วานนี้ (14 ก.ย.)ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่ารัฐบาลสามารถนำรายชื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายได้ แม้คณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จะรับเป็นคดีพิเศษว่า เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งให้ทราบแล้ว พร้อมที่จะนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯได้ทันที ซึ่งความเห็นที่กฤษฎีกาส่งกลับมาไม่มีปัญหา สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯได้ทันที ซึ่งพยายามจะทูลเกล้าฯให้ได้สัปดาห์นี้ “ซึ่งหลังจากที่ได้รับรายชื่อทั้งหมด ก็คงนำส่งได้เลย คงไม่ช้า แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นเอกสารเลย”นายกฯกล่าว
นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 2 ที่มีนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน ได้พิจารณาข้อกฎหมายกรณีที่ดีเอสไอสืบสวนสอบสวนคดีกสทช. เป็นไปโดยมิชอบ ซึ่งอาจมีผลต่อนำชื่อ กสทช.ขึ้นทูลเกล้าฯ โดยได้จัดทำข้อสรุปเป็นข้อหารือ ส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ใน 1-2 วันนี้ และคาดว่ารายละเอียดทั้งหมด สลค.จะเป็นผู้แถลงอีกครั้ง
ทั้งนี้ในเบื้องต้นคณะกรรมการกฤษฎีกาได้สรุป คือ การที่ดีเอสไอรับเรื่องการสรรหา กสทช.เป็นคดีพิเศษ ไม่เป็นเหตุที่จะขัดขวางการดำเนินการตาม พ.ร.บ.กสทช.ให้นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เว้นแต่ถ้ามีเหตุอื่นมาอีก เช่น ปัญหาเรื่องคุณสมบัติของผู้ได้รับการคัดเลือกไม่ครบ ก็จะเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีเอง การสอบสวนของดีเอสไอก็ดำเนินการต่อไปเรื่อยๆ
นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 2 ที่มีนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน ได้พิจารณาข้อกฎหมายกรณีที่ดีเอสไอสืบสวนสอบสวนคดีกสทช. เป็นไปโดยมิชอบ ซึ่งอาจมีผลต่อนำชื่อ กสทช.ขึ้นทูลเกล้าฯ โดยได้จัดทำข้อสรุปเป็นข้อหารือ ส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ใน 1-2 วันนี้ และคาดว่ารายละเอียดทั้งหมด สลค.จะเป็นผู้แถลงอีกครั้ง
ทั้งนี้ในเบื้องต้นคณะกรรมการกฤษฎีกาได้สรุป คือ การที่ดีเอสไอรับเรื่องการสรรหา กสทช.เป็นคดีพิเศษ ไม่เป็นเหตุที่จะขัดขวางการดำเนินการตาม พ.ร.บ.กสทช.ให้นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เว้นแต่ถ้ามีเหตุอื่นมาอีก เช่น ปัญหาเรื่องคุณสมบัติของผู้ได้รับการคัดเลือกไม่ครบ ก็จะเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีเอง การสอบสวนของดีเอสไอก็ดำเนินการต่อไปเรื่อยๆ