ถ้าท่านผู้อ่านได้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันฉบับวันจันทร์ที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา ก็จะพบว่าเกือบทุกฉบับจะลงข่าวพาดหัวหน้าหนึ่งด้วยคำว่า รัฐบาลดีแต่โม้ อันเป็นคำพูดของ ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย หรือที่เรียกชื่อย่อว่า ทีดีอาร์ไอ โดยที่นักวิชาการท่านนี้ได้วิพากษ์นโยบายรัฐบาล และให้ฉายาว่ารัฐบาลดีแต่โม้ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวไปแล้ว
แต่ในที่นี้ผู้เขียนใคร่ขอนำมาเสนออีกครั้ง โดยจะสรุปเป็นประเด็นเฉพาะเนื้อหาที่เห็นว่าสอดคล้องกับฉายาที่ให้แก่รัฐบาลดังต่อไปนี้
1. ในขณะนี้เห็นนักการเมืองกำลังหันซ้ายหันขวาในการแก้ปัญหาตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชน และโม้ไปวันๆ
2. รัฐบาลต้องการยกระดับราคาข้าว 15,000 บาทต่อตัน เพื่อรักษาสัญญาทางการเมืองที่ประกาศไว้
(เกี่ยวกับเรื่องนี้) รัฐบาลควรมีแนวทางที่ชัดเจนในการบริหารจัดการสต๊อกข้าวที่จะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เพราะจะเป็นภาระการคลังให้แก่ประเทศ แถมประชาชนต้องซื้อข้าวสารบริโภคในราคาแพง และได้เน้นย้ำว่าทีดีอาร์ไอไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้มาตั้งแต่ต้น และบอกด้วยว่าเรื่องนี้มันยากเกินที่จะเยียวยา ทั้งเกินวิสัยที่ทีดีอาร์ไอจะเสนอแนะวิธีการแก้ไขให้รัฐบาลด้วย
จากเนื้อหาทั้งสองประเด็นดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมว่า ทีดีอาร์ไอโดย ดร.อัมมาร สยามวาลา มีทัศนะที่สวนทางหรือขัดแย้งกับแนวคิดของพรรคเพื่อไทยเกี่ยวกับนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่งจากแนวคิดเพื่อหวังผลชนะทางการเมือง โดยไม่มีการศึกษารายละเอียดในการที่จะนำนโยบายมาจัดทำแผน และนำแผนไปเป็นแนวทางปฏิบัติว่าจะมีผลกระทบอะไรตามมาหรือไม่อย่างไร และผลกระทบที่ว่านี้ในระยะยาวแล้วประเทศไทยจะมีปัญหาหมักหมม และสะสมให้ต้องแก้ไขมากน้อยเพียงไร และที่สำคัญคนที่จะต้องมารับผิดชอบในการแก้ไขจะยังคงเป็นคนจากพรรคเพื่อไทยหรือไม่ และถ้ามิใช่คนของพรรคเพื่อไทยจะมิเป็นการสร้างบาปให้ต้องมารับ โดยคนที่เข้ามาแก้ไขมิได้มีส่วนแห่งการก่อบาปนั้น จะเรียกได้ว่าเป็นธรรมหรือ และถ้าเป็นเช่นนี้ทางพรรคเพื่อไทยจะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ในขั้นนี้ทางพรรคเพื่อไทยอาจออกมาตอบโต้ว่าเพิ่งจะลงมือทำงาน ขอให้ประชาชนคอยดูไปก่อน ในช่วงนี้ขอโอกาสทำงานสักระยะหนึ่ง และการออกมาขอโอกาสในทำนองนี้ ถ้าฟังเพียงผิวเผินและด้วยใจที่เปิดกว้างก็พอรับได้
แต่ในหลักการบริหารจะต้องไม่ลืมว่าเก้าอี้บริหารในระดับประเทศมิได้มีไว้ให้คนเข้ามานั่งทดลองงาน โดยมีระยะเวลา 120 วันแล้วค่อยประเมินผลเหมือนตำแหน่งงานในระดับต้นในส่วนราชการ ทั้งนี้ด้วยหลักการและเหตุผลในเชิงตรรกะในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในตำแหน่งบริหารดังต่อไปนี้
1. มีภาวะผู้นำเพียงพอที่จะคิดและสั่งการในระดับนโยบายผ่านทางกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพื่อนำไปจัดทำแผนและส่งต่อให้ผู้บริหารระดับต้นหรือระดับปฏิบัติการนำไปเป็นแนวทางในการทำงานให้เป็นไปตามนโยบาย
ดังนั้นนโยบายที่ดีจะต้องสั้นและชัดเจน (Short and Clear) ไม่คลุมเครือ
2. ผู้บริหารนอกจากจะต้องมีความรู้อันเกิดจากการศึกษาหรือความรู้ที่ได้จากตำรา (Verbal Testimony) แล้ว จะต้องมีความรู้อันเกิดจากการทำงาน หรือที่เรียกว่าประสบการณ์ด้วยตนเอง (Perception) ด้วย
ถ้ามีความรู้อันเกิดจากตำราเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีประสบการณ์ ก็จะได้เห็นนักบริหารพูดเหมือนตำรา แต่ครั้นนำมาปฏิบัติจริงปรากฏว่าทำไม่ได้หรือได้น้อยกว่าที่พูด อันถือได้ว่ามีมาตรฐานต่ำกว่าที่นักบริหารควรจะเป็น
3. ผู้บริหารจะต้องมีความถูกต้อง และตรงกันระหว่างการพูดกับการทำ หรือที่พุทธศาสนาสอนว่า การที่พระพุทธองค์ได้รับการขนานพระนามว่า ตถาคต ก็ด้วยเหตุที่ว่าพระองค์เป็นยถาวาที ตถาการี คือ ตรัสอย่างไร ทำอย่างนั้น
เมื่อเอาประเด็นที่พรรคเพื่อไทยปราศรัยหาเสียงมาเปรียบเทียบกับนโยบายที่แถลงในสภา ประกอบกับการลงมือทำงานของรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ และท่าทีของข้าราชการประจำที่จะต้องนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการต่างๆ แล้วก็พอจะอนุมานได้ว่า ความเห็นในเชิงวิพากษ์นโยบายรัฐบาล และการตั้งฉายาของรัฐบาลชุดนี้ว่าดีแต่โม้ คงเป็นการคาดการณ์ที่นับวันจะเป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ เพียงแต่ว่าจะเป็นทั้งหมดหรือบางส่วนเท่านั้น
แต่ไม่ว่าจะเป็นทั้งหมดหรือบางส่วน ถ้าความจริงที่ว่านี้เกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อผู้คนที่เลือกพรรคเพื่อไทยด้วยความหวังว่าจะได้ในสิ่งที่พรรคนี้ได้สัญญาไว้ เป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อวันนั้นมาถึงคงจะได้เห็นม็อบทวงสัญญาเกิดขึ้น และม็อบที่ว่านี้คงหนีไม่พ้นผู้ใช้แรงงาน และเกษตรกรจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นฐานการเมืองของพรรคเพื่อไทยเป็นส่วนใหญ่ และสิ่งที่พวกเขามาทวงก็คือ ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และราคาข้าวตันละ 15,000 บาทนั่นเอง
แต่บังเอิญปรากฏว่านโยบายปรับลดราคาสินค้าเพื่อช่วยค่าครองชีพไม่บรรลุผล คงจะไม่เพียงคนจากภาคอีสานเท่านั้น แต่คงจะได้เห็นผู้คนจากทุกทิศทั่วไทยต่างพร้อมใจลุกขึ้นทวงสัญญาข้อนี้
ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่คาดการณ์ วันนั้นรัฐบาลชุดนี้คงหนีไม่พ้นต้องพึ่งคนเสื้อแดงอีกครั้งเพื่อออกมาให้กำลังใจ และในขณะเดียวกันทำหน้าที่ปกป้องรัฐบาลจากการเมือง และประชาชนฝ่ายตรงกันข้าม และนี่เองคือจุดล่มสลายของรัฐบาลชุดปู 1
นอกจากจะคาดการณ์โดยอาศัยการพูดและการทำของรัฐบาลแล้ว ผู้เขียนในฐานะโหรสมัครเล่น ก็พอจะคาดเดาโดยอาศัยโหราศาสตร์มาประกอบการคาดการณ์ทางวิชาการได้อีกแนวทางหนึ่ง โดยอาศัยดวงเมืองเป็นหลักดังนี้
จากวันที่ 7 ธันวาคม 54-5 เมษายน 55 ดาวเสาร์โคจรผิดปกติในเรือนที่เจ็ดของดวงเมือง และทำมุมเล็งลัคนากับอาทิตย์ จะเกิดความยุ่งเหยิง วุ่นวายขึ้นในประเทศ อันมีเหตุมาจากผู้ใช้แรงงาน และเกษตรกรลุกขึ้นมาทวงสัญญาจากรัฐบาล พร้อมๆ กันนี้ ดาวพฤหัสบดี จะให้คุณแก่ดวงเมืองน้อยลง จึงทำให้ดาวเสาร์เบียดดวงเมืองเต็มที่ ประกอบกับดาวราหูในเรือนที่แปดเล็งราหูเดิม และตรีโกณจันทร์และพุธ เศรษฐกิจจะตกต่ำ ข้าวของแพง รวมไปถึงการใช้อำนาจรัฐไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้พลังเงียบลุกขึ้นมาต่อต้าน ผสมผสานกับม็อบที่เกิดขึ้นอยู่ก่อน จึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ในช่วง 7 ธันวาคม 54-5 เมษายน 55
