หน้าฝนมีน้ำหลาก ฝนตกมาก มีน้ำท่วมขัง เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์รู้จัก และคุ้นเคยเป็นอย่างดี และได้มีการปรับตัวให้อยู่ร่วมกับปรากฏการณ์ที่ว่านี้จนกระทั่งอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อนมาเป็นเวลานานนับร้อยนับพันปี ทั้งนี้จะเห็นได้จากพฤติกรรมการปรับตัวของผู้คนในสังคมไทย ซึ่งอยู่อาศัยในพื้นที่ราบลุ่มดังต่อไปนี้
1. สร้างบ้านเรือนชั้นเดียวใต้ถุนสูงให้รอดพ้นจากน้ำท่วม โดยกำหนดความสูงของใต้ถุนจากระดับน้ำที่เคยท่วมสูงสุดในอดีตที่ผ่านมา
2. ขุดคูคลองเพื่อให้น้ำไหลผ่านลงสู่ทะเลโดยเร็ว และในขณะเดียวกันใช้เป็นทางเดินเรือเพื่อสัญจรไปมา และขนส่งสินค้าทั้งในภาวะปกติและภาวะน้ำท่วม
3. ทุกครัวเรือนซึ่งมีที่อยู่อาศัยในพื้นที่ราบลุ่ม และน้ำท่วมขัง ต้องมีเรือไว้ใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูน้ำหลาก เมื่อสิ้นฤดูน้ำหลาก และไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน ก็จะนำเรือไปเก็บไว้ใต้ถุนบ้านหรือในโรงเก็บเรือ
ในทุกปีก่อนฤดูฝนจะมาถึง จะนำเรือออกมาตากแดด และทาด้วยน้ำมันยางผสมผงชันอุดรูรั่ว และรอยแตกให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
4. ก่อนถึงฤดูฝน ทุกครัวเรือนจะเตรียมข้าวสาร และไม้ฟืนเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มอาหารในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้งานตลอดฤดูฝน
5. ในการทำนา ชาวนาในยุคก่อนทำเพียงนาปีหรือทำปีละครั้งเดียว และมีการเลือกพันธุ์ข้าวให้สอดคล้องกับพื้นที่เพาะปลูก โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของพื้นที่ดังนี้
5.1 พื้นที่ดอน จะปลูกข้าวพันธุ์ที่ใช้เวลาในการเจริญงอกงาม และออกรวงจนถึงเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 3-4 เดือน ที่ชาวนาในพื้นที่ราบลุ่มใกล้ทะเลสาบสงขลาเรียกว่า ข้าวเบา จะให้ผลผลิตเร็ว และเก็บเกี่ยวได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากการขาดน้ำเพราะฝนแล้ง ทั้งไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเพราะที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง แต่มีข้อเสียคือข้าวพันธุ์นี้น้ำหนักเบา และรวงสั้นมีเมล็ดข้าวน้อย เมื่อเทียบกับข้าวที่ปลูกในที่ลุ่มตามข้อ 5.2
5.2 พื้นที่ลุ่ม และมีน้ำท่วมขังในฤดูฝนจะปลูกข้าวที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนถึงเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 6-7 เดือน หรือที่ชาวบ้านในภาคใต้เรียกว่า ข้าวพันธุ์หนัก ข้าวชนิดนี้ทนทานต่อภาวะน้ำท่วมขัง และมีการปรับตัวให้สูงขึ้นตามระดับน้ำที่เพิ่มมากขึ้น และไม่ล้มราบไปกับพื้นเมื่อน้ำลด ทั้งยังให้ผลผลิตมาก รวงยาวเมล็ดข้าวมาก และมีน้ำหนักมากกว่าข้าวพันธุ์เบา
