ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้ว่าการ ธปท.ระบุโจทย์สำคัญการพิจารณาดอกเบี้ยนโยบายต้องรักษาความสมดุลระหว่างความเสี่ยงการเจริญเติบโตเศรษฐกิจและความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุดแรงกดดันทั้งอัตราเงินเฟ้อและความไม่แน่นอนเศรษฐกิจโลกสูงอยู่ ชี้ปัจจุบันไทยมีอัตราดอกเบี้ยที่มีเสถียรภาพ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ขณะนี้ ธปท.มีความห่วง 2 ด้าน คือ ความเสี่ยงเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดแรงกดดันเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันสถานการณ์ต่างประเทศมีความเสี่ยงพอสมควร ซึ่งก็ต้องจับตาดูว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจในเอเชีย รวมถึงไทยแค่ไหน ฉะนั้นโจทย์สำคัญในขณะนี้ก็ต้องพยายามรักษาความสมดุลระหว่างความเสี่ยงที่เกิดจากการเจริญเติบโตเศรษฐกิจและความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจโลกน่าจะเป็นลักษณะการซึมตัวมากกว่าเศรษฐกิจหดตัวหรือการขยายตัวติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน (Double Dip) โดยเศรษฐกิจสหรัฐยังขยายตัวได้ 1.8% และยุโรปก็ขยายตัวกว่า 1% ถือว่าอัตราการขยายตัวยังเป็นบวกอยู่ แต่ก็ต้องติดตามดูสถานการณ์ต่อไป เพราะขณะนี้ประเทศที่มีปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเด็ดขาด จึงต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
ส่วนความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อมาจากปัจจัย 3 ด้านสำคัญ คือ 1.อุปทานที่เกิดจากราคาอาหารค่อนข้างสูง 2.อุปสงค์ที่เกิดจากอุปโภคบริโภคภายในประเทศและอุปสงค์ต่างประเทศชะลอตัว และ3.แรงคาดการณ์เงินเฟ้อยังสูงอยู่เช่นกัน
สำหรับกรณีที่ธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียอย่างเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียเริ่มชะลออัตราดอกเบี้ยบ้างแล้ว เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆ นั้นผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงเริ่มติดลบน้อยกว่าไทย ทำให้ในเชิงเปรียบเทียบไทยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบมากกว่าอยู่ ซึ่งปัจจุบันติดลบ 0.35% ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุด แต่การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยต้องดูความเหมาะสมของประเทศนั้นๆ มากกว่า เพราะแต่ละประเทศ เพราะภาวะเศรษฐกิจแตกต่างกัน
“อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยค่อยๆ ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 3.50% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงของไทยก็ติดลบน้อยลงพอสมควร ถือว่าเราเดินไปในทิศทางที่ถูกแล้ว และขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยก็ค่อนข้างจะมีเสถียรภาพ”ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ในปัจจุบัน เงินทุนเคลื่อนย้ายไม่ได้พิจารณาแค่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากหลายปัจจัย เห็นได้จากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้กนง.จะประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แทนที่เงินทุนไหลเข้า แต่กลับเงินทุนไหลออกจากการที่นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นออกไป ทำให้เงินบาทไม่ได้แข็งค่าขึ้นมากนัก โดยส่วนหนึ่งอาจเกิดจากข่าวความเสี่ยงต่างๆ ด้วย ทำให้นักลงทุนหันไปถือสกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูงอย่างดอลลาร์สหรัฐส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และขายหุ้นในประเทศกำลับพัฒนา เป็นต้น
ชี้งบขาดดุล 3.5 แสนล. เหมาะสม
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ส่วนประเด็นที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณปี 55 ขาดดุล 3.5 แสนล้านบาทนั้นมองว่าการขาดดุลตัวเลขระดับดังกล่าว ถือว่าเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจไทยกลับสู่ระดับปกติ ต่างกับงบประมาณปีก่อนหน้าตั้งไว้ขาดดุล 4.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้จำเป็นต้องใช้การขาดดุลมากขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