แต่ในที่นี้ผู้เขียนใคร่ขอนำมาเสนออีกครั้ง โดยจะสรุปเป็นประเด็นเฉพาะเนื้อหาที่เห็นว่าสอดคล้องกับฉายาที่ให้แก่รัฐบาลดังต่อไปนี้
1. ในขณะนี้เห็นนักการเมืองกำลังหันซ้ายหันขวาในการแก้ปัญหาตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชน และโม้ไปวันๆ
2. รัฐบาลต้องการยกระดับราคาข้าว 15,000 บาทต่อตัน เพื่อรักษาสัญญาทางการเมืองที่ประกาศไว้
(เกี่ยวกับเรื่องนี้) รัฐบาลควรมีแนวทางที่ชัดเจนในการบริหารจัดการสต๊อกข้าวที่จะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เพราะจะเป็นภาระการคลังให้แก่ประเทศ แถมประชาชนต้องซื้อข้าวสารบริโภคในราคาแพง และได้เน้นย้ำว่าทีดีอาร์ไอไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้มาตั้งแต่ต้น และบอกด้วยว่าเรื่องนี้มันยากเกินที่จะเยียวยา ทั้งเกินวิสัยที่ทีดีอาร์ไอจะเสนอแนะวิธีการแก้ไขให้รัฐบาลด้วย
จากเนื้อหาทั้งสองประเด็นดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมว่า ทีดีอาร์ไอโดย ดร.อัมมาร สยามวาลา มีทัศนะที่สวนทางหรือขัดแย้งกับแนวคิดของพรรคเพื่อไทยเกี่ยวกับนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่งจากแนวคิดเพื่อหวังผลชนะทางการเมือง โดยไม่มีการศึกษารายละเอียดในการที่จะนำนโยบายมาจัดทำแผน และนำแผนไปเป็นแนวทางปฏิบัติว่าจะมีผลกระทบอะไรตามมาหรือไม่อย่างไร และผลกระทบที่ว่านี้ในระยะยาวแล้วประเทศไทยจะมีปัญหาหมักหมม และสะสมให้ต้องแก้ไขมากน้อยเพียงไร และที่สำคัญคนที่จะต้องมารับผิดชอบในการแก้ไขจะยังคงเป็นคนจากพรรคเพื่อไทยหรือไม่ และถ้ามิใช่คนของพรรคเพื่อไทยจะมิเป็นการสร้างบาปให้ต้องมารับ โดยคนที่เข้ามาแก้ไขมิได้มีส่วนแห่งการก่อบาปนั้น จะเรียกได้ว่าเป็นธรรมหรือ และถ้าเป็นเช่นนี้ทางพรรคเพื่อไทยจะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ในขั้นนี้ทางพรรคเพื่อไทยอาจออกมาตอบโต้ว่าเพิ่งจะลงมือทำงาน ขอให้ประชาชนคอยดูไปก่อน ในช่วงนี้ขอโอกาสทำงานสักระยะหนึ่ง และการออกมาขอโอกาสในทำนองนี้ ถ้าฟังเพียงผิวเผินและด้วยใจที่เปิดกว้างก็พอรับได้
แต่ในหลักการบริหารจะต้องไม่ลืมว่าเก้าอี้บริหารในระดับประเทศมิได้มีไว้ให้คนเข้ามานั่งทดลองงาน โดยมีระยะเวลา 120 วันแล้วค่อยประเมินผลเหมือนตำแหน่งงานในระดับต้นในส่วนราชการ ทั้งนี้ด้วยหลักการและเหตุผลในเชิงตรรกะในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในตำแหน่งบริหารดังต่อไปนี้
1. มีภาวะผู้นำเพียงพอที่จะคิดและสั่งการในระดับนโยบายผ่านทางกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพื่อนำไปจัดทำแผนและส่งต่อให้ผู้บริหารระดับต้นหรือระดับปฏิบัติการนำไปเป็นแนวทางในการทำงานให้เป็นไปตามนโยบาย
ดังนั้นนโยบายที่ดีจะต้องสั้นและชัดเจน (Short and Clear) ไม่คลุมเครือ
2. ผู้บริหารนอกจากจะต้องมีความรู้อันเกิดจากการศึกษาหรือความรู้ที่ได้จากตำรา (Verbal Testimony) แล้ว จะต้องมีความรู้อันเกิดจากการทำงาน หรือที่เรียกว่าประสบการณ์ด้วยตนเอง (Perception) ด้วย
ถ้ามีความรู้อันเกิดจากตำราเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีประสบการณ์ ก็จะได้เห็นนักบริหารพูดเหมือนตำรา แต่ครั้นนำมาปฏิบัติจริงปรากฏว่าทำไม่ได้หรือได้น้อยกว่าที่พูด อันถือได้ว่ามีมาตรฐานต่ำกว่าที่นักบริหารควรจะเป็น
3. ผู้บริหารจะต้องมีความถูกต้อง และตรงกันระหว่างการพูดกับการทำ หรือที่พุทธศาสนาสอนว่า การที่พระพุทธองค์ได้รับการขนานพระนามว่า ตถาคต ก็ด้วยเหตุที่ว่าพระองค์เป็นยถาวาที ตถาการี คือ ตรัสอย่างไร ทำอย่างนั้น
เมื่อเอาประเด็นที่พรรคเพื่อไทยปราศรัยหาเสียงมาเปรียบเทียบกับนโยบายที่แถลงในสภา ประกอบกับการลงมือทำงานของรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ และท่าทีของข้าราชการประจำที่จะต้องนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการต่างๆ แล้วก็พอจะอนุมานได้ว่า ความเห็นในเชิงวิพากษ์นโยบายรัฐบาล และการตั้งฉายาของรัฐบาลชุดนี้ว่าดีแต่โม้ คงเป็นการคาดการณ์ที่นับวันจะเป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ เพียงแต่ว่าจะเป็นทั้งหมดหรือบางส่วนเท่านั้น
แต่ไม่ว่าจะเป็นทั้งหมดหรือบางส่วน ถ้าความจริงที่ว่านี้เกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อผู้คนที่เลือกพรรคเพื่อไทยด้วยความหวังว่าจะได้ในสิ่งที่พรรคนี้ได้สัญญาไว้ เป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อวันนั้นมาถึงคงจะได้เห็นม็อบทวงสัญญาเกิดขึ้น และม็อบที่ว่านี้คงหนีไม่พ้นผู้ใช้แรงงาน และเกษตรกรจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นฐานการเมืองของพรรคเพื่อไทยเป็นส่วนใหญ่ และสิ่งที่พวกเขามาทวงก็คือ ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และราคาข้าวตันละ 15,000 บาทนั่นเอง
แต่บังเอิญปรากฏว่านโยบายปรับลดราคาสินค้าเพื่อช่วยค่าครองชีพไม่บรรลุผล คงจะไม่เพียงคนจากภาคอีสานเท่านั้น แต่คงจะได้เห็นผู้คนจากทุกทิศทั่วไทยต่างพร้อมใจลุกขึ้นทวงสัญญาข้อนี้
ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่คาดการณ์ วันนั้นรัฐบาลชุดนี้คงหนีไม่พ้นต้องพึ่งคนเสื้อแดงอีกครั้งเพื่อออกมาให้กำลังใจ และในขณะเดียวกันทำหน้าที่ปกป้องรัฐบาลจากการเมือง และประชาชนฝ่ายตรงกันข้าม และนี่เองคือจุดล่มสลายของรัฐบาลชุดปู 1
นอกจากจะคาดการณ์โดยอาศัยการพูดและการทำของรัฐบาลแล้ว ผู้เขียนในฐานะโหรสมัครเล่น ก็พอจะคาดเดาโดยอาศัยโหราศาสตร์มาประกอบการคาดการณ์ทางวิชาการได้อีกแนวทางหนึ่ง โดยอาศัยดวงเมืองเป็นหลักดังนี้
จากวันที่ 7 ธันวาคม 54-5 เมษายน 55 ดาวเสาร์โคจรผิดปกติในเรือนที่เจ็ดของดวงเมือง และทำมุมเล็งลัคนากับอาทิตย์ จะเกิดความยุ่งเหยิง วุ่นวายขึ้นในประเทศ อันมีเหตุมาจากผู้ใช้แรงงาน และเกษตรกรลุกขึ้นมาทวงสัญญาจากรัฐบาล พร้อมๆ กันนี้ ดาวพฤหัสบดี จะให้คุณแก่ดวงเมืองน้อยลง จึงทำให้ดาวเสาร์เบียดดวงเมืองเต็มที่ ประกอบกับดาวราหูในเรือนที่แปดเล็งราหูเดิม และตรีโกณจันทร์และพุธ เศรษฐกิจจะตกต่ำ ข้าวของแพง รวมไปถึงการใช้อำนาจรัฐไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้พลังเงียบลุกขึ้นมาต่อต้าน ผสมผสานกับม็อบที่เกิดขึ้นอยู่ก่อน จึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ในช่วง 7 ธันวาคม 54-5 เมษายน 55