xs
xsm
sm
md
lg

ธนาคารแห่งประเทศไทยกับความเข้าใจตั๋วบี/อี (Bill of Exchange) ?

เผยแพร่:   โดย: นายพิเศษ หัวหมาก

Bill of Exchange ตามนัยที่บัญญัติใน พ.ร.บ. ว่าด้วยตั๋วเงินว่าเป็น “ตั๋วแลกเงิน” นั้น ขอยืนยันว่า “ผิด” ในความเป็นจริง Bill of Exchange ในวงการวิเทศธนกิจ (International Banking) ถือเป็นตราสารหนี้ (Debt Evidence) ที่เจ้าหนี้ทางการค้า หรือ บริการ ออกถึงลูกหนี้ทางการค้าหรือรับบริการ ที่อยู่ต่างภูมิภาค นั่นก็คือใบแจ้งหนี้นั่นเอง

นักกฎหมายไทย – ผู้เป็นสมาชิกสภาฯที่ทำหน้าที่ตรากฏหมาย ใคร่อยากตรากฏหมายว่าด้วย พ.ร.บ. ตั๋วเงินล้อเลียน พ.ร.บ. Bill of Exchange Act ปี 1882 ของสหราชอาณาจักรอังกฤษ แต่ตีความคำว่า Bill of Exchange ผิดพลาด ไม่เข้าใจความหมายและเหตุผลของการใช้คำว่า Exchange ซึ่งตามพจนานุกรม แปลว่าแลกเปลี่ยน แลกเปลี่ยนอะไร? จวบจนท่านมีโอกาศไปธนาคารเพื่อแลกเงินตรา พบป้ายแจ้งชื่อแผนกแลกเงินเขียนคำว่า EXCHANGE เลยสรุปคำว่า Bill of Exchange ในภาคภาษาไทยว่า “ตั๋วแลกเงิน” แบบมักง่าย “ตั๋วแลกเงิน” อันเกิดจากความมักง่ายขาดการศึกษาตรวจสอบ มีส่วนร่วมอย่างมากในวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 (ซึ่งจะบรรยายช่วงท้ายนี้

พื้นฐานของการออก Bill of Exchange หลักๆได้หลายช่องทาง :-

1. การซื้อขายสินค้า/การว่าจ้างบริการ ระหว่างประเทศ ที่รับรองการชำระด้วย “ตราสารรับรองการชำระ” Letter of Credit ผ่านธนาคาร ทั้งชนิดจ่ายเมื่อรับเอกสาร หรือชนิดมีกำหนดระยะเวลาชำระ (Term Payment) โดยผู้ออกตั๋ว(B/E)ต้องเป็นเจ้าของสินค้าหรือผู้ให้บริการ (Beneficiary) ในฐานะเจ้าหนี้

2. การซื้อขายระหว่างประเทศแบบโดยตรง ระหว่างผู้ซื้อ/ผู้ขาย ไม่ว่าบนพื้นฐานความเชื่อถือต่อกันที่เรียกว่า D/A (documents against acceptance) หรือแบบเรียกเก็บผ่านธนาคารแบบไม่มีตราสารรับรองการชำระ (Letter of Credit) ที่ในรูปแบบ D/P (documents against payment) โดยผู้ออกตั๋ว (B/E) ต้องเป็นเจ้าของสินค้าหรือผู้ให้บริการ (Supplier or Provider) แต่ตั๋ว (B/E)ออกในรูปแบบ D/P จะเป็นแบบจ่ายสด (Sight Payment) เมื่อยื่นรับเอกสารจากธนาคารเรียกเก็บ (Authorized Collecting Bank) ใบแจ้งหนี้ (Bill of Exchange) ที่แนบพร้อมใบกำกับสินค้าทางเรือ (Ocean Bill of Lading) พร้อมใบสำแดงชนิดสินค้าและราคา (Commercial Invoice) และกำกับหีบห่อ (Packing List) ที่โดยรวมเรียกว่าเอกสารการขนส่ง (Shipping Documents) ให้ผู้รับสินค้า (ผู้ซื้อและผู้ได้ชำระค่าสินค้า) ให้ยึดถือ Bill of Exchange แทนใบเสร็จรับเงิน (Payment Receipt)


3. การว่าจ้างบริการโดยบริษัทข้ามชาติระหว่างประเทศ หรือการซื้อขายในรูปสินเชื่อโดยตรง แบบ D/A (documents against acceptance) ที่เอกสารกำกับส่งตรงระหว่างกัน

