เชียงราย - ครูเชียงรายประท้วงอีก ร้องสหกรณ์จังหวัดฯปลดผู้บริหาร หลังใช้เงินสหกรณ์ฯลงทุนทำธุรกิจค้าหวยกับเอกชน จนถูกเบี้ยวเสี่ยงสูญเงิน ด้านนักวิชาการสหกรณ์ฯย้ำชัด “สหกรณ์ครูฯ”ไม่สามารถทำธุรกิจกับเอกชนได้ ระบุเคยแจ้งให้แก้ไขแล้ว กลับนิ่งเฉย กรมฯแนะแจ้งกองปราบฯต่อ
วานนี้ (11 ต.ค.) ครูที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย จำกัด ประมาณ 100 คน นำโดยนายสมบัติ จักรสมศักดิ์ กรรมการสหพันธ์ครูเชียงราย ได้เดินทางไปชุมนุมกันที่โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย จากนั้นได้ตั้งขบวนพร้อมรถกระจายเสียงและป้ายเรียกร้องไปยังสำนักงานสหกรณ์ จ.เชียงราย เพื่อเรียกร้องให้สหกรณ์ จ.เชียงราย ในฐานะนายทะเบียน ใช้อำนาจสั่งระงับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย จำกัด และถอดถอนออกจากตำแหน่ง
เมื่อคณะครูอาจารย์ได้พากันเดินทางไปถึงสำนักงานสหกรณ์ จ.เชียงราย นายสิน สุทธนู นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการพิเศษ ในฐานะตัวแทนนายวิชัย ชัยกิตติพร สหกรณ์ จ.เชียงราย ได้เข้ารับเรื่องร้องเรียน และเชิญตัวแทนของผู้ชุมนุมไปหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน
นายสิน ชี้แจงว่า หลังเกิดปัญหาสหกรณ์จังหวัดฯ ได้มีหนังสือไปถึงสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย จำกัด ให้แก้ไขข้อบกพร่อง และให้หยุดการทำธุรกิจซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลกับเอกชนแล้ว อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็เคยแจ้งว่าไม่สามารถทำธุรกิจกับเอกชนได้แต่สหกรณ์ฯก็ยังไปทำธุรกิจอยู่ ซึ่งตามระเบียบระบุให้แก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 16 ต.ค. นี้
ส่วนขั้นตอนต่อไปคือ หากไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่อง ก็จะต้องสั่งให้คณะกรรมการยุติการปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมด ซึ่งกรณีนี้อาจจะส่งผลต่อการให้บริการของสหกรณ์ฯต่อสมาชิกครูได้เช่นกัน ขั้นตอนสุดท้ายคือทำการถอดถอนต่อไป
ด้านนายสมบัติ กล่าวว่า คณะกรรมการบริหารสหกรณ์ฯชุดนี้จะหมดวาระลงราวต้นปี 2555 ดังนั้น เกรงว่าหากดำเนินการตามขั้นตอนจะล่าช้า และเมื่อรวมกับการยื่นอุทธรณ์ก็จะยืดเยื้อจนหมดวาระลง เกรงว่าช่วงที่เหลืออยู่จะมีการย้ายเอกสารหลักฐานหรือสร้างความเสียหายเพิ่มเติม รวมทั้งทำให้สมาชิกไม่ศรัทธาในองค์กร พากันถอนตัวออกไปในที่สุด ดังนั้นจึงต้องการให้ใช้อำนาจในการสั่งให้คณะกรรมการยุติการปฏิบัติหน้าที่
ทั้งนี้ นายสินและคณะได้รับข้อเสนอพร้อมระบุจะนำไปพิจารณาภายใน 1 สัปดาห์
นอกจากนี้ นายสิน และคณะ ได้แนะนำคณะครูว่า ขณะนี้มีประกาศของอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ระบุว่า หากสมาชิกเห็นว่ามีความเสียหายหนักมาก ก็สามารถจัดประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อทำการถอดถอนประธานและกรรมการสหกรณ์ได้ เพราะจะใช้ระยะเวลาสั้นกว่า คือ สามารถยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจสอบสหกรณ์ และภายใน 5 วัน จะต้องยื่นต่อคณะกรรมการสหกรณ์ เพื่อให้ชี้แจงภายใน 15 วัน หากยังต้องการถอดถอนก็ให้ยื่นจัดประชุมใหญ่วิสามัญได้ภายใน 5 วัน ถ้าไม่มีการจัดประชุม สหกรณ์จังหวัดในฐานะนายทะเบียนก็สามารถมีคำสั่งให้เปิดประชุมได้ต่อไป ทำให้คณะครูพอใจและพากันสลายตัวไปรอฟังข่าวในที่สุด
ทั้งนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย มีสมาชิกร่วม 10,000 กว่าราย และเมื่อปี 2553 สหกรณ์ได้ทำสัญญาทางธุรกิจกับบริษัทจัมโบ้ ซัพพลาย แอนด์เซอร์วิส จำกัด ในการซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลโดยซื้อมาให้กับคณะครูนำไปจำหน่าย โดยได้นำเงินสหกรณ์ไปค้ำประกันการซื้อของบริษัทรวมจำนวน 556.95 ล้านบาท จากนั้นให้เอกชนโอนจ่ายเงินเป็นรายงวดตั้งแต่เดือน พ.ย.2553 ไปจนหมดสัญญาเดือน พ.ย.2555 จนเกิดปัญหาเอกชนจ่ายเงินไม่ครบและยกเลิกสัญญากลางคัน
ล่าสุดสหกรณ์ฯได้ผลักดันให้มีการนำเงินสหกรณ์ฯจำนวน 300,000 บาท มาใช้สู้คดีฟ้องร้องเอกชนคู่สัญญา ซึ่งงกรมส่งเสริมสหกรณ์ ยังได้แนะนำให้ไปแจ้งความที่กองปราบปราม เพราะเป็นคดีที่เกิดขึ้นกับหลายสหกรณ์ทั่วประเทศ
ก่อนหน้านี้คณะครูในสมาพันธ์ครู จ.เชียงราย นำโดยนายนิวัฒน์ จรุงจิตต์ รองประธานสหพันธ์ครู 16 จังหวัดภาคเหนือ และประธานสหพันธ์ครูเชียงราย ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีต่อคณะกรรมการบริหารสหกรณ์ฯ นำโดย นายวิศิษฐ์ ศรีนุช ประธานสหกรณ์ฯ ที่ สภ.เมืองเชียงราย สาขาบ้านดู่ มาแล้วด้วย
วานนี้ (11 ต.ค.) ครูที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย จำกัด ประมาณ 100 คน นำโดยนายสมบัติ จักรสมศักดิ์ กรรมการสหพันธ์ครูเชียงราย ได้เดินทางไปชุมนุมกันที่โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย จากนั้นได้ตั้งขบวนพร้อมรถกระจายเสียงและป้ายเรียกร้องไปยังสำนักงานสหกรณ์ จ.เชียงราย เพื่อเรียกร้องให้สหกรณ์ จ.เชียงราย ในฐานะนายทะเบียน ใช้อำนาจสั่งระงับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย จำกัด และถอดถอนออกจากตำแหน่ง
เมื่อคณะครูอาจารย์ได้พากันเดินทางไปถึงสำนักงานสหกรณ์ จ.เชียงราย นายสิน สุทธนู นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการพิเศษ ในฐานะตัวแทนนายวิชัย ชัยกิตติพร สหกรณ์ จ.เชียงราย ได้เข้ารับเรื่องร้องเรียน และเชิญตัวแทนของผู้ชุมนุมไปหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน
นายสิน ชี้แจงว่า หลังเกิดปัญหาสหกรณ์จังหวัดฯ ได้มีหนังสือไปถึงสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย จำกัด ให้แก้ไขข้อบกพร่อง และให้หยุดการทำธุรกิจซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลกับเอกชนแล้ว อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็เคยแจ้งว่าไม่สามารถทำธุรกิจกับเอกชนได้แต่สหกรณ์ฯก็ยังไปทำธุรกิจอยู่ ซึ่งตามระเบียบระบุให้แก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 16 ต.ค. นี้
ส่วนขั้นตอนต่อไปคือ หากไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่อง ก็จะต้องสั่งให้คณะกรรมการยุติการปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมด ซึ่งกรณีนี้อาจจะส่งผลต่อการให้บริการของสหกรณ์ฯต่อสมาชิกครูได้เช่นกัน ขั้นตอนสุดท้ายคือทำการถอดถอนต่อไป
ด้านนายสมบัติ กล่าวว่า คณะกรรมการบริหารสหกรณ์ฯชุดนี้จะหมดวาระลงราวต้นปี 2555 ดังนั้น เกรงว่าหากดำเนินการตามขั้นตอนจะล่าช้า และเมื่อรวมกับการยื่นอุทธรณ์ก็จะยืดเยื้อจนหมดวาระลง เกรงว่าช่วงที่เหลืออยู่จะมีการย้ายเอกสารหลักฐานหรือสร้างความเสียหายเพิ่มเติม รวมทั้งทำให้สมาชิกไม่ศรัทธาในองค์กร พากันถอนตัวออกไปในที่สุด ดังนั้นจึงต้องการให้ใช้อำนาจในการสั่งให้คณะกรรมการยุติการปฏิบัติหน้าที่
ทั้งนี้ นายสินและคณะได้รับข้อเสนอพร้อมระบุจะนำไปพิจารณาภายใน 1 สัปดาห์
นอกจากนี้ นายสิน และคณะ ได้แนะนำคณะครูว่า ขณะนี้มีประกาศของอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ระบุว่า หากสมาชิกเห็นว่ามีความเสียหายหนักมาก ก็สามารถจัดประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อทำการถอดถอนประธานและกรรมการสหกรณ์ได้ เพราะจะใช้ระยะเวลาสั้นกว่า คือ สามารถยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจสอบสหกรณ์ และภายใน 5 วัน จะต้องยื่นต่อคณะกรรมการสหกรณ์ เพื่อให้ชี้แจงภายใน 15 วัน หากยังต้องการถอดถอนก็ให้ยื่นจัดประชุมใหญ่วิสามัญได้ภายใน 5 วัน ถ้าไม่มีการจัดประชุม สหกรณ์จังหวัดในฐานะนายทะเบียนก็สามารถมีคำสั่งให้เปิดประชุมได้ต่อไป ทำให้คณะครูพอใจและพากันสลายตัวไปรอฟังข่าวในที่สุด
ทั้งนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย มีสมาชิกร่วม 10,000 กว่าราย และเมื่อปี 2553 สหกรณ์ได้ทำสัญญาทางธุรกิจกับบริษัทจัมโบ้ ซัพพลาย แอนด์เซอร์วิส จำกัด ในการซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลโดยซื้อมาให้กับคณะครูนำไปจำหน่าย โดยได้นำเงินสหกรณ์ไปค้ำประกันการซื้อของบริษัทรวมจำนวน 556.95 ล้านบาท จากนั้นให้เอกชนโอนจ่ายเงินเป็นรายงวดตั้งแต่เดือน พ.ย.2553 ไปจนหมดสัญญาเดือน พ.ย.2555 จนเกิดปัญหาเอกชนจ่ายเงินไม่ครบและยกเลิกสัญญากลางคัน
ล่าสุดสหกรณ์ฯได้ผลักดันให้มีการนำเงินสหกรณ์ฯจำนวน 300,000 บาท มาใช้สู้คดีฟ้องร้องเอกชนคู่สัญญา ซึ่งงกรมส่งเสริมสหกรณ์ ยังได้แนะนำให้ไปแจ้งความที่กองปราบปราม เพราะเป็นคดีที่เกิดขึ้นกับหลายสหกรณ์ทั่วประเทศ
ก่อนหน้านี้คณะครูในสมาพันธ์ครู จ.เชียงราย นำโดยนายนิวัฒน์ จรุงจิตต์ รองประธานสหพันธ์ครู 16 จังหวัดภาคเหนือ และประธานสหพันธ์ครูเชียงราย ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีต่อคณะกรรมการบริหารสหกรณ์ฯ นำโดย นายวิศิษฐ์ ศรีนุช ประธานสหกรณ์ฯ ที่ สภ.เมืองเชียงราย สาขาบ้านดู่ มาแล้วด้วย