เปิดตัวเลขกรมสรรพากรผู้เสียภาษีที่ได้รับประโยชน์มาตรการบ้านหลักแรก หักลดหย่อนภาษีเพียง 2.1 ล้านคน ขณะที่ผู้มีฐานรายได้ 4 ล้านบาท/ปีขึ้นไป รับประโยชน์สูงสุดลดหย่อนภาษีได้ 1.85 แสนบาท มีแค่ 16,000 คนเท่านั้น ด้านบิ๊กธอส. ยันรัฐบาลยังไม่มีนโยบายให้ทำโครงการสินเชื่อ 0% 5 ปี
จากนโยบายบ้านหลักแรกที่กระทรวงการคลังเตรียมนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (20 ก.ย.54) โดยกำหนดให้ผู้ซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท สามารถนำเงินร้อยละ 10 ของราคาบ้าน สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท มาหักลดหย่อนก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี โดยกำหนดให้แบ่งหักเป็นเวลา 5 ปีๆละเท่าๆกัน
ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าว ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จะมีเฉพาะผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับกรมสรรพากรเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีผู้ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 จำนวนทั้งสิ้น 9 ล้านแบบ ในจำนวนดังกล่าวมี 7.4 ล้านแบบ คิดเป็น 76.5% ที่มีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาท/ปี จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว เนื่องจากได้รับการยกเว้นภาษี ที่เหลือจำนวน 2.1 ล้านแบบเป็นผู้ที่เสียภาษี ซึ่งคนกลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์จากมาตรการบ้านหลังแรกของรัฐบาล
สำหรับสัดส่วนการจัดเก็บภาษีตามฐานรายได้ แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 รายได้ 150,001-500,000 บาท/ปี มีจำนวน 1,665,000 แบบ คิดเป็น18.5% เสียภาษีในอัตรา 10% , กลุ่มที่ 2 รายได้ 500,001-1,000,000 บาท/ปี มีจำนวน 315,000 แบบ คิดเป็น3.5% เสียภาษีในอัตรา 20% , กลุ่มที่ 3 รายได้ 1,000,001-4,000,000 บาท/ปี มีจำนวน 117,000 แบบ สัดส่วน 1.3% เสียภาษีในอัตรา 30% และรายได้ตั้งแต่ 4,000,001 ขึ้นไป มีจำนวน 16,000 แบบ คิดเป็น 0.2% เสียภาษีในอัตรา 37%
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า จากการคำนวณสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับตามฐานการจ่ายภาษีรายได้ของบุคคลธรรมดา กรณีตัวอย่าง ซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท สามารถหักลดหย่อนก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี 5 แสนบาท จะพบว่า ผู้ที่มีฐานรายได้ 150,001-500,000 บาท ฐานภาษี 10% เมื่อคำนวณแล้วจะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 10,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 50,000 บาท
ฐานรายได้ 500,001-1,000,000 บาท ฐานภาษี 20% หักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 20,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 100,000 บาท, ฐานรายได้ 1,000,001-4,000,000 บาท ฐานภาษี 30% หักลดหย่อยภาษีได้ปีละ 30,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 150,000 บาท และฐานรายได้ 4,000,001 บาท ขึ้นไป ฐานภาษี 37% หักลดหย่อนภาษีได้ 37,000 บาท รวม 5 ปี หักลดหย่อนภาษีได้ 185,000
ทั้งนี้ ผู้เสียภาษีจะได้รับประโยชน์มาก-น้อยตามฐานอัตราภาษี และราคาบ้าน โดยผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด คือผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งมีฐานการจ่ายภาษีที่ 37% และต้องซื้อบ้านราคาสูงสุด 5 ล้านบาท จะได้รับประโยชน์ 185,000 แสนบาท
***รัฐไม่หนุนสินเชื่อ 0% ในบ้านหลังแรก
ด้านนายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า หากรัฐบาลจะมีมาตรการอื่นออกมา เพื่อเกี่ยวโยงกับโครงการบ้านหลังแรก อาทิ การให้วงเงินสินเชื่อแบบดอกเบี้ย 0 % เป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี นั้น ขณะนี้ทางรัฐบาลยังได้มีนโยบายให้ธนาคารดำเนินการแต่อย่างใด และธนาคารยืนยันที่จะไม่ดำเนินการโครงการดังกล่าวเอง โดยที่รัฐบาลไม่ได้ชดเชยดอกเบี้ยให้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคารและไม่ต้องการให้กระทบต่อผลตอบแทนของพนักงาน
สำหรับโครงการบ้านหลักแรกของรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ สินเชื่อซื้อบ้านดอกเบี้ย 0 % นาน2 ปี วงเงินรวม 25,000 ล้านบาทนั้น ปัจจุบันได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อไปแล้วราว 16,000-17,000 ล้านบาท และมีการเบิกสินเชื่อไปแล้ว 12,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การก่อสร้างบ้านยังไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับผู้ขอสินเชื่อส่วนใหญ่ เอกสารและหลักฐานไม่ครบ
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ามาตรการ 0% 2 ปี ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมองว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันถือว่า เป็นจุดที่สูงสุดแล้วหากมีการปรับขึ้น ก็ไม่หน้าเกิน 0.25% รวมทั้งเห็นว่า นอกจากปัจจัยดอกเบี้ยแล้ว สถานการณ์น้ำท่วมยังมีผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นกัน
นายวรวิทย์ กล่าวต่อว่าโดยปกติแล้ว การให้ดอกเบี้ย 0% นั้น ส่วนใหญ่จะให้ไม่เกิน 6-7 เดือน แต่หากเป็นนโยบายของรัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุหรือชดเชยดอกเบี้ยให้ เพราะ ธอส. มีต้นทุนในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังต้องแยกบัญชีโครงการตามนโยบายภาครัฐออกจากบัญชีจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปของธนาคาร เพราะโครงการตามนโยบายของรัฐจะไม่มีกำไรในการดำเนินงาน บางโครงการขาดทุน
จากนโยบายบ้านหลักแรกที่กระทรวงการคลังเตรียมนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (20 ก.ย.54) โดยกำหนดให้ผู้ซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท สามารถนำเงินร้อยละ 10 ของราคาบ้าน สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท มาหักลดหย่อนก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี โดยกำหนดให้แบ่งหักเป็นเวลา 5 ปีๆละเท่าๆกัน
ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าว ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จะมีเฉพาะผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับกรมสรรพากรเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีผู้ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 จำนวนทั้งสิ้น 9 ล้านแบบ ในจำนวนดังกล่าวมี 7.4 ล้านแบบ คิดเป็น 76.5% ที่มีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาท/ปี จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว เนื่องจากได้รับการยกเว้นภาษี ที่เหลือจำนวน 2.1 ล้านแบบเป็นผู้ที่เสียภาษี ซึ่งคนกลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์จากมาตรการบ้านหลังแรกของรัฐบาล
สำหรับสัดส่วนการจัดเก็บภาษีตามฐานรายได้ แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 รายได้ 150,001-500,000 บาท/ปี มีจำนวน 1,665,000 แบบ คิดเป็น18.5% เสียภาษีในอัตรา 10% , กลุ่มที่ 2 รายได้ 500,001-1,000,000 บาท/ปี มีจำนวน 315,000 แบบ คิดเป็น3.5% เสียภาษีในอัตรา 20% , กลุ่มที่ 3 รายได้ 1,000,001-4,000,000 บาท/ปี มีจำนวน 117,000 แบบ สัดส่วน 1.3% เสียภาษีในอัตรา 30% และรายได้ตั้งแต่ 4,000,001 ขึ้นไป มีจำนวน 16,000 แบบ คิดเป็น 0.2% เสียภาษีในอัตรา 37%
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า จากการคำนวณสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับตามฐานการจ่ายภาษีรายได้ของบุคคลธรรมดา กรณีตัวอย่าง ซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท สามารถหักลดหย่อนก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี 5 แสนบาท จะพบว่า ผู้ที่มีฐานรายได้ 150,001-500,000 บาท ฐานภาษี 10% เมื่อคำนวณแล้วจะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 10,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 50,000 บาท
ฐานรายได้ 500,001-1,000,000 บาท ฐานภาษี 20% หักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 20,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 100,000 บาท, ฐานรายได้ 1,000,001-4,000,000 บาท ฐานภาษี 30% หักลดหย่อยภาษีได้ปีละ 30,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 150,000 บาท และฐานรายได้ 4,000,001 บาท ขึ้นไป ฐานภาษี 37% หักลดหย่อนภาษีได้ 37,000 บาท รวม 5 ปี หักลดหย่อนภาษีได้ 185,000
ทั้งนี้ ผู้เสียภาษีจะได้รับประโยชน์มาก-น้อยตามฐานอัตราภาษี และราคาบ้าน โดยผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด คือผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งมีฐานการจ่ายภาษีที่ 37% และต้องซื้อบ้านราคาสูงสุด 5 ล้านบาท จะได้รับประโยชน์ 185,000 แสนบาท
***รัฐไม่หนุนสินเชื่อ 0% ในบ้านหลังแรก
ด้านนายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า หากรัฐบาลจะมีมาตรการอื่นออกมา เพื่อเกี่ยวโยงกับโครงการบ้านหลังแรก อาทิ การให้วงเงินสินเชื่อแบบดอกเบี้ย 0 % เป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี นั้น ขณะนี้ทางรัฐบาลยังได้มีนโยบายให้ธนาคารดำเนินการแต่อย่างใด และธนาคารยืนยันที่จะไม่ดำเนินการโครงการดังกล่าวเอง โดยที่รัฐบาลไม่ได้ชดเชยดอกเบี้ยให้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคารและไม่ต้องการให้กระทบต่อผลตอบแทนของพนักงาน
สำหรับโครงการบ้านหลักแรกของรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ สินเชื่อซื้อบ้านดอกเบี้ย 0 % นาน2 ปี วงเงินรวม 25,000 ล้านบาทนั้น ปัจจุบันได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อไปแล้วราว 16,000-17,000 ล้านบาท และมีการเบิกสินเชื่อไปแล้ว 12,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การก่อสร้างบ้านยังไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับผู้ขอสินเชื่อส่วนใหญ่ เอกสารและหลักฐานไม่ครบ
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ามาตรการ 0% 2 ปี ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมองว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันถือว่า เป็นจุดที่สูงสุดแล้วหากมีการปรับขึ้น ก็ไม่หน้าเกิน 0.25% รวมทั้งเห็นว่า นอกจากปัจจัยดอกเบี้ยแล้ว สถานการณ์น้ำท่วมยังมีผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นกัน
นายวรวิทย์ กล่าวต่อว่าโดยปกติแล้ว การให้ดอกเบี้ย 0% นั้น ส่วนใหญ่จะให้ไม่เกิน 6-7 เดือน แต่หากเป็นนโยบายของรัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุหรือชดเชยดอกเบี้ยให้ เพราะ ธอส. มีต้นทุนในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังต้องแยกบัญชีโครงการตามนโยบายภาครัฐออกจากบัญชีจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปของธนาคาร เพราะโครงการตามนโยบายของรัฐจะไม่มีกำไรในการดำเนินงาน บางโครงการขาดทุน