ทั้ง 5 ประการนี้คือพฤติกรรมการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยที่ไม่ต้องต่อสู้เพื่อเอาชนะธรรมชาติของผู้คนในสังคมชนบทของไทยในอดีต ถึงแม้จะมีฝนตกและมีน้ำหลากมาก็ไม่เดือดร้อนเฉกเช่นผู้คนในปัจจุบัน
ทำไมผู้คนในปัจจุบันจึงเดือดร้อนจากอุทกภัยมากกว่าแต่ก่อน ทั้งๆ ที่ปัญหาน้ำท่วมก็ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหาดังกล่าวข้างต้นชัดเจน และเป็นพื้นในการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับอดีต ก็จะพบความเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรม อันถือได้ว่าเป็นเหตุให้น้ำท่วมและก่อความเดือดร้อนดังต่อไปนี้
1. การสร้างบ้านเรือนในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนจากชั้นเดียวใต้ถุนสูงมาเป็นชั้นเดียวโดยมีพื้นบ้านตั้งอยู่ในระดับดิน แต่อาจมีการถมให้สูงขึ้นมาเล็กน้อย แต่ไม่สูงพอจะหนีน้ำท่วมได้
2. ในการสัญจรไปมาใช้รถซึ่งวิ่งไปตามถนนแทนเรือ จึงทำให้คูคลองถูกถมและทำถนนแทน และที่ไม่ถูกถมก็ปล่อยให้ตื้นเขินน้ำไหลไม่สะดวก ดังนั้นเมื่อฝนตกลงมาก็ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน
3. ชาวนาในปัจจุบันนอกจากทำนาปีแล้ว ยังทำนาปรังหรือนานอกฤดูกาลทำนา และนาปรังได้ทำก่อนฤดูฝน และข้าวที่ใช้ปลูกในการทำนาปรังจะมีอายุสั้นคือ 3-4 เดือนออกรวง ดังนั้นในขณะที่ข้าวกำลังออกรวงใกล้จะเก็บเกี่ยว ก็เป็นระยะเดียวกับที่ฤดูฝนมาถึง จึงเป็นอุปสรรคในการที่จะปล่อยให้น้ำเข้าท่วมทุ่งดังเช่นเมื่อก่อน และการที่พื้นที่รับน้ำส่วนหนึ่งลดลงไปนี้เอง ทำให้น้ำที่ไหลบ่าลงมาจากเหนือเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยแม้ในอดีตไม่เคยท่วมมาก่อน
อีกประการหนึ่ง ชาวนาในอดีตปลูกข้าวเพื่อกิน เหลือจึงขาย จึงไม่เดือดร้อนเมื่อน้ำท่วมเพราะยังมีข้าวอยู่ในยุ้ง แม้ข้าวในนาจะเสียหาย
แต่ชาวนาในปัจจุบันปลูกข้าวขาย และซื้อข้าวสารกิน จึงทำให้เดือดร้อนเมื่อข้าวในนาเสียหาย เพราะนอกจากไม่มีข้าวกินแล้วยังไม่มีพันธุ์ข้าวที่จะปลูกใหม่ด้วย
นี่คือความแตกต่างที่ผู้คนในสองยุคเดือดร้อนต่างกัน ทั้งๆ ที่พบปัญหาเดียวกันคือน้ำท่วม
นอกจากนี้ ผู้คนในปัจจุบันถูกลัทธิวัตถุนิยมครอบงำ และมีความโลภ ความเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ ทั้งพืชไร่และพืชสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชสวนอันได้แก่ ปาล์ม และยางพารา มีการทำลายป่ามากที่สุด ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายก็คือ เมื่อราคายางแพงขึ้น การบุกรุกป่าในภาคใต้ก็เพิ่มมากขึ้น และลุกลามไปยังภาคอีสาน และเหนือแล้วบางส่วน
ในการทำลายป่าเพื่อปลูกยางพารา ถ้ามองอย่างผิวเผินก็จะไม่เห็นความแตกต่างชัดเจนว่าป่าได้หายไปกลายเป็นทุ่งเหมือนทำลายป่า และปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด หรือมันสำปะหลัง
แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป ยางพาราเป็นไม้รากลอยไม่ยึดหน้าดินได้เท่ากับไม้เนื้อแข็งประเภทอื่น จึงโค่นล้มง่ายเมื่อน้ำพัดมา และที่ยิ่งกว่านี้ก็คือ การทำสวนยางจะต้องมีการกำจัดวัชพืชที่ปกคลุมดินออกให้หมด จึงทำให้ฝนที่ตกลงมาจะถึงพื้นดินโดยไม่มีต้นไม้ใหญ่และพืชคลุมดินชะลอไว้ จึงไหลบ่าอย่างรวดเร็วและรุนแรงพอที่จะทำลายหน้าดินให้ถล่มลงมาได้ง่ายดังที่ได้เกิดขึ้นที่กระบี่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ไม่ว่าอุทกภัยจะเกิดจากอะไร และเกิดแล้วทำความเดือดร้อนแค่ไหน สิ่งที่ต้องคิดในเรื่องนี้คงจะไม่หยุดอยู่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการบรรเทาความเดือดร้อนด้วยการแจกของ และให้เงินอุดหนุน เงินชดเชยความเสียหาย แต่จะต้องมองไกลไปกว่านี้ คือ จะให้ความเดือดร้อนลดลงได้อย่างไรโดยที่รัฐบาลไม่ต้องแบกภาระเงินงบประมาณเพียงฝ่ายเดียว แต่ควรที่จะช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยให้อยู่กับภาวะน้ำท่วมได้โดยไม่เดือดร้อนเหมือนที่คนในยุคอดีตทำมาแล้ว
แต่แน่นอนว่าคงจะทำทุกอย่างโดยย้อนไปเหมือนอดีตไม่ได้ แต่ทำบางอย่างได้ เช่น การปลูกบ้านควรจะหันไปทำแบบเดิมๆ คือใต้ถุนสูง และในส่วนของคูคลองก็ควรที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาโดยการขุดเพิ่ม และปรับปรุงส่วนที่มีอยู่ให้รองรับการไหลของน้ำได้ดีขึ้น รวมไปถึงการปลูกป่าเพิ่มเติม และการปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากการทำนาปรังก่อนที่จะถึงฤดูน้ำหลาก ก็ควรจะงดเพื่อให้ท้องทุ่งเป็นที่รองรับน้ำทำให้ไม่ต้องกังวลต่อความเสียหายแก่ชาวนาดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
1. สร้างบ้านเรือนชั้นเดียวใต้ถุนสูงให้รอดพ้นจากน้ำท่วม โดยกำหนดความสูงของใต้ถุนจากระดับน้ำที่เคยท่วมสูงสุดในอดีตที่ผ่านมา
2. ขุดคูคลองเพื่อให้น้ำไหลผ่านลงสู่ทะเลโดยเร็ว และในขณะเดียวกันใช้เป็นทางเดินเรือเพื่อสัญจรไปมา และขนส่งสินค้าทั้งในภาวะปกติและภาวะน้ำท่วม
3. ทุกครัวเรือนซึ่งมีที่อยู่อาศัยในพื้นที่ราบลุ่ม และน้ำท่วมขัง ต้องมีเรือไว้ใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูน้ำหลาก เมื่อสิ้นฤดูน้ำหลาก และไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน ก็จะนำเรือไปเก็บไว้ใต้ถุนบ้านหรือในโรงเก็บเรือ
ในทุกปีก่อนฤดูฝนจะมาถึง จะนำเรือออกมาตากแดด และทาด้วยน้ำมันยางผสมผงชันอุดรูรั่ว และรอยแตกให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
4. ก่อนถึงฤดูฝน ทุกครัวเรือนจะเตรียมข้าวสาร และไม้ฟืนเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มอาหารในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้งานตลอดฤดูฝน
5. ในการทำนา ชาวนาในยุคก่อนทำเพียงนาปีหรือทำปีละครั้งเดียว และมีการเลือกพันธุ์ข้าวให้สอดคล้องกับพื้นที่เพาะปลูก โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของพื้นที่ดังนี้
