ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติช่วยน้ำท่วม เตรียมผ่อนคลายมาตรการทางการเงินช่วยเหลือลูกค้าแบงก์โดนพิษน้ำท่วม เล็งลดวงเงินชำระหนี้ขั้นต่ำบัตรเครดิตจาก 10 เหลือ 5% หรือลดค่างวดให้เอสเอ็มอี พร้อมประเมินมูลค่าความเสียหายน้ำท่วมเบื้องต้น 2 หมื่นล้าน
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมจะออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินให้แก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนหรือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทยในขณะนี้ อาทิ การชำระเงินขั้นต่ำของบัตรเครดิตจากปัจจุบันที่เก็บในอัตรา 10% อาจจะลดเหลือ 5% หรือการลดค่างวดให้แก่ผู้ประกอบการสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) เป็นต้น โดยมาตรการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวคาดว่าจะประกาศอย่างเป็นทางการได้เร็วๆ นี้
“สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ธปท.ได้ทำการประเมินผลกระทบเบื้องต้น พบว่า มูลค่าความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงตลอดปีก่อนที่มีมูลค่าความเสียหาย 2 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมยังไม่นิ่ง จึงคาดว่ามูลค่าความเสียหายน่าจะมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท”ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ทั้งนี้ ธปท.คาดว่าอัตราการขยายตัวสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในปี 55 ต่ำกว่าปี 54 ส่วนหนึ่งเกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีผลต่อการค้าระหว่างประเทศและต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจไทยได้ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สินเชื่อโดยรวมขยายตัว 10% ส่วนในปีหน้า ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่คาดว่าสินเชื่อโตประมาณ 7-8% อย่างไรก็ตาม
แม้ธปท.มองว่าปีหน้าสินเชื่อโดยรวมจะลดลง แต่มองว่าเป็นเรื่องปกติที่อัตราการขยายตัวสินเชื่อจะสอดคล้องกับการเติบโตเศรษฐกิจโดยรวม
ผู้ว่าการธปท.ยังได้ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี55” จัดโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เมื่อวานนี้ (5ต.ค.) ว่า จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ทั้งจากปัญหาของกลุ่มประเทศยุโรปที่ขาดความร่วมมือและไม่เด็ดขาดในการแก้ไขปัญหา ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐก็มีปัญหาเรื่องโครงสร้าง จึงคาดว่าเศรษฐกิจตกต่ำไปอีกยาวนาน
จึงมีผลต่อความเชื่อมั่นและกระทบชัดเจนต่อตลาดการเงินและตลาดทุนเป็นระยะๆ และหากไม่สามารถจัดการได้อาจมีปัญหาลุกลามใหญ่โตได้และอาจจะทยอยกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและภาคการส่งออกไทยได้
ส่วนของเศรษฐกิจไทยมีความอ่อนไหวของเงินทุนเคลื่อนย้ายค่อนข้างมากจากผลความเชื่อมั่นดังกล่าว จึงส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นและอาจมีความผันผวนได้ทั้ง 2 ทิศทาง อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังคาดว่าเงินทุนไหลเข้าสุทธิโดยรวมในภูมิภาคนี้จากภาวะเศรษฐกิจเอเชียที่ดีกว่าประเทศเศรษฐกิจหลัก
“ตอนแรกกำลังใจสูงที่อยากจะตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ แต่ตอนนี้ปัญหาเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้น ทำให้กองทุนเก็งกำไรข้ามชาติ (Hedge Fund) ที่มีการบริหารดีๆ ยังขาดทุนมากถึง 40% ของวงเงินทุนรวม ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ดูเหมือนทุกคนจะรอบคอบมากขึ้น”
นายประสาร กล่าวว่า ในปีนี้เป็นปีหนึ่งแห่งความร่วมมือ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในเวทีโลก อาเซียน และในประเทศเอง ซึ่งไทยควรมีความร่วมมือระหว่างธปท.และกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ดำเนินนโยบาย จึงควรมีการหารือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้รู้สถานการณ์ซึ่งกันและกัน เพราะเราอยู่ในประเทศเดียวกัน
โดยขณะนี้นโยบายการเงินพร้อมที่จะกลับมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ หากธปท.เห็นว่าสถานการณ์มีความจำเป็นมากขึ้น และหากจะกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป จะต้องพิจารณาความเหมาะสมด้วยว่า จะเริ่มใช้นโยบายการเงินในการกระตุ้นเร็วแค่ไหน เพราะผลของนโยบายการเงินจำเป็นต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 ไตรมาส