โครงสร้างรูปแบบของ Bill of Exchange – B/E จะประกอบด้วย :-

ก.จำนวนเงิน (หนี้)
ข.กำหนดเวลาชำระ
ค.จ่ายให้ (ผ่าน) ใคร หรือ จ่ายโดยตรงแก่ “เจ้าหนี้” ผู้ออกตั๋วก็ได้
ง.เจ้าหนี้ (ผู้ออกตั๋ว – ใบแจ้งหนี้ : Drawer)
จ.ลูกหนี้ (ที่รับแจ้งตามตั๋ว – Drawee)

ฉะนั้น Bill of Exchange หรือ B/E ก็คือใบแจ้งหนี้ จะเป็นอื่นมิได้

เหตุใดแผนกแลกเงินในธนาคารจึงขึ้นป้ายคำว่า EXCHANGE ซึ่งจะเป็นอื่นไม่ได้ถ้าไม่ใช่ “แลกเงิน” ?

ฉะนั้น Bill of Exchange – B/E ต้องเป็น “ตั๋วแลกเงิน” !!!

คำว่า Exchange จะแปลเป็นอื่นมิได้ ว่า “แลกเปลี่ยน (กริยา) หรือ การแลกเปลี่ยน (กริยานาม)

Bill of Exchange ตั๋วแลกเปลี่ยน? แลกเปลี่ยนอะไร?

คำตอบคือ – การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ

ผู้ขาย (Supplier) มิได้ทำการจัดส่งระหว่างประเทศด้วยตนเอง โดยผู้ขายจะจัดส่งผ่านบริษัทขนส่งระหว่างประเทศ – บริษัทขนส่งทางทะเล หรือ บริษัทขนส่งทางอากาศเพื่อการยืนยันความรับผิดชอบในสินค้า บริษัทขนส่งจะออกเอกสารกำกับการรับสินค้า ที่เรียกว่า ใบกำกับสินค้าทางทะเล (Ocean Bill of Lading) หรือ ใบกำกับสินค้าทางอากาศ (Airways Bill ที่ปัจจุบันเรียกว่า Air Transportation Document) อันถือได้เป็นทรัพย์สิน(Asset)ของผู้ขาย เมื่อสิค้าถึงปลายทางผู้รับปลายทาง (ผู้ซื้อ) ต้องเอาใบกำกับสินค้ามามอบให้บริษัทขนส่งจึงจะได้รับใบสั่งปล่อย/มอบสินค้า (Delivery Order)

ผู้ขายจะจัดเตรียมเอกสารอื่นๆ พร้อมใบกำกับสินค้าที่ถือได้เป็นทรัพย์สินของผู้ขายที่ถือเป็นเอกสารรวมการขนส่ง (Shipping Documents) มายังธนาคารปลายทางพร้อมใบหลักฐานหนี้ – ใบแจ้งหนี้ (Bill of Exchange)

หากการซื้อขายสินค้าอยู่ภายใต้การชำระกำกับต้วยตราสารรับรองการชำระ (Letter of Credit) เป็นการชำระสด (Sight Payment) ใบแจ้งหนี้ (Bill of Exchange) จะแปรสภาพถือได้เป็นใบเสร็จรับเงิน

แต่ถ้าการชำระเป็นแบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Payment) ผู้รับสินค้า – ผู้ซื้อภายใต้ตราสารรับรองการชำระ ต้องเซ็นใบรับ(เอกสาร-ทรัพย์สิน) แบบซื้อเชื่อ (T/R -Trust Receipt) พร้อมเซ็นยอมรับหนี้ (Acceptance)ในใบแจ้งหนี้ (Bill of Exchange) ซึ่งถือเป็นใบรับสภาพหนี้ นี่และคือการใช้คำExchange ต่อท้ายคำว่า Bill of (เซ็นยอมรับภาระหนี้แลกกับเอกสารกำกับสินค้า – ทรัพย์สิน (สินค้า)ของผู้ขาย)

ในอดีตบทบัญญัติบังคับใช้ของสภาหอการค้าสากล (International Chamber of Commerce, Uniform Custom Practice) สำหรับตราสารรับรองการชำระชนิดมีเอกสารรองรับ (Documentary [Letter] of Credit) ฉบับ 300, 400 ใบแจ้งหนี้กำกับเอกสารขนส่ง (Bill of Exchange covering shipping documents) ให้เจ้าของ/ผู้ขายสินค้า ออกใบแจ้งหนี้ตรงถึงผู้ซื้อ/ผู้ยื่นขอให้ธนาคาร (LC applicant) และให้เป็นผู้เซ็นยอมรับสภาพ (Signed Acceptance)หนี้ และ/หรือ เพื่อความมั่นใจในความรับผิดชอบหนี้ตามตราสารรับรองการชำระของฝ่ายธนาคารผู้ออกตราสารฯ (Issuing Bank’s Obligation in Debt occurred under LC) ก็สามารถเรียกร้องระบุในตราสารฯให้กำหนดให้ธนาคารผู้ออกตราสารฯร่วมเซ็นยอมรับหนี้ดังระบุในใบแจ้งหนี้ เรียกว่าผู้เซ็นร่วม (Co-sign acceptance)แต่ภายหลัง เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน สภาหอการค้าสากล (International Chamber of Commer ce) ฉบับ 500, 600 ให้แก้ไขให้ผู้ขาย ออกใบแจ้งหนี้ (Bill of Exchange) ถึงธนาคารผู้ออกตราสารรับรองการชำระ (LC issuing Bank)ให้ธนาคารเซ็นรับสภาพหนี้โดนตรง แล้วให้ธนาคารผู้ออกตราสารรับรองการชำระ (LC issuing Bank) ออกใบแจ้งหนี้ (Bill of Exchange) ถึงผู้ซื้อ ซึ่งเป็นผู้ยื่นขอเปิดตราสารรับรองการชำระ (LC Applicant) เพื่อเซ็นรับสภาพหนี้เมื่อมาเซ็นใบรับเอกสารฯ (TR) เพื่อรับเอกสารกำกับสินค้าอันถือได้เป็นทรัพย์สินในความรับผิดชอบของธนาคาร

ใบแจ้งหนี้ที่รับการเซ็นยอมรับสภาพหนี้ ในตลาดการเงิน (Money Market) ใบแจ้งหนี้ที่ลูกหนี้ลงนายอมรับ (Accepted Bill of Exchange) ซื้อขายเปลี่ยนมือได้ คือการขายลดตั๋วรายรับก่อนกำหนด (Discount Bill – Receivable) ถ้าสถานะของลูกหนี้ในหน้าตั๋วเป็นที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน หรือบริษัทระดับ AAA

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานอุตสาหกรรม ถูกทำลาย การฟื้นฟูโรงงาน การซื้อขายเครื่องจักร ตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้ผลิตที่เรียกขานว่า “ตลาดผู้ขาย” ที่ผู้ซื้อยากที่จะต่อรอง แต่เมื่อเครื่องจักรเข้าที่ โรงงานอุตสาหกรรมคืนชีพ ผู้ผลิตตกสู่ภาวะวิกฤติ เพื่อพยุงให้ผู้ผลิตเครื่องจักรอยู่รอดจากความหายนะ กลุ่มธนาคารในประเทศ “Hungary” ได้เสนอรูปแบบสินเชื่อที่เรียกว่า “การขายสิทธิ์เด็จขาดในรายได้ตามตั๋ว” (Without Recourse Forfaiting on Accepted Bill of Exchange) สนับสนุนผู้ผลิตเครื่องจักรกลได้พัฒนาเครื่องจักรที่มีศักยภาพในการผลิตที่ล้ำหน้าของเดิมเสนอขายเชื่อระยะกลางและยาว (Medium and Long Term Payment sales program) ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้โรงงานต่างๆหันมาสนใจการพัฒนาคุณภาพสินค้าโดยมีสถาบันการเงินให้การสนับสนุนคู่ขนานไปกับผู้ผลิตเครื่องจักรกล

ระบบขายสิทธิการรับการชำระแบบเด็จหลุกจากภาระผูกพัน (Without Recourse Forfaiting on Accepted Bill of Exchange) เป็นระบบการเงินที่แพร่หลายในแถบประเทศยุโรปตราบเท่าทุกวันนี้ จนมีการก่อตั้ง “สมาคมสากลว่าด้วยการขายสิทธิรับการชำระ” ที่ “กรุงลอนดอน”

ฉะนั้น การขายลดตั๋ว B/E (ใบรับสภาพหนี้) จึงไม่ใช่ และ ไม่หมือน “หุ้นกู้” Accepted B/E ทุกฉบับที่ซื้อขายในตลาด (เว้นประเทศไทย) ได้รับการคุ้มครองภายใต้ “บทบัญญัติบังคับปฏิบัติของสภาหอการค้าระหว่าง

ประเทศ” (ICC Uniform Customs Practice) ที่ธนาคารผูกพันยอมรับ

แต่สำหรับประเทศไทยเรา น่าเสียดายที่สรรสร้างคำนามสำหรับ Bill of Exchange ใน พ.ร.บ. ตั๋วเงิน ว่าเป็น“ตั๋วแลกเงิน” ทั้งที่ในความเป็นจริงเป็น “ใบแจ้งหนี้” ที่กำกับเอกสารต้องยื่นภายใต้เงื่อนไขของ “ตราสารรับรองการชำระที่ต้องมีเอกสารรองรับ” (Documentary Letter of Credit) ที่ธนาคารในประเทศหนึ่ง ออกตามคำขอ (Application) ของลูกค้า ส่งผ่านอีกธนาคารหนึ่งในต่างภูมิภาค ให้กับผู้ขายในภูมิภาคนั้นๆ เพื่อการซื้อขายสินค้าและบริการ ทั้งนี้ถ้าการซื้อขายอยู่บนพื้นฐานจ่ายสดเมื่อเห็นเอกสาร (Sight Payment) Bill of Exchange ที่กำกับมากับเอกสารเอกสารซึ่งถือเป็นทรัพย์ของผู้ขาย Bill of Exchange ฉบับดังกล่าวจะแปรสภาพเป็น “ใบเสร็จรับเงิน” แต่หากการชำระภายใต้ข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อ/ผู้ขายมีกรอบเวฃากำหนด ที่ผู้ซื้อตกลงนามยอมรับใน B/E B/E ฉบับดังกล่าวก็จะเป็นใบรับสภาพหนี้

เนื่องจากความผิดพลาดในการตรากฎหมายที่ขาดความรู้แท้จริง อยากมีกฏหมายเหมือนประเทศอังกฤษ 1882 Bill of Exchange Act ที่ทุกประเทศถือเป็นแม่บท เลยอยากมีบ้าง แต่ไม่ศึกษาให้รู้เข้าใจ อิงการแปลทับศัพท์อาศัย “พจนานุกรม” Bill = ตั๋ว Exchange = แลกเปลี่ยน? (เอาเงินบาทไปแลกเงินดอลลาร์ ที่ธนาคาร เห็นแผนกแลกเงิน (แลกเปลี่ยนเงินตรา) หลงเข้าใจผิด มั่นใจแบบขาดความเฉลียวว่า Exchange แท้จริงแปลว่าแลกเงิน (ด้วยสามัญสำนึกอันพึงเข้าใจว่า ภายใต้หลังคา “ธนาคาร” ย่อมมีเงินตราทุกประเทศแผนกแลกเงิน ป้ายบอกแผนกเพื่อความกระชับ “จึงเขียนเพียงคำว่า Exchange ละเว้นคำว่า Currencies” ป้ายจึงมีเพียง Exchange คำเดียว

ความบกพร่องของคำนามใน พ.บ.ร. ตั๋วเงิน มีส่วนสร้างวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 ก่อนเกิดวิกฤติ มีธนาคารชั้นนำของต่างประเทศ มาซื้อกิจการธนาคารย่อยของธนาคารต่างประเทศในประเทศไทย พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น “สาขาในประเทศไทย” ช่วงเวลานั้น ประเทศเพื่อนบ้านเรา ต่างมีสงครามเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยระบบ คอมมูนิสต์ ซึ่งเป็นที่พวากลัวของเศรษฐี เพราะฝังใจว่า “คอมมูนิสต์” ทรัพย์สินเงินทองถูกยึดแน่!!

ธนาคารดังกล่าวเล็งเห็นโอกาศระดมเงินฝาก ได้ลงโฆษณาในสื่อสารสิ่งพิมพ์ เชิญชวนในคุณไทยไปเปิดบัญชีในเงินตราสหรัฐฯ พร้อมทีมการตลาดลงพื้นที่ติดต่อเหล่าเศรษฐีไทย แต่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยยังใช้ระบบ “ควบคุมเงินตราต่างประเทศ” (Foreign Exchange Control) ห้ามเอกชนเป็นเจ้าของเงินฝากในเงินตราต่างประเทศนอกจากเงินบาทไทย ธนาคารดังกล่าวถูกคาดโทษและห้ามเด็ดขาด

ความกลัวของเศรษฐีและความอยากเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศเพื่อโอนเงินหลีกหนีถูกยึดครองเมื่อการปกครองเปลี่ยนแปลงระบบ ต่างเข้าหาธนาคารตามที่ทีมการตลาดของธนาคารติดต่อเสนอ

ด้วยข้อผิดพลาดคำนามตราสารที่ผิดๆ ธนาคารต่างประเทศดังกล่าวฉวยโอกาศ เสนอใช้ใบรับสภาพหนี้ (Accepted Bill of Exchange) ที่ซื้อจากลูค้าส่งออก (Exporter) เสนอให้แทนเปิดบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศ ด้วยวิธีสลักหลังตั๋วด้วยอ้างเป็นการ “อาวัล” พร้อมหักดอกเบี้ยล่วงหน้า (Straight Discount)เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าลูกค้า มีที่ไหนฝากเงินได้ดอกเบี้ยล่วงหน้า!!!!

