ASTVผู้จัดการรายวัน – วิกฤติหนี้ยุโรปทุบตลาดตราสารหนี้ไทย บิ๊ก สบน.เผยฝรั่งแห่ขายพันธบัตรขนเงินหนีออกนอกประเทศ เมินใช้เป็นแหล่งพักเงินชั่วคราว พร้อมแจงแผนกู้เงินปี 55 วงเงิน 6.9 แสนล้านบาทชดเชยขาดดุล-ชำระหนี้เอฟไอดีเอฟและรีไฟแนนซ์ไทยเข็มแข็ง หวังล็อกต้นทุนคงที่ระยะยาว ที่ประหยัดต้นทุนกว่าอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องโดยมูลค่าตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) หายไปกว่า 1 ล้านล้านบาทแล้วนั้น พบว่าเงินจากการเทขายหุ้นส่วนใหญ่ไหลออกไปนอกประเทศแล้ว ต่างจากก่อนหน้านี้ที่เงินจากตลาดหุ้นจะไหลเข้ามาสู่ตลาดพันธบัตรเพื่อพักไว้ชั่วคราว อีกทั้งยังมีการขายพันธบัตรนำเงินออกไปด้วยเช่นกัน เห็นได้จากสัปดาห์ที่ผ่านมามีมูลค่าซื้อขายเพิ่มจาก 5 แสนกว่าล้านบาทเป็น 7 แสนล้านบาทต่อวัน
ทั้งนี้ มองว่าการที่นักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการถือเงินสดแทนที่จะโยกเงินลงทุน เนื่องจากกังวลปัญหาเศรษฐกิจโลกและจากความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลก นอกจากนั้นในช่วงนี้ยังมีการเทขายบาทออกมาและถือดอลลาร์ไว้แทน ส่งผลให้เงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงด้วย ซึ่งก็น่าจะส่งผลดีกับการส่งออกของไทย หากลงไปถึง 35 บาทต่อดอลลาร์ผู้ส่งออกคงยิ่งพอใจ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะลงทุนในตราสารหรือพันธบัตรระยะสั้นแทนที่จะลงทุนระยะยาว เพราะพันธบัตรอายุ 1ถึง 5 ปีนั้นดอกเบี้ยไม่ได้แตกต่างกัน นักลงทุนจึงเลือกถือ 1 ปีมากกว่า ขณะที่พันธบัตรระยะยาว 10 ปีนั้น ดอกบี้ยอยู่ที่ 3.9% ปรับขึ้นมาเกน้อยจาก 3.7% ซึ่งถือว่ายังไม่ผันผวนและเป็นต้นทุนที่ไม่สูงมากนักในการระดมทุนของภาครัฐ โดยเห็นว่าสภาพคล่องในประเทศยังมีอยู่มาก ในระยะเวลาอันใกล้นี้ดอกเบี้ยระยะสั้นก็น่าจะเริ่มปรับลดลง ประกอบกับเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลงจึงไม่เป็นแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องใช้ดอกเบี้ยนโยบายเข้าไปดูแล จากนั้นสถานการณ์ก็น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
สำหรับแผนการกู้เงินในปีงบประมาณ 2555 รวมทั้งปี 6.9 แสนล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาทและกู้เพื่อปรับโครงสร้างเงินกู้ (รีไฟแนนซ์) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินอีก 3.4 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันอาจจะเพิ่มการรีไฟแนนซ์เงินกู้ในโครงการไทยเข้มแข็งอีก 1.49 แสนล้านบาทด้วย หากเห็นว่าสภาพตลาดเอื้ออำนวย เนื่องจากเงินกู้ไทยเข้มแข้งเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จึงต้องการปรับมาเป็นดอกเบี้ยคงที่ เพราะดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวยังต่ำ จากพันธบัตรอายุ 10 ปี อยู่ที่ 3.8-3.9% เท่านั้น จะช่วยประหยัดต้นทุนดอกเบี้ยลงได้
สำหรับการกู้เงินในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2555(ตุลาคม-ธันวาคม 2554) ค่อนข้างน้อยเพียง 1.24 แสนล้านบาท เพราะเป็นการกู้เพื่อมารีไฟแนนซ์กองทุนฟื้นฟูฯเป็นหลัก เพราะพรบ.งบประมาณปี 2555 ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากสภา จึงไม่สามารถกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ โดยจะเป็นการออกพันธบัตร 3.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นอายุ 5 ปี 1.5 หมื่นล้านบาท อายุ 7 ปี 9 พันล้านบาทและอายุ 4 ปี 8 พันล้านบาท ที่เหลือจะเป็นการตั๋วสัญญาใช้เงิน(พีเอ็น) 8.9 หมื่นล้านบาทและออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ที่จะขายผ่านตู้เอทีเอ็มในต้นปี 2555 อีก 3,000 ล้านบาท
“เดิมเราคาดว่าแผนการกู้เงินปีนี่จะสูงถึง 7.4 แสนล้านบาท เพราะประมาณการงบประมาณปี 2555 จะขาดดุล 4 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลได้ลดการขาดดุลงบประมาณลง 5 หมื่นล้านบาทเหลือ 3.5 แสนล้านบาท การกู้เงินก็ลดลงตามไปด้วย และคาดว่าพรบ.งบประมาณปี 2555 น่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งจะทำให้สบน.สามารถออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ โดยจะเป็นการออกพันธบัตรที่มีผลตอบแทนอัตราอ้างอิงของตลาดได้ 3.68 แสนล้านบาทในช่วง 3 ไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ”นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
ด้านหนี้รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกันนายจักรกฤศฏิ์กล่าวว่า ขณะนี้นี้ต่างประเทศส่วนใหญ่จะเป็นสกุลเงินเยนถึง 70-80% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด รองลงมาเป็นหนี้ดอลลาร์สหรัฐและยูโร ซึ่งที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเงินกู้ขององค์การรถไฟฟ้ามหานคร(รฟม.)ที่มีหนี้ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 65% ของหนี้รัฐบาลที่มีรวมทั้งสิ้น 3.7 แสนล้านบาท แต่ไม่ได้ทำการป้องการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน(ฟอร์เวิร์ด)ไว้ล่วงหน้า ทำให้ปัจจุบันต้องรับรู้จากผลจากทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนไปแล้ว 1.8 หมื่นล้านบาท ส่วนหนี้ของการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ไม่มีปัญหาอะไร
“หนี้ของ รฟม.เป็นปัญหามากและเป็นภาระต่องบประมาณ เพราะเดิมกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมให้ และเคยเสนอในช่วงที่เงินเยนอ่อนค่าลง ด้วยการทำฟอร์เวิร์ดจากดอกเบี้ย 0.75% เป็น 1.25% แต่ได้กำไรจากอัตราจากอัตราแลกเปลี่ยนถึง 8 พันล้านบาท แต่เขาไม่ยอมทำ และปล่อยมาจนปัจจุบันต้องขาดทุนจากการที่ค่าเงินเยนแข็งขึ้นแล้ว 1 หมื่นล้านบาท หากรวมแล้วจะหายไปถึง 1.8 หมื่นล้านบาททีเดียว ซึ่งเป็นปัญหามาก เพราะกระทรวงการคลังเองก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่ใช่คู่สัญญาเงินกู้ จึงทำได้เพียงการตั้งงบประมาณชดเชยให้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยมา 5 ปี ซึ่งก็ครบอายุแล้ว และน่าจะต่ออายุให้อีก ช่วงหลังๆเราจึงทำได้คือ การกู้เงินในประเทศแล้วนำมาปล่อยกู้ต่อ เพราะรู้ว่า ฐานะของรฟม.ไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้อยู่แล้ว” นายจักรกฤศฎิ์กล่าว.
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องโดยมูลค่าตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) หายไปกว่า 1 ล้านล้านบาทแล้วนั้น พบว่าเงินจากการเทขายหุ้นส่วนใหญ่ไหลออกไปนอกประเทศแล้ว ต่างจากก่อนหน้านี้ที่เงินจากตลาดหุ้นจะไหลเข้ามาสู่ตลาดพันธบัตรเพื่อพักไว้ชั่วคราว อีกทั้งยังมีการขายพันธบัตรนำเงินออกไปด้วยเช่นกัน เห็นได้จากสัปดาห์ที่ผ่านมามีมูลค่าซื้อขายเพิ่มจาก 5 แสนกว่าล้านบาทเป็น 7 แสนล้านบาทต่อวัน
ทั้งนี้ มองว่าการที่นักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการถือเงินสดแทนที่จะโยกเงินลงทุน เนื่องจากกังวลปัญหาเศรษฐกิจโลกและจากความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลก นอกจากนั้นในช่วงนี้ยังมีการเทขายบาทออกมาและถือดอลลาร์ไว้แทน ส่งผลให้เงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงด้วย ซึ่งก็น่าจะส่งผลดีกับการส่งออกของไทย หากลงไปถึง 35 บาทต่อดอลลาร์ผู้ส่งออกคงยิ่งพอใจ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะลงทุนในตราสารหรือพันธบัตรระยะสั้นแทนที่จะลงทุนระยะยาว เพราะพันธบัตรอายุ 1ถึง 5 ปีนั้นดอกเบี้ยไม่ได้แตกต่างกัน นักลงทุนจึงเลือกถือ 1 ปีมากกว่า ขณะที่พันธบัตรระยะยาว 10 ปีนั้น ดอกบี้ยอยู่ที่ 3.9% ปรับขึ้นมาเกน้อยจาก 3.7% ซึ่งถือว่ายังไม่ผันผวนและเป็นต้นทุนที่ไม่สูงมากนักในการระดมทุนของภาครัฐ โดยเห็นว่าสภาพคล่องในประเทศยังมีอยู่มาก ในระยะเวลาอันใกล้นี้ดอกเบี้ยระยะสั้นก็น่าจะเริ่มปรับลดลง ประกอบกับเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลงจึงไม่เป็นแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องใช้ดอกเบี้ยนโยบายเข้าไปดูแล จากนั้นสถานการณ์ก็น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
สำหรับแผนการกู้เงินในปีงบประมาณ 2555 รวมทั้งปี 6.9 แสนล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาทและกู้เพื่อปรับโครงสร้างเงินกู้ (รีไฟแนนซ์) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินอีก 3.4 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันอาจจะเพิ่มการรีไฟแนนซ์เงินกู้ในโครงการไทยเข้มแข็งอีก 1.49 แสนล้านบาทด้วย หากเห็นว่าสภาพตลาดเอื้ออำนวย เนื่องจากเงินกู้ไทยเข้มแข้งเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จึงต้องการปรับมาเป็นดอกเบี้ยคงที่ เพราะดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวยังต่ำ จากพันธบัตรอายุ 10 ปี อยู่ที่ 3.8-3.9% เท่านั้น จะช่วยประหยัดต้นทุนดอกเบี้ยลงได้
สำหรับการกู้เงินในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2555(ตุลาคม-ธันวาคม 2554) ค่อนข้างน้อยเพียง 1.24 แสนล้านบาท เพราะเป็นการกู้เพื่อมารีไฟแนนซ์กองทุนฟื้นฟูฯเป็นหลัก เพราะพรบ.งบประมาณปี 2555 ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากสภา จึงไม่สามารถกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ โดยจะเป็นการออกพันธบัตร 3.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นอายุ 5 ปี 1.5 หมื่นล้านบาท อายุ 7 ปี 9 พันล้านบาทและอายุ 4 ปี 8 พันล้านบาท ที่เหลือจะเป็นการตั๋วสัญญาใช้เงิน(พีเอ็น) 8.9 หมื่นล้านบาทและออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ที่จะขายผ่านตู้เอทีเอ็มในต้นปี 2555 อีก 3,000 ล้านบาท
“เดิมเราคาดว่าแผนการกู้เงินปีนี่จะสูงถึง 7.4 แสนล้านบาท เพราะประมาณการงบประมาณปี 2555 จะขาดดุล 4 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลได้ลดการขาดดุลงบประมาณลง 5 หมื่นล้านบาทเหลือ 3.5 แสนล้านบาท การกู้เงินก็ลดลงตามไปด้วย และคาดว่าพรบ.งบประมาณปี 2555 น่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งจะทำให้สบน.สามารถออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ โดยจะเป็นการออกพันธบัตรที่มีผลตอบแทนอัตราอ้างอิงของตลาดได้ 3.68 แสนล้านบาทในช่วง 3 ไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ”นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
ด้านหนี้รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกันนายจักรกฤศฏิ์กล่าวว่า ขณะนี้นี้ต่างประเทศส่วนใหญ่จะเป็นสกุลเงินเยนถึง 70-80% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด รองลงมาเป็นหนี้ดอลลาร์สหรัฐและยูโร ซึ่งที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเงินกู้ขององค์การรถไฟฟ้ามหานคร(รฟม.)ที่มีหนี้ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 65% ของหนี้รัฐบาลที่มีรวมทั้งสิ้น 3.7 แสนล้านบาท แต่ไม่ได้ทำการป้องการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน(ฟอร์เวิร์ด)ไว้ล่วงหน้า ทำให้ปัจจุบันต้องรับรู้จากผลจากทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนไปแล้ว 1.8 หมื่นล้านบาท ส่วนหนี้ของการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ไม่มีปัญหาอะไร
“หนี้ของ รฟม.เป็นปัญหามากและเป็นภาระต่องบประมาณ เพราะเดิมกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมให้ และเคยเสนอในช่วงที่เงินเยนอ่อนค่าลง ด้วยการทำฟอร์เวิร์ดจากดอกเบี้ย 0.75% เป็น 1.25% แต่ได้กำไรจากอัตราจากอัตราแลกเปลี่ยนถึง 8 พันล้านบาท แต่เขาไม่ยอมทำ และปล่อยมาจนปัจจุบันต้องขาดทุนจากการที่ค่าเงินเยนแข็งขึ้นแล้ว 1 หมื่นล้านบาท หากรวมแล้วจะหายไปถึง 1.8 หมื่นล้านบาททีเดียว ซึ่งเป็นปัญหามาก เพราะกระทรวงการคลังเองก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่ใช่คู่สัญญาเงินกู้ จึงทำได้เพียงการตั้งงบประมาณชดเชยให้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยมา 5 ปี ซึ่งก็ครบอายุแล้ว และน่าจะต่ออายุให้อีก ช่วงหลังๆเราจึงทำได้คือ การกู้เงินในประเทศแล้วนำมาปล่อยกู้ต่อ เพราะรู้ว่า ฐานะของรฟม.ไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้อยู่แล้ว” นายจักรกฤศฎิ์กล่าว.