ขณะที่นโยบายการคลังในส่วนของการกระตุ้นการใช้จ่ายโดยตรงที่ไม่จำเป็นนั้น ควรจะหยุดไว้ก่อน เพราะแม้ว่า หลายคนมองว่าควรกระตุ้นเศรษฐกิจแต่เนิ่นๆ แต่นโยบายการคลังเป็นนโยบายที่เห็นผลเร็ว ควรจะเก็บกระสุนไว้ใช้เมื่อเห็นว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัวชัดเจนถือว่าไม่สายเกินไป และปรับเปลี่ยนการกระตุ้นด้วยนโยบายการคลัง ในขณะนี้เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถการแข่งขันของประเทศ.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมจะออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินให้แก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนหรือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทยในขณะนี้ อาทิ การชำระเงินขั้นต่ำของบัตรเครดิตจากปัจจุบันที่เก็บในอัตรา 10% อาจจะลดเหลือ 5% หรือการลดค่างวดให้แก่ผู้ประกอบการสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) เป็นต้น โดยมาตรการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวคาดว่าจะประกาศอย่างเป็นทางการได้เร็วๆ นี้
“สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ธปท.ได้ทำการประเมินผลกระทบเบื้องต้น พบว่า มูลค่าความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงตลอดปีก่อนที่มีมูลค่าความเสียหาย 2 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมยังไม่นิ่ง จึงคาดว่ามูลค่าความเสียหายน่าจะมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท”ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ทั้งนี้ ธปท.คาดว่าอัตราการขยายตัวสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในปี 55 ต่ำกว่าปี 54 ส่วนหนึ่งเกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีผลต่อการค้าระหว่างประเทศและต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจไทยได้ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สินเชื่อโดยรวมขยายตัว 10% ส่วนในปีหน้า ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่คาดว่าสินเชื่อโตประมาณ 7-8% อย่างไรก็ตาม
แม้ธปท.มองว่าปีหน้าสินเชื่อโดยรวมจะลดลง แต่มองว่าเป็นเรื่องปกติที่อัตราการขยายตัวสินเชื่อจะสอดคล้องกับการเติบโตเศรษฐกิจโดยรวม
ผู้ว่าการธปท.ยังได้ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี55” จัดโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เมื่อวานนี้ (5ต.ค.) ว่า จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ทั้งจากปัญหาของกลุ่มประเทศยุโรปที่ขาดความร่วมมือและไม่เด็ดขาดในการแก้ไขปัญหา ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐก็มีปัญหาเรื่องโครงสร้าง จึงคาดว่าเศรษฐกิจตกต่ำไปอีกยาวนาน
จึงมีผลต่อความเชื่อมั่นและกระทบชัดเจนต่อตลาดการเงินและตลาดทุนเป็นระยะๆ และหากไม่สามารถจัดการได้อาจมีปัญหาลุกลามใหญ่โตได้และอาจจะทยอยกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและภาคการส่งออกไทยได้
ส่วนของเศรษฐกิจไทยมีความอ่อนไหวของเงินทุนเคลื่อนย้ายค่อนข้างมากจากผลความเชื่อมั่นดังกล่าว จึงส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นและอาจมีความผันผวนได้ทั้ง 2 ทิศทาง อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังคาดว่าเงินทุนไหลเข้าสุทธิโดยรวมในภูมิภาคนี้จากภาวะเศรษฐกิจเอเชียที่ดีกว่าประเทศเศรษฐกิจหลัก
“ตอนแรกกำลังใจสูงที่อยากจะตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ แต่ตอนนี้ปัญหาเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้น ทำให้กองทุนเก็งกำไรข้ามชาติ (Hedge Fund) ที่มีการบริหารดีๆ ยังขาดทุนมากถึง 40% ของวงเงินทุนรวม ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ดูเหมือนทุกคนจะรอบคอบมากขึ้น”
นายประสาร กล่าวว่า ในปีนี้เป็นปีหนึ่งแห่งความร่วมมือ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในเวทีโลก อาเซียน และในประเทศเอง ซึ่งไทยควรมีความร่วมมือระหว่างธปท.และกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ดำเนินนโยบาย จึงควรมีการหารือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้รู้สถานการณ์ซึ่งกันและกัน เพราะเราอยู่ในประเทศเดียวกัน
โดยขณะนี้นโยบายการเงินพร้อมที่จะกลับมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ หากธปท.เห็นว่าสถานการณ์มีความจำเป็นมากขึ้น และหากจะกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป จะต้องพิจารณาความเหมาะสมด้วยว่า จะเริ่มใช้นโยบายการเงินในการกระตุ้นเร็วแค่ไหน เพราะผลของนโยบายการเงินจำเป็นต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 ไตรมาส
ขณะที่นโยบายการคลังในส่วนของการกระตุ้นการใช้จ่ายโดยตรงที่ไม่จำเป็นนั้น ควรจะหยุดไว้ก่อน เพราะแม้ว่า หลายคนมองว่าควรกระตุ้นเศรษฐกิจแต่เนิ่นๆ แต่นโยบายการคลังเป็นนโยบายที่เห็นผลเร็ว ควรจะเก็บกระสุนไว้ใช้เมื่อเห็นว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัวชัดเจนถือว่าไม่สายเกินไป และปรับเปลี่ยนการกระตุ้นด้วยนโยบายการคลัง ในขณะนี้เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถการแข่งขันของประเทศ.