xs
xsm
sm
md
lg

ธนาคารแห่งประเทศไทยกับความเข้าใจตั๋วบี/อี (Bill of Exchange) ภาค 2

เผยแพร่:   โดย: นายพิเศษ หัวหมาก

ความผิดที่ต้องใช้ความเด็ดขาดในการแก้ไข

ใคร่ขอย้อนคดี “ฟินวัน” ที่ให้บทเรียนแก่ราชการ โดยเฉพาะ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ด้อยความรู้เข้าใจในตั๋ว บี/อี เพราะมุ่งแอบอิงคำว่า “ตั๋วแลกเงินเป็นสรณะฝังแน่นในวิชาชีพ (การเงินการธนาคาร) โดยไม่คิดค้นหาความแตกฉานของการใช้ บี/อี (ทั้งๆที่น่าจะรู้โดยสามัณสำนึก ถึงเป้าประสงค์ของการ บี/อี ยิ่งเมื่อมี พ.ร.บ.ควบคุมเงินตราต่างประเทศ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้ควบคุมธนาคารพาณิชย์ ทั้งหลายทั้งปวง อีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย มิอาจปฏิเสธว่าขาดความรู้เข้าใจ ในบทบัญญัติที่ตราโดย “สภาหอการค้าสากล ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็เป็นสมาชิกอยู่ ภายใต้ชื่อ ICC UCP (International Chamber of Commerce – Uniform Custom Practice) นำหรับตราสารรับรองการชำระ (LC)

จะเป็นอื่นมิได้ที่บุคคลอื่นนอกเหนือจาก “ผู้รับประโยชน์ตามตราสารรับรองการชำระ – Beneficiary under Irrevocable Documentary Credit (LC) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ขั้นต้น

ฉะนั้นการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยให้ธนาคารต่างด้าวจากสหรัฐฯ ยำแกงตั๋ว บี/อี (ที่ พ.ร.บ. ตราชื่อผิดๆ)อันเป็นความผิดมหันต์ที่ไม่น่าอภัย

ผู้เขียนมิอาจเทียบเคียงเหล่านักการธนาคารในธนาคารแห่งประเทศไทย แต่มีสำเนา บี/อี ที่เกี่ยวข้องกับคดี “ฟินวัน” ที่รู้ซึ้งว่าทำไม ศาลอุทธรณ์อังกฤษ จึงมีคำพิพากษาระงับการส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาให้ทางการไทยดำเนินคดี และแม้ว่าราชการไทยจะล้มเหลวในการได้ตัวนาย “ป” แต่กองทุนฯภายใต้การบริหารของธนาคารยังสามารถฟ้องเรียกเก็บชำระจากผู้ (ธนาคาร) ที่เซ็นสลักตั๋ว บี/อี ถ้าพวกท่านด้วยความรู้พื้นฐาน ยอมรับว่าการเซ็นสลักหลังตั๋ว กับ การเซ็นสลักหลังเช็ค ผู้เซ็นสลักหลังมีภาระรับผิดชอบไม่ต่างกัน และจะหลุดพ้นต่อ เมื่อการชำระตามตั๋วมีผลครบถ้วน แต่ท่านกลับถือคำ “Without Recourse” เป็นมูลฐานทั้งที่ไม่สมบูรณ์ตามระบบ การขาย(สิทธิ์ขาดปลอดภาระผูกพัน)ในธุระกิจ “Discounting without recourse Forfaiting) ขอย้ำว่า 3 ธนาคารที่เกี่ยวข้องในตั๋ว บี/อี คงมีภาระผูกพันในหนี้ทั้งหมด มิได้ปลอดจากภาระผู้พันใดๆ เพราะขาดความสมบูรณ์ทางเอกสาร ตามระบบรูปแบบของ Forfaiting.