5.1 พื้นที่ดอน จะปลูกข้าวพันธุ์ที่ใช้เวลาในการเจริญงอกงาม และออกรวงจนถึงเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 3-4 เดือน ที่ชาวนาในพื้นที่ราบลุ่มใกล้ทะเลสาบสงขลาเรียกว่า ข้าวเบา จะให้ผลผลิตเร็ว และเก็บเกี่ยวได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากการขาดน้ำเพราะฝนแล้ง ทั้งไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเพราะที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง แต่มีข้อเสียคือข้าวพันธุ์นี้น้ำหนักเบา และรวงสั้นมีเมล็ดข้าวน้อย เมื่อเทียบกับข้าวที่ปลูกในที่ลุ่มตามข้อ 5.2
5.2 พื้นที่ลุ่ม และมีน้ำท่วมขังในฤดูฝนจะปลูกข้าวที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนถึงเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 6-7 เดือน หรือที่ชาวบ้านในภาคใต้เรียกว่า ข้าวพันธุ์หนัก ข้าวชนิดนี้ทนทานต่อภาวะน้ำท่วมขัง และมีการปรับตัวให้สูงขึ้นตามระดับน้ำที่เพิ่มมากขึ้น และไม่ล้มราบไปกับพื้นเมื่อน้ำลด ทั้งยังให้ผลผลิตมาก รวงยาวเมล็ดข้าวมาก และมีน้ำหนักมากกว่าข้าวพันธุ์เบา
ทั้ง 5 ประการนี้คือพฤติกรรมการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยที่ไม่ต้องต่อสู้เพื่อเอาชนะธรรมชาติของผู้คนในสังคมชนบทของไทยในอดีต ถึงแม้จะมีฝนตกและมีน้ำหลากมาก็ไม่เดือดร้อนเฉกเช่นผู้คนในปัจจุบัน
ทำไมผู้คนในปัจจุบันจึงเดือดร้อนจากอุทกภัยมากกว่าแต่ก่อน ทั้งๆ ที่ปัญหาน้ำท่วมก็ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหาดังกล่าวข้างต้นชัดเจน และเป็นพื้นในการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับอดีต ก็จะพบความเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรม อันถือได้ว่าเป็นเหตุให้น้ำท่วมและก่อความเดือดร้อนดังต่อไปนี้
1. การสร้างบ้านเรือนในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนจากชั้นเดียวใต้ถุนสูงมาเป็นชั้นเดียวโดยมีพื้นบ้านตั้งอยู่ในระดับดิน แต่อาจมีการถมให้สูงขึ้นมาเล็กน้อย แต่ไม่สูงพอจะหนีน้ำท่วมได้
2. ในการสัญจรไปมาใช้รถซึ่งวิ่งไปตามถนนแทนเรือ จึงทำให้คูคลองถูกถมและทำถนนแทน และที่ไม่ถูกถมก็ปล่อยให้ตื้นเขินน้ำไหลไม่สะดวก ดังนั้นเมื่อฝนตกลงมาก็ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน
3. ชาวนาในปัจจุบันนอกจากทำนาปีแล้ว ยังทำนาปรังหรือนานอกฤดูกาลทำนา และนาปรังได้ทำก่อนฤดูฝน และข้าวที่ใช้ปลูกในการทำนาปรังจะมีอายุสั้นคือ 3-4 เดือนออกรวง ดังนั้นในขณะที่ข้าวกำลังออกรวงใกล้จะเก็บเกี่ยว ก็เป็นระยะเดียวกับที่ฤดูฝนมาถึง จึงเป็นอุปสรรคในการที่จะปล่อยให้น้ำเข้าท่วมทุ่งดังเช่นเมื่อก่อน และการที่พื้นที่รับน้ำส่วนหนึ่งลดลงไปนี้เอง ทำให้น้ำที่ไหลบ่าลงมาจากเหนือเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยแม้ในอดีตไม่เคยท่วมมาก่อน
อีกประการหนึ่ง ชาวนาในอดีตปลูกข้าวเพื่อกิน เหลือจึงขาย จึงไม่เดือดร้อนเมื่อน้ำท่วมเพราะยังมีข้าวอยู่ในยุ้ง แม้ข้าวในนาจะเสียหาย
แต่ชาวนาในปัจจุบันปลูกข้าวขาย และซื้อข้าวสารกิน จึงทำให้เดือดร้อนเมื่อข้าวในนาเสียหาย เพราะนอกจากไม่มีข้าวกินแล้วยังไม่มีพันธุ์ข้าวที่จะปลูกใหม่ด้วย
นี่คือความแตกต่างที่ผู้คนในสองยุคเดือดร้อนต่างกัน ทั้งๆ ที่พบปัญหาเดียวกันคือน้ำท่วม
นอกจากนี้ ผู้คนในปัจจุบันถูกลัทธิวัตถุนิยมครอบงำ และมีความโลภ ความเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ ทั้งพืชไร่และพืชสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชสวนอันได้แก่ ปาล์ม และยางพารา มีการทำลายป่ามากที่สุด ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายก็คือ เมื่อราคายางแพงขึ้น การบุกรุกป่าในภาคใต้ก็เพิ่มมากขึ้น และลุกลามไปยังภาคอีสาน และเหนือแล้วบางส่วน
ในการทำลายป่าเพื่อปลูกยางพารา ถ้ามองอย่างผิวเผินก็จะไม่เห็นความแตกต่างชัดเจนว่าป่าได้หายไปกลายเป็นทุ่งเหมือนทำลายป่า และปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด หรือมันสำปะหลัง
แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป ยางพาราเป็นไม้รากลอยไม่ยึดหน้าดินได้เท่ากับไม้เนื้อแข็งประเภทอื่น จึงโค่นล้มง่ายเมื่อน้ำพัดมา และที่ยิ่งกว่านี้ก็คือ การทำสวนยางจะต้องมีการกำจัดวัชพืชที่ปกคลุมดินออกให้หมด จึงทำให้ฝนที่ตกลงมาจะถึงพื้นดินโดยไม่มีต้นไม้ใหญ่และพืชคลุมดินชะลอไว้ จึงไหลบ่าอย่างรวดเร็วและรุนแรงพอที่จะทำลายหน้าดินให้ถล่มลงมาได้ง่ายดังที่ได้เกิดขึ้นที่กระบี่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ไม่ว่าอุทกภัยจะเกิดจากอะไร และเกิดแล้วทำความเดือดร้อนแค่ไหน สิ่งที่ต้องคิดในเรื่องนี้คงจะไม่หยุดอยู่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการบรรเทาความเดือดร้อนด้วยการแจกของ และให้เงินอุดหนุน เงินชดเชยความเสียหาย แต่จะต้องมองไกลไปกว่านี้ คือ จะให้ความเดือดร้อนลดลงได้อย่างไรโดยที่รัฐบาลไม่ต้องแบกภาระเงินงบประมาณเพียงฝ่ายเดียว แต่ควรที่จะช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยให้อยู่กับภาวะน้ำท่วมได้โดยไม่เดือดร้อนเหมือนที่คนในยุคอดีตทำมาแล้ว
แต่แน่นอนว่าคงจะทำทุกอย่างโดยย้อนไปเหมือนอดีตไม่ได้ แต่ทำบางอย่างได้ เช่น การปลูกบ้านควรจะหันไปทำแบบเดิมๆ คือใต้ถุนสูง และในส่วนของคูคลองก็ควรที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาโดยการขุดเพิ่ม และปรับปรุงส่วนที่มีอยู่ให้รองรับการไหลของน้ำได้ดีขึ้น รวมไปถึงการปลูกป่าเพิ่มเติม และการปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากการทำนาปรังก่อนที่จะถึงฤดูน้ำหลาก ก็ควรจะงดเพื่อให้ท้องทุ่งเป็นที่รองรับน้ำทำให้ไม่ต้องกังวลต่อความเสียหายแก่ชาวนาดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน