เอเอฟพี/รอยเตอร์/บีบีซีนิวส์ – ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์ (19) เผยโฉมแผนการของเขาที่จะลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลาสิบปี ข้อเสนอนี้นอกจากมีการตัดลดรายจ่ายแล้ว ยังกำหนดให้หารายรับเพิ่มราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ด้วยการเพิ่มภาษีที่เก็บจากคนร่ำรวย ทางด้านสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรครีพับลิกัน ได้ออกมาปฏิเสธไม่ยอมรับแผนการนี้โดยกล่าวหาว่าเป็นเพียงการแสดงโลดโผนทางการเมืองเพื่อเรียกคะแนนเสียง ทำให้แทบไม่มีโอกาสเลยที่ข้อเสนอนี้จะได้กลายเป็นกฎหมายบังคับใช้
ในการกล่าวปราศรัยจากสวนกุหลาบของทำเนียบขาวโดยมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์คราวนี้ โอบามาประกาศกร้าวด้วยว่า เขาจะใช้อำนาจยับยั้งแผนการใดๆ ก็ตามที่ให้ลดการขาดดุลงบประมาณด้วยการตัดลดค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีมาตรการหารายได้เพิ่มด้วยการขึ้นภาษี ท่าท่าเช่นนี้ของเขาเท่ากับการเปิดเวทีสำหรับการต่อสู้กันในทางความคิดอุดมการณ์กับพวกรีพับลิกัน ซึ่งยืนยันเหนียวแน่นคัดค้านการขึ้นภาษี โดยที่การโต้แย้งถกเถียงกันนี้น่าจะยืดเยื้อไปจนกระทั่งถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯสมัยต่อไปในต้นเดือนพฤศจิกายนปีหน้า
“ผมจะไม่สนับสนุนแผนการใดๆ ที่เป็นการผลักภาระของการลดการขาดดุลของเรามาให้แก่ชาวอเมริกันธรรมดาสามัญ” โอบามาบอก “เราจะต้องไม่ไปทำข้อตกลงแบบด้านเดียว ซึ่งสร้างความเจ็บปวดให้แก่ชาวบ้านเหล่านี้ที่เป็นพวกอ่อนแอที่สุดอยู่แล้ว”
คำปราศรัยคราวนี้ของโอบามา สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะปกป้องหลักการต่างๆ ของพรรคเดโมแครตด้วยท่าทีอันแข็งกร้าวยิ่งขึ้น ภายหลังที่การทำศึกด้านงบประมาณ 2 ครั้งก่อนในปีนี้กับทางพรรครีพับลิกัน เขาถูกมองว่ายอมอ่อนข้อและถูกทุบตีอย่างสาหัส ซึ่งมีส่วนทำให้เรตติ้งความยอมรับผลงานของเขาไหลรูดลงสู่จุดต่ำสุดเป็นสถิติใหม่
โพลหลายๆ สำนักชี้ว่า เวลานี้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่บอกว่าไม่พอใจกับความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโอบามา และความหวังที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่งของโอบามา จึงอาจจะต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของเขา ในการทำให้ผู้ออกเสียงเชื่อว่า พวกรีพับลิกันเป็นตัวแทนของคนร่ำรวย ไม่ใช่ชนชั้นกลางที่เป็นคนส่วนใหญ๋ในอเมริกา
โอบามากล่าวย้ำว่า เศรษฐีร่ำรวยและบริษัทใหญ่ทั้งหลาย ควรต้องจ่าย “ส่วนแบ่งอย่างยุติธรรม” ของพวกเขา เพื่อช่วยประเทศชาติลดการขาดดุลงบประมาณ โดยที่เขาเสนอให้ใช้ “กฎของบัฟเฟตต์” ที่จะกำหนดให้ชาวอเมริกันซึ่งมีเงินได้เกิน 1 ล้านดอลลาร์ต่อปี ต้องจ่ายภาษีในอัตราเดียวกันกับผู้ที่มีเงินได้ไม่ถึงจำนวนดังกล่าว