การที่ธนาคาร แห่งประเทศไทย ดำริให้ กลต เข้ากำกับดูแลการซื้อขายตั๋ว บี/อี (ตั๋วแลกเงิน?) พร้อมให้เตือนผู้ซื้อว่าการซื้อตั๋ว บี/อี เป็นการฝากเงินที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง??? ย่อมจะหมายเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากกล่าวหาว่าธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะทำผิดกฏหมาย “การเงินการธนาคาร” ท่านลืมแล้วหรือว่า “กฏหมายการเงินการธนาคารห้าม “เอกชน” ที่ไม่ได้รับอนุญาติทำธุรกรรมทาง “การเงินการธนาคาร” เปิดรับฝากเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเพียงเตือนเจ้าของเงินว่าการฝากเงินในรูปแบบ บี/อี นั้นมีความเสี่ยงไม่ได้รับการคุ้มครองจากสำนักประกันเงินฝาก

บี/อี ตาม พ.ร.บ. ตั๋วเงินของไทย ที่บัญญัตินามว่า “ตั๋วแลกเงิน” นั้น ผู้ถือครองไม่เพียงไม่ได้รับการคุ้มครองจากสำนักประกันเงินฝาก แต่ยังเสี่ยงต่อการสูญเสีย เฉกเช่นแชร์ชมอย, แชร์ขาร์เตอร์ ในอดีต เพราะรูปแบบของบี/อี ที่ลอกเลียนจากธนาคารต่างด้าว (สหรัฐ) นั้นผิดเพี้ยนจากรูปแบบที่ถูกต้อง เพราะ บี/อี เป็นใบแจ้งหนี้ที่เจ้าหนี้เป็นผู้ออก (drawer) ไม่ใช่ลูกหนี้ในฐานะผู้ออก ดังตัวอย่าง

เหตุผลที่อาจสูญเงิน - หากผู้ออกตราสารเอาเงินจากท่าน (ที่มีความรู้จริงว่าด้วยตราสารหนี้ในรูป B/E) มีความจงใจโกงท่าน ไม่จ่ายเงินให้เมื่อครบกำหนด (maturity date) เพิกเฉยเมื่อถูกทวงถาม ถูกฟ้องคดี สู้คดีเบิกความเป็นพยาน พร้อมพยานบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศของธนาคารใดธนาคารหนึ่ง พร้อมเอกสารว่าด้วย Bill of Exchange ที่ออกอย่างถูกต้อง เบิกความยอมรับว่าเป็นผู้ออก บี/อี แจ้งหนี้ถึงท่าน ตามบี/อีที่ท่านใช้ในการฟ้องคดี ว่าแท้จริง เป็นใบแจ้งหนี้ที่ออกถึงโจทย์ เพราะโจทย์เป็นหนี้จำเลย บัดนี้โจทย์ยอมชำระหนี้ให้จำเลยแล้ว ฉนั้นจำเลยคงไม่สามารถเชื่อถือโจทย์ ที่จะให้เงินโจทย์อีกพร้อมขออนุญาติศาลนำผู้เชี่ยวชาญ นักการเงินที่เป็นที่รู้จักและเชื่อถือ ทั้งในประเทศไทยและ ต่างประเทศ มาเขียนความเห็นเชิงกฏหมาย (legal opinion) ว่าด้วยตราสารหนี้ในรูป บี/อี (B/E) เบิกความเป็นพยานแล้วผลจะเป็นเช่นไร?

ฉะนั้นการที่ธนาคาร แห่งประเทศไทย ประกาศเตือนว่าเป็นการฝากเงินที่มีความเสี่ยงสูง นั้นโดยมิได้ตรวจสอบความถูกต้อง ผู้บริหารธนาคาร แห่งประเทศไทย น่าเป็นห่วงว่าน่าจะเผชิญคดีในหลายข้อกล่าวหา –

๑.สนับสนุนให้เอกชนที่ไม่ใช่ธนาคารกระทำผิดกฏหมายการธนาคารฯ
๒.ข้อหาละเว้นฯ

Bill of Exchange Act 1882 ของสหราชอาณาจักรอังกฤษใน Introduction (1 &2)(บทเบ็ตเสร็จทั่วไป)

Bills of Exchange

The Bills of Exchange Act 1882 which governs this subject is reproduced in Appendix 1. You should refer to it whenever a section is mentioned in the text without being quoted. Also reproduced is the Cheques Act 1957. It is good practice to annotate the Acts for future use. In this way, you will become familiar with the arrangement, wording and “feel” of the statutes.

