.