ASTVผู้จัดการรายวัน – “ททท.” สั่งการสนง.ภูมิภาค 35 แห่ง ติดตามสถานการณ์น้ำทว่มมใกล้ชิด ล่าสุดปิดสนง.อยุธยาไปแล้วหลังจมบาดาล พร้อมอัพเดทเว๊บไซต์ใหม่จัดข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทั้งพื้นที่ที่น้ำท่วมและไม่มีน้ำท่วม เตรียมจัดแคมเปญ ท่วมก็เที่ยวได้
วานนี้ เมื่อเวลา 12.00 น. ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการ ททท. ได้เป็นประธานปล่อยขบวนคาราวานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่ ททท. ร่วมกับพันธมิตร จัดสิ่งของบริจาคที่สำคัญส่งไปช่วยผู้ประสบอุทกภัย ที่ศูนย์อพยพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต และที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นายสุรพล กล่าวภายหลังการปล่อยขบวนคาราวานว่า ขณะได้สั่งการให้สำนักงาน ททท. ในประเทศทั้ง 35 แห่ง ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้นใส่วนของสำนักงานพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไปแล้ว ททท.ได้อพยพพนักงานออกมาแล้ว และยุติการให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวชั่วคราว และออกไปหาที่ตั้งสำนักงานชั่วคราว สำหรับเป็นศูนย์ติดต่อข้อมูลต่างๆ กับสำนักงานใหญ่
อย่างไรก็ตามภายหลังจากน้ำลดลงแล้ว จะต้องวางแผนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น อยากขอร้องให้คนไทยอย่าเพิ่งหยุท่องเที่ยวกันหมด เพราะพื้นที่อื่นที่ไม่ได้รับผลน้ำท่วม และมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว ยังต้องการคนเข้าไปเที่ยวในพื้นที่อยู่ โดยเบื้องต้นททท. ภาคกลางเตรียมจัดแคมเปญ ท่วมก็เที่ยวได้ คือ เที่ยวพื้นที่น้ำไม่ท่วม และเที่ยวหลังท่วม คือ เข้าไปช่วยฟื้นฟูพื้นที่ได้รับผลกระทบเอาไว้แล้ว
นอกจากนั้นแล้วในช่วงนี้ ททท. จะเน้นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวทั้งในพื้นที่ที่น้ำท่วมและพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เผนำมายแพร่ผ่านเว็บไซต์ http://thailandtourismupdate.com/ รวมทั้งสั่งการสำนักงานต่างประเทศ นำข้อมูลไปเผยแพร่ให้ตัวแทนจำหน่ายทัวร์ในต่างประเทศเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง เพื่อปรับแพ็กเกจไปในพื้นที่ที่ยังเที่ยวได้ อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังมาเที่ยวเป็นปกติ นักท่องเที่ยวไม่ได้ยกเลิกการเดินทาง แต่กลุ่มที่มีแผนไปพื้นที่ที่น้ำท่วม ก็มีการปรับแผนไปเที่ยวพื้นที่อื่นแทนที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม
ด้านนายสรรเสริญ เงารังษี รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือททท. เปิดเผยว่า ททท.เตรียมเข้าร่วมงานเทรดโชว์ ซีไอทีเอ็ม ที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน ปลายเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งในครั้งนี้จะนำผู้ประกอบการไทยในธุรกิจโรงแรม และธุรกิจสปา สุขภาพ และความงาม จำนวน 38 ราย ไปเปิดตัวแพ็กเกจทัวร์ด้านสุขภาพและความงามในไทยเพื่อขยายตลาดคุณภาพนักท่องเที่ยวจีนซึ่งแพ็กเกจที่นำไปเสนอในงานนี้ มีคุณภาพตามเกณฑ์ 21 ข้อ เช่น ใช้มัคคุเทศก์ที่ได้คุณภาพ และโรงแรมได้มาตรฐาน เป็นต้น เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับกลางขึ้นไป และกลุ่มที่เดินทางมาเที่ยวเอง (เอฟไอที) ที่มีการเติบโตขึ้น
“เราได้ทำการพุดคุยกับทางบริษัททัวร์ขนาดใหญ่ของจีน คือ ซีเอ็นทีเอ เพื่อให้เขาเน้นตลาดสุขภาพที่เป็นตลาดคุณภาพ ซึ่งซีเอ็นทีเอ ก็มีความเห็นเหมือนกับเราด้วยที่จะเน้นขยายกลุ่มนี้ ซึ่งเมื่อจบงานนี้แล้ว ราคามาตรฐานของแพ็กเกจทัวร์ประเภทนี้ หากขายที่เซี่ยงไฮ้ ราคาไม่ควรต่ำกว่า 4,800 หยวน แต่หากเป็นทัวร์จากกวางโจว มาไทยไม่ควรต่ำกว่า 3,300 หยวน เพราะถ้าหากราคาต่ำกว่านี้แล้วคงทำแพ็กเกจไม่ได้มาตรฐาน”
อย่างไรก็ตาม ททท. มีแนวคิดจะจัดงาน ไทยแลนด์ บิวตี้ ในเดือน มี.ค. 55 เพื่อเป็นเวทีที่จะให้ผู้ประกอบการไทยที่ทำธุกริจกี่ยวข้องกับสุขภาพและความงาม ได้พบปะกับตัวแทนจำหน่ายทัวร์ในเอเชีย ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงามในไทย ซึ่งในเบื้องต้นพบว่ามีผู้ประกอบการด้านสุขภาพและความงามในไทยกว่า 500 กว่ารายโดยที่ ททท. จะคัดเลือกเหลือเพียง 100 รายที่มีคุณภาพ จากธุรกิจ 10 ประเภท เช่น ทันตกรรม เสริมความงาม เพื่อมาจัดทำแพ็กเกจเสนอขาย
วานนี้ เมื่อเวลา 12.00 น. ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการ ททท. ได้เป็นประธานปล่อยขบวนคาราวานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่ ททท. ร่วมกับพันธมิตร จัดสิ่งของบริจาคที่สำคัญส่งไปช่วยผู้ประสบอุทกภัย ที่ศูนย์อพยพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต และที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นายสุรพล กล่าวภายหลังการปล่อยขบวนคาราวานว่า ขณะได้สั่งการให้สำนักงาน ททท. ในประเทศทั้ง 35 แห่ง ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้นใส่วนของสำนักงานพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไปแล้ว ททท.ได้อพยพพนักงานออกมาแล้ว และยุติการให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวชั่วคราว และออกไปหาที่ตั้งสำนักงานชั่วคราว สำหรับเป็นศูนย์ติดต่อข้อมูลต่างๆ กับสำนักงานใหญ่
อย่างไรก็ตามภายหลังจากน้ำลดลงแล้ว จะต้องวางแผนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น อยากขอร้องให้คนไทยอย่าเพิ่งหยุท่องเที่ยวกันหมด เพราะพื้นที่อื่นที่ไม่ได้รับผลน้ำท่วม และมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว ยังต้องการคนเข้าไปเที่ยวในพื้นที่อยู่ โดยเบื้องต้นททท. ภาคกลางเตรียมจัดแคมเปญ ท่วมก็เที่ยวได้ คือ เที่ยวพื้นที่น้ำไม่ท่วม และเที่ยวหลังท่วม คือ เข้าไปช่วยฟื้นฟูพื้นที่ได้รับผลกระทบเอาไว้แล้ว
นอกจากนั้นแล้วในช่วงนี้ ททท. จะเน้นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวทั้งในพื้นที่ที่น้ำท่วมและพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เผนำมายแพร่ผ่านเว็บไซต์ http://thailandtourismupdate.com/ รวมทั้งสั่งการสำนักงานต่างประเทศ นำข้อมูลไปเผยแพร่ให้ตัวแทนจำหน่ายทัวร์ในต่างประเทศเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง เพื่อปรับแพ็กเกจไปในพื้นที่ที่ยังเที่ยวได้ อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังมาเที่ยวเป็นปกติ นักท่องเที่ยวไม่ได้ยกเลิกการเดินทาง แต่กลุ่มที่มีแผนไปพื้นที่ที่น้ำท่วม ก็มีการปรับแผนไปเที่ยวพื้นที่อื่นแทนที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม
ด้านนายสรรเสริญ เงารังษี รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือททท. เปิดเผยว่า ททท.เตรียมเข้าร่วมงานเทรดโชว์ ซีไอทีเอ็ม ที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน ปลายเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งในครั้งนี้จะนำผู้ประกอบการไทยในธุรกิจโรงแรม และธุรกิจสปา สุขภาพ และความงาม จำนวน 38 ราย ไปเปิดตัวแพ็กเกจทัวร์ด้านสุขภาพและความงามในไทยเพื่อขยายตลาดคุณภาพนักท่องเที่ยวจีนซึ่งแพ็กเกจที่นำไปเสนอในงานนี้ มีคุณภาพตามเกณฑ์ 21 ข้อ เช่น ใช้มัคคุเทศก์ที่ได้คุณภาพ และโรงแรมได้มาตรฐาน เป็นต้น เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับกลางขึ้นไป และกลุ่มที่เดินทางมาเที่ยวเอง (เอฟไอที) ที่มีการเติบโตขึ้น
“เราได้ทำการพุดคุยกับทางบริษัททัวร์ขนาดใหญ่ของจีน คือ ซีเอ็นทีเอ เพื่อให้เขาเน้นตลาดสุขภาพที่เป็นตลาดคุณภาพ ซึ่งซีเอ็นทีเอ ก็มีความเห็นเหมือนกับเราด้วยที่จะเน้นขยายกลุ่มนี้ ซึ่งเมื่อจบงานนี้แล้ว ราคามาตรฐานของแพ็กเกจทัวร์ประเภทนี้ หากขายที่เซี่ยงไฮ้ ราคาไม่ควรต่ำกว่า 4,800 หยวน แต่หากเป็นทัวร์จากกวางโจว มาไทยไม่ควรต่ำกว่า 3,300 หยวน เพราะถ้าหากราคาต่ำกว่านี้แล้วคงทำแพ็กเกจไม่ได้มาตรฐาน”
อย่างไรก็ตาม ททท. มีแนวคิดจะจัดงาน ไทยแลนด์ บิวตี้ ในเดือน มี.ค. 55 เพื่อเป็นเวทีที่จะให้ผู้ประกอบการไทยที่ทำธุกริจกี่ยวข้องกับสุขภาพและความงาม ได้พบปะกับตัวแทนจำหน่ายทัวร์ในเอเชีย ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงามในไทย ซึ่งในเบื้องต้นพบว่ามีผู้ประกอบการด้านสุขภาพและความงามในไทยกว่า 500 กว่ารายโดยที่ ททท. จะคัดเลือกเหลือเพียง 100 รายที่มีคุณภาพ จากธุรกิจ 10 ประเภท เช่น ทันตกรรม เสริมความงาม เพื่อมาจัดทำแพ็กเกจเสนอขาย