ASTVผู้จัดการรายวัน – กรมศุลกากรสั่งคุมเข้มแนวชายแดนเขมร-พม่าหวั่นเกษตรกรลักลอบขนข้าวสารสวมสิทธิ์เข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ขอความร่วมมือตำรวจและกองทัพเฝ้าระวังตลอดแนวชายแดน
นายสมชาย พูนสวัสดิ์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรได้สั่งการไปยังเจ้าหน้าทุกด่านศุลกากรที่เชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งกัมพูชา ลาวและพม่าให้ตรวจเข้มการนำเข้าสินค้าเข้ามาใน
ราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะข้าวเปลือก เพื่อป้องกันการนำข้าวมาสวมสิทธิ์เกษตรกรที่จะเข้าโครงการรับจำนำข้าวในวันที่ 7 ตุลาคม 2554 หลังจากที่พื้นที่เพาะปลูกของไทยได้รับความเสียหายอย่างหนัก จาก
เหตุการณ์อุทกภัยที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้และยังมีแนวโน้มที่จะได้รับความเสียหายต่อเนื่องจากพายุใต้ฝุ่นที่กำลังจะเข้ามาอีกหลายลูก
ทั้งนี้ กรมศุลกากรจะต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบตามแนวชายแดนที่ติดกับเขตประเทศเพื่อนบ้าน โดยในส่วนของกัมพูชา โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกในพื้นที่ของจังหวัดสระแก้ว จันทบุรีและตราดซึ่งพื้นที่แนวชายแดนบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งเป็นอาณาเขตทางทะเลกำลังของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึงจะต้องขอความร่วมมือกับตำรวจตระเวนชายแดน กองทัพบกและกองทัพเรือเพื่อคุมเข้มตลอดแนวชายแดน
“บริเวณสระแก้ว จันทบุรีและตราดตลอดแนวน่ากังวลว่าอาจมีการขนข้าวเปลือกเข้ามาสสวมสิทธิ์ตามโครงการรับจำนำของรัฐบาลเพราะพื้นที่ต่อเนื่องฝั่งกัมพูชาเป็นพื้นที่ราบและเป็นแหล่งปลูกข้าวหลักของกัมพูชาจึงห่วงว่าจะมีการลักลอบนำเข้าข้าวสารเข้ามาในบริเวณดังกล่าว รวมไปถึงตามน่านน้ำที่ค่อนข้างจะควบคุมได้ยากต้องขอความร่วมมือจากฝ่ายความมั่นคงดูแลพื้นที่ส่วนนี้เป็นพิเศษ” นายสมชายกล่าว
ส่วนตามแนวชายแดนด่านศุลกากรที่เหนือขึ้นไปจนถึงบริเวณภาคอีสานจะประสานงานกับตำรวจตระเวนชายแดน ขณะที่ด่านชายแดนที่ติดกับพม่าก็เช่นเดียวกันจะประสานความร่วมมือกับทั้ง 3 หน่วย เพื่อทำงานร่วมกัน โดยจุดที่น่ากังวลมากที่สุดคือ ด่านแม่สอด จังหวัดตาก เพราะมีเพียงแม่น้ำเมยเป็นชายแดนกั้นเท่านั้น รวมถึงตามแนวชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่อาจจะมีการลักลอบได้ขนย้ายข้าวได้สะดวกขึ้น
ทั้งนี้ รัฐบาลจะเปิดโครงการรับจำนำข้าวนาปี ฤดูกาลผลิต 2554/2555 ในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ โดยจะรับจำนำข้าวทั้งหมด 25 ล้านตันจากพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ 60 ล้านไร่ แต่ปรากฏว่า ขณะนี้มีพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยไปแล้วเบื้องต้น 4 ล้านไร่ ทำให้เกิดความกังวลที่จะมีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์เกษตรกรจากพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายดังกล่าวแทน.
นายสมชาย พูนสวัสดิ์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรได้สั่งการไปยังเจ้าหน้าทุกด่านศุลกากรที่เชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งกัมพูชา ลาวและพม่าให้ตรวจเข้มการนำเข้าสินค้าเข้ามาใน
ราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะข้าวเปลือก เพื่อป้องกันการนำข้าวมาสวมสิทธิ์เกษตรกรที่จะเข้าโครงการรับจำนำข้าวในวันที่ 7 ตุลาคม 2554 หลังจากที่พื้นที่เพาะปลูกของไทยได้รับความเสียหายอย่างหนัก จาก
เหตุการณ์อุทกภัยที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้และยังมีแนวโน้มที่จะได้รับความเสียหายต่อเนื่องจากพายุใต้ฝุ่นที่กำลังจะเข้ามาอีกหลายลูก
ทั้งนี้ กรมศุลกากรจะต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบตามแนวชายแดนที่ติดกับเขตประเทศเพื่อนบ้าน โดยในส่วนของกัมพูชา โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกในพื้นที่ของจังหวัดสระแก้ว จันทบุรีและตราดซึ่งพื้นที่แนวชายแดนบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งเป็นอาณาเขตทางทะเลกำลังของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึงจะต้องขอความร่วมมือกับตำรวจตระเวนชายแดน กองทัพบกและกองทัพเรือเพื่อคุมเข้มตลอดแนวชายแดน
“บริเวณสระแก้ว จันทบุรีและตราดตลอดแนวน่ากังวลว่าอาจมีการขนข้าวเปลือกเข้ามาสสวมสิทธิ์ตามโครงการรับจำนำของรัฐบาลเพราะพื้นที่ต่อเนื่องฝั่งกัมพูชาเป็นพื้นที่ราบและเป็นแหล่งปลูกข้าวหลักของกัมพูชาจึงห่วงว่าจะมีการลักลอบนำเข้าข้าวสารเข้ามาในบริเวณดังกล่าว รวมไปถึงตามน่านน้ำที่ค่อนข้างจะควบคุมได้ยากต้องขอความร่วมมือจากฝ่ายความมั่นคงดูแลพื้นที่ส่วนนี้เป็นพิเศษ” นายสมชายกล่าว
ส่วนตามแนวชายแดนด่านศุลกากรที่เหนือขึ้นไปจนถึงบริเวณภาคอีสานจะประสานงานกับตำรวจตระเวนชายแดน ขณะที่ด่านชายแดนที่ติดกับพม่าก็เช่นเดียวกันจะประสานความร่วมมือกับทั้ง 3 หน่วย เพื่อทำงานร่วมกัน โดยจุดที่น่ากังวลมากที่สุดคือ ด่านแม่สอด จังหวัดตาก เพราะมีเพียงแม่น้ำเมยเป็นชายแดนกั้นเท่านั้น รวมถึงตามแนวชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่อาจจะมีการลักลอบได้ขนย้ายข้าวได้สะดวกขึ้น
ทั้งนี้ รัฐบาลจะเปิดโครงการรับจำนำข้าวนาปี ฤดูกาลผลิต 2554/2555 ในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ โดยจะรับจำนำข้าวทั้งหมด 25 ล้านตันจากพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ 60 ล้านไร่ แต่ปรากฏว่า ขณะนี้มีพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยไปแล้วเบื้องต้น 4 ล้านไร่ ทำให้เกิดความกังวลที่จะมีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์เกษตรกรจากพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายดังกล่าวแทน.