ASTVผู้จัดการรายวัน - “เผดิมชัย” เปิดตัวศูนย์รองรับ-ติดตาม-แก้ไข นโยบาย 300 บ. เผยผลประชุมคณะอนุกก.ค่าจ้างจังหวัด 48 จังหวัดไฟเขียวเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 40% วันที่ 1 ม.ค.ปีหน้า บุรีรัมย์มากสุดขึ้น 83.7 % จาก 166 บาท เป็น 300 บาท ด้านปลัดแรงงานเผยบอร์ดค่าจ้างกลางนัดถก 5 ต.ค.นี้ จี้อนุกก.ค่าจ้าง 6 จังหวัดที่เหลือรีบสรุปผล แลกข้อเสนอลดส่งเงินสมทบประกันสังคม ลดภาษี
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงานกล่าวในการเป็นประธานเปิดศูนย์อำนวยการยกระดับรายได้ 300 บาท ว่า กระทรวงแรงงานได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการยกระดับรายได้ 300 บาทขึ้น โดยมีนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานศูนย์ฯ เพื่อเป็นศูนย์ติดตามข้อมูลกลางด้านการยกระดับรายได้ 300 บาท โดยมีหน้าที่เก็บข้อมูล ประเมินผล วิเคราะห์และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศตั้งแต่ระดับคณะอนุกรรมการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด จนถึงคณะกรรมการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกลางของประเทศ นอกจากนี้ ทางศูนย์ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษา รับฟังปัญหา ให้ความช่วยเหลือแก่สถานประกอบการและแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนนำมาตรการการต่างๆ ที่รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายลงไปดำเนินการในพื้นที่
โดยความคืบหน้าของการประชุมคณะอนุกรรมค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมาได้ข้อสรุปจากคณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัดจำนวน 77 จังหวัด ดังนี้ 48 จังหวัดหรือคิดเป็น 63.15% เห็นด้วยกับนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยเพิ่มอีก 40% จากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันของแต่ละจังหวัดในวันที่ 1 ม.ค.2555 และปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ส่วนอีก 23 จังหวัดมีมติให้ปรับขึ้นไม่ถึง 40% โดยให้ปรับค่าจ้าง 30-35% และอีก 4 จังหวัดได้แก่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร ระยองและสุราษฎร์ธานีไม่มีการลงมติ ขณะที่ จ.สมุทรสงครามมีมติ 2 แนวทางคือ ให้ปรับค่าจ้าง 40% แล้วค่อยปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทในเวลา 3 ปี และอีกแนวทางคือให้ปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทในเวลา 3 ปี ส่วน จ.บึงกาฬ ยังไม่มีคณะอนุกรรมการฯ
“จังหวัดที่คณะอนุกรรมการฯมีมติให้ขึ้นค่าจ้างสูงสุดคือ บุรีรัมย์ ให้ขึ้น 83.7 % คือ จาก 166 บาท เป็น 300 บาท รองลงมาคือ จังหวัดมุกดาหาร มีมติให้ขึ้น 81.8% คือ จาก 165 บาทเป็น 300 บาท นอกจากนี้ ยังมี จ.ชัยภูมิ ปราจีนบุรี หนองบัวลำภู และ พัทลุงที่ให้ขึ้นมากกว่า 40%" รมว.แรงงาน กล่าว
นายเผดิมชัย กล่าวว่า ส่วนข้อเสนอแนะของภาคเอกชนต่อนโยบายยกระดับรายได้ 300 บาทมีสรุปดังนี้ เสนอให้ลดส่งเงินสมทบประกันสังคม ลดภาษีรายได้นิติบุคล และภาษีบุคคลธรรมดา ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่สถานประกอบการ ให้รัฐบาลชดเชยส่วนต่างที่ต้องจ่ายเพิ่ม ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเข้าไปฝึกทักษะเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้า และ ลดค่าครองชีพ
ทั้งนี้ มาตรการความช่วยเหลือของรัฐบาลมีดังนี้ กระทรวงการคลังยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายเครื่องจักรเก่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.)จัดฝึกอบรมเพิ่มผลิตภาพแรงงาน แรงงานใหม่ 60,000 คน แรงงานในสถานประกอบการ 2.4 แสนคน โดยค่าใช้จ่ายนำไปลดหย่อนภาษี พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ได้ 200 เปอร์เซ็นต์ และกระทรวงการคลังสนับสนุนแหล่งเงินทุนและลดภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2555 จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 ซึ่งจากผลสำรวจของคณะอนุกรรมการจังหวัดต่างๆเมื่อปรับเพิ่มค่าจ้างขึ้นอีก 40% โดยเฉลี่ยต้นทุนค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ขณะที่รัฐลดภาษีนิติบุคคลร้อยละ 7 ซึ่งช่วยลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการได้
ด้าน นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ใน 6 จังหวัดที่เหลือได้แก่ จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร ระยอง สุราษฎร์ธานี สมุทรสงครามและบึงกาฬได้ให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดสรุปเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำและส่งข้อมูลมายังกระทรวงแรงงานภายใน 2-3 วันนี้ จะนำผลประชุมคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด 77 จังหวัดเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางในวันที่ 5 ต.ค.นี้ เวลา 09.30 น.ที่กระทรวงแรงงาน