การเรียกข้อเสนอนี้ว่า “กฎของบัฟเฟตต์” เป็นการอ้างอิงถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนผู้ร่ำรวยมหาศาล ซึ่งออกมาร้องเรียนหลายครั้งว่า เขาและเพื่อนๆ เศรษฐีทั้งหลาย เสียภาษีในอัตราที่น้อยกว่าพวกลูกจ้างพนักงานที่ทำงานให้พวกเขาเสียอีก
ทั้งนี้ ชาวอเมริกันรายได้สูงจำนวนมาก ได้ประโยชน์จากช่องโหว่ในเรื่องภาษีที่ตั้งเกณฑ์กำหนดว่า รายได้จากการเงินทุนจะเสียภาษีในอัตราต่ำกว่ารายได้ที่เป็นค่าจ้าง
เมื่อวันอาทิตย์(18)ที่ผ่านมา พอล ไรอัน ส.ส.รีพับลิกันที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณของสภาล่าง และเป็นผู้สนับสนุนการลดงบประมาณรายจ่ายเยอะๆ แต่ไม่ให้ขึ้นภาษีเลย ได้วิจารณ์แผนการของโอบามาว่า เป็นการประกาศ “สงครามชนชั้น”
ในการปราศรัยที่สวนกุหลาบของทำเนียบขาวคราวนี้ โอบามาได้ถือโอกาสตอบโต้ว่า “นี่ไม่ใช่สงครามชนชั้น มันเป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่างหาก” พร้อมกับโต้แย้งว่า ถ้าไม่มีการขึ้นภาษีเอากับพวกที่สามารถจ่ายได้แล้ว การขาดดุลงบประมาณซึ่งทำท่ายืดเยื้อจนคุกคามชาวอเมริกันรุ่นลูกรุ่นหลาน ก็จะไม่มีทางแก้ไขได้
ทว่าพวกรีพับลิกันก็ดาหน้ากันออกมาคัดค้านแผนการของโอบามาในทันที
“วิธีการนำเอาชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งมาต่อสู้กับอีกกลุ่มหนึ่งเช่นนี้ ย่อมไม่ใช่การแสดงความเป็นผู้นำเลย” เป็นคำแถลงตอบโต้ของ จอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำรีพับลิกันที่ขัดแย้งอย่างแรงกับโอบามาในเรื่องวิธีแก้การขาดดุลงบประมาณ
แผนการของโอบามานี้ ถือเป็นข้อเสนอแนะที่ส่งให้แก่ คณะมหากรรมาธิการ (supercommittee) ของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยเดโมแครตและรีพับลิกันฝ่ายละ 3 คน คณะมหากรรมาธิการชุดนี้ทำหน้าที่หาช่องทางตัดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อเสนอต่อรัฐสภาภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
ในการกล่าวปราศรัยจากสวนกุหลาบของทำเนียบขาวโดยมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์คราวนี้ โอบามาประกาศกร้าวด้วยว่า เขาจะใช้อำนาจยับยั้งแผนการใดๆ ก็ตามที่ให้ลดการขาดดุลงบประมาณด้วยการตัดลดค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีมาตรการหารายได้เพิ่มด้วยการขึ้นภาษี ท่าท่าเช่นนี้ของเขาเท่ากับการเปิดเวทีสำหรับการต่อสู้กันในทางความคิดอุดมการณ์กับพวกรีพับลิกัน ซึ่งยืนยันเหนียวแน่นคัดค้านการขึ้นภาษี โดยที่การโต้แย้งถกเถียงกันนี้น่าจะยืดเยื้อไปจนกระทั่งถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯสมัยต่อไปในต้นเดือนพฤศจิกายนปีหน้า
“ผมจะไม่สนับสนุนแผนการใดๆ ที่เป็นการผลักภาระของการลดการขาดดุลของเรามาให้แก่ชาวอเมริกันธรรมดาสามัญ” โอบามาบอก “เราจะต้องไม่ไปทำข้อตกลงแบบด้านเดียว ซึ่งสร้างความเจ็บปวดให้แก่ชาวบ้านเหล่านี้ที่เป็นพวกอ่อนแอที่สุดอยู่แล้ว”
