เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทั้ง MOU 43 และ MOU 44 ไม่ได้ผ่านกระบวนการเห็นชอบจากรัฐสภาแต่เป็นอำนาจเผด็จการทั้งรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ดอดไปทำ MOU กับรัฐบาลสมเด็จฯ ฮุนเซน ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักนิติรัฐ และนิติธรรมอย่างไม่เป็นที่สงสัย (และถ้ารัฐบาลปัจจุบันจะเถียงว่าไม่จริงก็ขอให้นำ MOU ทั้ง 2 ฉบับนี้เข้าสู่ขบวนการตีความโดยศาลรัฐธรรมนูญ) ปัญหาสำคัญคือ MOU 43 และ MOU 44 มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะในวันที่ทำ MOU 44 นั้นได้มีการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมเพิ่มเติมไปด้วยว่า เมื่อจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU 43) เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะหันมาพิจารณาพื้นที่ที่เรียกว่าเขตทับซ้อนทางทะเลอันเป็นเนื้อหาของ MOU 44 ล้วนๆ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่าการไปยอมรับสิ่งที่เขมรได้กระทำไปนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องขาดหลักความยุติธรรม
MOU 44 แม้จะมีวัตถุประสงค์ที่ดีแต่ผิดหลักการในการทำ MOU และการไปยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดที่เขมรได้ทำขึ้น ข้อสังเกตก็คือ การประกาศเขตพื้นที่ของเขมรได้ประกาศขอบเขตเส้นไหล่ทวีปเมื่อปี 2515 ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า
ก. จุดเริ่มต้นของเส้นไหล่ทวีปยังไม่มีค่าพิกัดที่แน่นอน
ข. เส้นไหล่ทวีปที่ลากผ่านเกาะกูดของไทยไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ
ค. เส้นไหล่ทวีปในแนวเหนือ-ใต้กำหนดจากเกาะของฝ่ายกัมพูชา โดยไม่คำนึงถึงเกาะของฝ่ายไทย
การไปทำ MOU 44 คือ การที่ไปยอมรับเส้นที่เขมรสร้างขึ้นตามพิกัดบริเวณอ่าวไทยซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นของไทย แต่ MOU 44 ไปสร้างหลักการแบ่งตามที่เขมรอ้างสิทธิ
สำหรับประเทศไทยเราแล้ว เราก็ได้ประกาศเส้นไหล่ทวีปบริเวณอ่าวไทยในปี พ.ศ. 2516 เหมือนกันและมีหลักการแบ่งที่ถูกต้องตามหลักสากลดังนี้
ก. จุดเริ่มของเส้นไหล่ทวีปยังมีค่าพิกัดไม่แน่นอนเช่นกัน
ข. เส้นช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของกัมพูชา
ค. ส่วนที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับกัมพูชาโดยใช้หลักการของเส้นมัธยะ (Equidistance line) ตามหลักสากล
ดังนั้น หากเราพิจารณาสถานภาพของ MOU 44 แล้วจะพบว่า
1. เป็น MOU เถื่อน เพราะไม่ผ่านขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ถือว่าเป็นโมฆะ
2. เป็น MOU เถื่อนที่ไปยอมรับความผิดพลาดของเขมร
3. ถ้าไม่ยกเลิก MOU ฉบับนี้แสดงว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลย่อมรู้เห็นเป็นใจต่อการกระทำที่ฉ้อฉล และมุ่งผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง สมควรที่จะมีการทบทวนและยกเลิก
ผมคิดว่าโดยหลักการแล้ว MOU 43 และ MOU 44 เป็น MOU เถื่อน และเป็น MOU ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักนิติธรรมและนิติรัฐ อีกทั้งยังขัดแย้งต่ออนุสัญญา ปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1907 กับขัดต่อกฎหมายทางทะเลซึ่งเป็นหลักกฎหมายสากลโดยทั่วไป
MOU 44 แม้จะมีวัตถุประสงค์ที่ดีแต่ผิดหลักการในการทำ MOU และการไปยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดที่เขมรได้ทำขึ้น ข้อสังเกตก็คือ การประกาศเขตพื้นที่ของเขมรได้ประกาศขอบเขตเส้นไหล่ทวีปเมื่อปี 2515 ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า
ก. จุดเริ่มต้นของเส้นไหล่ทวีปยังไม่มีค่าพิกัดที่แน่นอน
ข. เส้นไหล่ทวีปที่ลากผ่านเกาะกูดของไทยไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ
ค. เส้นไหล่ทวีปในแนวเหนือ-ใต้กำหนดจากเกาะของฝ่ายกัมพูชา โดยไม่คำนึงถึงเกาะของฝ่ายไทย
การไปทำ MOU 44 คือ การที่ไปยอมรับเส้นที่เขมรสร้างขึ้นตามพิกัดบริเวณอ่าวไทยซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นของไทย แต่ MOU 44 ไปสร้างหลักการแบ่งตามที่เขมรอ้างสิทธิ
สำหรับประเทศไทยเราแล้ว เราก็ได้ประกาศเส้นไหล่ทวีปบริเวณอ่าวไทยในปี พ.ศ. 2516 เหมือนกันและมีหลักการแบ่งที่ถูกต้องตามหลักสากลดังนี้
ก. จุดเริ่มของเส้นไหล่ทวีปยังมีค่าพิกัดไม่แน่นอนเช่นกัน
ข. เส้นช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของกัมพูชา
ค. ส่วนที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับกัมพูชาโดยใช้หลักการของเส้นมัธยะ (Equidistance line) ตามหลักสากล
ดังนั้น หากเราพิจารณาสถานภาพของ MOU 44 แล้วจะพบว่า
1. เป็น MOU เถื่อน เพราะไม่ผ่านขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ถือว่าเป็นโมฆะ
2. เป็น MOU เถื่อนที่ไปยอมรับความผิดพลาดของเขมร
3. ถ้าไม่ยกเลิก MOU ฉบับนี้แสดงว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลย่อมรู้เห็นเป็นใจต่อการกระทำที่ฉ้อฉล และมุ่งผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง สมควรที่จะมีการทบทวนและยกเลิก
ผมคิดว่าโดยหลักการแล้ว MOU 43 และ MOU 44 เป็น MOU เถื่อน และเป็น MOU ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักนิติธรรมและนิติรัฐ อีกทั้งยังขัดแย้งต่ออนุสัญญา ปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1907 กับขัดต่อกฎหมายทางทะเลซึ่งเป็นหลักกฎหมายสากลโดยทั่วไป