นับตั้งแต่ศาลโลกได้ตัดสินคดีปราสาทพระวิหารไปเมื่อ พ.ศ. 2505 (พ.ศ. 1962) ประเทศไทยก็มิได้ยอมรับแผนที่เก๊ที่ไม่ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส แต่เป็นผลงานของ พันเอกแบร์นาร์ดในฐานะที่เขาเป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการชุดนี้ เขาได้ทำเรื่องเบิกเงินสูงถึง 7,000 ฟรังก์แต่ใช้ไปในการจัดทำแผนที่เพียง 6,000 ฟรังก์เท่านั้น แผนที่ดังกล่าวมีทั้งหมด 11 ระวางเริ่มจากเขตแดนกัมพูชาไปจนถึงเขตแดนลาว เรียกชื่อแผนที่ตามภูมิประเทศและเมืองสำคัญๆ ต่าง เช่น แผนที่ระวางโขง ระวางดงรัก ระหว่างกุเลน เป็นต้น
แผนที่ชุดนี้พิมพ์เสร็จราวเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1908 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ได้สลายตัวไปแล้ว และพึ่งเป็นการเริ่มต้นของคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาตามสนธิสัญญาฉบับใหม่ในปี ค.ศ. 1907 สนธิสัญญาฉบับนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศสยามใหม่ในเวลานั้นสยามได้เสียดินแดนเพิ่มเติมไปอีกเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นแผนที่ทั้ง 11 ระวาง อันได้แก่ 1. ระวางเมืองคอบและเมืองเชียงล้อม 2. ระวางลำน้ำต่างๆ ทางภาคเหนือ 3. ระวางเมืองน่าน 4. ระวางปากลาย 5. ระวางน้ำเหือง 6. ระวางจำปาศักดิ์ 7. ระวางแม่โขง 8. ระวางดงรัก 9. ระวางพนมกุเลน 10. ระวางทะเลสาบ 11. ระวางตราด ซึ่งเป็นผลงานของพันเอกแบร์นาร์ดจึงเป็นแผนที่เก๊ เพราะไม่ได้นำเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส ตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 ได้พิจารณา คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้สลายตัวไปแล้ว เหตุที่ผมต้องย้ำเรื่องนี้อยู่เสมอเพราะมีผู้ไปแอบอ้างเรื่องที่เจ้านายของประเทศสยามได้ทำการขอแผนที่ชุดนี้เพิ่มเติม (ซึ่งพวกเขาตีความว่าได้เป็นการยอมรับแผนที่ด้วย)
การสู้คดีในศาลโลกคณะทนายฝ่ายไทยได้ทำการต่อสู้ในชั้นศาล เนื่องจากผู้ขอแผนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกในคณะกรรมการปักปันเขตแดน-สยามอินโดจีน เจ้านายพระองค์นั้นจึงไม่สามารถเป็นตัวแทนของประเทศสยามในการยอมรับแผนที่เก๊ชุดนี้ได้ ด้วยการอธิบายเหตุผลนี้ทำให้ศาลโลกไม่ตัดสินแผนที่ และยอมรับว่าแผนที่เก๊ชุดนี้ไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสแต่อย่างใด
มีนักการเมืองที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้พยายามทำให้สังคมเข้าใจว่า การตัดสินของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารนั้นศาลยอมรับเรื่องเส้นเขตแดน ที่ปรากฏบนแผนที่เก๊ชุดดังกล่าว ซึ่งในข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย นักการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งยังหลงเชื่อคำโกหกของนักวิชาการไทยสายเขมรว่า “ศาลได้ยกปราสาทพระวิหารและดินแดนโดยรอบให้กับกัมพูชาไปแล้ว อันสอดคล้องกับสมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศที่จัดทำขึ้นแล้วแท้งไม่ได้คลอดออกมา” ทั้งคำอธิบายของนักการเมืองที่มักชอบพูดชอบเป็นข่าวกับข้าราชการบางคนของกระทรวงการต่างประเทศยิ่งทำให้ประเทศกัมพูชาได้เปรียบประเทศไทยในเวทีนานาชาติ