คำปราศรัยคราวนี้ของโอบามา สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะปกป้องหลักการต่างๆ ของพรรคเดโมแครตด้วยท่าทีอันแข็งกร้าวยิ่งขึ้น ภายหลังที่การทำศึกด้านงบประมาณ 2 ครั้งก่อนในปีนี้กับทางพรรครีพับลิกัน เขาถูกมองว่ายอมอ่อนข้อและถูกทุบตีอย่างสาหัส ซึ่งมีส่วนทำให้เรตติ้งความยอมรับผลงานของเขาไหลรูดลงสู่จุดต่ำสุดเป็นสถิติใหม่
โพลหลายๆ สำนักชี้ว่า เวลานี้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่บอกว่าไม่พอใจกับความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโอบามา และความหวังที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่งของโอบามา จึงอาจจะต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของเขา ในการทำให้ผู้ออกเสียงเชื่อว่า พวกรีพับลิกันเป็นตัวแทนของคนร่ำรวย ไม่ใช่ชนชั้นกลางที่เป็นคนส่วนใหญ๋ในอเมริกา
โอบามากล่าวย้ำว่า เศรษฐีร่ำรวยและบริษัทใหญ่ทั้งหลาย ควรต้องจ่าย “ส่วนแบ่งอย่างยุติธรรม” ของพวกเขา เพื่อช่วยประเทศชาติลดการขาดดุลงบประมาณ โดยที่เขาเสนอให้ใช้ “กฎของบัฟเฟตต์” ที่จะกำหนดให้ชาวอเมริกันซึ่งมีเงินได้เกิน 1 ล้านดอลลาร์ต่อปี ต้องจ่ายภาษีในอัตราเดียวกันกับผู้ที่มีเงินได้ไม่ถึงจำนวนดังกล่าว
การเรียกข้อเสนอนี้ว่า “กฎของบัฟเฟตต์” เป็นการอ้างอิงถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนผู้ร่ำรวยมหาศาล ซึ่งออกมาร้องเรียนหลายครั้งว่า เขาและเพื่อนๆ เศรษฐีทั้งหลาย เสียภาษีในอัตราที่น้อยกว่าพวกลูกจ้างพนักงานที่ทำงานให้พวกเขาเสียอีก
ทั้งนี้ ชาวอเมริกันรายได้สูงจำนวนมาก ได้ประโยชน์จากช่องโหว่ในเรื่องภาษีที่ตั้งเกณฑ์กำหนดว่า รายได้จากการเงินทุนจะเสียภาษีในอัตราต่ำกว่ารายได้ที่เป็นค่าจ้าง
เมื่อวันอาทิตย์(18)ที่ผ่านมา พอล ไรอัน ส.ส.รีพับลิกันที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณของสภาล่าง และเป็นผู้สนับสนุนการลดงบประมาณรายจ่ายเยอะๆ แต่ไม่ให้ขึ้นภาษีเลย ได้วิจารณ์แผนการของโอบามาว่า เป็นการประกาศ “สงครามชนชั้น”
ในการปราศรัยที่สวนกุหลาบของทำเนียบขาวคราวนี้ โอบามาได้ถือโอกาสตอบโต้ว่า “นี่ไม่ใช่สงครามชนชั้น มันเป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่างหาก” พร้อมกับโต้แย้งว่า ถ้าไม่มีการขึ้นภาษีเอากับพวกที่สามารถจ่ายได้แล้ว การขาดดุลงบประมาณซึ่งทำท่ายืดเยื้อจนคุกคามชาวอเมริกันรุ่นลูกรุ่นหลาน ก็จะไม่มีทางแก้ไขได้
ทว่าพวกรีพับลิกันก็ดาหน้ากันออกมาคัดค้านแผนการของโอบามาในทันที
“วิธีการนำเอาชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งมาต่อสู้กับอีกกลุ่มหนึ่งเช่นนี้ ย่อมไม่ใช่การแสดงความเป็นผู้นำเลย” เป็นคำแถลงตอบโต้ของ จอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำรีพับลิกันที่ขัดแย้งอย่างแรงกับโอบามาในเรื่องวิธีแก้การขาดดุลงบประมาณ
แผนการของโอบามานี้ ถือเป็นข้อเสนอแนะที่ส่งให้แก่ คณะมหากรรมาธิการ (supercommittee) ของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยเดโมแครตและรีพับลิกันฝ่ายละ 3 คน คณะมหากรรมาธิการชุดนี้ทำหน้าที่หาช่องทางตัดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อเสนอต่อรัฐสภาภายในเดือนพฤศจิกายนนี้