INTRODUCTION

1.Negotiable instruments. These are documents used in commerce to secure the payment of money.

Negotiable instruments are choses in action, i.e. property which can not be physically possessed and the right to which can only be enforced by court action.

(a) Main types. The main types today are: bills of exchange; cheques(a specific type of bill of exchange); promissory notes, e.g.banknoted,

Dividend warrants; bearer debenture, and Treasury Bills.


2. The nature of a bill of exchange

A legally binding promise. A bill of exchange constitutes a legally binding written promise by the drawer that the person who took it in payment will be paid in cash when he presents the bill for payment at the proper time and place.

The promise takes the form of an order by one person addressed To another.

(b) Three parties. Initially there are three parties to a bill of exchange:

(I)the drawer – the person who makes the order

(II)the drawee – the person to whom the order is addressed and who becomes the acceptor when he incurs liability on the bill by signing (accepting) it

(III)the payee – person to whom the bill is made payable If the bill is transferred (Negotiated), other persons become parties to the bill.

NOTE: The acceptor is the party primarily liable on the bill, the drawer and any other person who has signed (indorsed) it are parties for his payment The drawer and payee are sometimes the same person. This is often the case in bills used in overseas trade

Continuing the example in Fig.1, if B. Brown in turn owed GBP5,000 to J. Bank, a bill could be drawn involving all three parties and settling both debts:

บทนำใน พ.ร.บ. Bill of Exchange Act 1882 ของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ชี้ชัดว่า ผู้ออกตั๋ว บี/อี (B.Brown) มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ โดยบุคคล (A.Smith) ที่ บี/อี ออกถึงอยู่ในฐานะลูกหนี้ ฉะนั้นตั๋ว บี/อี (Bill of Exchange) คือใบแจ้งหนี้/ใบรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน

เปรียบเทียบกับ พ.ร.บ. ตั๋วเงินของไทย (ความจริงควรเป็น พ.ร.บ. ตราสารหนี้)

หมวด ๑

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา ๘๙๘ อันตั๋วเงินตามความแห่งประมวลกฏหมายนี้มี สามประเภท ประภทหนึ่ง คือ ตั๋วแลกเงิน, ประเภทหนึ่ง คือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน, ประเภทหนึ่งคือ เช็ค

มาตรา ๙๐๐ บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น จุดเริ่มของความบกพร่องใน พ.ร.บ.นี้ควรเป็น”ผู้ใดลงลายมือชื่อของตนใน เช็ค ต้องรับผิดชอบ ทั้งทางแพ่งและอาญา หากบัญชีที่ธนาคารมีเงินไม่พอจ่าย และผู้ใดลงลายมือชื่อของตนในใบสัญญาใช้เงิน หากครบกำหนดจ่าย ไม่สามารถหรือจงใจไม่จ่ายย่อมไม่สามารถหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีทางแพ่ง แต่ผู้ใดลงลายมือชื่อของตนในใบB/E(ซึ่งก็คือใบแจ้งหนี้ ที่รับการลงลายมือชื่อยอมรับจากบุคคล (ลูกหนี้)ที่ใบ B/Eระบุถึง หากครบกำหนดมิได้รับการชำระตามกฏหมายท่านทรงสิทธิ์สมบูรณ์ที่จะดำเนินคดีทางแพ่งต่อลูกหนี้นั้น”

มาตรา ๙๐๑ เป็นอีกแห่งความบกพร่องสับสน- เจ้าหน้าที่การเงินของนิติบุคคล แม้จะอยู่ในฐานะถูกบังคับ ต้องลงลายมือชื่อของตนใน เช็ค สั่งจ่ายเจ้าหนี้ของบริษัทตามภาระหนี้ของบริษัท ทั้งที่ตนไม่มีส่วนในภาระหนี้ และเจ้าหนี้ก็ทราบดี แต่หากเงินในบัญชีของบริษัทมีไม่พอจ่าย กฏหมายระบุว่าทางคดีอาญา มันผู้นั้นมีความผิด (สำหรับ B/E ผู้ลงลายมือชื่อแทนบริษัท ภายใต้หลักฐานยืนยัน คือ ดวงตราบริษัทที่ประทับ ไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ท่านจะอยู่ในฐานะ “พยาน” ในคดีแพ่งที่บริษัทเป็น “โจทก์” เมื่อนำคดีขึ้นสู่ศาล เช่นเดียวกับ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ก็เช่นกัน ผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาใช้เงินที่เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่มิใช่ “กรรมการของบริษัทที่ให้สัญญาใช้เงิน” ไม่น่าจะตกสู่ฐานะ “จำเลย”แต่ B/Eที่รับการเซ็นยอมรับจากผู้ที่ตราสารออกถึง - ใบรับสภาพหนี้ ในวงการเงิน(เจ้าหนี้) ย่อมสามารถเซ็นสลักหลังโอนสิทธิ์ให้บุคคลที่สาม (third party) หากครบกำหนดลูกหนี้เพิกเฉยไม่ชำระ ท่านว่าผู้เซ็น (นิติบุคคล)สลักโอนต่อต้องรับผิดชอบในเบื้องต้น แต่คงมีสิทธิ์ดำเนินคดีทางแพ่งต่อผู้เซ็น(ลูกหนี้)ยอมรับสภาพตาม บี/อี(B/E)

ฉะนั้น

การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศความเห็นด้วยที่ ก.ล.ต. พึงเข้ามากำกับดูแลการซื้อขาย บี/อี – ตั๋วแลกเงิน พร้อมเตือนผู้ฝากให้ยอมรับว่า การฝากเงินภายใต้ “ตั๋วแลกเงิน” มีความเสี่ยงสูง ไม่ได้รับการคุ้มครองประกันเงินฝาก จึงไม่สามารถทำให้เชื่อว่า บี/อี – Bill of Exchange เป็นอื่นนอกจาก “ตั๋วแลกเงิน” และเมื่อธนาคารยอมเซ็น “อาวัล” ให้ (ไม่เข้าใจการเซ็นสลักหลัง และความรับผิดชอบของ ธนาคาร ที่เซ็นสลักหลังตราสารหนี้)

ตั๋วแลกเงิน (ในความเป็นจริงคือ “ใบแจ้งหนี้”)

ส่วนที่ ๑

การออกและสลักหลังตั๋วแลกเงิน (Drawn and endorsement)

มาตรา ๙๐๘ อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น (ความจริงควรเป็น “ใบแจ้งหนี้”)คือหนังสือตราสาร-ความจริงควรเป็น”ตราสารหนี้” ซึ่งบุคคลหนึ่ง (และหรือ นิติบุคคลหนึ่ง) ที่เรียกว่าผู้สั่งจ่าย (ควรเป็นผู้แจ้งหนี้) สั่งบุคคลอีกหนึ่ง (แจ้งต่ออีกบุคคลหนึ่งหรือนิติบุคคลหนึ่ง) เรียกว่าผู้จ่าย (ไม่ถูกควรเรียกว่า “ลูกหนี้”) ให้ใช้หนี้ (จำนวนเงิน)เมื่อครบกำหนดแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่ง (ไม่ถูกควรเป็นให้ชำระแกผู้แจ้งหนี้(เอง) หรือชำระตามคำสั่งของอีกบุคลหนึ่ง หรือ อีกนิติบุคคลหนึ่ง ในฐานะผู้รับการชำระ (payee)ต่อ

มูลเหตุความผิดเพี้ยนของบี/อี จำแนกได้ –

๑. เป็นความผิดพลาดของสภาผู้แทนฯ ที่ใคร่อยากมีกฏหมายว่าด้วย Bill of Exchange ล้อเลียน พ.ร.บ.Bill of Exchange Act 1882 ของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ที่ไม่ศึกษาลักษณะและจุดมุ่งหมาย และคุณสมบัติของ Bill of Exchange จึงไม่สามารถบัญญัติชื่อของ “ตราสาร” ได้ถูกต้อง ทำให้คิดว่าชื่อเรียกให้ใช้วิธีแปลทับศัพท์ “ตั๋วแลกเปลี่ยน” – ตั๋วแลกเงิน [ตามที่ได้ขยายความช่วงต้น (8 ต.ค. ๕๔)] และเพราะแทนที่จะบัญญัติชื่อ พ.ร.บ.“ตราสารหนี้” ท่าน ส.ส. ผู้ตรา พ.ร.บ. กลับบัญญัติเป็น พ.ร.บ. “ตั๋วเงิน” อันเป็นเหตุแห่งความสับสน หลงเชื่อว่า “ตั๋วแลกเงิน” นั้นถูกต้องแล้วที่ผู้ออกตั๋ว คือผู้รับเงินจากผู้ฝาก]

๒. คณะกรรมการ นโยบายการเงินแห่งประเทศไทย (Monetary Authority of Thailand) ละเว้นไม่สกัดธนคารต่างชาติ ที่ทำผิดหลอกลวงให้ลูกค้า (ไทย) หลงเชื่อว่าการออก บี/อี เพื่อการรับฝากเงิน ทั้งที่รู้ดีว่า ผู้ออก บี/อี ทั่วโลกคือเจ้าหนี้ (เจ้าของเงินฝาก) ธนาคารที่รับฝากอยู่ในฐานะ ลูกหนี้ ซึ่งมีหน้าที่ออก “ใบรับฝากเงิน” (Certificate of Deposit) หรือ “ตั๋วสัญญาใช้เงิน” (Promissory Note) หรือแต่ละท่านไม่มีความรู้จริง?

๓. เจ้าหน้าที่ระดับบริหารในธนาคาร แห่งประเทศไทย ที่มีหน้าที่ควบคุมสถาบัน ธนาคาร ที่ปล่อยปละละเลย ไม่สกัดกั้นการกระทำทั้งปวงที่ผิดๆ หลอกลวงลูกค้า โดยอาศัยความปกพร่องแห่ง พ.ร.บ. (ตั๋วเงิน) น่าจะผิดในข้อหาละเว้นฯ

๔. ธนาคารใดที่สนับสนุนให้ลูกค้าตน เชิญชวน ประชาชน ให้หลงเชื่อ ฝากเงินด้วยการซื้อบี/อี (B/E) น่าจะต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและอาญา

การแก้ไข

น่าเชื่อว่าทุกวันนี้มีผู้ครอบครองบี/อี จำนวนมาก เพียงหวังในดอกเบี้ยส่วนต่าง แต่หารู้ไม่ว่า ตนตกสู่ความเสี่ยงสูงยิ่ง ฉนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อคุ้มครองและเป็นการปกป้อง เศรษฐ์กิจไทย ไม่ให้เกิดวิกฤติ ควรออกคำสั่ง ให้ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ที่ออก บี/อี หลอกขายให้ลูกค้า ให้เรียกคืน บี/อี แลกกับ “ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ ใบฝากเงินประจำ (Certificate of Deposit) และให้ธนาคารแห่งประเทศไทย แจ้งความพร้อมบังคับ นิติบุคคล เอกชนที่ออกตั๋ว บี/อี ให้คืนเงินตามหน้าตั๋วให้แก่ผู้ซื้อโดยด่วน ภายในกำหนด 60 วัน

ในสภาผู้แทนฯ แก้ไข พ.ร.บ. ตั๋วเงิน ให้ถูกต้องตามสากล (ทุกประเทศที่ออกกฏหมาย Bill of Exchange act ล้วนมีเนื้อหาถูกต้องล้อเลียน Bill of Exchange act 1882 ของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ในฐานะแม่บท

นายพิเศษ หัวหมาก
กำลังโหลดความคิดเห็น