ASTVผู้จัดการรายวัน - องค์กรตลาดทุนระดมความเห็นขับเคลื่อนตลาดทุนไทย –เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอนาคต เพื่อนำไปจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ก.ล.ต.เผยผลหารือเล็งเอื้อบริษัทขนาดกลาง-เล็กเข้าระดมทุนสะดวกมากขึ้น ส่งเสริมตั้งกองทุนคางสร้างพื้นฐาน-สินค้าใหม่ ด้านประธานสทธ.หวังตลาดหุ้นไทยเป็นศูนย์กลางระดมทุนในแถบอินโดจีน ชี้ มาตรการเร่งด่วนรัฐบาลควรหนุนแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯ
วานนี้ (26 ก.ค.)สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกับองค์กรสำคัญในตลาดการเงินไทย เพื่อระดมสมองและแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ Thailand ’s Capital Market in the Year 2020 ในการนำไปจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้พิจารณาถึงแนวโน้มสำคัญที่จะเกิดขึ้นในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ที่ภูมิภาคเอเชียจะมีบทบาทสูงมากต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ทำให้มีการค้าขายและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น รวมถึงยังเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรม แต่จากการที่ในบางประเทศจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงขึ้นมาก ซึ่งจะมีผลต่อการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและเงินลงทุนภายในภูมิภาค
ทั้งนี้ ตลาดทุนไทยจะเข้ามีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ ความต้องการของประเทศและภูมิภาคได้ จนถึงขั้นมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้ได้นั้น ทางที่ประชุมจึงมีข้อเสนอ ดังนี้ คือ 1.ควรเร่งปรับปรุง เพิ่มความสะดวกและลดอุปสรรคสำหรับการระดมทุนผ่านตลาดทุน โดยเฉพาะการส่งเสริมช่องทางระดมทุนของกิจการขนาดกลางและเล็ก 2. ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และสนับสนุนให้ประชาชนเข้าร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศและลดภาระทางการเงินของรัฐบาล
3. เร่งพัฒนาเครื่องมืออนุพันธ์ใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการบริหารความเสี่ยงของภาคธุรกิจให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน หรือราคาสินค้าเกษตร
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของตลาดทุนไทยให้มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้นั้น ตลาดทุนไทยควรตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางระดมทุน ของบริษัทชั้นนำในกลุ่มประเทศอินโดจีน เพราะมีข้อได้เปรียบในด้านต่างๆ แต่ต้องพร้อมแก้ไขกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องมีการแปรรูปเพื่อให้มีการดำเนินงานที่ยืดหยุ่นแข่งขันกับต่างประเทศได้
ทั้งนี้ อนาคตจะมีการเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์เป็น ซึ่งควรที่จะมีการเปิดบล. และบลจ. ในประเทศสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ซึ่งเปิดให้มีการทำธุรกิจเกี่ยวกับสกุลเงินตรา ด้านช่องทางการเข้าถึงลูกค้า และช่องทางการชำระเงิน โดยจากการหารือครั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มอบหมายให้สภาธุรกิจตลาดทุนไทยร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากภาคทางการ ภาคธุรกิจ และภาควิชาการ เพื่อทำการขยายผลของประเด็นเหล่านี้ คาดว่าจะเสร็จในเดือนกันยายนนี้ และนำเสนอต่อรัฐบาลใหม่ต่อไป
“เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลควรที่จะมีการสนับสนุนคือ ในเรื่องการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ เพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดทุนไทย ”นายไพบูลย์ กล่าว
นางสาวนวพร เรืองสกุล ประธานกรรมการ คณะกรรมการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ตลาดเงินและตลาดทุนของไทยจะต้องตอบโจทย์ใน 2 เรื่องหลัก คือ 1. ประชาชนขาดความรู้ที่จำเป็นในการจัดการการเงินของตนเอง ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับความรู้ด้านการลงทุน การขาดความรู้ความเข้าใจเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งเข้าไม่ถึงระบบการเงิน (financial inclusive) และ 2. ผู้สูงอายุมีสัดส่วนสูงขึ้น ตลาดเงินตลาดทุนจำเป็นต้องคิดบริการทางการเงินที่จะต้องตอบสนองการบริหารการเงินของคนกลุ่มนี้
ทั้งนี้ ผู้ข้าร่วมสัมมนามีความเห็นในเรื่องบทบาทด้านสังคมของตลาดทุนไทย ต้องมีองค์กรอย่างใดอย่างหนึ่งทำหน้าที่ต่อเนื่องในการให้ความรู้และคำแนะนำให้ประชาชนสามารถนำไปใช้จัดการการเงินของตัวเองได้อย่างเหมาะสมโดยองค์กรนี้ควรได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และควรต้องเร่งขยายระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุให้ครอบคลุมกว้างขวางกว่าที่มีอยู่
วานนี้ (26 ก.ค.)สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกับองค์กรสำคัญในตลาดการเงินไทย เพื่อระดมสมองและแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ Thailand ’s Capital Market in the Year 2020 ในการนำไปจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้พิจารณาถึงแนวโน้มสำคัญที่จะเกิดขึ้นในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ที่ภูมิภาคเอเชียจะมีบทบาทสูงมากต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ทำให้มีการค้าขายและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น รวมถึงยังเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรม แต่จากการที่ในบางประเทศจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงขึ้นมาก ซึ่งจะมีผลต่อการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและเงินลงทุนภายในภูมิภาค
ทั้งนี้ ตลาดทุนไทยจะเข้ามีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ ความต้องการของประเทศและภูมิภาคได้ จนถึงขั้นมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้ได้นั้น ทางที่ประชุมจึงมีข้อเสนอ ดังนี้ คือ 1.ควรเร่งปรับปรุง เพิ่มความสะดวกและลดอุปสรรคสำหรับการระดมทุนผ่านตลาดทุน โดยเฉพาะการส่งเสริมช่องทางระดมทุนของกิจการขนาดกลางและเล็ก 2. ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และสนับสนุนให้ประชาชนเข้าร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศและลดภาระทางการเงินของรัฐบาล
3. เร่งพัฒนาเครื่องมืออนุพันธ์ใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการบริหารความเสี่ยงของภาคธุรกิจให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน หรือราคาสินค้าเกษตร
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของตลาดทุนไทยให้มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้นั้น ตลาดทุนไทยควรตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางระดมทุน ของบริษัทชั้นนำในกลุ่มประเทศอินโดจีน เพราะมีข้อได้เปรียบในด้านต่างๆ แต่ต้องพร้อมแก้ไขกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องมีการแปรรูปเพื่อให้มีการดำเนินงานที่ยืดหยุ่นแข่งขันกับต่างประเทศได้
ทั้งนี้ อนาคตจะมีการเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์เป็น ซึ่งควรที่จะมีการเปิดบล. และบลจ. ในประเทศสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ซึ่งเปิดให้มีการทำธุรกิจเกี่ยวกับสกุลเงินตรา ด้านช่องทางการเข้าถึงลูกค้า และช่องทางการชำระเงิน โดยจากการหารือครั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มอบหมายให้สภาธุรกิจตลาดทุนไทยร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากภาคทางการ ภาคธุรกิจ และภาควิชาการ เพื่อทำการขยายผลของประเด็นเหล่านี้ คาดว่าจะเสร็จในเดือนกันยายนนี้ และนำเสนอต่อรัฐบาลใหม่ต่อไป
“เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลควรที่จะมีการสนับสนุนคือ ในเรื่องการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ เพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดทุนไทย ”นายไพบูลย์ กล่าว
นางสาวนวพร เรืองสกุล ประธานกรรมการ คณะกรรมการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ตลาดเงินและตลาดทุนของไทยจะต้องตอบโจทย์ใน 2 เรื่องหลัก คือ 1. ประชาชนขาดความรู้ที่จำเป็นในการจัดการการเงินของตนเอง ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับความรู้ด้านการลงทุน การขาดความรู้ความเข้าใจเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งเข้าไม่ถึงระบบการเงิน (financial inclusive) และ 2. ผู้สูงอายุมีสัดส่วนสูงขึ้น ตลาดเงินตลาดทุนจำเป็นต้องคิดบริการทางการเงินที่จะต้องตอบสนองการบริหารการเงินของคนกลุ่มนี้
ทั้งนี้ ผู้ข้าร่วมสัมมนามีความเห็นในเรื่องบทบาทด้านสังคมของตลาดทุนไทย ต้องมีองค์กรอย่างใดอย่างหนึ่งทำหน้าที่ต่อเนื่องในการให้ความรู้และคำแนะนำให้ประชาชนสามารถนำไปใช้จัดการการเงินของตัวเองได้อย่างเหมาะสมโดยองค์กรนี้ควรได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และควรต้องเร่งขยายระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุให้ครอบคลุมกว้างขวางกว่าที่มีอยู่