เอเอฟพี – อุทกภัยครั้งใหญ่กำลังสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อพื้นที่ปลูกข้าวสำคัญทั่วเอเชีย ซึ่งนอกจากจะกดดันให้ราคาอาหารถีบตัวสูงขึ้นแล้ว ยังเพิ่มความทุกข์ยากให้แก่ชาวไร่ชาวนาที่เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดของภูมิภาค
เจ้าหน้าที่เผยว่า นาข้าวราว 1.5 ล้านเฮกตาร์ (ราว 9.4 ล้านไร่) ในไทย เวียดนาม กัมพูชา และลาว ได้รับความเสียหายหรือเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหาย จากอุทกภัยที่ถือเป็นครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา
ไล่ไปทางตะวันตก นาข้าวและไร่สวนอื่นๆ ในเขตพื้นที่เกษตรของปากีสถานถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์
ในประเทศไทย ที่เป็นชาติผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก น้ำท่วมครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 230 ราย มีนาข้าวราว 1 ล้านเฮกตาร์ (6.25 ล้านไร่) หรือเกือบ 10% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ ได้รับความเสียหาย
มาร์กาเร็ตตา วอห์ลสตรอม หัวหน้าฝ่ายบรรเทาภัยพิบัติของสหประชาชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่าเอเชียจะเผชิญปัญหาราคาอาหารที่แพงขึ้นเนื่องจากผลผลิตเสียหาย และความเสียหายในปีนี้รุนแรงอย่างมาก ทำให้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าที่ประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ความเสียหายจากอุทกภัยล่าสุดตอกย้ำซ้ำเติมความกังวลเกี่ยวกับราคาข้าวในตลาดโลก ซึ่งกำลังคุกรุ่นอยู่แล้วจากมาตรการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทย
ที่ลาวและกัมพูชา ฝนซึ่งตกอย่างหนักในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ ได้สร้างความเสียหายใหญ่หลวงเช่นเดียวกัน และผู้เชี่ยวชาญระบุว่าขณะนี้น้ำได้ไหลท่วมบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม ชาติผู้ผลิตข้าวอันดับ 2 ของโลก
ทั้งนี้ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางใต้ของเวียดนาม เป็นแหล่งผลิตข้าวถึงครึ่งหนึ่งของประเทศ โดยจังหวัดด่งท้าป และและจังหวัดอานยาง ที่อยู่ติดกับกัมพูชา เป็นพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด
ยูเอ็นรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวในรัฐบาลเวียดนามว่า มีผู้เสียชีวิตแล้ว 11 ราย บ้านเรือนกว่า 20,000 หลังถูกน้ำท่วม และนาข้าว 99,000 เฮกตาร์ (ราว 620,000 ไร่) เสี่ยงที่จะเสียหาย
เวือง หู เตี่ยน เจ้าหน้าที่กรมควบคุมอุทกภัยและพายุในจังหวัดอานยาง ระบุว่าปีนี้ผลผลิตการเกษตรเสียหายจากน้ำท่วมรุนแรงกว่าที่คาดไว้ ขณะที่เวียดนาม นิวส์ หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของรัฐบาล รายงานว่าเฉพาะด่งท้าปจังหวัดเดียว นาข้าวเสียหายเป็นมูลค่าถึง 2.7 ล้านดอลลาร์
สำหรับในกัมพูชา เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงเกษตรเผยว่า นาข้าวกว่า 330,000 เฮกตาร์ (ราว 2.1 ล้านไร่) จมอยู่ใต้น้ำ โดยในจำนวนนี้กว่า 100,000 เฮกตาร์ (ราว 630,000 ไร่) เสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายร้ายแรงนี้มีแนวโน้มส่งผลต่อผลผลิตข้าวในปีนี้ ซึ่งเคยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว 3 ล้านตัน
ทั้งนี้ กัมพูชา ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยครั้งนี้กว่า 160 ราย ส่งออกข้าวเพียงเศษเสี้ยวของปริมาณที่ผลิตได้ กระนั้น ข้าวเป็นองค์ประกอบราว 7.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของกัมพูชา
ลาว หนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชีย ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยพายุหมุนเขตร้อนที่พัดถล่มมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 23 ราย และสร้างความเสียหายต่อนาข้าวกว่า 60,000 เฮกตาร์ (ราว 380,000 ไร่)
หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ ไทมส์ รายงานว่า ช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา พืชผลได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นหลังจากมีการระบายน้ำออกจากเขื่อนน้ำงึม
โว ต่ง ซวน ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวของเวียดนามที่ประจำอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ชี้ว่าตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอุทกภัยในปีนี้คือ ฝนที่ตกหนักผิดปกติในไทยและลาว ส่งผลให้น้ำจำนวนมหาศาลไหลลงสู่แม่น้ำโขง
บุ่ย มินห์ ตัง นักอุตุนิยมวิทยา สำทับว่าการสร้างเขื่อนเพิ่มในแม่น้ำโขงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุทกภัยมีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมขังบางพื้นที่ แต่ขณะเดียวกันกลับชักนำให้น้ำไปท่วมในบริเวณอื่นแทน
เจ้าหน้าที่เผยว่า นาข้าวราว 1.5 ล้านเฮกตาร์ (ราว 9.4 ล้านไร่) ในไทย เวียดนาม กัมพูชา และลาว ได้รับความเสียหายหรือเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหาย จากอุทกภัยที่ถือเป็นครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา
ไล่ไปทางตะวันตก นาข้าวและไร่สวนอื่นๆ ในเขตพื้นที่เกษตรของปากีสถานถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์
ในประเทศไทย ที่เป็นชาติผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก น้ำท่วมครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 230 ราย มีนาข้าวราว 1 ล้านเฮกตาร์ (6.25 ล้านไร่) หรือเกือบ 10% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ ได้รับความเสียหาย
มาร์กาเร็ตตา วอห์ลสตรอม หัวหน้าฝ่ายบรรเทาภัยพิบัติของสหประชาชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่าเอเชียจะเผชิญปัญหาราคาอาหารที่แพงขึ้นเนื่องจากผลผลิตเสียหาย และความเสียหายในปีนี้รุนแรงอย่างมาก ทำให้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าที่ประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ความเสียหายจากอุทกภัยล่าสุดตอกย้ำซ้ำเติมความกังวลเกี่ยวกับราคาข้าวในตลาดโลก ซึ่งกำลังคุกรุ่นอยู่แล้วจากมาตรการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทย
ที่ลาวและกัมพูชา ฝนซึ่งตกอย่างหนักในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ ได้สร้างความเสียหายใหญ่หลวงเช่นเดียวกัน และผู้เชี่ยวชาญระบุว่าขณะนี้น้ำได้ไหลท่วมบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม ชาติผู้ผลิตข้าวอันดับ 2 ของโลก
ทั้งนี้ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางใต้ของเวียดนาม เป็นแหล่งผลิตข้าวถึงครึ่งหนึ่งของประเทศ โดยจังหวัดด่งท้าป และและจังหวัดอานยาง ที่อยู่ติดกับกัมพูชา เป็นพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด
ยูเอ็นรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวในรัฐบาลเวียดนามว่า มีผู้เสียชีวิตแล้ว 11 ราย บ้านเรือนกว่า 20,000 หลังถูกน้ำท่วม และนาข้าว 99,000 เฮกตาร์ (ราว 620,000 ไร่) เสี่ยงที่จะเสียหาย
เวือง หู เตี่ยน เจ้าหน้าที่กรมควบคุมอุทกภัยและพายุในจังหวัดอานยาง ระบุว่าปีนี้ผลผลิตการเกษตรเสียหายจากน้ำท่วมรุนแรงกว่าที่คาดไว้ ขณะที่เวียดนาม นิวส์ หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของรัฐบาล รายงานว่าเฉพาะด่งท้าปจังหวัดเดียว นาข้าวเสียหายเป็นมูลค่าถึง 2.7 ล้านดอลลาร์
สำหรับในกัมพูชา เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงเกษตรเผยว่า นาข้าวกว่า 330,000 เฮกตาร์ (ราว 2.1 ล้านไร่) จมอยู่ใต้น้ำ โดยในจำนวนนี้กว่า 100,000 เฮกตาร์ (ราว 630,000 ไร่) เสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายร้ายแรงนี้มีแนวโน้มส่งผลต่อผลผลิตข้าวในปีนี้ ซึ่งเคยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว 3 ล้านตัน
ทั้งนี้ กัมพูชา ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยครั้งนี้กว่า 160 ราย ส่งออกข้าวเพียงเศษเสี้ยวของปริมาณที่ผลิตได้ กระนั้น ข้าวเป็นองค์ประกอบราว 7.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของกัมพูชา
ลาว หนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชีย ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยพายุหมุนเขตร้อนที่พัดถล่มมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 23 ราย และสร้างความเสียหายต่อนาข้าวกว่า 60,000 เฮกตาร์ (ราว 380,000 ไร่)
หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ ไทมส์ รายงานว่า ช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา พืชผลได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นหลังจากมีการระบายน้ำออกจากเขื่อนน้ำงึม
โว ต่ง ซวน ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวของเวียดนามที่ประจำอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ชี้ว่าตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอุทกภัยในปีนี้คือ ฝนที่ตกหนักผิดปกติในไทยและลาว ส่งผลให้น้ำจำนวนมหาศาลไหลลงสู่แม่น้ำโขง
บุ่ย มินห์ ตัง นักอุตุนิยมวิทยา สำทับว่าการสร้างเขื่อนเพิ่มในแม่น้ำโขงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุทกภัยมีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมขังบางพื้นที่ แต่ขณะเดียวกันกลับชักนำให้น้ำไปท่วมในบริเวณอื่นแทน