ASTVผู้จัดการรายวัน-“สุกำพล”เล็งเจรจามหาดไทย ขอโอนบีทีเอสคืนคมนาคม พร้อมให้รฟม.คุมเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่ เพื่อสะดวกในการบริหารตั๋วร่วม เหตุอนาคตคมนาคมจะมีรถไฟฟ้าอีกหลายสาย ขณะที่ครม.เห็นชอบคลังค้ำเงินกู้สร้างสายสีเขียว รวม 3.72 หมื่นล้านบาท พร้อมเห็นชอบกู้เงิน 1,860 ล้านบาทให้แอร์พอร์ตลิ้งค์ใช้หมุนเวียน ด้านคลังหวั่น 20 บาทตลอดสายกระทบบริการและสภาพคล่องแอร์พอร์ตลิ้งค์
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัญมนตรี (ครม.) วานนี้ ( 27 ก.ย.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังกู้เงินในประเทศและให้กู้ต่อการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นค่าก่อสร้างงานโยธา ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานและค่า Provision Sum โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ วงเงิน 19,381ล้านบาท และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ วงเงิน 17,838ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนที่รัฐบาลเป็นผู้รับภาระการลงทุน และเห็นชอบให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 1,860 ล้านบาท เพื่อให้กู้ต่อบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการบริหารจัดการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์
ทั้งนี้ ได้ชี้แจงในที่ประชุมครม. ว่า การที่ในอนาคตกระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้กำกับดูแลรถไฟฟ้าอีกหลายสาย ดังนั้น รถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่ ก็ควรให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดูแลการเดินรถ เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกัน ซึ่งทางรฟม. และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะต้องหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะไม่เป็นปัญหา เพราะทั้ง 2 โครงการ ยังต้องใช้เวลาก่อสร้างอีกหลายปีจึงจะแล้วเสร็จ รวมทั้งจะสามารถพิจารณาในเรื่องระบบตั๋วร่วมได้อีกด้วย
“ผมได้เกริ่นในที่ประชุมครม.ไปแล้วว่า การที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้กำกับดูแลกทม. โอนรถไฟฟ้าบีทีเอส มาให้กระทรวงคมนาคมดูแลจะได้หรือไม่ ซึ่งก็ยังคงต้องคุยกันต่ออีก”รมว.คมนาคมกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังให้รฟม.เร่งศึกษารูปแบบการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนจัดหาระบบรถไฟฟ้าและตัวรถไฟฟ้าและให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มและสีเขียวอ่อน และเสนอให้ครม.พิจารณาตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เพื่อให้การดำเนินงานในส่วนงานจัดหาระบบรถไฟฟ้า บริหารจัดการเดินรถ และการซ่อมบำรุงแล้วเสร็จสอดคล้องกับระยะเวลาก่อสร้างงานโยธาและสามารถเปิดให้บริการได้โดยเร็ว และให้รฟม.และกระทรวงคมนาคมเร่งประสานกับกทม. ในฐานะเจ้าของบีทีเอส พิจารณาแนวทางการเชื่อมโยงเส้นทางโครงการสายสีเขียวกับบีทีเอส และการเดินรถ การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมและการใช้ระบบตั๋วร่วม รวมทั้งแนวทางการแบ่งรายได้ที่เหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อให้เกิดความสะดวกและจูงใจประชาชนในการใช้ระบบขนส่งมวลชนเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังเห็นชอบการเสนอขอรับเงินอุดหนุนประจำปีงบประมาณ 2555 ของร.ฟ.ท. จำนวน 2,350 ล้านบาท และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 1,263 ล้านบาท ตามความเห็นของคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า นโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น ในส่วนของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ ขบวน City Line ทางกระทรวงการคลังมีข้อคิดเห็นว่า จะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. และทำให้กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา ติดลบเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2555-62 และเมื่อรวมภาระในการชำระเงินกู้
สำหรับการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติมในปี 2560-74 ประมาณปีละ 200 ล้านบาท ทั้งหมดจะทำให้มีปัญหาขาดสภาพคล่องและต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก จำนวน 2,983 ล้านบาท ในปี 2555-60
ส่วนในแง่ผลกระทบคุณภาพการให้บริการ เนื่องจากขบวน City Line สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่เกิน 42,000 คนต่อวัน ขณะที่ปัจจุบัน มีผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่แล้ว 36,000 คนต่อวัน ดังนั้นหากลดค่าโดยสารจะทำให้มีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเกินกว่าระบบจะรองรับได้ โดยการลงทุนจัดหาขบวนจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติมจะต้องใช้เวลาในการจัดซื้อและผลิตรถไฟฟ้าอย่างน้อย 2 ปี
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ขณะนี้ สนข.ได้ให้ รฟม. และร.ฟ.ท. ไปจัดทำรายละเอียดการดำเนินงานทั้งหมด ตั้งแต่จำนวนผู้โดยสาร รายได้ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพิจารณาร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม โดยคาดว่าจะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาประชุมร่วมกันได้ในเดือนต.ค.นี้
