สสปน.ผนึกทิก้า หลังน้ำลด จัดเต็ม อัดกิจกรรม ผนึก ตลาดหลักทรัพย์ และ สภาอุตฯ ดึง บริษัท จัด ซีเอสอาร์ ลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบอุทกภัย หวังใช้ อุตสาหกรรมไมซ์ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ เบื้องต้นยังไม่มีรายงานผลกระทบ แต่ถ้าน้ำท่วมขยายวงกว้างก็มีลุ้น ยัน สิ้นปีเติบโต 15% ตามเป้าหมาย
นายจิรุตต์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารรัฐกิจวิสาหกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. กล่าวว่า ได้หารือกับสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) หรือ ทิก้า หาแนวทางการเยียวยาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยจะดำเนินการทันทีภายหลังน้ำลด ซึ่งประเมินว่า หากไม่มีฝนตกหนักลงมาอีก ก็จะลงพื้นที่ได้ราว กลางเดือน ตุลาคม นี้
อย่างไรก็ตาม จากการเฝ้าติดตามสถานการณ์เบื้องต้น พบว่า พื้นที่ประสบอุทกภัย ส่วนใหญ่ อยู่ในเขตพื้นที่ภาคกลาง ตั้งแต่จังหวัด นครสวรรค์ พิษณุโลก อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และ ลพบุรี โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและ ที่อยู่อาศัย มีบางจังหวัดเท่านั้นที่น้ำท่วมเข้ามาในเขตเมือง แต่ก็ไม่ใช่เมืองที่เป็นเดสติเนชั่นของการจัดประชุมและสัมมนา จะมีก็แต่ จังหวัดพิษณุโลก ที่ สสปน. ได้ประกาศเป็นไมซ์ซิตี้ ไปแล้ว
“การช่วยเหลือในเบื้องต้น ช่วงน้ำท่วม เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ทหาร และกระทรวงมหาดไทย ส่วน สสปน. จะมีภาระกิจ ในด้านการช่วยเยียวยาภายหลังน้ำลด เบื้องต้น หารือ ร่วมกับ ทิก้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากิจกรรมสัมมนาในรูปแบบซีเอสอาร์ เข้าไปช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจ เบื้องต้น ได้หารือกับ อบจ.จังหวัดอยุธยา อุทัยธานี และ พิษณุโลก ไว้แล้ว “
สำหรับรายงานเบื้องต้น ในกลุ่มคอปอเรท ยังไม่มีการยกเลิกการเดินทางสัมมนา แต่อย่างใด แต่ ในส่วนของกรุ๊ปข้าราชการ ช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ ซึ่งจะตรงกับไตรมาสแรกของปีงบประมาณ อาจมีผลบ้าง สืบเนื่องจากความล่าช้าของการจัดทำงบประมาณ ปี 2555 ซึ่งเงินที่มีอยู่ จะจัดใช้ในส่วนที่จำเป็นมากกว่าก่อน
สิ่งที่ สสปน. กังวล และยังต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด คือ หากมีฝนตกมากแปละยาวนานกว่าทุกปี จนทำให้ พื้นที่น้ำท่วมขยายวงกว้างไปมากกว่านี้ เพราะอาจกระทบต่อการเดินทางของโดเมสติกไมซ์ให้ต้องชะลอตัวเช่นกัน ซึ่งเรื่องของภัยธรรมชาติ เราไม่สามารถกำหนดได้แน่นอน แต่ ณ ขณะนี้ยังยืนยัน ว่า ภาพรวมโดเมสติกไมซ์ เฉพาะตลาด MIC ไม่รวม E ปีนี้ ยังคงเป็นไปตามที่ประเมินไว้ว่าจะทำได้ 1.7 ล้านคน เงินสะพัด 1.06 หมื่นล้านบาท เติบโต 15% จากปีก่อน และเป้าหมายปีหน้า คือ 1.8 ล้านคนเงินสะพัด 1.9 หมื่นล้านบาท เติบโต 15%
*** ของบกลางช่วยฟื้นแหล่งท่องเที่ยว***
นายสุพล ศรีพันธุ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ในส่วนกรมการท่องเที่ยว ได้สั่งให้ สำนักงานของกรมฯในทุกจังหวัด เร่งรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วม โดยข้อมูลทั้งหมด จะนำมารวมรวมและประเมินการใช้งบเพื่อการฟื้นฟู ภายหลังจากน้ำลด โดย กรมฯ จะเสนอขอเป็นงบพิเศษ กลางปีงบประมาณ เพราะ ถือเป็นเหตุความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ซึ่งเพิ่มเติมขึ้นมาจากการจัดทำงบประมาณปี 2555 ซึ่งแหล่งท่องเที่ยว ที่เข้าข่าย ที่กรมฯต้องดูแล คือ พื้นที่ที่ไม่มีเจ้าภาพ หรือไม่มีหน่วยงานหลัก อย่าง กรมศิลปากร กรมทางหลวง หรือ องค์กรบริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้ดูแลหากพื้นที่ใดมีผู้ดูแลอยู่แล้ว กรมฯก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว
นายจิรุตต์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารรัฐกิจวิสาหกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. กล่าวว่า ได้หารือกับสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) หรือ ทิก้า หาแนวทางการเยียวยาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยจะดำเนินการทันทีภายหลังน้ำลด ซึ่งประเมินว่า หากไม่มีฝนตกหนักลงมาอีก ก็จะลงพื้นที่ได้ราว กลางเดือน ตุลาคม นี้
อย่างไรก็ตาม จากการเฝ้าติดตามสถานการณ์เบื้องต้น พบว่า พื้นที่ประสบอุทกภัย ส่วนใหญ่ อยู่ในเขตพื้นที่ภาคกลาง ตั้งแต่จังหวัด นครสวรรค์ พิษณุโลก อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และ ลพบุรี โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและ ที่อยู่อาศัย มีบางจังหวัดเท่านั้นที่น้ำท่วมเข้ามาในเขตเมือง แต่ก็ไม่ใช่เมืองที่เป็นเดสติเนชั่นของการจัดประชุมและสัมมนา จะมีก็แต่ จังหวัดพิษณุโลก ที่ สสปน. ได้ประกาศเป็นไมซ์ซิตี้ ไปแล้ว
“การช่วยเหลือในเบื้องต้น ช่วงน้ำท่วม เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ทหาร และกระทรวงมหาดไทย ส่วน สสปน. จะมีภาระกิจ ในด้านการช่วยเยียวยาภายหลังน้ำลด เบื้องต้น หารือ ร่วมกับ ทิก้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากิจกรรมสัมมนาในรูปแบบซีเอสอาร์ เข้าไปช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจ เบื้องต้น ได้หารือกับ อบจ.จังหวัดอยุธยา อุทัยธานี และ พิษณุโลก ไว้แล้ว “
สำหรับรายงานเบื้องต้น ในกลุ่มคอปอเรท ยังไม่มีการยกเลิกการเดินทางสัมมนา แต่อย่างใด แต่ ในส่วนของกรุ๊ปข้าราชการ ช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ ซึ่งจะตรงกับไตรมาสแรกของปีงบประมาณ อาจมีผลบ้าง สืบเนื่องจากความล่าช้าของการจัดทำงบประมาณ ปี 2555 ซึ่งเงินที่มีอยู่ จะจัดใช้ในส่วนที่จำเป็นมากกว่าก่อน
สิ่งที่ สสปน. กังวล และยังต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด คือ หากมีฝนตกมากแปละยาวนานกว่าทุกปี จนทำให้ พื้นที่น้ำท่วมขยายวงกว้างไปมากกว่านี้ เพราะอาจกระทบต่อการเดินทางของโดเมสติกไมซ์ให้ต้องชะลอตัวเช่นกัน ซึ่งเรื่องของภัยธรรมชาติ เราไม่สามารถกำหนดได้แน่นอน แต่ ณ ขณะนี้ยังยืนยัน ว่า ภาพรวมโดเมสติกไมซ์ เฉพาะตลาด MIC ไม่รวม E ปีนี้ ยังคงเป็นไปตามที่ประเมินไว้ว่าจะทำได้ 1.7 ล้านคน เงินสะพัด 1.06 หมื่นล้านบาท เติบโต 15% จากปีก่อน และเป้าหมายปีหน้า คือ 1.8 ล้านคนเงินสะพัด 1.9 หมื่นล้านบาท เติบโต 15%
*** ของบกลางช่วยฟื้นแหล่งท่องเที่ยว***
นายสุพล ศรีพันธุ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ในส่วนกรมการท่องเที่ยว ได้สั่งให้ สำนักงานของกรมฯในทุกจังหวัด เร่งรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วม โดยข้อมูลทั้งหมด จะนำมารวมรวมและประเมินการใช้งบเพื่อการฟื้นฟู ภายหลังจากน้ำลด โดย กรมฯ จะเสนอขอเป็นงบพิเศษ กลางปีงบประมาณ เพราะ ถือเป็นเหตุความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ซึ่งเพิ่มเติมขึ้นมาจากการจัดทำงบประมาณปี 2555 ซึ่งแหล่งท่องเที่ยว ที่เข้าข่าย ที่กรมฯต้องดูแล คือ พื้นที่ที่ไม่มีเจ้าภาพ หรือไม่มีหน่วยงานหลัก อย่าง กรมศิลปากร กรมทางหลวง หรือ องค์กรบริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้ดูแลหากพื้นที่ใดมีผู้ดูแลอยู่แล้ว กรมฯก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว