ASTVผู้จัดการรายวัน- เผยกระแสการเปิดเสรีด้านการเงิน กระตุ้น ธปท.-ภาครัฐฯ เร่งเปิดเสรีรับเปิดเสรีการค้า ด้านศูนย์วิจัยกสิกรฯ เผยผลวิจัยมูลตลาดการเงินไทยระบุยังไม่พร้อมเปิดเสริด้านการเงิน หลังผลวิจัยแบงก์พาณิชย์ไทย ชี้ศักยภาพแบงก์พาริชย์ไทยยังด้อย ไม่พร้อมแข่งเสรีด้านการเงิน เมื่อเทียบคู่แข่งสถาบันการเงินชั้นนำระดับภูมิภาค เหตุสถาบันการเงินชั้นนำในภูมิภาคได้เปรียบด้านการแข่งขันที่เหนือกว่า แม้ข้อมูลการเงิน ช่องทางขาย และบริการ ธ.พาณิชย์ไทยพร้อม แต่รองรับได้เฉพาะลูกค้าตลาดในประเทศ ด้าน สถาบันการเงินระดับภูมิภาคดังแสดงความสนใจ การเพิ่มบทบาทในระบบสถาบันการเงินไทย หวั่นส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและเพิ่มความเข้มข้นในการแข่งขันให้กับธนาคารพาณิชย์ไทยยากหลีกเลี่ยง
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกร ไทย จำกัด เปิดเผยว่า กระแสการเปิดเสรีการค้าและบริการ โดยเฉพาะภายใต้เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในสาขาบริการด้านการเงิน เป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่หลีกหนีทิศทางไม่ได้ แม้ว่าความคืบหน้าของการเจรจากรอบการเปิดเสรีสำหรับสาขาบริการด้านการเงิน จะยังไม่ชัดเจนและก้าวหน้าเท่ากับมิติของสินค้าที่ได้เข้าสู่จังหวะของการลดภาษีเป็นส่วนใหญ่ตั้งแต่ปี 2553 ก็ตาม โดยจากการเจรจารวม 5 รอบตั้งแต่ปี 2539-2554 ภาคส่วนที่มีความคืบหน้ามากที่สุด คือ สาขาหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ได้ถึง 100% ในบางธุรกิจ ในกิจการที่มีอยู่แล้ว ขณะที่ อีกสองสาขาหลักที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์และประกันภัย ยังไม่ได้มีข้อผูกพันด้านการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเกินกว่า 49% ที่ชัดเจนเท่ากับสาขาหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ทิศทางของการเปิดเสรีภาคบริการในสาขาหลักๆ ดังกล่าวล่วงหน้า ทางการไทยได้จัดทำแผนพัฒนาธุรกิจ/สถาบันที่อยู่ภายใต้การดูแลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อเสริมความพร้อมและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ/สถาบันเหล่านั้นให้สูงขึ้น ขณะเดียวกัน ได้วางแนวทางไปสู่การเพิ่มบทบาทของผู้เล่นรายใหม่ และสถาบันการเงินต่างชาติมากกว่าเดิม
“ด้วยเงื่อนเวลาที่งวดเข้ามามากกว่ากรอบการเปิดเสรีในเวทีภูมิภาค เช่น การพิจารณาให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ใหม่ตั้งแต่ปี 2555 และใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในปี 2557 ขณะที่ รัฐบาลปัจจุบันแสดงเจตนารมณ์ที่ต้องการเร่งการเปิดเสรีดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนของธนาคารพาณิชย์ ให้เร็วขึ้นอีก”
เร่งเปิดเสรีธุรกิจธนาคารพาณิชย์
เอื้อลูกค้าและผู้บริโภคไทย
จากประเด็นการเร่งเปิดการเปิดเสรีดังการเงิน ดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้รวบรวมประเด็นเกี่ยวกับความพร้อมของธนาคารพาณิชย์ไทยในการรองรับการเปิดเสรีในอนาคต และข้อสังเกตหลายประการ ประกอดบด้วย การริเริ่มแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 1 ตั้งแต่ปี 2547-2552 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและความสามารถในการแข่งขันของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแล แล้ว ธปท.ได้นำเสนอแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 2 (ปี 2553 - 2557) ซึ่งครอบคลุมถึงเป้าหมายในการเปิดตลาดและให้โอกาสสถาบันการเงินต่างชาติในการทำธุรกิจในไทยในกรอบที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การพิจารณาให้ใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ (New License) กับบางสาขาธุรกิจก่อน (Microfinance, IB, Trust Bank และ Islamic Bank) รวมถึงอนุญาตให้ Foreign Bank Branch และ Subsidiary มีช่องทางเพิ่มเป็นไม่เกิน 20 สาขา และ 20 เอทีเอ็ม (แต่ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนชั้นที่ 1 เป็นไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท) ในปี 2555 และการพิจารณาให้ใบอนุญาตรายใหม่ (ถ้าสถาบันการเงินในประเทศมีความพร้อม) ในปี 2557
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลชุดปัจจุบัน มีแนวทางที่จะเลื่อนกำหนดการในส่วนนี้ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยมุ่งหวังที่จะดึงธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อันดับ 1-3 ของกลุ่มอาเซียน และอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) ให้เข้ามาทำธุรกิจในไทย เพื่อเพิ่มการแข่งขันของการให้บริการด้านการเงินในประเทศ อันย่อมจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคและธุรกิจในประเทศ ทั้งในมิติของการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการ การนำเสนอราคาที่ดีขึ้น และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงคุณภาพของบริการที่สูงขึ้นอีกในอนาคต
ขณะเดียวกัน ก็ช่วยส่งเสริมให้กิจการและผู้บริโภคไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศ ได้สะดวกขึ้น ภายใต้เงื่อนไขการให้บริการที่ดีขึ้นด้วย ซึ่งเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ทั้งในมิติของการค้า การลงทุนโดยตรง และการออม/ลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินของประเทศอาเซียน+3
ทั้งนี้ ความพร้อมของธนาคารพาณิชย์ไทยที่วัดจากมิติของฐานะทางการเงินในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นมากจากอดีต แต่หากพิจารณาความสามารถของธนาคารพาณิชย์ไทยในการรองรับกรอบการเปิดเสรีฯ ที่เร็วขึ้น จากมิติของฐานะทางการเงินนั้น พบว่า ปรับตัวดีขึ้นค่อนข้างมากในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นอัตราการทำกำไรในรูปของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin) คุณภาพสินเชื่อที่ประเมินจากสัดส่วนเอ็นพีแอลที่อยู่ในระดับต่ำ และสัดส่วนการตั้งค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญต่อเอ็นพีแอล (Loan Loss Coverage Ratio: LLR) ที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ฐานะสภาพคล่องที่ปรับตัวดีขึ้น ตลอดจน ฐานะเงินกองทุนที่เข้มแข็งขึ้นมาก รวมถึงจำนวนช่องทางการขาย โดยเฉพาะสาขาและเอทีเอ็ม ก็เพิ่มจำนวนขึ้นกว่า 1.5 และ 8 เท่าตัวจากช่วงหลังวิกฤตปี 2540 มาที่ 6 พันแห่ง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 และประมาณ 4.4 หมื่นเครื่อง ณ สิ้นปี 2553 ตามลำดับ เช่นเดียวกับจำนวนพนักงานที่ไต่ระดับขึ้นจากช่วงต่ำสุดที่ประมาณ 8.3 หมื่นคนในปี 2545 มาที่ 1.23 แสนคนในช่วงกลางปี 2554 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จากภาพรวมดังกล่าว สะท้อนผลสัมฤทธิ์เชิงบวกจากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจและการบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ไทยให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการแข่งขัน รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้ภูมิต้านทานต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ มีแรงสนับสนุนที่สำคัญจากพัฒนาการด้านกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์การกันสำรองตาม IAS39 เกณฑ์การกำกับเงินกองทุน Basel II และ III การปรับปรุงมาตรฐานบัญชี ตลอดจน แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 1 และ 2 ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2547 และ 2553 ตามลำดับ
สำหรับ ความพร้อมดังกล่าว แม้สะท้อนความสามารถในการแข่งขันสำหรับ ‘เวทีในประเทศ’ มากกว่าเวทีภูมิภาค ความพร้อมทั้งในมิติของด้านการเงิน เงินกองทุน และเครือข่ายสาขาในการให้บริการ รวมถึงจุดแข็งด้านความคุ้นเคยกับลูกค้าและฐานลูกค้าขนาดใหญ่ดังกล่าว ช่วยให้ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยสามารถรักษาประสิทธิภาพในการแข่งขันได้ โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ไทย 4 แห่งขนาดใหญ่ที่ยังคงมีผู้ถือหุ้นใหญ่สัญชาติไทย โดยเห็นได้จากส่วนแบ่งตลาดสินทรัพย์ที่สูงกว่า 60% ตลอดช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าความสามารถในการแข่งขันดังกล่าว เน้นไปที่เวทีในประเทศ มากกว่าการให้บริการลูกค้านอกประเทศ ซึ่งสำหรับตลาดในประเทศนั้น แผนการเร่งรัดการเปิดเสรีฯ คงนำมาสู่จำนวนคู่แข่งที่เพิ่มจำนวนขึ้น หรือมีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างยากจะหลีกเลี่ยงในอนาคต ดังจะเห็นได้จากที่ ปัจจุบัน มีสถาบันการเงินทั้งจากมาเลเซียและสิงคโปร์หลายราย ต่างก็ให้ความสนใจเพิ่มบทบาทในธุรกิจสถาบันการเงินไทย ในธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม มากขึ้น
ขณะที่ แนวทางการเปิดเสรีธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ที่มุ่งพัฒนาการให้บริการทางการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของการค้าและการลงทุนที่มีความเชื่อมโยงกับอาเซียนมากขึ้น แม้ว่าจะเพิ่มความยืดหยุ่นและสร้างโอกาสสำหรับธนาคารพาณิชย์ไทยในการให้บริการด้านการเงินนอกพรมแดน จากการที่ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ คงทยอยเพิ่มความยืดหยุ่นในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินต่างชาติในอาเซียน ซึ่งเป็นเส้นทางที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และกลางกำลังมุ่งไปอยู่แล้ว (โดยปัจจุบันมีสาขา หรือสำนักงานตัวแทนอยู่ในจีน ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เวียดนาม พม่า ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และฮ่องกง) แต่คงต้องยอมรับว่า เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่เป็นสถาบันการเงินระดับภูมิภาคที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันมากกว่า ประเทศไทยอาจยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกรอบการเปิดเสรีฯ อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากขนาดสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่เฉลี่ย 4 แห่ง ที่ยังเล็กกว่าธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของสิงคโปร์และมาเลเซียถึง 3.6 และ 1.7 เท่า ตามลำดับ
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ระดับภูมิภาคดังกล่าว ก็มีสาขาของธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจการเงินในเครือ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจจัดการลงทุน บริษัทเงินทุน Investment Banking บริษัทหลักทรัพย์ และประกัน ในประเทศที่ธนาคารพาณิชย์ไทยเข้าไปแล้วเช่นกัน อาทิ จีน มาเลเซีย บรูไน กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย ขณะที่ หากประเมินในมิติของจำนวนเครือข่ายสาขานั้น พบว่าธนาคารระดับภูมิภาคดังกล่าว มีสาขาในหลายประเทศในจำนวนที่มากกว่าธนาคารพาณิชย์ไทย
โดยเฉพาะประเทศที่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีและเป็นพื้นที่ที่ธุรกิจไทยให้ความสนใจไปลงทุนสูง อาทิ อินโดนีเซีย โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่ที่สุดรวม 3 อันดับแรกในมาเลเซียและสิงคโปร์ มีสาขาในอินโดนีเซียรวมทั้งสิ้น 1,099 และ 101 แห่ง ตามลำดับ ขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีเพียง 1 สาขาเท่านั้น สถานการณ์คล้ายกันก็ปรากฏขึ้นในกรณีของประเทศจีน ซึ่งธนาคารสิงคโปร์ขนาดใหญ่ 3 แห่ง มีจำนวนสาขามากกว่าธนาคารไทยขนาดใหญ่ แต่สำหรับบางประเทศอย่างเช่นเวียดนาม ซึ่งมีธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนมากนั้น พบว่าธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีสาขาและธนาคารพาณิชย์ร่วมลงทุน ในปริมาณที่แข่งขันได้กับธนาคารคู่แข่งจากมาเลเซียและสิงคโปร์
ผลกระทบเปิดเสรีฯทางตรง-อ้อม
ธุรกิจหลักทรัพย์รับผลก่อนเพื่อน
ทั้งนี้ แม้กรอบการเปิดเสรีใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์ มีโอกาสเกิดขึ้นในปี 2557 (ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 2) แต่การเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ (ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ก. ข. ค. และ ง.) ในวันที่ 1 มกราคม 2555 ซึ่งหมายความว่าสถาบันการเงินต่างชาติสามารถขอใบอนุญาตเพื่อจัดตั้งบริษัทใหม่ที่ประกอบธุรกิจดังกล่าวโดยถือหุ้น 100% ได้ รวมถึงแผนการให้ใบอนุญาตเฉพาะสาขาธุรกิจของ ธปท.ในปีเดียวกัน คงจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ และบลจ.ในเครือ (ภายใต้รูปแบบธุรกิจแบบ Universal Banking) รวมถึงธุรกิจการค้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้ของธนาคารพาณิชย์
นอกจากนี้ แผนของรัฐบาลที่เตรียมอนุญาตให้ บล.ทำธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และโครงการ ASEAN Linkage ที่ บล.ที่เข้าร่วมโครงการสามารถให้บริการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนสถาบันและรายย่อย จากประเทศหนึ่ง ไปยังอีกประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ (ซึ่งน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายปี 2554-2555 นี้) คาดว่าจะทำให้ บลจ.และธนาคารพาณิชย์ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์การออม การบริหารทรัพย์ส่วนบุคคล และ/หรือบริการด้านอัตราแลกเปลี่ยน อาจต้องปรับกลยุทธ์ เพื่อรับมือกฎกติกา และสภาวะการแข่งขันที่คงแตกต่างออกไปในอนาคต
ขณะเดียวกัน ก็ต้องติดตามท่าทีของ ธปท.ในการดูแลผลกระทบจากเกณฑ์ดังกล่าวต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งในเบื้องต้น คาดว่าอาจออกมาในรูปของการเพิ่มความยืดหยุ่นของวงเงินที่อนุมัติให้ กลต.ในการจัดสรรวงเงินย่อยให้กับแต่ละ บล.และรายลูกค้า จากวงเงินที่อนุมัติอยู่แล้วในปัจจุบัน
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกร ไทย จำกัด เปิดเผยว่า กระแสการเปิดเสรีการค้าและบริการ โดยเฉพาะภายใต้เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในสาขาบริการด้านการเงิน เป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่หลีกหนีทิศทางไม่ได้ แม้ว่าความคืบหน้าของการเจรจากรอบการเปิดเสรีสำหรับสาขาบริการด้านการเงิน จะยังไม่ชัดเจนและก้าวหน้าเท่ากับมิติของสินค้าที่ได้เข้าสู่จังหวะของการลดภาษีเป็นส่วนใหญ่ตั้งแต่ปี 2553 ก็ตาม โดยจากการเจรจารวม 5 รอบตั้งแต่ปี 2539-2554 ภาคส่วนที่มีความคืบหน้ามากที่สุด คือ สาขาหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ได้ถึง 100% ในบางธุรกิจ ในกิจการที่มีอยู่แล้ว ขณะที่ อีกสองสาขาหลักที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์และประกันภัย ยังไม่ได้มีข้อผูกพันด้านการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเกินกว่า 49% ที่ชัดเจนเท่ากับสาขาหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ทิศทางของการเปิดเสรีภาคบริการในสาขาหลักๆ ดังกล่าวล่วงหน้า ทางการไทยได้จัดทำแผนพัฒนาธุรกิจ/สถาบันที่อยู่ภายใต้การดูแลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อเสริมความพร้อมและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ/สถาบันเหล่านั้นให้สูงขึ้น ขณะเดียวกัน ได้วางแนวทางไปสู่การเพิ่มบทบาทของผู้เล่นรายใหม่ และสถาบันการเงินต่างชาติมากกว่าเดิม
“ด้วยเงื่อนเวลาที่งวดเข้ามามากกว่ากรอบการเปิดเสรีในเวทีภูมิภาค เช่น การพิจารณาให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ใหม่ตั้งแต่ปี 2555 และใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในปี 2557 ขณะที่ รัฐบาลปัจจุบันแสดงเจตนารมณ์ที่ต้องการเร่งการเปิดเสรีดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนของธนาคารพาณิชย์ ให้เร็วขึ้นอีก”
เร่งเปิดเสรีธุรกิจธนาคารพาณิชย์
เอื้อลูกค้าและผู้บริโภคไทย
จากประเด็นการเร่งเปิดการเปิดเสรีดังการเงิน ดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้รวบรวมประเด็นเกี่ยวกับความพร้อมของธนาคารพาณิชย์ไทยในการรองรับการเปิดเสรีในอนาคต และข้อสังเกตหลายประการ ประกอดบด้วย การริเริ่มแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 1 ตั้งแต่ปี 2547-2552 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและความสามารถในการแข่งขันของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแล แล้ว ธปท.ได้นำเสนอแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 2 (ปี 2553 - 2557) ซึ่งครอบคลุมถึงเป้าหมายในการเปิดตลาดและให้โอกาสสถาบันการเงินต่างชาติในการทำธุรกิจในไทยในกรอบที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การพิจารณาให้ใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ (New License) กับบางสาขาธุรกิจก่อน (Microfinance, IB, Trust Bank และ Islamic Bank) รวมถึงอนุญาตให้ Foreign Bank Branch และ Subsidiary มีช่องทางเพิ่มเป็นไม่เกิน 20 สาขา และ 20 เอทีเอ็ม (แต่ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนชั้นที่ 1 เป็นไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท) ในปี 2555 และการพิจารณาให้ใบอนุญาตรายใหม่ (ถ้าสถาบันการเงินในประเทศมีความพร้อม) ในปี 2557
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลชุดปัจจุบัน มีแนวทางที่จะเลื่อนกำหนดการในส่วนนี้ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยมุ่งหวังที่จะดึงธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อันดับ 1-3 ของกลุ่มอาเซียน และอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) ให้เข้ามาทำธุรกิจในไทย เพื่อเพิ่มการแข่งขันของการให้บริการด้านการเงินในประเทศ อันย่อมจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคและธุรกิจในประเทศ ทั้งในมิติของการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการ การนำเสนอราคาที่ดีขึ้น และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงคุณภาพของบริการที่สูงขึ้นอีกในอนาคต
ขณะเดียวกัน ก็ช่วยส่งเสริมให้กิจการและผู้บริโภคไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศ ได้สะดวกขึ้น ภายใต้เงื่อนไขการให้บริการที่ดีขึ้นด้วย ซึ่งเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ทั้งในมิติของการค้า การลงทุนโดยตรง และการออม/ลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินของประเทศอาเซียน+3
ทั้งนี้ ความพร้อมของธนาคารพาณิชย์ไทยที่วัดจากมิติของฐานะทางการเงินในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นมากจากอดีต แต่หากพิจารณาความสามารถของธนาคารพาณิชย์ไทยในการรองรับกรอบการเปิดเสรีฯ ที่เร็วขึ้น จากมิติของฐานะทางการเงินนั้น พบว่า ปรับตัวดีขึ้นค่อนข้างมากในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นอัตราการทำกำไรในรูปของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin) คุณภาพสินเชื่อที่ประเมินจากสัดส่วนเอ็นพีแอลที่อยู่ในระดับต่ำ และสัดส่วนการตั้งค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญต่อเอ็นพีแอล (Loan Loss Coverage Ratio: LLR) ที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ฐานะสภาพคล่องที่ปรับตัวดีขึ้น ตลอดจน ฐานะเงินกองทุนที่เข้มแข็งขึ้นมาก รวมถึงจำนวนช่องทางการขาย โดยเฉพาะสาขาและเอทีเอ็ม ก็เพิ่มจำนวนขึ้นกว่า 1.5 และ 8 เท่าตัวจากช่วงหลังวิกฤตปี 2540 มาที่ 6 พันแห่ง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 และประมาณ 4.4 หมื่นเครื่อง ณ สิ้นปี 2553 ตามลำดับ เช่นเดียวกับจำนวนพนักงานที่ไต่ระดับขึ้นจากช่วงต่ำสุดที่ประมาณ 8.3 หมื่นคนในปี 2545 มาที่ 1.23 แสนคนในช่วงกลางปี 2554 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จากภาพรวมดังกล่าว สะท้อนผลสัมฤทธิ์เชิงบวกจากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจและการบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ไทยให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการแข่งขัน รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้ภูมิต้านทานต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ มีแรงสนับสนุนที่สำคัญจากพัฒนาการด้านกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์การกันสำรองตาม IAS39 เกณฑ์การกำกับเงินกองทุน Basel II และ III การปรับปรุงมาตรฐานบัญชี ตลอดจน แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 1 และ 2 ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2547 และ 2553 ตามลำดับ
สำหรับ ความพร้อมดังกล่าว แม้สะท้อนความสามารถในการแข่งขันสำหรับ ‘เวทีในประเทศ’ มากกว่าเวทีภูมิภาค ความพร้อมทั้งในมิติของด้านการเงิน เงินกองทุน และเครือข่ายสาขาในการให้บริการ รวมถึงจุดแข็งด้านความคุ้นเคยกับลูกค้าและฐานลูกค้าขนาดใหญ่ดังกล่าว ช่วยให้ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยสามารถรักษาประสิทธิภาพในการแข่งขันได้ โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ไทย 4 แห่งขนาดใหญ่ที่ยังคงมีผู้ถือหุ้นใหญ่สัญชาติไทย โดยเห็นได้จากส่วนแบ่งตลาดสินทรัพย์ที่สูงกว่า 60% ตลอดช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าความสามารถในการแข่งขันดังกล่าว เน้นไปที่เวทีในประเทศ มากกว่าการให้บริการลูกค้านอกประเทศ ซึ่งสำหรับตลาดในประเทศนั้น แผนการเร่งรัดการเปิดเสรีฯ คงนำมาสู่จำนวนคู่แข่งที่เพิ่มจำนวนขึ้น หรือมีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างยากจะหลีกเลี่ยงในอนาคต ดังจะเห็นได้จากที่ ปัจจุบัน มีสถาบันการเงินทั้งจากมาเลเซียและสิงคโปร์หลายราย ต่างก็ให้ความสนใจเพิ่มบทบาทในธุรกิจสถาบันการเงินไทย ในธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม มากขึ้น
ขณะที่ แนวทางการเปิดเสรีธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ที่มุ่งพัฒนาการให้บริการทางการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของการค้าและการลงทุนที่มีความเชื่อมโยงกับอาเซียนมากขึ้น แม้ว่าจะเพิ่มความยืดหยุ่นและสร้างโอกาสสำหรับธนาคารพาณิชย์ไทยในการให้บริการด้านการเงินนอกพรมแดน จากการที่ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ คงทยอยเพิ่มความยืดหยุ่นในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินต่างชาติในอาเซียน ซึ่งเป็นเส้นทางที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และกลางกำลังมุ่งไปอยู่แล้ว (โดยปัจจุบันมีสาขา หรือสำนักงานตัวแทนอยู่ในจีน ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เวียดนาม พม่า ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และฮ่องกง) แต่คงต้องยอมรับว่า เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่เป็นสถาบันการเงินระดับภูมิภาคที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันมากกว่า ประเทศไทยอาจยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกรอบการเปิดเสรีฯ อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากขนาดสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่เฉลี่ย 4 แห่ง ที่ยังเล็กกว่าธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของสิงคโปร์และมาเลเซียถึง 3.6 และ 1.7 เท่า ตามลำดับ
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ระดับภูมิภาคดังกล่าว ก็มีสาขาของธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจการเงินในเครือ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจจัดการลงทุน บริษัทเงินทุน Investment Banking บริษัทหลักทรัพย์ และประกัน ในประเทศที่ธนาคารพาณิชย์ไทยเข้าไปแล้วเช่นกัน อาทิ จีน มาเลเซีย บรูไน กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย ขณะที่ หากประเมินในมิติของจำนวนเครือข่ายสาขานั้น พบว่าธนาคารระดับภูมิภาคดังกล่าว มีสาขาในหลายประเทศในจำนวนที่มากกว่าธนาคารพาณิชย์ไทย
โดยเฉพาะประเทศที่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีและเป็นพื้นที่ที่ธุรกิจไทยให้ความสนใจไปลงทุนสูง อาทิ อินโดนีเซีย โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่ที่สุดรวม 3 อันดับแรกในมาเลเซียและสิงคโปร์ มีสาขาในอินโดนีเซียรวมทั้งสิ้น 1,099 และ 101 แห่ง ตามลำดับ ขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีเพียง 1 สาขาเท่านั้น สถานการณ์คล้ายกันก็ปรากฏขึ้นในกรณีของประเทศจีน ซึ่งธนาคารสิงคโปร์ขนาดใหญ่ 3 แห่ง มีจำนวนสาขามากกว่าธนาคารไทยขนาดใหญ่ แต่สำหรับบางประเทศอย่างเช่นเวียดนาม ซึ่งมีธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนมากนั้น พบว่าธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีสาขาและธนาคารพาณิชย์ร่วมลงทุน ในปริมาณที่แข่งขันได้กับธนาคารคู่แข่งจากมาเลเซียและสิงคโปร์
ผลกระทบเปิดเสรีฯทางตรง-อ้อม
ธุรกิจหลักทรัพย์รับผลก่อนเพื่อน
ทั้งนี้ แม้กรอบการเปิดเสรีใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์ มีโอกาสเกิดขึ้นในปี 2557 (ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 2) แต่การเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ (ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ก. ข. ค. และ ง.) ในวันที่ 1 มกราคม 2555 ซึ่งหมายความว่าสถาบันการเงินต่างชาติสามารถขอใบอนุญาตเพื่อจัดตั้งบริษัทใหม่ที่ประกอบธุรกิจดังกล่าวโดยถือหุ้น 100% ได้ รวมถึงแผนการให้ใบอนุญาตเฉพาะสาขาธุรกิจของ ธปท.ในปีเดียวกัน คงจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ และบลจ.ในเครือ (ภายใต้รูปแบบธุรกิจแบบ Universal Banking) รวมถึงธุรกิจการค้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้ของธนาคารพาณิชย์
นอกจากนี้ แผนของรัฐบาลที่เตรียมอนุญาตให้ บล.ทำธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และโครงการ ASEAN Linkage ที่ บล.ที่เข้าร่วมโครงการสามารถให้บริการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนสถาบันและรายย่อย จากประเทศหนึ่ง ไปยังอีกประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ (ซึ่งน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายปี 2554-2555 นี้) คาดว่าจะทำให้ บลจ.และธนาคารพาณิชย์ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์การออม การบริหารทรัพย์ส่วนบุคคล และ/หรือบริการด้านอัตราแลกเปลี่ยน อาจต้องปรับกลยุทธ์ เพื่อรับมือกฎกติกา และสภาวะการแข่งขันที่คงแตกต่างออกไปในอนาคต
ขณะเดียวกัน ก็ต้องติดตามท่าทีของ ธปท.ในการดูแลผลกระทบจากเกณฑ์ดังกล่าวต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งในเบื้องต้น คาดว่าอาจออกมาในรูปของการเพิ่มความยืดหยุ่นของวงเงินที่อนุมัติให้ กลต.ในการจัดสรรวงเงินย่อยให้กับแต่ละ บล.และรายลูกค้า จากวงเงินที่อนุมัติอยู่แล้วในปัจจุบัน