ASTVผู้จัดการายวัน - นักวิชาการ เตือน สะพาน-ทางด่วน ทั่วกรุงเสี่ยงถล่มหากเกิดแผ่นดินไหว จี้รัฐเร่ง แนะเจ้าของตึกเก่าเสริมความแข็งแรงอาคาร “เป็นหนึ่ง” เผยโมเดลเชียงใหม่ ระบุ หากแผ่นดินไหว 5.7 ริกเตอร์ ทำเมืองราบเป็นอัมพาต 2-3 ปี เสียหาย 1.5 แสนล้าน คนตายถึง 8 พัน
วานนี้ (19 ก.ย.) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สำนักสำนักการโยธา (สนย.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง “การเตรียมความพร้อมในการรับมือแผ่นดินไหว” โดยมีรศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) หัวหน้าโครงการลดภัยพิบัติ จากแผ่นดินไหวในประเทศไทย รศ.ดร.วิโรจน์ บุญญภิญโญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ รศ.ดร.อมร พิมานมาศ ประธานคณะอนุกรรมการวิศวกรรมโครงสร้าง และสะพาน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสถ.) นายพินิต เลิศอุดมธนา ผู้ อำนวยการกองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กทม.และ นางคะนึงนิจ สุจิตจร ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการรักอบธุรกิจประกัน ภัย ร่วมเสวนาซึ่งมีเจ้าของอาคารในพื้นที่กทม.ร่วมรับฟังประมาณ 250 คน
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง กล่าวว่างานวิจัยพบว่ากทม.มีสภาพดินอ่อนซึ่งหากเกิดแผ่นดินไหวจะสามารถขยายความ รุนแรงได้เพิ่มเป็น 3 เท่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออาคารสูง แม้จะเกิดแผ่นดินไหวจากที่อื่น เช่น ที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ เมื่อปี 2528 เกิดแผ่นดินไหวในทะเล แต่กลับได้รับผลกระทบร้ายแรง เพราะสภาพดินอ่อนเป็นปัจจัยสำคัญอันเนื่องมาจากพื้นที่นี้เดิมเคยเป็นทะเลสาบเก่ามาก่อน ซึ่ง กทม.ก็เหมือนกัน หากเกิดแผ่นดินไหวอาจทำให้ได้รับผลกระทบแบบเดียวกัน โดยรอยเลื่อนที่ใกล้ กทม.ที่สุด คือ แนวรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ระยะทางประมาณ 200 เมตร”
“ได้มีการทดลองโมเดลการสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวขนาด 5.7 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ 7 กิโลเมตร จะพบว่าจากโมเดลดังกล่าวจะส่งผลให้จังหวัดเชียงใหม่ได้รับความเสียหายอย่าง มาก จะมีผู้เสียชีวิตถึง 8,000 คน สูญเสียทรัพย์สินมูลค่ารวม150,000 ล้านบาท และจะทำให้เมืองเชียงใหม่ตกอยู่ในภาวะอัมพาตไป 2-3 ปี อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโมเดลแผ่ยดินไหวในพื้นที่กทม.ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ”
รศ.ดร.อมรกล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงนอกเหนือจากอาคารถล่ม ก็คือ ทางด่วน และสะพานต่างๆ มีโอกาสที่คานจะหล่นจากหัวเสาได้ง่าย เพราะพื้นที่การตั้งวางมีระยะหมิ่นเหม่ต่อการตกมาก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวก็อาจเคลื่อนตัวและหล่นลงมาได้ สะพาน และทางด่วนเหล่านี้แม้จะแข็งแรงก็จริง แต่ก็ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานรองรับที่ชัดเจน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งสำรวจตรวจสอบ เพราะการเกิดแผ่นดินไหวทำให้มีผู้เสียชีวิตเพียง 50% เท่านั้น แต่อีก 50% เสียชีวิตเพราะถูกสิ่งของหล่นทับ
วานนี้ (19 ก.ย.) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สำนักสำนักการโยธา (สนย.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง “การเตรียมความพร้อมในการรับมือแผ่นดินไหว” โดยมีรศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) หัวหน้าโครงการลดภัยพิบัติ จากแผ่นดินไหวในประเทศไทย รศ.ดร.วิโรจน์ บุญญภิญโญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ รศ.ดร.อมร พิมานมาศ ประธานคณะอนุกรรมการวิศวกรรมโครงสร้าง และสะพาน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสถ.) นายพินิต เลิศอุดมธนา ผู้ อำนวยการกองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กทม.และ นางคะนึงนิจ สุจิตจร ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการรักอบธุรกิจประกัน ภัย ร่วมเสวนาซึ่งมีเจ้าของอาคารในพื้นที่กทม.ร่วมรับฟังประมาณ 250 คน
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง กล่าวว่างานวิจัยพบว่ากทม.มีสภาพดินอ่อนซึ่งหากเกิดแผ่นดินไหวจะสามารถขยายความ รุนแรงได้เพิ่มเป็น 3 เท่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออาคารสูง แม้จะเกิดแผ่นดินไหวจากที่อื่น เช่น ที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ เมื่อปี 2528 เกิดแผ่นดินไหวในทะเล แต่กลับได้รับผลกระทบร้ายแรง เพราะสภาพดินอ่อนเป็นปัจจัยสำคัญอันเนื่องมาจากพื้นที่นี้เดิมเคยเป็นทะเลสาบเก่ามาก่อน ซึ่ง กทม.ก็เหมือนกัน หากเกิดแผ่นดินไหวอาจทำให้ได้รับผลกระทบแบบเดียวกัน โดยรอยเลื่อนที่ใกล้ กทม.ที่สุด คือ แนวรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ระยะทางประมาณ 200 เมตร”
“ได้มีการทดลองโมเดลการสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวขนาด 5.7 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ 7 กิโลเมตร จะพบว่าจากโมเดลดังกล่าวจะส่งผลให้จังหวัดเชียงใหม่ได้รับความเสียหายอย่าง มาก จะมีผู้เสียชีวิตถึง 8,000 คน สูญเสียทรัพย์สินมูลค่ารวม150,000 ล้านบาท และจะทำให้เมืองเชียงใหม่ตกอยู่ในภาวะอัมพาตไป 2-3 ปี อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโมเดลแผ่ยดินไหวในพื้นที่กทม.ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ”
รศ.ดร.อมรกล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงนอกเหนือจากอาคารถล่ม ก็คือ ทางด่วน และสะพานต่างๆ มีโอกาสที่คานจะหล่นจากหัวเสาได้ง่าย เพราะพื้นที่การตั้งวางมีระยะหมิ่นเหม่ต่อการตกมาก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวก็อาจเคลื่อนตัวและหล่นลงมาได้ สะพาน และทางด่วนเหล่านี้แม้จะแข็งแรงก็จริง แต่ก็ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานรองรับที่ชัดเจน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งสำรวจตรวจสอบ เพราะการเกิดแผ่นดินไหวทำให้มีผู้เสียชีวิตเพียง 50% เท่านั้น แต่อีก 50% เสียชีวิตเพราะถูกสิ่งของหล่นทับ