เนื่องจากระบบ “สินเชื่อจัดเตรียมส่งออ” (Pre shipment Finance) บนฐานตราสารรับรองการชำระสำหรับส่งออก (Export L/C)ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกแบบและเงื่อนไข ไม่เป็นที่คล่องตัวต่อผู้ส่งออกที่เรียกว่า Packing Credit และค่าปรับหากลงเรือไม่ทันกรอบกำหนดในเงื่อนไขของธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราค่าปรับสูงมาก เป็นเหตุที่ผู้ส่งออกพยายามหลีกเลี่ยงเสนอขายชำระแบบมีกำหนดเวลา (Term Payment) ฉนั้นตั๋วยอมรับสภาพหนี้ (Accepted Time Bill) จึงมีจำกัดไม่สามารถสนองตอบความต้องได้ธนาคารดังกล่าวจึงหาทางออก ทั้งที่รู้ว่าผิดจริยธรรม อาศัยบริษัทไฟแนนส์ ของตนที่มีอยู่ในประเทศไทย ออก Bill of Exchange ลูกค้าแบบสลักหลังโดยธนาคารแทน หลอกว่าอดีตลูกค้าถือตั๋วของคนอื่น ฝากใหม่ลูกค้าถือตั๋วของตนเอง [เพราะลูกค้าเป็นผู้ถูกออกตั๋ว (Drawee)] แล้วธนาคารก็บรรจงสลักหลังตั๋ว [Endorse แต่อ้างว่าเป็นการเซ็นค้ำ(Aval)] พฤติกรรมของธนาคารต่างชาติ ไม่ต่างกับเพลิงป่า ธนาคารในประเทศหลายแห่งลอกเรียนไปใช้ บางธนาคารที่ทำ “ธนกิจส่วนบุคคล” (Private Banking) เจ้าหน้าที่อาศัยความที่ลูกค้าขาดความรอบรู้ ไปหลอกโกงลูกค้าจนเป็นคดีความก็มี

เป็นสิ่งที่น่าละอายอย่างยิ่งที่ “ธนาคารแห่งประเทศไทย” มองเห็นการกระทำของธนาคารต่างชาติทั้งที่ต้องดำเนินการสกัดการกระทำดังกล่าว พร้อมดำเนินคดีอย่างสาสม แต่กลับเห็นเป็นถูกเพราะเป็นธนาคารใหญ่คับโลก!!!


ฉนั้น B/E หรือ Bill of Exchange เป็นใบแจ้งหนี้ และ เป็นใบรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ “ตั๋วแลกเงินแม้ครั้งหนึ่ง ประเทศ ประชาธิปไตยประชาชนจีน ตอนที่เปิดประเทศใหม่ๆ เพื่อควบคุมเงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะ เงิน ดอลล่าร์สหรัฐฯ ไม่ให้ชนต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศจีน รวมทั้งนักท่องเทียว ถือครองเงินหยวน ด้วยบังคับให้คนต่างชาติ นำเงินตราต่างประเทศไปแลก Bill of Exchange ที่ตราค่าเป็นเงินหยวนใช้จับจ่ายค่าพัก (โดรงแรม) และ ชอปปิ้ง ซึ่ง Bill of Exchange นั้นถือได้ไม่ต่าง “คูปอง” แต่ภายหลังก็ยกเลิก อนุญาตให้นักท่องเที่ยวและผู้เดินทางเข้าประเทศถือครองเงิน “หยวน”

ตลาดการขาย(ลด)สิทธิพึงได้ตามตราสารหนี้เซ็นรับสภาพ (Accepted Draft [Bill of Exchange]) เป็นการซื้อขายที่ถือได้เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ (ไม่ใช่การฝากเงิน) เป็นการลงทุน โดยส่วนใหญ่จะกระทำระหว่างสถาบันการเงิน (ในปัจจุบัน) แพร่หลายในตลากการเงิน เช่น กรุงลอนดอน สิงคโปร์ ฮ่องกง นิวยอร์ค โดยจำแนกออกเป็น –

ตลาดต้นทาง – หลัก (primary market) ได้แก่เหล่าธนาคารที่ดำรงค์ธนกิจครบวงจร (full banking) และธนาคารแบบเฉพาะกิจ (restricted banking) (ในบางกรณีอาจเป็นตลาตรอง (secondary market) เมื่อเข้าร่วมซื้อตราสารหนี้แต่มิได้เป็นธนาคารแจ้งตราสารรับรองการชำระ (LC advising Bank) และเป็นธนาคารที่รับการเจาะจง (restricted bank), จากธนาคารผู้ออกตราสารรับรอง (LC issuing Bank), เพื่อการเรียกเก็บ (for Negotiation)

ตลาดรอง – (secondary market) ธนาคารแบบนอกภูมิภาค (offshore banking) เป็นสถาบันก่อเกิดการเงินหมุนเวียน อันถือได้เป็นหัวใจเสริมสร้างให้เกิดตลาดการเงิน – ตลาดการเงิน “ลอนดอน” “สิงคโปร์” “ฮ่องกง” “นิวยอร์ค”

หลักสำคัญที่ใช้ในการซื้อลดตราสารหนี้ (Accepted Time Bill of Exchange)แบบสิทธิขาดปลอดภาระผูกพันของผู้ขาย (without recourse discounting) ผู้ซื้อ – ธนาคาร (ตลาดรอง) หรือ นิติบุคคลผู้ลงทุนต้องพิจารณา –

1.สถานะความน่าเชื่อถือของธนาคารที่ออกตราสารรับรองการชำระ (Letter of Credit Issuing Bank)

2.ความเสี่ยงของประเทศ (Country Risk) ที่ตั้งของธนาคารที่ออกตราสาร

3.ความถูกต้องของเอกสารกำกับธุระกรรมนั้นๆ

การเรียกรับชำระเมื่อครบกำหนด ธนาคารผู้ออกตราสารรับรองการชำระที่มั่นคงส่วนใหญ่ จะแจ้งให้ธนาคารที่ตนมีบัญชีเงินตรา(Currencies Account Holding Bank – Corresponding Bank) ตามตราสารระบุตั้งแต่วันออกตราสารรับรองฯ ให้ธนาคารที่ถือครองตราสารหนี้ (Accepted Time Bill of Exhange) เรียกเก็บตรงจากธนาคารผู้ดูแลบัญชีดังกล่าว หรือกำหนดให้ผู้ถือครองส่งตราสารเรียกเก็บมาที่ธนาคารออกตราสารรับรองฯก่อนวันกำหนดชำระ (maturity date) 2 วันก็มี

ตราสารหนี้ที่รับการเซ็นรับ (Accepted Time Bill of Exchange) สามารถซื้อขาย (ลด) สิทธิ์ขาดมากครั้ง ผู้ถือครอง (Bona Fide Holder) แต่ละรายเมื่อเซ็นโอนสิทธิ์ ต้องแจ้งให้ธนาคารผู้ออกตราสารับรองฯ รับทราบเพื่อยืนยันกลับไปที่ธนาคารผู้ดูแลบัญชีเงินตรา (Currencies Account Holding Bank) พร้อมแจ้งรับทราบการเป็นเจ้าหนี้รายใหม่ (New Bona Fide Holder of Accepted Bill)

ฉะนั้นการซื้อขาย (ลด) สิทธิ์ขากในคราสารหนี้ภายใต้ (Accepted Bill of Exchange) ถือได้เป็นการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุด ถ้าเป็นตราสารหนี้ที่ถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน

แต่

Bill of Exchange ตาม พ.ร.บ ตราสารหนี้ของเราแม้เนื้อหาลอกเลียนตาม 1882 Bill of Exchange Act ของสหราชอาณาจักรอังกฤษ แต่ชื่อเรียกกลับผิดเพี้ยน เป็น ตั๋วแลกเงิน ซึ่งไม่มีในสาระบบการเงินการธนาคารสากล (International Banking Practice)

ช่วงที่ประเทศรอบด้านถูกย้อมสีแดง เศรษฐีไทยใจปลาซิว กลัวสมบัติถูกยึดหากไทยเราถูกย้อมสีแดงตาม ต่างหาช่องทางนำเงินฝากนอกประเทศ แต่ทำไม่ได้เพราะกฏหมายควบคุมเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Control Act)

ช่วงเดียวกัน

ธนาคารต่างชาติหนึ่ง ได้ซื้อกิจการของธนาคารขนาดเล็กของอีกชาติหนึ่ง ที่เปิดทำการในประเทศไทย แล้วเปลี่ยนเป็นสาขาในประเทศไทย ธนาคารแห่งนี้มีบริษัทเงินทุน (Finance Company) เปิดทำการอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเปลี่ยนสถานะของธนาคารขนาดเล็กที่ซื้อมาเป็นสาขาประจำประเทศไทยของตน และเล็งเห็นความกลัวของเหล่าเศรษฐีไทย ธนาคารดังกล่าวได้ทำประกาศเชิญชวนคนไทย เปิดบัญชี “เงินตราสหรัฐ” กับธนาคารเพื่อความมั่นใจจักไม่ถูกยึด

ประกาศเชิญชวนดังกล่าวถูก ธนาคารแห่งประเทศไทยสกัดเพราะผิดกฏหมายควบคุมเงินตราต่างประเทศ แต่ทีมการตลาดของธนาคารประสพผลสำเร็จในการเชิญชวนเหล่าเศรษฐีไทย ด้วยนาม “ตั๋วแลกเงิน” ธนาคารดังกล่าวจึงฉกฉวยรูปแบบ “การขาย(ลด)สิทธิ์รับการชำระตาม “ตราสารหนี้ที่ได้รับการยอมรับ (Accepted Time Bill of Exchange) เสนอ (หลอก) ให้เหล่าเศรษฐีถือแทน ด้วยธนาคารดังกล่าวเซ็นสลักหลังตราสาร (Endorse) ที่อ้างว่าเป็นการอาวัลตั๋วของธนาคาร ซึ่งเหล่าลูกค้าเข้าใจดีคำว่า “อาวัล” โดยลืมสิ้นคำว่าสลักหลังตราสาร (เช่นสลักหลัง เช็ค) และ ยิ่งให้หักดอกเบี้ยล่วงหน้าเลยยิ่งเป็นที่ “ฮือฮา” จำนวนผู้ต้องการฝากเพิ่มมากขึ้น

แต่จากระบบสินเชื่อเตรียมจัดส่ง(สินค้า) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตราขึ้นที่เรียกขานเป็น “Packing LC” นั้น มีกำหนดเวลาบังคับ คือไม่เกิน 6 เดือนเพื่อได้รับภาระดอกเบี้ยในอัตราพิเศษ มิฉะนั้นผู้ส่งออกจะถูกปรับในอัดตราดอกเบี้ยสูงกว่าปกติมาก เป็นเหตุให้บริษัทส่งออกมุ่งขายในราคาเงินสด (Sight LC) ตราสารหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระที่ธนาคารผู้ออกตราสารรับรองฯ (Accepted Time Bill of Exchange) จึงหายากที่ธนาคารดังกล่าวจะใช้เพื่อรับเงินฝากจากเหล่าลูกค้า

โดยอาศัยความบกพร่องของ พ.ร.บ.ตราสารหนี้ ที่บัญญัติชื่อเรียก Bill of Exchange ในภาคภาษาไทยว่า “ตั๋วแลกเงิน” เป็นช่องทางให้ธนาคารต่างด้าวที่ขาดคุณธรรม หลอกลวงลูค้าไทย ช่วงก่อนทางธนาคารมอบตราสารพร้อมการค้ำประกันอาวัลให้นั้นเท่ากับพวกท่านถือครองตราสารเงินฝากของผู้อื่น แต่ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ทางธนาคารจะให้บริษัท เงินทุน (บริษัท Finance) ของธนาคารออกให้พวกท่านโดยตรง ซึ่งเท่ากับพวกท่านถือครองตราสารของท่านเอง และธนาคารจะเซ็นค้ำเช่นเคย แพ้อมให้พวกท่านหักดอกเบี้ยล่วงหนี้พร้อมไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยรับ

Bill of Exchange ได้แผ่กระจายยิ่งกว่าไฟป่า บริษัทเงินทุนออสเตรเลีย ที่อยู่แถว อโศก รับฝากเงินแทนการออก “ตั๋วสัญญาใช้เงิน” ก็ออก Bill of Exchange แทน ธนาคารระดับใหญ่ของไทยเอาบ้าง ฝ่าย “ธนกิจบุคคล” (Private Banking) ผสมโรงเอาด้วย จนเกิดคดีเจ้าหน้าที่แผนกฉ่อโกงลูกค้า ธนกิจบุคคล (Private Banking) ช่วงไกล้เกิดวิกฤติเศรษฐในปี 40 มี่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ พกพาเร่ขายจำนวนมากที่เซ็นโดยธนาคารแถวสวนมะลิ

ขอยืนยันว่า Bill of Exchange เป็นใบแจ้งหนี้ ที่เจ้าทรัพย์ (เจ้าหนี้) เป็นผู้ออก ถึงลูกหนี้ ในธุระกิจซื้อขาย สินค้าหรือบริการ ในอดีตภายใต้บทบัญญัติว่าด้วย “ตราสารรับรองการชำระ” (UCC Uniform Custom Practice) ที่คนไทยรู้จัดในนาม LC ฉบับต้นๆที่ตราขึ้นโดย สภาหอการค้าสากล (International Chamber of Commerce) ให้ผู้ออกตราสารหนี้ (Bill of Exchange) ในฐานะผู้รับประโยชน์ตาม ตราสารรับรองฯ (LC) ได้โดยตรงต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ยื่นขอธนาคารออกตราสารรับรอง (Applicant) โดยกำหนดให้ผู้ซื้อเป็นผู้เซ็นยอมรับตราสาร (Acceptance) โดยธนาคารผู้ออกตราสารรับรองฯเป็นผู้ผูกพันหนี้ตามตราสารรับรองฯ หรือจะให้ทั้งผู้ซื้อและธนาคารผู้ออกตราสารรับรองฯเซ็นยอมรับคู่กันก็ได้ (Co-sign Acceptance) ก็ได้ แต่ภายหลังสภาหอการค้าสากล (International Chamer of Commerce) เห็นถึงความยุ่งยากสับสน จึงแก้ไขบทบัญญัติโดยเริ่มจาก ฉบับที่ 500 และปัจจุบันคือ ฉบับที่ 600 ให้ผู้รับประโยชน์ตามตราสารรับรองฯ (LC) ออกตรงถึงธนาคารผู้ออกตราสารรับรองฯ (LC issuing Bank) เป็นลูกหนี้โดยตรง

และขอยืนยันอีกว่า Bill of Exchange ไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน แต่เป็นใบแจ้งหนี้ในขั้นต้น หากชำระสด Bill of Exchange ก็จะแปรสภาพเป็นใบเสร็จรับเงิน ถ้าหากเป็นการเชื่อมีกำหนดระยะเวลาชำระ Bill of Exchange ก็จะอยู่ในรูป “ใบรับสภาพหนี้” ในวงการธนาคารคือ “Debt Evidence” ที่ซื้อขายเปลี่ยนมือได้ ผู้ถือครองต่อไปเรียกว่า “Bona Fide Holder”

น่าเสียใจยิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ทราบว่าปล่อยให้วงการเงินทำสิ่งผิดๆได้อย่างไร? เคยท้วงติงในช่วงต้นๆที่ธนาคารต่างชาติทำผิด แต่คำตอบที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้เกิดอาการ สอึก ที่ตอบว่า ธนาคารต่างชาติดังกล่าวเป็นธนาคารระดับต้นของโลก คงไม่ทำสิ่งผิดระบบการธนาคาร!!! ทั้งๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปฏิเสธไม่ทราบว่า –

Bill of Exchange ผู้ออก (Drawer) ต้องเป็นเจ้าหนี้, ผู้ที่ตั๋วออก (แจ้ง) ถึง (Drawee) คือลูกหนี้, ผู้รับประโยชน์ตามตั๋ว (Pay to the order of …….)จะเป็นผู้ออกตั๋ว หรือ บุคคลใดก็ได้ ตามที่ผู้ออกตั๋วระบุถึง

ต่างกับ

Promissory Note -ตั๋วสัญญาใช้เงิน ผู้ออกคือลูกหนี้ และ

Cheque-เช็ค ซึ่งถือเป็นใบสั่งจ่าย ที่ผู้สั่งจ่าย โดยหลักการคือลูกหนี้ และ วงการเงิน ถือเป็น Pay Order ที่ออกคำสั่งถึงธนาคารผู้รักษาบัญชีของผู้สั่งจ่าย ทั้งนี้ธนาคารผู้รับคำสั่งไม่ต้องผูกพันรับผิดชอบ หากบัญชีของผู้สั่งจ่าย ไม่มีเงินเพียงพอสำหรับ ใบสั่งจ่ายนั้น (cheque) ทั้งยังมีสิทธิ์สั่งปรับผู้ออกเช็ค หรือ ปิดบัญชีของผู้สั่งจ่าย ทั้งผู้ทรง (ผู้รับจ่าย) ตามเช็คยังสามารถดำเนินคดีทางอาญากับผู้สั่งแล้วแต่มูลเหตุแห่งการสั่งจ่าย

และบัดนี้มีโฆษนา ในหน้าหนังสือพิมพ์เชิญชวนซื้อตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) ผ่านธนาคารของรัฐ น่าเชื่อว่า “วิกฤติเศรษฐกิจ” เฉกเช่นปี 40 คงไม่ไกลเกินรอ !!!!!!!

จาก
นายพิเศษ หัวหมาก
กำลังโหลดความคิดเห็น