วานนี้ (4 ต.ค) นายกล้าณรงค์ จันทิก กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า อัยการได้มีความเห็นแย้งกับ ป.ป.ช. ในคดีทุจริตการจัดซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์ 9000 และคดีธนาคารกรุงไทย ปล่อยกู้ให้บริษัทเอกชน ซึ่งทาง ป.ป.ช. ก็คงจะต้องมีการยื่นฟ้องเอง ทั้งนี้ ในการประชุม ปปช. จะมีการหารือกันว่า จะดำเนินการอย่างไร ซึ่งคงต้องให้ทางฝ่ายสภาทนายความ เป็นผู้ว่าคดีให้ ป.ป.ช. แทนอัยการ อย่างไรก็ตาม ไม่หนักใจ แม้ว่า อัยการจะไม่ได้เป็นผู้ว่าความให้
สำหรับเหตุผลที่อัยการยืนยันการไม่สั่งฟ้อง 2 คดี ได้รับรายงานว่า อัยการแจ้งว่า พบข้อไม่สมบูรณ์ในคดี จึงสั่งไม่ฟ้อง
นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการป.ป.ช. กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. พิจารณาเรื่องกล่าวหานายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรมว.คมนาคม ประธานกรรมการ ทอท. คณะกรรมการ ทอท. ประธานคณะทำงานและคณะทำงานพิจารณาต่ออายุสัญญาของบริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ผู้บริหารของกลุ่มบริษัทฯ และที่ปรึกษาของ ทอท. ร่วมกันทุจริตโครงการสัมปทานร้านค้าปลอดอากรและการใช้พื้นที่ในสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งการให้สัมปทานเอกชน ประกอบกิจการ Day Room (ห้องพักแรม) ในอาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
จากไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานแล้วคณะกรรมการมีมติ 5 ต่อ 4 เสียง ว่าไม่เป็นความผิด เนื่องจากกรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายร่วมทุน เพราะการลงทุนนั้นไม่ถึง 1,000 ล้านบาท และยังเป็นการดำเนินการที่ไม่กีดกันผู้ค้ารายอื่น เพราะมีการดำเนินการเพียงรายเดียว จึงมีมติให้คำร้องนั้นตกไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีทุจริตซีทีเอ็กซ์ มีนายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ปปช. เป็นกรรมการเจ้าของสำนวน ส่วนคดีธนาคารกรุงไทย ปล่อยกู้ให้บริษัทเอกชน มีนายภักดี โพธิศิริ กรรมการปปช.เป็นกรรมการเจ้าของสำนวน โดยทั้ง 2 คดี ปปช. รับสำนวนมาจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่มีความเห็นสั่งฟ้อง แต่เมื่อมีการส่งสำนวนไปที่อัยการ อัยการไม่เห็นด้วย จึงทำให้มีคณะทำงานร่วม 2 ฝ่าย คือ อัยการกับ ปปช. ซึ่งมีการหารือกันหลายครั้ง แต่เพิ่งมีข้อยุติ ที่อัยการ กับ ปปช.เห็นไม่ตรงกัน เมื่อกลางเดือนก.ย.ที่ผ่านมา
สำหรับ คดีทุจริตซีทีเอ็กซ์ บุคคลที่ถูกชี้มูลความผิด มีรวมกันเกือบ 30 ราย โดยมีทั้งนักการเมือง อดีตกรรมการ หรือบอร์ดท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ( ทอท.) และบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ ( บทม.) ที่รับผิดชอบการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และตัวแทนบริษัทเอกชน ซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมว.คมนาคม
ขณะที่ คดีการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย ให้กับเอกชนจำนวน 3 ราย อาทิเช่น กลุ่มกฤษดามหานคร ในชั้น คตส.และ ปปช. มีการให้เอาผิดนักการเมือง และอดีตกรรมการธนาคารกรุงไทย หลายสิบคน ซึ่งนอกจาก พ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว ยังมีชื่อนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ รวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ ยังมีนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร์
สำหรับเหตุผลที่อัยการยืนยันการไม่สั่งฟ้อง 2 คดี ได้รับรายงานว่า อัยการแจ้งว่า พบข้อไม่สมบูรณ์ในคดี จึงสั่งไม่ฟ้อง
นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการป.ป.ช. กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. พิจารณาเรื่องกล่าวหานายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรมว.คมนาคม ประธานกรรมการ ทอท. คณะกรรมการ ทอท. ประธานคณะทำงานและคณะทำงานพิจารณาต่ออายุสัญญาของบริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ผู้บริหารของกลุ่มบริษัทฯ และที่ปรึกษาของ ทอท. ร่วมกันทุจริตโครงการสัมปทานร้านค้าปลอดอากรและการใช้พื้นที่ในสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งการให้สัมปทานเอกชน ประกอบกิจการ Day Room (ห้องพักแรม) ในอาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
จากไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานแล้วคณะกรรมการมีมติ 5 ต่อ 4 เสียง ว่าไม่เป็นความผิด เนื่องจากกรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายร่วมทุน เพราะการลงทุนนั้นไม่ถึง 1,000 ล้านบาท และยังเป็นการดำเนินการที่ไม่กีดกันผู้ค้ารายอื่น เพราะมีการดำเนินการเพียงรายเดียว จึงมีมติให้คำร้องนั้นตกไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีทุจริตซีทีเอ็กซ์ มีนายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ปปช. เป็นกรรมการเจ้าของสำนวน ส่วนคดีธนาคารกรุงไทย ปล่อยกู้ให้บริษัทเอกชน มีนายภักดี โพธิศิริ กรรมการปปช.เป็นกรรมการเจ้าของสำนวน โดยทั้ง 2 คดี ปปช. รับสำนวนมาจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่มีความเห็นสั่งฟ้อง แต่เมื่อมีการส่งสำนวนไปที่อัยการ อัยการไม่เห็นด้วย จึงทำให้มีคณะทำงานร่วม 2 ฝ่าย คือ อัยการกับ ปปช. ซึ่งมีการหารือกันหลายครั้ง แต่เพิ่งมีข้อยุติ ที่อัยการ กับ ปปช.เห็นไม่ตรงกัน เมื่อกลางเดือนก.ย.ที่ผ่านมา
สำหรับ คดีทุจริตซีทีเอ็กซ์ บุคคลที่ถูกชี้มูลความผิด มีรวมกันเกือบ 30 ราย โดยมีทั้งนักการเมือง อดีตกรรมการ หรือบอร์ดท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ( ทอท.) และบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ ( บทม.) ที่รับผิดชอบการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และตัวแทนบริษัทเอกชน ซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมว.คมนาคม
ขณะที่ คดีการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย ให้กับเอกชนจำนวน 3 ราย อาทิเช่น กลุ่มกฤษดามหานคร ในชั้น คตส.และ ปปช. มีการให้เอาผิดนักการเมือง และอดีตกรรมการธนาคารกรุงไทย หลายสิบคน ซึ่งนอกจาก พ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว ยังมีชื่อนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ รวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ ยังมีนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร์