เมื่อเวลา 14.10 น. วานนี้ (26 ก.ย.) พ.ต.ท.พรหมพร พรามหณ์เสน่ห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ )ดีเอสไอ) ได้เดินทางมา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อเข้าพบ นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัด กทม. เพื่อยื่นหนังสือขอเอกสารโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิด (ซีซีทีวี) ของ กทม. ตั้งแต่ ปี 2550 - 2554 โดย นายชาตินัย เนาวภูติ รองปลัด กทม.เป็นผู้รับหนังสือแทน
พ.ต.ท.พรหมพร กล่าวว่า เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาได้รับการร้องเรียนในทางลับ ประกอบกับนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยก็ได้มายื่นหนังสือเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม จึงได้มาขอหลักฐานในชั้นต้นที่ กทม. และถือเป็นวันเปิดตัวหลังจากที่ได้เคยทำหนังสือขอเอกสารโครงการนี้มาก่อนหน้าโดยดีเอสไอจะดำเนินการโดยเร็วที่สุด และขอให้ กทม. เร่งส่งเอกสารข้อมูลต่างๆ โดยเร็ว
“ดีเอสไอจะพยายามหาหลักฐานทั้งบุคคล วัตถุพยาน มาสอบสวน แต่เบื้องต้นยังไม่พบความผิดจึงต้องสอบสวนจากหลักฐานที่ได้รับทั้งทางลับและทาง กทม. ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าจะเกี่ยวกับความผิดฮั้วประมูล หรือเกี่ยวกับความผิดตำแหน่งข้าราชการเช่น ม. 157 หรือไม่ ยืนยันว่าดีเอสไอไม่มีความกดดันเพราะได้ทำตามหน้าที่” พ.ต.ท.พรหมพรกล่าว สั้นๆว่า “มี” เมื่อถูกถามถึงโครงการจัดซื้อกล้อง ของหน่วยงานอื่น
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) แถลงว่า วิปรัฐบาลจะเสนอญัตติด่วน ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบข้อเท็จจริงกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่กทม.ขณะเดียวกันฝ่ายค้านก็ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณากล้องวงจรปิดในภาคใต้เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงจะเสนอทั้ง 2 เรื่องในคราวเดียวกันไป
ด้านนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปรัฐบาล กล่าวว่า การเสนอญัตติให้ตรวจสอบกล้องวงจรปิดในภาคใต้ คงเป็นการแก้เกี้ยวของฝ่ายค้าน ถ้ามีข้อมูลว่าสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดำเนินการ ก็นำข้อมูลมาเปิดเลย เพราะทราบว่าเป็นการจัดทำโดย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เรื่องนี้เหมือนแถไปเรื่อย แทนที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯกทม. ที่เกี่ยวข้องจะเป็นคนชี้แจง กลับเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ออกมาพูด เรื่องนี้ตนได้ตรวจสอบแล้วพบว่าทำผิดจริง 2 ห้วงเวลา ทั้งสมัยที่นายอภิรักษ์เป็นผู้ว่าฯกทม.และสมัยที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯกทม. โดยพบว่ามีการจัดซื้อจัดจ้างที่แพงกว่าปกติ ส่อฮั้วประมูล ผู้ดำเนินการเป็น 3-4 บริษัทซ้ำๆ กัน วันนี้ ม.ร.วสุขุมพันธุ์ต้องพูดให้ชัดว่ามีกล้องหลอกกี่ตัว มีแค่กรอบครอบกล้องกี่อัน และเชื่อมสัญญาณไปยังศูนย์ไหน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมายังกระทรวงมหาดไทย เพื่อเข้าพบนายยศวริศ ชูกล่อม ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และยื่นหนังสือให้ตรวจสอบกรณีที่นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้จัดซื้อกล้องวงจรปิดที่เป็นกล้องดัมมี่ หรือกล้องพราง จำนวน 7,000 ตัว ว่ามีการจัดซื้อดังกล่าวหรือไม่ และมีการทุจริตอย่างที่นายอภิสิทธิ์ออกมาระบุหรือไม่
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบของนายยศวริศที่ถามไปยังนายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ความว่า น่าจะเป็นการจัดซื้อในช่วงปลายปี 2549 ซึ่งพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทยในขณะนั้น สั่งการให้หน่วยงานราชการในพื้นที่จัดซื้อกล้องวงจรปิด และได้มีการร้องเรียนจาก สว.บางส่วนให้ตรวจสอบการจัดซื้อ จนกระทั่งได้บริษัทมาดำเนินการ ดังนั้น กระบวนการต่างๆเกิดขึ้นหลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกฯแล้วทั้งสิ้น ตนจึงอยากให้นายอภิสิทธิ์กลับไปตรวจสอบข้อมูลที่มีอีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่คอยแต่จะปกป้อง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายอภิรักษ์ ในประเด็นที่สังคมยังสงสัย
“ล่าสุดมีการเบี่ยงเบนประเด็นจากพรรคประชาธิปัตย์ว่า เหตุที่พรรคเพื่อไทยออกมาเปิดโปงข้อมูลในเรื่องนี้ เป็นเพราะจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. หรือเป็นเพราะต้องการดิสเครดิตพรรคประชาธิปัตย์ แต่ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่มีจุดประสงค์ดังกล่าวแน่นอน เพราะเอแบคโพลล์เองก็สำรวจออกมาแล้วว่า คนกรุงเทพกว่า 50% ไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตัวเอง อีกทั้งพรรคประชาธิปัตย์เองก็เป็นพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งในกทม.มาโดยตลอด จึงอยากให้นายอภิสิทธิ์ตรวจสอบในเรื่องนี้ให้เกิดความกระจ่าง” นายพร้อมพงศ์กล่าว
นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ประธานสภากรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เตรียมตั้ง “คณะกรรมการการจราจรขนส่งและการระบายน้ำ” ซึ่งเป็นหน่วยงานโดยตรงเร่งตรวจสอบหาข้อเท็จจริง พร้อมยืนยันว่า สภากรุงเทพมหานคร ไม่ได้อนุมัติงบเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้บริหาร กทม. แม้จะมาจากพรรคประชาธิปัตย์เหมือนกัน สำหรับการตรวจสอบของคณะกรรมการ ตรวจสอบกล้องซีซีทีวีประธานสภากทม. คาดว่า น่าจะรู้ผลต้นเดือนหน้า ส่วนกรณีการจัดซื้อจัดจ้างที่ราคาแพงกว่าหน่วยงานอื่น ต้องรอการตรวจสอบอีกครั้ง
นายสุธน อาณากุล ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบจราจร สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า โครงการติดตั้งกล้องซีซีทีวี พร้อมอุปกรณ์กล้องของกทม.จากสัญญาจ้างเหมา 4 โครงการ โดยเฉพาะรายการจัดซื้อกล้องดัมมี่ เฮาท์ซิ่งจำนวน 1,325 ตัว ตั้งแต่ราคา 2,700-3,000 บาทนั้น ที่จริงแล้วกล้องดัมมี่หรือกล้องหลอกจะแบ่งเป็น 2 ประเภทประกอบด้วย 1.ดัมมี่แคมเมอร่า คือกล้องที่เสมือนจริงที่ติดตั้งในเฮาท์ซิ่งหรืออุปกรณ์หุ้มกล้อง
2.กล้องดัมมี่ เฮาท์ซิ่ง คือกล้องที่ไม่มีอุปกรณ์ภายในเฮาท์มีเพียงอุปกรณ์หุ้มกล้องเท่านั้น ซึ่งเป็นกล้องประเภทที่กทม.จัดซื้อทั้งหมดใน 4 โครงการทั้งหมด โดยการติดตั้งกล้องดัมมี่ เฮาท์ซิ่งจะติดตั้งบริเวณเสาที่อยู่สูงเพื่อป้องกันการเห็นของคนทั่วไป ให้เกิดการเข้าใจว่ามีกล้องอยู่จริง โดยจุดประสงค์สำคัญของการติดกล้องดัมมี่ เฮาท์ซิ่งในขณะนั้นเพื่อป้องกันและปรามการกระทำผิดของโจรผู้ร้าย และป้องกันเหตุภายหลังเกิดเหตุระเบิดทั่วกรุงเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา
พ.ต.ท.พรหมพร กล่าวว่า เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาได้รับการร้องเรียนในทางลับ ประกอบกับนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยก็ได้มายื่นหนังสือเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม จึงได้มาขอหลักฐานในชั้นต้นที่ กทม. และถือเป็นวันเปิดตัวหลังจากที่ได้เคยทำหนังสือขอเอกสารโครงการนี้มาก่อนหน้าโดยดีเอสไอจะดำเนินการโดยเร็วที่สุด และขอให้ กทม. เร่งส่งเอกสารข้อมูลต่างๆ โดยเร็ว
“ดีเอสไอจะพยายามหาหลักฐานทั้งบุคคล วัตถุพยาน มาสอบสวน แต่เบื้องต้นยังไม่พบความผิดจึงต้องสอบสวนจากหลักฐานที่ได้รับทั้งทางลับและทาง กทม. ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าจะเกี่ยวกับความผิดฮั้วประมูล หรือเกี่ยวกับความผิดตำแหน่งข้าราชการเช่น ม. 157 หรือไม่ ยืนยันว่าดีเอสไอไม่มีความกดดันเพราะได้ทำตามหน้าที่” พ.ต.ท.พรหมพรกล่าว สั้นๆว่า “มี” เมื่อถูกถามถึงโครงการจัดซื้อกล้อง ของหน่วยงานอื่น
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) แถลงว่า วิปรัฐบาลจะเสนอญัตติด่วน ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบข้อเท็จจริงกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่กทม.ขณะเดียวกันฝ่ายค้านก็ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณากล้องวงจรปิดในภาคใต้เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงจะเสนอทั้ง 2 เรื่องในคราวเดียวกันไป
ด้านนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปรัฐบาล กล่าวว่า การเสนอญัตติให้ตรวจสอบกล้องวงจรปิดในภาคใต้ คงเป็นการแก้เกี้ยวของฝ่ายค้าน ถ้ามีข้อมูลว่าสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดำเนินการ ก็นำข้อมูลมาเปิดเลย เพราะทราบว่าเป็นการจัดทำโดย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เรื่องนี้เหมือนแถไปเรื่อย แทนที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯกทม. ที่เกี่ยวข้องจะเป็นคนชี้แจง กลับเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ออกมาพูด เรื่องนี้ตนได้ตรวจสอบแล้วพบว่าทำผิดจริง 2 ห้วงเวลา ทั้งสมัยที่นายอภิรักษ์เป็นผู้ว่าฯกทม.และสมัยที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯกทม. โดยพบว่ามีการจัดซื้อจัดจ้างที่แพงกว่าปกติ ส่อฮั้วประมูล ผู้ดำเนินการเป็น 3-4 บริษัทซ้ำๆ กัน วันนี้ ม.ร.วสุขุมพันธุ์ต้องพูดให้ชัดว่ามีกล้องหลอกกี่ตัว มีแค่กรอบครอบกล้องกี่อัน และเชื่อมสัญญาณไปยังศูนย์ไหน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมายังกระทรวงมหาดไทย เพื่อเข้าพบนายยศวริศ ชูกล่อม ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และยื่นหนังสือให้ตรวจสอบกรณีที่นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้จัดซื้อกล้องวงจรปิดที่เป็นกล้องดัมมี่ หรือกล้องพราง จำนวน 7,000 ตัว ว่ามีการจัดซื้อดังกล่าวหรือไม่ และมีการทุจริตอย่างที่นายอภิสิทธิ์ออกมาระบุหรือไม่
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบของนายยศวริศที่ถามไปยังนายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ความว่า น่าจะเป็นการจัดซื้อในช่วงปลายปี 2549 ซึ่งพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทยในขณะนั้น สั่งการให้หน่วยงานราชการในพื้นที่จัดซื้อกล้องวงจรปิด และได้มีการร้องเรียนจาก สว.บางส่วนให้ตรวจสอบการจัดซื้อ จนกระทั่งได้บริษัทมาดำเนินการ ดังนั้น กระบวนการต่างๆเกิดขึ้นหลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกฯแล้วทั้งสิ้น ตนจึงอยากให้นายอภิสิทธิ์กลับไปตรวจสอบข้อมูลที่มีอีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่คอยแต่จะปกป้อง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายอภิรักษ์ ในประเด็นที่สังคมยังสงสัย
“ล่าสุดมีการเบี่ยงเบนประเด็นจากพรรคประชาธิปัตย์ว่า เหตุที่พรรคเพื่อไทยออกมาเปิดโปงข้อมูลในเรื่องนี้ เป็นเพราะจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. หรือเป็นเพราะต้องการดิสเครดิตพรรคประชาธิปัตย์ แต่ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่มีจุดประสงค์ดังกล่าวแน่นอน เพราะเอแบคโพลล์เองก็สำรวจออกมาแล้วว่า คนกรุงเทพกว่า 50% ไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตัวเอง อีกทั้งพรรคประชาธิปัตย์เองก็เป็นพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งในกทม.มาโดยตลอด จึงอยากให้นายอภิสิทธิ์ตรวจสอบในเรื่องนี้ให้เกิดความกระจ่าง” นายพร้อมพงศ์กล่าว
นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ประธานสภากรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เตรียมตั้ง “คณะกรรมการการจราจรขนส่งและการระบายน้ำ” ซึ่งเป็นหน่วยงานโดยตรงเร่งตรวจสอบหาข้อเท็จจริง พร้อมยืนยันว่า สภากรุงเทพมหานคร ไม่ได้อนุมัติงบเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้บริหาร กทม. แม้จะมาจากพรรคประชาธิปัตย์เหมือนกัน สำหรับการตรวจสอบของคณะกรรมการ ตรวจสอบกล้องซีซีทีวีประธานสภากทม. คาดว่า น่าจะรู้ผลต้นเดือนหน้า ส่วนกรณีการจัดซื้อจัดจ้างที่ราคาแพงกว่าหน่วยงานอื่น ต้องรอการตรวจสอบอีกครั้ง
นายสุธน อาณากุล ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบจราจร สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า โครงการติดตั้งกล้องซีซีทีวี พร้อมอุปกรณ์กล้องของกทม.จากสัญญาจ้างเหมา 4 โครงการ โดยเฉพาะรายการจัดซื้อกล้องดัมมี่ เฮาท์ซิ่งจำนวน 1,325 ตัว ตั้งแต่ราคา 2,700-3,000 บาทนั้น ที่จริงแล้วกล้องดัมมี่หรือกล้องหลอกจะแบ่งเป็น 2 ประเภทประกอบด้วย 1.ดัมมี่แคมเมอร่า คือกล้องที่เสมือนจริงที่ติดตั้งในเฮาท์ซิ่งหรืออุปกรณ์หุ้มกล้อง
2.กล้องดัมมี่ เฮาท์ซิ่ง คือกล้องที่ไม่มีอุปกรณ์ภายในเฮาท์มีเพียงอุปกรณ์หุ้มกล้องเท่านั้น ซึ่งเป็นกล้องประเภทที่กทม.จัดซื้อทั้งหมดใน 4 โครงการทั้งหมด โดยการติดตั้งกล้องดัมมี่ เฮาท์ซิ่งจะติดตั้งบริเวณเสาที่อยู่สูงเพื่อป้องกันการเห็นของคนทั่วไป ให้เกิดการเข้าใจว่ามีกล้องอยู่จริง โดยจุดประสงค์สำคัญของการติดกล้องดัมมี่ เฮาท์ซิ่งในขณะนั้นเพื่อป้องกันและปรามการกระทำผิดของโจรผู้ร้าย และป้องกันเหตุภายหลังเกิดเหตุระเบิดทั่วกรุงเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา