วานนี้ (15 ก.ย.) นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. เปิดเผยภายหลังจากประชุมกกต.ว่า ที่ประชุมมีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 ให้มีการตั้งคณะกรรมการไต่สวนขึ้นมาพิจารณาข้อเท็จจริงข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ขาดสมาชิกภาพความเป็นส.ส.หรือไม่
เนื่องจากเห็นว่าผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของด้านกิจการพรรคการเมือง ที่มีนายธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการกกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง เป็นประธานเสนอมานั้น ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่กกต.จะมีการพิจารณาวินิจฉัยว่า จะต้องส่งเรื่องดังกล่าวไปยังประธานสภาผู้แทนราษฏร เพื่อให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สมาชิกภาพความเป็นส.ส.ของนายจตุพร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการที่ กกต.มีมติดังกล่าว ไม่ได้เป็นการยื้อหรือดึงเรื่องหรือจะไม่ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการดำเนินการเพื่อให้เกิดความรอบคอบ
เมื่อถามถึงการลบชื่อนายจตุพร ออกจากระบบฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรค นายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องดำเนินการก่อนหรือไม่ นายอภิชาต กล่าวว่า กรณีนี้ตนก็ได้มีการชี้แจงในที่ประชุมว่า ตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง กำหนดอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนฯ แต่ในเรื่องของการจัดตั้งพรรค การยุบพรรค และในระเบียบฯ คณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยระบบฐานข้อมูลฯ ได้กำหนดให้นายทะเบียนฯ มีหน้าที่เกี่ยวกับการปรับปรุงฐานข้อมูลสมาชิกพรรค เฉพาะในกรณีที่นายทะเบียนฯ ตรวจสอบพบว่าพรรคการเมืองมีการแอบอ้างว่า ผู้ใดสมัครเป็นสมาชิกพรรค โดยที่ผู้นั้นไม่รู้เห็น หรือไม่สมัครใจ นายทะเบียนฯ จะสามารถปรับปรุงฐานข้อมูลได้เลย
แต่ในกรณีของนายจตุพรนั้น เป็นเรื่องที่ว่านายจตุพร ยังคงเป็นสมาชิกพรรคหรือไม่ จึงไม่ใช่อำนาจของนายทะเบียนฯ โดยผลสอบดังกล่าวจะไปใช้ประกอบกับผลสอบของคณะกรรมการไต่สวนที่กำลังจะตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะทำให้การพิจารณาของกกต. มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รายงานข่าวแจ้งว่าในการพิจารณากรณีดังกล่าว ที่ประชุมได้มีการตั้งประเด็นในการลงมติว่า จะส่งเรื่องของนายจตุพรไปยังประธานสภาฯ เพื่อให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีการถกเถียงกันอย่างหนัก โดยคณะกรรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านกิจการพรรคการเมือง เสนอว่า จากการสอบสวนพบว่าการที่นายจตุพร ถูกคุมขังโดยหมายของศาล และไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค. 54 เป็นเหตุให้ขาดสมาชิกภาพการเป็นสมาชิกพรรค ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 20,19,8 ซึ่งกกต.เสียงข้างน้อย ก็เห็นว่า ผลการสอบดังกล่าวเพียงพอแล้วที่กกต. จะเสนอความเห็นไปยังประธานสภาฯ เพื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรรมนูญวินิจฉัย
แต่กกต. 3 เสียงเห็นว่า การจะเสนอเรื่องไปยังประธานสภาฯ เป็นกรณีที่กกต.เห็นว่า สมาชิกภาพความเป็นส.ส.ของนายจตุพร อาจสิ้นสุดลง ซึ่งการที่นายจตุพร ถูกคุมขังโดยหมายศาล และไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (5) ประกอบมาตรา 102 (4) ที่คณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมือง ยังไม่ได้มีการสอบสวน ประกอบกับกรณีนี้เป็นเรื่องความผิดตามรัฐธรรมนูญ แต่ที่สอบมาเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง หากส่งไปยังประธานสภาฯ และศาลรัฐธรรมนูญ อาจทำให้เกิดปัญหา จึงควรที่จะมีการตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นไต่สวนกรณีความเป็นสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายจตุพร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (5) ประกอบมาตรา 102 (4) หรือไม่ เพื่อที่เมื่อคณะกรรมการไต่สวนชุดใหม่เสนอผลการสอบสวนแล้ว กกต.ก็จะได้นำผลการสอบทั้ง 2 ส่วน มาเชื่อมโยงกัน และจะพิจารณาว่าจะต้องส่งเรื่องให้ประธานสภาฯได้หรือไม่
เนื่องจากเห็นว่าผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของด้านกิจการพรรคการเมือง ที่มีนายธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการกกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง เป็นประธานเสนอมานั้น ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่กกต.จะมีการพิจารณาวินิจฉัยว่า จะต้องส่งเรื่องดังกล่าวไปยังประธานสภาผู้แทนราษฏร เพื่อให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สมาชิกภาพความเป็นส.ส.ของนายจตุพร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการที่ กกต.มีมติดังกล่าว ไม่ได้เป็นการยื้อหรือดึงเรื่องหรือจะไม่ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการดำเนินการเพื่อให้เกิดความรอบคอบ
เมื่อถามถึงการลบชื่อนายจตุพร ออกจากระบบฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรค นายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องดำเนินการก่อนหรือไม่ นายอภิชาต กล่าวว่า กรณีนี้ตนก็ได้มีการชี้แจงในที่ประชุมว่า ตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง กำหนดอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนฯ แต่ในเรื่องของการจัดตั้งพรรค การยุบพรรค และในระเบียบฯ คณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยระบบฐานข้อมูลฯ ได้กำหนดให้นายทะเบียนฯ มีหน้าที่เกี่ยวกับการปรับปรุงฐานข้อมูลสมาชิกพรรค เฉพาะในกรณีที่นายทะเบียนฯ ตรวจสอบพบว่าพรรคการเมืองมีการแอบอ้างว่า ผู้ใดสมัครเป็นสมาชิกพรรค โดยที่ผู้นั้นไม่รู้เห็น หรือไม่สมัครใจ นายทะเบียนฯ จะสามารถปรับปรุงฐานข้อมูลได้เลย
แต่ในกรณีของนายจตุพรนั้น เป็นเรื่องที่ว่านายจตุพร ยังคงเป็นสมาชิกพรรคหรือไม่ จึงไม่ใช่อำนาจของนายทะเบียนฯ โดยผลสอบดังกล่าวจะไปใช้ประกอบกับผลสอบของคณะกรรมการไต่สวนที่กำลังจะตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะทำให้การพิจารณาของกกต. มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รายงานข่าวแจ้งว่าในการพิจารณากรณีดังกล่าว ที่ประชุมได้มีการตั้งประเด็นในการลงมติว่า จะส่งเรื่องของนายจตุพรไปยังประธานสภาฯ เพื่อให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีการถกเถียงกันอย่างหนัก โดยคณะกรรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านกิจการพรรคการเมือง เสนอว่า จากการสอบสวนพบว่าการที่นายจตุพร ถูกคุมขังโดยหมายของศาล และไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค. 54 เป็นเหตุให้ขาดสมาชิกภาพการเป็นสมาชิกพรรค ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 20,19,8 ซึ่งกกต.เสียงข้างน้อย ก็เห็นว่า ผลการสอบดังกล่าวเพียงพอแล้วที่กกต. จะเสนอความเห็นไปยังประธานสภาฯ เพื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรรมนูญวินิจฉัย
แต่กกต. 3 เสียงเห็นว่า การจะเสนอเรื่องไปยังประธานสภาฯ เป็นกรณีที่กกต.เห็นว่า สมาชิกภาพความเป็นส.ส.ของนายจตุพร อาจสิ้นสุดลง ซึ่งการที่นายจตุพร ถูกคุมขังโดยหมายศาล และไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (5) ประกอบมาตรา 102 (4) ที่คณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมือง ยังไม่ได้มีการสอบสวน ประกอบกับกรณีนี้เป็นเรื่องความผิดตามรัฐธรรมนูญ แต่ที่สอบมาเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง หากส่งไปยังประธานสภาฯ และศาลรัฐธรรมนูญ อาจทำให้เกิดปัญหา จึงควรที่จะมีการตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นไต่สวนกรณีความเป็นสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายจตุพร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (5) ประกอบมาตรา 102 (4) หรือไม่ เพื่อที่เมื่อคณะกรรมการไต่สวนชุดใหม่เสนอผลการสอบสวนแล้ว กกต.ก็จะได้นำผลการสอบทั้ง 2 ส่วน มาเชื่อมโยงกัน และจะพิจารณาว่าจะต้องส่งเรื่องให้ประธานสภาฯได้หรือไม่