“ไทยควรพยายามรักษาวินัยทางการคลังไว้ด้วย เพราะขณะนี้เหตุการณ์ในต่างประเทศมีความไม่แน่นอนสูง หากเกิดผลกระทบรุนแรงต่อภาวะเศรษฐกิจไทยก็ยังมีนโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่มีกระสุนไว้ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจเพียงพอรองรับปัญหาต่างๆ ได้ และการที่ไทยมีหนี้สาธารณะกว่า 40%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ การใช้งบฯ ขาดดุลจำนวน 3.5 แสนล้านบาท ถือว่าเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน”.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ขณะนี้ ธปท.มีความห่วง 2 ด้าน คือ ความเสี่ยงเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดแรงกดดันเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันสถานการณ์ต่างประเทศมีความเสี่ยงพอสมควร ซึ่งก็ต้องจับตาดูว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจในเอเชีย รวมถึงไทยแค่ไหน ฉะนั้นโจทย์สำคัญในขณะนี้ก็ต้องพยายามรักษาความสมดุลระหว่างความเสี่ยงที่เกิดจากการเจริญเติบโตเศรษฐกิจและความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจโลกน่าจะเป็นลักษณะการซึมตัวมากกว่าเศรษฐกิจหดตัวหรือการขยายตัวติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน (Double Dip) โดยเศรษฐกิจสหรัฐยังขยายตัวได้ 1.8% และยุโรปก็ขยายตัวกว่า 1% ถือว่าอัตราการขยายตัวยังเป็นบวกอยู่ แต่ก็ต้องติดตามดูสถานการณ์ต่อไป เพราะขณะนี้ประเทศที่มีปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเด็ดขาด จึงต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
ส่วนความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อมาจากปัจจัย 3 ด้านสำคัญ คือ 1.อุปทานที่เกิดจากราคาอาหารค่อนข้างสูง 2.อุปสงค์ที่เกิดจากอุปโภคบริโภคภายในประเทศและอุปสงค์ต่างประเทศชะลอตัว และ3.แรงคาดการณ์เงินเฟ้อยังสูงอยู่เช่นกัน
สำหรับกรณีที่ธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียอย่างเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียเริ่มชะลออัตราดอกเบี้ยบ้างแล้ว เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆ นั้นผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงเริ่มติดลบน้อยกว่าไทย ทำให้ในเชิงเปรียบเทียบไทยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบมากกว่าอยู่ ซึ่งปัจจุบันติดลบ 0.35% ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุด แต่การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยต้องดูความเหมาะสมของประเทศนั้นๆ มากกว่า เพราะแต่ละประเทศ เพราะภาวะเศรษฐกิจแตกต่างกัน
“อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยค่อยๆ ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 3.50% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงของไทยก็ติดลบน้อยลงพอสมควร ถือว่าเราเดินไปในทิศทางที่ถูกแล้ว และขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยก็ค่อนข้างจะมีเสถียรภาพ”ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ในปัจจุบัน เงินทุนเคลื่อนย้ายไม่ได้พิจารณาแค่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากหลายปัจจัย เห็นได้จากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้กนง.จะประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แทนที่เงินทุนไหลเข้า แต่กลับเงินทุนไหลออกจากการที่นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นออกไป ทำให้เงินบาทไม่ได้แข็งค่าขึ้นมากนัก โดยส่วนหนึ่งอาจเกิดจากข่าวความเสี่ยงต่างๆ ด้วย ทำให้นักลงทุนหันไปถือสกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูงอย่างดอลลาร์สหรัฐส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และขายหุ้นในประเทศกำลับพัฒนา เป็นต้น
ชี้งบขาดดุล 3.5 แสนล. เหมาะสม
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ส่วนประเด็นที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณปี 55 ขาดดุล 3.5 แสนล้านบาทนั้นมองว่าการขาดดุลตัวเลขระดับดังกล่าว ถือว่าเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจไทยกลับสู่ระดับปกติ ต่างกับงบประมาณปีก่อนหน้าตั้งไว้ขาดดุล 4.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้จำเป็นต้องใช้การขาดดุลมากขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
“ไทยควรพยายามรักษาวินัยทางการคลังไว้ด้วย เพราะขณะนี้เหตุการณ์ในต่างประเทศมีความไม่แน่นอนสูง หากเกิดผลกระทบรุนแรงต่อภาวะเศรษฐกิจไทยก็ยังมีนโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่มีกระสุนไว้ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจเพียงพอรองรับปัญหาต่างๆ ได้ และการที่ไทยมีหนี้สาธารณะกว่า 40%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ การใช้งบฯ ขาดดุลจำนวน 3.5 แสนล้านบาท ถือว่าเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน”.