รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้แถลงนโยบายทั้งหมด 16 ข้อ ผมยอมรับว่าไม่ได้ใส่ใจฟังนัก อีกทั้งยังไม่ได้ศึกษารายละเอียด แต่แม้ฟังพอได้ศัพท์ก็คงพอจับเอามากระเดียดได้อยู่หรอก..เพราะของแบบนี้มันก็รู้ๆ กันอยู่
นโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท และเงินเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 15,000 บาท
นโยบายข้อนี้แม้ถูกโจมตีจากสังคมมาก แต่ผมกลับเห็นด้วย ผมว่าขึ้นน้อยไปด้วยซ้ำ อยากให้ขึ้นมากกว่านี้ เป็นสัก 600 บาทด้วยซ้ำ (แต่ต้องตรึงราคาสินค้าไม่ให้ขึ้นเกินไปด้วยนะ) มันมีสูตรคำนวณอยู่ (ค่าแรงไทยยังอยู่ต่ำกว่าจุดดีที่สุดไปมาก ผมเคยคำนวณคร่าวๆ ว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ดีที่สุดควรเป็น 1,000 บาท โดยต้องตรึงราคาก๋วยเตี๋ยวไว้ที่ 50 บาทด้วยนะ) อีกทั้งต้องมีมาตรการช่วยเหลือนักธุรกิจสัญชาติไทยที่ผลิตสินค้าส่งขายต่างประเทศประเภทใช้แรงงานมาก (Labor intensive) มิฉะนั้นจะแข่งขันสู้ต่างชาติลำบากมากขึ้น ส่วนพวกที่ไม่ใช้แรงงานมาก ก็ช่วยน้อยลงตามลำดับ
ส่วนต่างชาตินั้นไม่ต้องไปช่วย (และไม่ต้องไปสนใจคำขู่ว่าจะถอนทุนด้วย เพราะพวกเขาเพียงขาดทุนกำไรอันมหาศาลเล็กน้อยเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะถอนทุนหรอก เพราะประเทศไทยเรามีอะไรดีๆ ชดเชยอีกมากหลายที่ประเทศเพื่อนบ้านไม่มี เช่น สวัสดิภาพสังคม การนันทนาการ การคมนาคมที่ดี)
นโยบายปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน
ข้อนี้ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องของประโยชน์ตนซ้อนทับประโยชน์ชาติอย่างรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย การลดแบบนี้ธุรกิจตน ญาติ พวกพ้อง ก็ได้รับประโยชน์เต็มๆ ส่วนชาติจะเสียหายมากเนื่องเพราะเงินรายได้ภาษีจะลดลงมหาศาล กล่าวคือขณะนี้รัฐเก็บภาษีจากนิติบุคคลได้ประมาณปีละ 3.9 แสนล้านบาท ถ้าลดจากปัจจุบันในอัตรา 30 ไปเหลือ 20 รัฐจะสูญเสียรายได้ภาษีส่วนนี้ไปประมาณ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินไม่น้อย เกือบ 10% ของรายได้รัฐบาลนั่นเทียว
รัฐบาลนี้ได้ทำสัญญาประชานิยมไว้มาก จึงต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่กลับยังลดรายได้ลงแบบนี้ แล้วส่วนที่ขาดหายไปจะเอามาจากไหน นอกเสียจากต้องกู้มาแน่นอน หรือไม่ก็ไปตัดเงินส่วนอื่นๆ มาใช้ เช่น งบการศึกษาวิจัย
คะเนท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์คงยังไม่รู้ว่า ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่เก็บภาษีได้น้อยที่สุดในโลกประเทศหนึ่งเมื่อคิดเทียบเป็นร้อยละของรายได้ประชาชาติ (GDP) คือประมาณ 16% เท่านั้นเอง แล้วพอลดภาษีแบบนี้ปริมาณร้อยละก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก ที่ประเทศเราเก็บภาษีได้น้อยนั้นน่าจะมาจากสองเหตุผลคือ หนึ่งโกงภาษี สอง GDP ของเรา 70% มาจากบริษัทต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เสียภาษีเพราะได้รับการยกเว้นจาก BOI
จริงอยู่การลดภาษีนิติบุคคล จะทำให้บริษัทแข่งขันได้ดีขึ้น แต่ถามว่าใครแข่งขันกับใคร เพราะเชื่อว่ารายได้ส่วนนี้ส่วนใหญ่มาจากบริษัทต่างชาติที่เสียภาษี (เพราะหมดช่วงยกเว้น BOI แล้ว) ซึ่งบริษัทพวกนี้ครองตลาดแบบผูกขาดหมดแล้ว เช่น กระดาษชำระ สบู่ ยาสีฟัน ยานยนต์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์
อีกทั้งการค้าของไทยยังมีลักษณะผูกขาด มีการฮั้วราคากันผ่านสมาคมการค้าต่างๆ ดังนั้นกำไรที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจในส่วนนี้อาจไม่ส่งผลให้ราคาสินค้าลดลงแต่อย่างใด ไม่เชื่อก็คอยดูสิว่าก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง ค่ารถ บขส. ค่าทางด่วน จะลดราคาลงบ้างไหม
เพราะถ้าแข่งขันกันจริง เมื่อภาษีลดลง ได้กำไรมากขึ้น ก็สามารถลดราคาลงเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งได้สิ จะได้มียอดขายมากกว่าคู่แข่ง แต่เชื่อขนมกินได้เลยว่าราคาสิ่งของที่กล่าวมาจะไม่มีวันลดลงเด็ดขาด (ตามทฤษฎีที่รัฐบาลยกอ้างมาเพื่อชวนให้ประชาชนเชื่อ เพื่อกลบเกลื่อนผลประโยชน์ที่ธุรกิจในเครือตนและพวกจะได้รับจากการนี้)
ดังนั้นทฤษฎีที่รัฐบาลหลอกประชาชนว่าสินค้าจะถูกลง เพราะยอดขายสูงขึ้น แล้วทำให้มีการลงทุนมากขึ้นจนเก็บภาษีได้มากขึ้นจึงไม่น่าเป็นความจริง แต่ที่เป็นความจริงแน่ๆ คือ บริษัทรวยๆ กำไรงามๆ หลายรายจะยิ่งรวยอู้ฟู่มากขึ้น และประเทศไทยจะต้องกู้หนี้มาทำโครงการประชานิยมมากขึ้น
นโยบายจัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้เพื่อให้นักศึกษาจบใหม่เป็นผู้ประกอบการ วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ
อันนี้ดีนะ..เห็นด้วย แต่ควรมีเงื่อนไขว่า ต้องทำธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมจากการคิดค้นของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นๆ อีกทั้งให้มหาวิทยาลัยค้ำประกันเงินกู้ด้วย ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยต้องพิถีพิถันในการเลือกการลงทุน เพราะไม่เช่นนั้นอาจต้องใช้คืนเงินกู้ถ้ากิจการล้มเหลว
นโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท และเงินเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 15,000 บาท
นโยบายข้อนี้แม้ถูกโจมตีจากสังคมมาก แต่ผมกลับเห็นด้วย ผมว่าขึ้นน้อยไปด้วยซ้ำ อยากให้ขึ้นมากกว่านี้ เป็นสัก 600 บาทด้วยซ้ำ (แต่ต้องตรึงราคาสินค้าไม่ให้ขึ้นเกินไปด้วยนะ) มันมีสูตรคำนวณอยู่ (ค่าแรงไทยยังอยู่ต่ำกว่าจุดดีที่สุดไปมาก ผมเคยคำนวณคร่าวๆ ว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ดีที่สุดควรเป็น 1,000 บาท โดยต้องตรึงราคาก๋วยเตี๋ยวไว้ที่ 50 บาทด้วยนะ) อีกทั้งต้องมีมาตรการช่วยเหลือนักธุรกิจสัญชาติไทยที่ผลิตสินค้าส่งขายต่างประเทศประเภทใช้แรงงานมาก (Labor intensive) มิฉะนั้นจะแข่งขันสู้ต่างชาติลำบากมากขึ้น ส่วนพวกที่ไม่ใช้แรงงานมาก ก็ช่วยน้อยลงตามลำดับ
ส่วนต่างชาตินั้นไม่ต้องไปช่วย (และไม่ต้องไปสนใจคำขู่ว่าจะถอนทุนด้วย เพราะพวกเขาเพียงขาดทุนกำไรอันมหาศาลเล็กน้อยเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะถอนทุนหรอก เพราะประเทศไทยเรามีอะไรดีๆ ชดเชยอีกมากหลายที่ประเทศเพื่อนบ้านไม่มี เช่น สวัสดิภาพสังคม การนันทนาการ การคมนาคมที่ดี)
นโยบายปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน
ข้อนี้ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องของประโยชน์ตนซ้อนทับประโยชน์ชาติอย่างรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย การลดแบบนี้ธุรกิจตน ญาติ พวกพ้อง ก็ได้รับประโยชน์เต็มๆ ส่วนชาติจะเสียหายมากเนื่องเพราะเงินรายได้ภาษีจะลดลงมหาศาล กล่าวคือขณะนี้รัฐเก็บภาษีจากนิติบุคคลได้ประมาณปีละ 3.9 แสนล้านบาท ถ้าลดจากปัจจุบันในอัตรา 30 ไปเหลือ 20 รัฐจะสูญเสียรายได้ภาษีส่วนนี้ไปประมาณ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินไม่น้อย เกือบ 10% ของรายได้รัฐบาลนั่นเทียว
รัฐบาลนี้ได้ทำสัญญาประชานิยมไว้มาก จึงต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่กลับยังลดรายได้ลงแบบนี้ แล้วส่วนที่ขาดหายไปจะเอามาจากไหน นอกเสียจากต้องกู้มาแน่นอน หรือไม่ก็ไปตัดเงินส่วนอื่นๆ มาใช้ เช่น งบการศึกษาวิจัย
คะเนท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์คงยังไม่รู้ว่า ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่เก็บภาษีได้น้อยที่สุดในโลกประเทศหนึ่งเมื่อคิดเทียบเป็นร้อยละของรายได้ประชาชาติ (GDP) คือประมาณ 16% เท่านั้นเอง แล้วพอลดภาษีแบบนี้ปริมาณร้อยละก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก ที่ประเทศเราเก็บภาษีได้น้อยนั้นน่าจะมาจากสองเหตุผลคือ หนึ่งโกงภาษี สอง GDP ของเรา 70% มาจากบริษัทต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เสียภาษีเพราะได้รับการยกเว้นจาก BOI
จริงอยู่การลดภาษีนิติบุคคล จะทำให้บริษัทแข่งขันได้ดีขึ้น แต่ถามว่าใครแข่งขันกับใคร เพราะเชื่อว่ารายได้ส่วนนี้ส่วนใหญ่มาจากบริษัทต่างชาติที่เสียภาษี (เพราะหมดช่วงยกเว้น BOI แล้ว) ซึ่งบริษัทพวกนี้ครองตลาดแบบผูกขาดหมดแล้ว เช่น กระดาษชำระ สบู่ ยาสีฟัน ยานยนต์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์
อีกทั้งการค้าของไทยยังมีลักษณะผูกขาด มีการฮั้วราคากันผ่านสมาคมการค้าต่างๆ ดังนั้นกำไรที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจในส่วนนี้อาจไม่ส่งผลให้ราคาสินค้าลดลงแต่อย่างใด ไม่เชื่อก็คอยดูสิว่าก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง ค่ารถ บขส. ค่าทางด่วน จะลดราคาลงบ้างไหม
เพราะถ้าแข่งขันกันจริง เมื่อภาษีลดลง ได้กำไรมากขึ้น ก็สามารถลดราคาลงเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งได้สิ จะได้มียอดขายมากกว่าคู่แข่ง แต่เชื่อขนมกินได้เลยว่าราคาสิ่งของที่กล่าวมาจะไม่มีวันลดลงเด็ดขาด (ตามทฤษฎีที่รัฐบาลยกอ้างมาเพื่อชวนให้ประชาชนเชื่อ เพื่อกลบเกลื่อนผลประโยชน์ที่ธุรกิจในเครือตนและพวกจะได้รับจากการนี้)
ดังนั้นทฤษฎีที่รัฐบาลหลอกประชาชนว่าสินค้าจะถูกลง เพราะยอดขายสูงขึ้น แล้วทำให้มีการลงทุนมากขึ้นจนเก็บภาษีได้มากขึ้นจึงไม่น่าเป็นความจริง แต่ที่เป็นความจริงแน่ๆ คือ บริษัทรวยๆ กำไรงามๆ หลายรายจะยิ่งรวยอู้ฟู่มากขึ้น และประเทศไทยจะต้องกู้หนี้มาทำโครงการประชานิยมมากขึ้น
นโยบายจัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้เพื่อให้นักศึกษาจบใหม่เป็นผู้ประกอบการ วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ
อันนี้ดีนะ..เห็นด้วย แต่ควรมีเงื่อนไขว่า ต้องทำธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมจากการคิดค้นของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นๆ อีกทั้งให้มหาวิทยาลัยค้ำประกันเงินกู้ด้วย ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยต้องพิถีพิถันในการเลือกการลงทุน เพราะไม่เช่นนั้นอาจต้องใช้คืนเงินกู้ถ้ากิจการล้มเหลว