“ตอนนี้ทุกหน่วยงานจะต้องไปจัดทำข้อมูลของตัวเองมาให้ละเอียดก่อน รวมถึงของ สนข.ด้วย เพราะการพิจารณาเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องยากจะต้องมีความชัดเจนมากที่สุด ก่อนจะสรุปแนวทางการดำเนินโครงการออกมาในรูปแบบใด ทำได้หรือไม่ได้ โดยมั่นใจว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้ตามที่กำหนดแน่นอน”นางสร้อยทิพย์กล่าว
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัญมนตรี (ครม.) วานนี้ ( 27 ก.ย.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังกู้เงินในประเทศและให้กู้ต่อการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นค่าก่อสร้างงานโยธา ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานและค่า Provision Sum โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ วงเงิน 19,381ล้านบาท และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ วงเงิน 17,838ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนที่รัฐบาลเป็นผู้รับภาระการลงทุน และเห็นชอบให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 1,860 ล้านบาท เพื่อให้กู้ต่อบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการบริหารจัดการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์
ทั้งนี้ ได้ชี้แจงในที่ประชุมครม. ว่า การที่ในอนาคตกระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้กำกับดูแลรถไฟฟ้าอีกหลายสาย ดังนั้น รถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่ ก็ควรให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดูแลการเดินรถ เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกัน ซึ่งทางรฟม. และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะต้องหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะไม่เป็นปัญหา เพราะทั้ง 2 โครงการ ยังต้องใช้เวลาก่อสร้างอีกหลายปีจึงจะแล้วเสร็จ รวมทั้งจะสามารถพิจารณาในเรื่องระบบตั๋วร่วมได้อีกด้วย
“ผมได้เกริ่นในที่ประชุมครม.ไปแล้วว่า การที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้กำกับดูแลกทม. โอนรถไฟฟ้าบีทีเอส มาให้กระทรวงคมนาคมดูแลจะได้หรือไม่ ซึ่งก็ยังคงต้องคุยกันต่ออีก”รมว.คมนาคมกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังให้รฟม.เร่งศึกษารูปแบบการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนจัดหาระบบรถไฟฟ้าและตัวรถไฟฟ้าและให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มและสีเขียวอ่อน และเสนอให้ครม.พิจารณาตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เพื่อให้การดำเนินงานในส่วนงานจัดหาระบบรถไฟฟ้า บริหารจัดการเดินรถ และการซ่อมบำรุงแล้วเสร็จสอดคล้องกับระยะเวลาก่อสร้างงานโยธาและสามารถเปิดให้บริการได้โดยเร็ว และให้รฟม.และกระทรวงคมนาคมเร่งประสานกับกทม. ในฐานะเจ้าของบีทีเอส พิจารณาแนวทางการเชื่อมโยงเส้นทางโครงการสายสีเขียวกับบีทีเอส และการเดินรถ การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมและการใช้ระบบตั๋วร่วม รวมทั้งแนวทางการแบ่งรายได้ที่เหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อให้เกิดความสะดวกและจูงใจประชาชนในการใช้ระบบขนส่งมวลชนเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังเห็นชอบการเสนอขอรับเงินอุดหนุนประจำปีงบประมาณ 2555 ของร.ฟ.ท. จำนวน 2,350 ล้านบาท และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 1,263 ล้านบาท ตามความเห็นของคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า นโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น ในส่วนของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ ขบวน City Line ทางกระทรวงการคลังมีข้อคิดเห็นว่า จะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. และทำให้กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา ติดลบเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2555-62 และเมื่อรวมภาระในการชำระเงินกู้
สำหรับการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติมในปี 2560-74 ประมาณปีละ 200 ล้านบาท ทั้งหมดจะทำให้มีปัญหาขาดสภาพคล่องและต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก จำนวน 2,983 ล้านบาท ในปี 2555-60
ส่วนในแง่ผลกระทบคุณภาพการให้บริการ เนื่องจากขบวน City Line สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่เกิน 42,000 คนต่อวัน ขณะที่ปัจจุบัน มีผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่แล้ว 36,000 คนต่อวัน ดังนั้นหากลดค่าโดยสารจะทำให้มีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเกินกว่าระบบจะรองรับได้ โดยการลงทุนจัดหาขบวนจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติมจะต้องใช้เวลาในการจัดซื้อและผลิตรถไฟฟ้าอย่างน้อย 2 ปี
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ขณะนี้ สนข.ได้ให้ รฟม. และร.ฟ.ท. ไปจัดทำรายละเอียดการดำเนินงานทั้งหมด ตั้งแต่จำนวนผู้โดยสาร รายได้ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพิจารณาร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม โดยคาดว่าจะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาประชุมร่วมกันได้ในเดือนต.ค.นี้
“ตอนนี้ทุกหน่วยงานจะต้องไปจัดทำข้อมูลของตัวเองมาให้ละเอียดก่อน รวมถึงของ สนข.ด้วย เพราะการพิจารณาเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องยากจะต้องมีความชัดเจนมากที่สุด ก่อนจะสรุปแนวทางการดำเนินโครงการออกมาในรูปแบบใด ทำได้หรือไม่ได้ โดยมั่นใจว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้ตามที่กำหนดแน่นอน”นางสร้อยทิพย์กล่าว