เพชรบุรี - นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี เผยผลวิจัยตาลโตนดเมืองเพชรพบสารเคมีสะสม 2 ชนิด แต่ค่าไม่เกินที่เป็นพิษ เตรียมลุยวิจัยต่อหลังได้งบยุทธศาสตร์จังหวัดในการแก้ไขปัญหาต้นตาลโตนดปีงบประมาณ 2556
หลังจากที่นางเสาวคนธ์ วิลเลี่ยมส์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรีลงพื้นที่บ้านหัวดอน ต.หัวสะพาน อ.เมือง ต.ลาดโพธิ์ อ.บ้านลาด และ ต.โพไร่หวาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี เพื่อทำการสุ่มตัวเก็บตัวอย่างน้ำ ดิน และส่วนประกอบของต้นตาล จำพวกใบตาล รากตาล ผลตาล เพื่อนำส่งตรวจหาค่าของสารเคมีปนเปื้อนยังสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร หลังจากเกิดปัญหาวิกฤตขั้นรุนแรงกับต้นตาลเมืองเพชร ที่ขณะนี้พบว่าต้นตาลเริ่มที่จะยืนต้นตายแล้วกินพื้นที่กว่า 6,500 ไร่
ล่าสุด ผลวิวัยออกมาแล้ว ปรากฏว่ามีการตรวจพบยาฆ่าหญ้าจำนวน 2 ชนิดคือ 2-4-D และ Propanil แต่ค่าไม่เกินที่เป็นพิษ
นางเสาวคนธ์ วิลเลี่ยมส์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี เปิดเผยว่า แต่อนาคตจะต้องมีการวิจัยโดยการตัดต้นตาลสุ่มตัวอย่างโดยการตัดต้นดีกับต้นที่มีปัญหามาเปรียบเทียบกันดูระบบท่อน้ำท่ออาหารโดยจะได้รองบยุทธศาสตร์จังหวัดในการแก้ไขปัญหาต้นตาลโตนดปีงบประมาณ 2556 จากจังหวัด
โดยขณะนี้ได้ของบประมาณผ่านแล้วเป็นจำนวนเงิน 380,000 บาท หลังจากได้งบจะต้องลงพื้นที่เพื่อสุ่มตัวอย่างแปลงที่มีปัญหา โดยมีการสุ่มตัวอย่างดิน น้ำ และต้นตาลโตนด
นอกจากนี้ ต้องเข้าเก็บข้อมูลจากชาวบ้านแต่แต่ละพื้นที่ที่มีปัญหาเพราะจะสามารถได้ข้อมูลที่ชัดเจนในการดำเนินการของชาวนาและเกษตรกรในพื้นที่นั้นๆ ว่าในรอบ 1 เดือนและรอบ 1 ปีมีการปลูกข้าวทำนากี่หน มีการใช้ยาฆ่าหญ้าชนิดใด และมากน้อยขนาดไหนที่ใช้ในแต่ละครั้ง ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่มีปัญหาซึ่งจะทราบผลที่ค่อนข้างชัดเจนว่าต้นตาลโตนดที่พบเริ่มยืนต้นตายในขณะนี้เกิดจากสาเหตุใดกันแน่
หลังจากที่นางเสาวคนธ์ วิลเลี่ยมส์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรีลงพื้นที่บ้านหัวดอน ต.หัวสะพาน อ.เมือง ต.ลาดโพธิ์ อ.บ้านลาด และ ต.โพไร่หวาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี เพื่อทำการสุ่มตัวเก็บตัวอย่างน้ำ ดิน และส่วนประกอบของต้นตาล จำพวกใบตาล รากตาล ผลตาล เพื่อนำส่งตรวจหาค่าของสารเคมีปนเปื้อนยังสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร หลังจากเกิดปัญหาวิกฤตขั้นรุนแรงกับต้นตาลเมืองเพชร ที่ขณะนี้พบว่าต้นตาลเริ่มที่จะยืนต้นตายแล้วกินพื้นที่กว่า 6,500 ไร่
ล่าสุด ผลวิวัยออกมาแล้ว ปรากฏว่ามีการตรวจพบยาฆ่าหญ้าจำนวน 2 ชนิดคือ 2-4-D และ Propanil แต่ค่าไม่เกินที่เป็นพิษ
นางเสาวคนธ์ วิลเลี่ยมส์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี เปิดเผยว่า แต่อนาคตจะต้องมีการวิจัยโดยการตัดต้นตาลสุ่มตัวอย่างโดยการตัดต้นดีกับต้นที่มีปัญหามาเปรียบเทียบกันดูระบบท่อน้ำท่ออาหารโดยจะได้รองบยุทธศาสตร์จังหวัดในการแก้ไขปัญหาต้นตาลโตนดปีงบประมาณ 2556 จากจังหวัด
โดยขณะนี้ได้ของบประมาณผ่านแล้วเป็นจำนวนเงิน 380,000 บาท หลังจากได้งบจะต้องลงพื้นที่เพื่อสุ่มตัวอย่างแปลงที่มีปัญหา โดยมีการสุ่มตัวอย่างดิน น้ำ และต้นตาลโตนด
นอกจากนี้ ต้องเข้าเก็บข้อมูลจากชาวบ้านแต่แต่ละพื้นที่ที่มีปัญหาเพราะจะสามารถได้ข้อมูลที่ชัดเจนในการดำเนินการของชาวนาและเกษตรกรในพื้นที่นั้นๆ ว่าในรอบ 1 เดือนและรอบ 1 ปีมีการปลูกข้าวทำนากี่หน มีการใช้ยาฆ่าหญ้าชนิดใด และมากน้อยขนาดไหนที่ใช้ในแต่ละครั้ง ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่มีปัญหาซึ่งจะทราบผลที่ค่อนข้างชัดเจนว่าต้นตาลโตนดที่พบเริ่มยืนต้นตายในขณะนี้เกิดจากสาเหตุใดกันแน่