เพื่อให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจตรงกันในเรื่องที่มาที่ไปของแผนที่เก๊ 1:200,000 ทุกระวาง ผมจึงขออธิบายอย่างง่ายๆ ดังนี้ครับ เมื่อประเทศสยามได้ลงนามในอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนขึ้นมา 1 ชุด ฝ่ายไทยมีหม่อมชาติเดชอุดมเป็นประธาน ฝ่ายฝรั่งเศสมีพันเอกแบร์นาร์ดเป็นประธาน ทั้งสองฝ่ายได้ทำหน้าที่ตามที่อนุสัญญาได้กล่าวถึง โดยกำหนดให้พรมแดนธรรมชาติเป็นเส้นเขตแดน ซึ่งในการประชุมครั้งสุดท้ายที่ประชุมของคณะกรรมการได้มีมติให้มีการจัดทำแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เพื่อแสดงเส้นเขตแดนที่ได้ตกลงกันไว้ (อันเป็นผลมาจากการเดินสำรวจ) โดยที่เส้นเขตแดนด้านทิวเขาพนมดงรัก (อันเป็นที่ตั้งตัวปราสาทพระวิหารแห่งนี้ด้วย) ได้กำหนดให้ใช้สันปันน้ำที่ขอบหน้าผา
ทั้งนี้ พันเอกแบร์นาร์ดก็ได้กล่าวหลายครั้งทั้งในที่ประชุมและการแสดงปาฐกถาที่ปารีส เมื่อคณะกรรมการมีมติให้พิมพ์แผนที่ ได้มอบหมายให้ฝ่ายฝรั่งเศสไปดำเนินการมา และในที่สุดแผนที่พิมพ์เสร็จไม่ได้เข้าที่ประชุม และคณะกรรมการสลายตัว แผนที่เก๊ที่พิมพ์มาทั้ง 11 ระวาง จึงเป็นแผนที่ที่ไม่สมบูรณ์ไม่ได้ผ่านการพิจารณา ผมจึงเรียกว่าแผนที่เก๊
ต่อมาประเทศสยามได้มีการแลกเปลี่ยนและสูญเสียดินแดนเพิ่มเติม ได้มีการทำสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1907 และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนฯ ชุดที่ 2 โดยคณะกรรมการชุดนี้มีพระองค์เจ้าบวรเดชและพันตรีมองแกร์ เป็นประธานทั้งสองฝ่าย มีการประชุมกันเป็นลำดับ โดยพื้นที่ที่ฝ่ายสยามได้สูญเสียไปนั้น บางส่วนไม่สามารถใช้พรมแดนธรรมชาติได้เพราะเป็นที่ลุ่ม จึงจำเป็นต้องจัดสร้างหลักเขตแดน ส่วนไหนที่ใช้พรมแดนธรรมชาติ เช่น สันปันน้ำ ส่วนนั้นก็เป็นไปตามอนุสัญญา 1904 คณะกรรมการปักปันฯ ได้ทำงานอยู่หลายปีในที่สุดก็ได้เลือกที่จะปักหลักเขต
โดยหลักที่ 1 เลือกบริเวณช่องสะงำ เป็นหลักเขตที่ 1 และตามช่องต่างๆ ได้วางเสาศิลาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นชัดเจน พรมแดนของสยามและกัมพูชาตั้งแต่ช่องสะงำไปจนถึงหลักเขตที่ 73 ที่จังหวัดตราด มีหลักเขตรวมทั้งหมด 74 หลักเขต และมีแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ทำเป็นโครงวาดแสดงจุดอ้างอิงกำกับไว้ทุกหลักเขตด้วย (เฉพาะหลักเขตที่ 22 มี 22A และ 22B ต่อมายุบรวมกันเป็นหลักเขตเดียว) ปัจจุบันจึงเหลือหลักเขต 73 หลักเขต (กัมพูชาพยายามจะย้ายหลักเขตที่ 73 ให้ได้ในอนาคตอันใกล้นี้)
คณะกรรมการเมื่อมีการปักหลักเขตเรียบร้อยแล้วจึงได้ประชุมกันเป็นครั้งสุดท้าย รายงานการประชุมระบุว่าต้องทำแผนที่ระบุตำแหน่งหลักเขตทั้ง 74 หลักเขต เพื่อกันเอาไว้เป็นหลักฐาน หากอนาคตหลักเขตนั้นถูกเคลื่อนย้าย นอกจากนี้คณะกรรมการไม่ได้สนใจแผนที่ 11 ระวางของคณะกรรมการชุดแรกเลย เพราะเห็นว่าพรมแดนตั้งแต่ช่องสะงำไปจนถึงทางใต้ของเมืองจำปาสัก มีทิวเขามองเห็นสันปันน้ำที่ขอบหน้าผาอย่างชัดเจนซึ่งเป็นไปตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 แล้ว คณะกรรมการชุดที่ 2 นี้ยังได้จัดทำแผนที่จากช่องสะงำไปจนถึงตราด 5 ระวาง ได้แก่ระวางหมายเลข 1 หมายเลข 5 เมื่อพิมพ์แผนที่ออกมาแล้ว ปรากฏว่าแผนที่กลับไม่ระบุตำแหน่งของหลักเขตทั้ง 74 หลักเขต ตามที่คณะกรรมการชุดที่ 2 ต้องการ จึงเป็นแผนที่ที่ไม่สมบูรณ์อีกเช่นกัน
ผมจึงถือว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ของคณะกรรมการปักปันฯ ทั้งชุดที่ 1 และชุดที่ 2 นั้น เป็นแผนที่ที่ใช้ไม่ได้และแน่นอนศาลโลกไม่ได้ยอมรับแผนที่เก๊มาตราส่วน 1:200,000 นี้เลย (อ่านต่อตอนจบสัปดาห์หน้า)
แผนที่ชุดนี้พิมพ์เสร็จราวเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1908 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ได้สลายตัวไปแล้ว และพึ่งเป็นการเริ่มต้นของคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาตามสนธิสัญญาฉบับใหม่ในปี ค.ศ. 1907 สนธิสัญญาฉบับนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศสยามใหม่ในเวลานั้นสยามได้เสียดินแดนเพิ่มเติมไปอีกเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นแผนที่ทั้ง 11 ระวาง อันได้แก่ 1. ระวางเมืองคอบและเมืองเชียงล้อม 2. ระวางลำน้ำต่างๆ ทางภาคเหนือ 3. ระวางเมืองน่าน 4. ระวางปากลาย 5. ระวางน้ำเหือง 6. ระวางจำปาศักดิ์ 7. ระวางแม่โขง 8. ระวางดงรัก 9. ระวางพนมกุเลน 10. ระวางทะเลสาบ 11. ระวางตราด ซึ่งเป็นผลงานของพันเอกแบร์นาร์ดจึงเป็นแผนที่เก๊ เพราะไม่ได้นำเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส ตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 ได้พิจารณา คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้สลายตัวไปแล้ว เหตุที่ผมต้องย้ำเรื่องนี้อยู่เสมอเพราะมีผู้ไปแอบอ้างเรื่องที่เจ้านายของประเทศสยามได้ทำการขอแผนที่ชุดนี้เพิ่มเติม (ซึ่งพวกเขาตีความว่าได้เป็นการยอมรับแผนที่ด้วย)
การสู้คดีในศาลโลกคณะทนายฝ่ายไทยได้ทำการต่อสู้ในชั้นศาล เนื่องจากผู้ขอแผนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกในคณะกรรมการปักปันเขตแดน-สยามอินโดจีน เจ้านายพระองค์นั้นจึงไม่สามารถเป็นตัวแทนของประเทศสยามในการยอมรับแผนที่เก๊ชุดนี้ได้ ด้วยการอธิบายเหตุผลนี้ทำให้ศาลโลกไม่ตัดสินแผนที่ และยอมรับว่าแผนที่เก๊ชุดนี้ไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสแต่อย่างใด
มีนักการเมืองที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้พยายามทำให้สังคมเข้าใจว่า การตัดสินของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารนั้นศาลยอมรับเรื่องเส้นเขตแดน ที่ปรากฏบนแผนที่เก๊ชุดดังกล่าว ซึ่งในข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย นักการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งยังหลงเชื่อคำโกหกของนักวิชาการไทยสายเขมรว่า “ศาลได้ยกปราสาทพระวิหารและดินแดนโดยรอบให้กับกัมพูชาไปแล้ว อันสอดคล้องกับสมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศที่จัดทำขึ้นแล้วแท้งไม่ได้คลอดออกมา” ทั้งคำอธิบายของนักการเมืองที่มักชอบพูดชอบเป็นข่าวกับข้าราชการบางคนของกระทรวงการต่างประเทศยิ่งทำให้ประเทศกัมพูชาได้เปรียบประเทศไทยในเวทีนานาชาติ
เพื่อให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจตรงกันในเรื่องที่มาที่ไปของแผนที่เก๊ 1:200,000 ทุกระวาง ผมจึงขออธิบายอย่างง่ายๆ ดังนี้ครับ เมื่อประเทศสยามได้ลงนามในอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนขึ้นมา 1 ชุด ฝ่ายไทยมีหม่อมชาติเดชอุดมเป็นประธาน ฝ่ายฝรั่งเศสมีพันเอกแบร์นาร์ดเป็นประธาน ทั้งสองฝ่ายได้ทำหน้าที่ตามที่อนุสัญญาได้กล่าวถึง โดยกำหนดให้พรมแดนธรรมชาติเป็นเส้นเขตแดน ซึ่งในการประชุมครั้งสุดท้ายที่ประชุมของคณะกรรมการได้มีมติให้มีการจัดทำแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เพื่อแสดงเส้นเขตแดนที่ได้ตกลงกันไว้ (อันเป็นผลมาจากการเดินสำรวจ) โดยที่เส้นเขตแดนด้านทิวเขาพนมดงรัก (อันเป็นที่ตั้งตัวปราสาทพระวิหารแห่งนี้ด้วย) ได้กำหนดให้ใช้สันปันน้ำที่ขอบหน้าผา
ทั้งนี้ พันเอกแบร์นาร์ดก็ได้กล่าวหลายครั้งทั้งในที่ประชุมและการแสดงปาฐกถาที่ปารีส เมื่อคณะกรรมการมีมติให้พิมพ์แผนที่ ได้มอบหมายให้ฝ่ายฝรั่งเศสไปดำเนินการมา และในที่สุดแผนที่พิมพ์เสร็จไม่ได้เข้าที่ประชุม และคณะกรรมการสลายตัว แผนที่เก๊ที่พิมพ์มาทั้ง 11 ระวาง จึงเป็นแผนที่ที่ไม่สมบูรณ์ไม่ได้ผ่านการพิจารณา ผมจึงเรียกว่าแผนที่เก๊
ต่อมาประเทศสยามได้มีการแลกเปลี่ยนและสูญเสียดินแดนเพิ่มเติม ได้มีการทำสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1907 และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนฯ ชุดที่ 2 โดยคณะกรรมการชุดนี้มีพระองค์เจ้าบวรเดชและพันตรีมองแกร์ เป็นประธานทั้งสองฝ่าย มีการประชุมกันเป็นลำดับ โดยพื้นที่ที่ฝ่ายสยามได้สูญเสียไปนั้น บางส่วนไม่สามารถใช้พรมแดนธรรมชาติได้เพราะเป็นที่ลุ่ม จึงจำเป็นต้องจัดสร้างหลักเขตแดน ส่วนไหนที่ใช้พรมแดนธรรมชาติ เช่น สันปันน้ำ ส่วนนั้นก็เป็นไปตามอนุสัญญา 1904 คณะกรรมการปักปันฯ ได้ทำงานอยู่หลายปีในที่สุดก็ได้เลือกที่จะปักหลักเขต
โดยหลักที่ 1 เลือกบริเวณช่องสะงำ เป็นหลักเขตที่ 1 และตามช่องต่างๆ ได้วางเสาศิลาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นชัดเจน พรมแดนของสยามและกัมพูชาตั้งแต่ช่องสะงำไปจนถึงหลักเขตที่ 73 ที่จังหวัดตราด มีหลักเขตรวมทั้งหมด 74 หลักเขต และมีแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ทำเป็นโครงวาดแสดงจุดอ้างอิงกำกับไว้ทุกหลักเขตด้วย (เฉพาะหลักเขตที่ 22 มี 22A และ 22B ต่อมายุบรวมกันเป็นหลักเขตเดียว) ปัจจุบันจึงเหลือหลักเขต 73 หลักเขต (กัมพูชาพยายามจะย้ายหลักเขตที่ 73 ให้ได้ในอนาคตอันใกล้นี้)
คณะกรรมการเมื่อมีการปักหลักเขตเรียบร้อยแล้วจึงได้ประชุมกันเป็นครั้งสุดท้าย รายงานการประชุมระบุว่าต้องทำแผนที่ระบุตำแหน่งหลักเขตทั้ง 74 หลักเขต เพื่อกันเอาไว้เป็นหลักฐาน หากอนาคตหลักเขตนั้นถูกเคลื่อนย้าย นอกจากนี้คณะกรรมการไม่ได้สนใจแผนที่ 11 ระวางของคณะกรรมการชุดแรกเลย เพราะเห็นว่าพรมแดนตั้งแต่ช่องสะงำไปจนถึงทางใต้ของเมืองจำปาสัก มีทิวเขามองเห็นสันปันน้ำที่ขอบหน้าผาอย่างชัดเจนซึ่งเป็นไปตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 แล้ว คณะกรรมการชุดที่ 2 นี้ยังได้จัดทำแผนที่จากช่องสะงำไปจนถึงตราด 5 ระวาง ได้แก่ระวางหมายเลข 1 หมายเลข 5 เมื่อพิมพ์แผนที่ออกมาแล้ว ปรากฏว่าแผนที่กลับไม่ระบุตำแหน่งของหลักเขตทั้ง 74 หลักเขต ตามที่คณะกรรมการชุดที่ 2 ต้องการ จึงเป็นแผนที่ที่ไม่สมบูรณ์อีกเช่นกัน
ผมจึงถือว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ของคณะกรรมการปักปันฯ ทั้งชุดที่ 1 และชุดที่ 2 นั้น เป็นแผนที่ที่ใช้ไม่ได้และแน่นอนศาลโลกไม่ได้ยอมรับแผนที่เก๊มาตราส่วน 1:200,000 นี้เลย (อ่านต่อตอนจบสัปดาห์หน้า)