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงานกล่าวในการเป็นประธานเปิดศูนย์อำนวยการยกระดับรายได้ 300 บาท ว่า กระทรวงแรงงานได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการยกระดับรายได้ 300 บาทขึ้น โดยมีนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานศูนย์ฯ เพื่อเป็นศูนย์ติดตามข้อมูลกลางด้านการยกระดับรายได้ 300 บาท โดยมีหน้าที่เก็บข้อมูล ประเมินผล วิเคราะห์และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศตั้งแต่ระดับคณะอนุกรรมการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด จนถึงคณะกรรมการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกลางของประเทศ นอกจากนี้ ทางศูนย์ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษา รับฟังปัญหา ให้ความช่วยเหลือแก่สถานประกอบการและแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนนำมาตรการการต่างๆ ที่รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายลงไปดำเนินการในพื้นที่
โดยความคืบหน้าของการประชุมคณะอนุกรรมค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมาได้ข้อสรุปจากคณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัดจำนวน 77 จังหวัด ดังนี้ 48 จังหวัดหรือคิดเป็น 63.15% เห็นด้วยกับนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยเพิ่มอีก 40% จากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันของแต่ละจังหวัดในวันที่ 1 ม.ค.2555 และปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ส่วนอีก 23 จังหวัดมีมติให้ปรับขึ้นไม่ถึง 40% โดยให้ปรับค่าจ้าง 30-35% และอีก 4 จังหวัดได้แก่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร ระยองและสุราษฎร์ธานีไม่มีการลงมติ ขณะที่ จ.สมุทรสงครามมีมติ 2 แนวทางคือ ให้ปรับค่าจ้าง 40% แล้วค่อยปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทในเวลา 3 ปี และอีกแนวทางคือให้ปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทในเวลา 3 ปี ส่วน จ.บึงกาฬ ยังไม่มีคณะอนุกรรมการฯ
“จังหวัดที่คณะอนุกรรมการฯมีมติให้ขึ้นค่าจ้างสูงสุดคือ บุรีรัมย์ ให้ขึ้น 83.7 % คือ จาก 166 บาท เป็น 300 บาท รองลงมาคือ จังหวัดมุกดาหาร มีมติให้ขึ้น 81.8% คือ จาก 165 บาทเป็น 300 บาท นอกจากนี้ ยังมี จ.ชัยภูมิ ปราจีนบุรี หนองบัวลำภู และ พัทลุงที่ให้ขึ้นมากกว่า 40%" รมว.แรงงาน กล่าว
นายเผดิมชัย กล่าวว่า ส่วนข้อเสนอแนะของภาคเอกชนต่อนโยบายยกระดับรายได้ 300 บาทมีสรุปดังนี้ เสนอให้ลดส่งเงินสมทบประกันสังคม ลดภาษีรายได้นิติบุคล และภาษีบุคคลธรรมดา ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่สถานประกอบการ ให้รัฐบาลชดเชยส่วนต่างที่ต้องจ่ายเพิ่ม ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเข้าไปฝึกทักษะเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้า และ ลดค่าครองชีพ
ทั้งนี้ มาตรการความช่วยเหลือของรัฐบาลมีดังนี้ กระทรวงการคลังยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายเครื่องจักรเก่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.)จัดฝึกอบรมเพิ่มผลิตภาพแรงงาน แรงงานใหม่ 60,000 คน แรงงานในสถานประกอบการ 2.4 แสนคน โดยค่าใช้จ่ายนำไปลดหย่อนภาษี พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ได้ 200 เปอร์เซ็นต์ และกระทรวงการคลังสนับสนุนแหล่งเงินทุนและลดภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2555 จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 ซึ่งจากผลสำรวจของคณะอนุกรรมการจังหวัดต่างๆเมื่อปรับเพิ่มค่าจ้างขึ้นอีก 40% โดยเฉลี่ยต้นทุนค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ขณะที่รัฐลดภาษีนิติบุคคลร้อยละ 7 ซึ่งช่วยลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการได้
ด้าน นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ใน 6 จังหวัดที่เหลือได้แก่ จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร ระยอง สุราษฎร์ธานี สมุทรสงครามและบึงกาฬได้ให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดสรุปเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำและส่งข้อมูลมายังกระทรวงแรงงานภายใน 2-3 วันนี้ จะนำผลประชุมคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด 77 จังหวัดเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางในวันที่ 5 ต.ค.นี้ เวลา 09.30 น.ที่กระทรวงแรงงาน