คุณสนธิ ลิ้มทองกุลพูดถึงปัญหาไทย-กัมพูชาตั้งแต่ปลายปี 2548 ว่าเป้าหมายสุดท้ายที่แท้จริงคือขุมพลังงานมหาศาลกว่า 5 ล้านล้านบาทในอ่าวไทย โดยยึดหลักการวิเคราะห์ตามแนวภูมิรัฐศาสตร์เรื่องพลังงานของโลกที่กำหนดโดยประเทศอภิมหาอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนจำนวนหนึ่งก็บอกว่าเป็นเพียง Conspiracy Theory ที่ไม่มีหลักฐานใดรองรับ ขณะที่ผู้คนอีกจำนวนหนึ่งบอกว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน คิดเอาเอง ไกลเกินเชื่อมโยง
ช่างเป็นกรรมของ “ผู้มาก่อนกาลเวลา” โดยแท้ !
ประเด็นนี้กลับมาอีกครั้งในวันนี้ เพราะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีแนวนโยบายชัดเจนที่จะฟื้นฟูสัมพันธ์กัมพูชาเพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งพลังงานในอ่าวไทยโดยแบ่งปันผลประโยชน์กัน โดยกรอบเจรจายังน่าจะเป็นเอ็มโอยู 2544 ที่รัฐบาลชุดที่แล้วหลอกลวงประชาชนและ หลอกลวงวุฒิสภา ว่าจะยกเลิก แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ยกเลิก แถมถูก กัมพูชาเปิดโปงว่ามีการแอบเจรจาลับ ลับกันด้วย
ปัญหาใหญ่ของเอ็มโอยู 2544 คือไปให้ค่ากับเส้นไหล่ทวีปที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดของไทยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 ก่อให้เกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยมากถึงประมาณ 27,000 ตรารางกิโลเมตร
ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ทับซ้อนหากจะมีก็ควรมีน้อยกว่านั้นมาก !
29 ปีนับจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 จนถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ที่ไทยไปลงนามในเอ็มโอยู 2544 นอกจากเราไม่เคยยอมรับเส้นไหล่ทวีปที่รุกล้ำอธิปไตยทะเลอาณาเขตของเกาะกูดที่เป็นอาณาเขตของไทยตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยาม ค.ศ. 1907 ข้อ 2 และไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศใด ๆ รองรับจนผมอยากจะเรียกว่า “เส้นวิปลาส” มากกว่าเส้นไหล่ทวีปแล้ว เรายังได้ประกาศเส้นไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศรองรับในวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 และสั่งให้กองทัพเรือส่งเรือบรบหลวงเข้าประจำการลาดตระเวณในเขตเส้นไหล่ทวีปเพื่อแสดงกรรมสิทธิ์
กัมพูชาในยุคปี 2515 อยู่ภายใต้การปกครองของนายพลลอนนอลที่ทำรัฐประหารโค่นล้มสมเด็จนโรดมสีหนุตั้งแต่ปี 2513 ตั้งตนเป็นผู้นำประเทศและเป็นประธานาธิบดีในระบอบสาธารณรัฐ ภายใต้การหนุนหลังของสหรัฐอเมริกาที่ไม่พอใจสมเด็จนโรดมสีหนุว่าเอียงเข้าข้างจีน
พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เขียนเล่าไว้ในบทความเรื่อง "การเจรจาปัญหาการอ้างเขตไหล่ทวีปทับซ้อนในอ่าวไทยของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน" ผมพบเผยแพร่ในเว็บไซต์โครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สนับสนุนโดย สกว. ตอนหนึ่งว่า....
"การเจรจาปัญหาเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชา เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2513 ซึ่งขณะนั้นกัมพูชายังไม่ได้ประกาศเขตไหล่ทวีป ไทยมีประกาศพื้นที่สัมปทานของกรมทรัพยากรธรณีเมื่อพ.ศ. 2510 การเจรจาครั้งแรกเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเส้นเขตไหล่ ทวีปไทย-กัมพูชา ซึ่งตกลงว่าจะได้มีการเจรจากันในโอกาสต่อไปหลังการเจรจาครั้งแรกแล้ว ต่อมาไม่นาน การเมืองภายในของกัมพูชาก็มีปัญหาอย่างรุนแรงถึงขั้นเปลี่ยนระบอบการปกครองไปเป็นสาธารณรัฐภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีลอนนอล..
“ในสมัยรัฐบาลลอนนอลนี้เอง เมื่อปีพ.ศ. 2515 กัมพูชาก็มีประกาศเขตไหล่ทวีป รัฐบาลไทยขณะนั้นได้พยายามประสานรัฐบาลลอนนอลเพื่อให้มีการเจรจาเกี่ยวกับเขตไหล่ทวีป เพราะหน่วยงานและประชาชนคนไทยเป็นอันมากข้องใจเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากจากหลักเขตแดนที่ 73 ผ่านเกือบกลางเกาะกูดออกไปในทะเล...
“เมื่อกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปเดือนกรกฏาคม 2515 ในเดือนมกราคม 2516 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการเจรจาสิทธิและขอบเขตไหล่ทวีป โดยจอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการ องค์ประกอบอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ภายหลังที่รับหน้าที่ประธานได้ระยะหนึ่ง จอมพลประภาสฯได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้หารือโดยตรงกับลอนนอลขอให้มีการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะเส้นเขตไหล่ทวีปกัมพูชาที่ประกาศเมื่อพ.ศ. 2515 ทำให้ไทยข้องใจในท่าทีของรัฐบาลลอนนอลเกี่ยวกับเกาะกูด...
“ท่านเล่าว่า... ลอนนอลเรียนท่านว่า เส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในเขตไหล่ทวีปกัมพูชา ลอนนอลไม่มีความมุ่งประสงค์ใด ๆ เกี่ยวกับเกาะกูดของไทยทั้งสิ้น และพร้อมที่จะมีการปรับปรุงเส้นดังกล่าว...
“แต่ขณะนั้นการเมืองภายในของกัมพูชาคับขันมาก ฝ่ายค้านและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพยายามหาประเด็นที่จะปลุกระดมประชาชน และต่อต้านรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา หากมีการเจรจาเรื่องเส้นเขตแดนไม่ว่าผลการเจรจาจะออกมาเช่นไร ก็คงจะเป็นประเด็นที่จะนำไปโจมตีรัฐบาลได้ เพราะฉะนั้นเป็นตายอย่างไรก็คงจะให้มีการเจรจาขณะนี้ไม่ได้ ขอชะลอไปก่อนจนกว่าทุกอย่างจะดีขึ้นกว่านี้ แต่ปรากฏว่าไม่มีอะไรดีขึ้นสำหรับลอนนอลจนกัมพูชาถูกยึดครองโดยเขมรแดงไปในที่สุด ลอนนอลก็ลี้ภัยไปอยู่สหรัฐอเมริกา..."
นี่ไม่ใช่คำพูดของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และไม่ใช่ของพล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ที่อาจจะถูกส่ายหน้าปฏิเสธได้อีกว่าเป็นพันธมิตรฯ แต่เป็นคำพูดของผู้รู้ที่อยู่ในเหตุการณ์โดยตรง และไม่ได้เป็นพันธมิตรฯ ไม่ได้มีความคิดเห็นเหมือนกับพันธมิตรฯ
เห็นปมเงื่อนเวลาในประวัติศาสตร์จากข้อเขียนของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภไหมครับ ?
กัมพูชาประกาศเส้นวิปลาสกรกฎาคม 2515 จอมพลประภาส จารุเสถียรไม่ยอมรับ และลงมากำกับคณะกรรมการเจรจาด้วยตัวท่านเองในเดือนมกราคม 2516 จนได้คำสารภาพจากนายพลลอนนอลว่าทำไปเพราะเป็นความประสงค์ของบริษัทน้ำมันเอกชนซึ่งไม่ต้องบอกก็รู้ว่าคือสหรัฐอเมริกา พร้อมปรับให้ เพราะขณะนั้นทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาเหมือนกัน แต่ขอไว้ก่อนเพราะการเมืองภายในกัมพูชากำลังร้อน
จอมพลประภาส จารุเสถียรแม้ได้ชื่อว่าเป็นเผด็จการแต่ก็ยอดคนครับ ท่านไม่รอชะตากรรมอย่างเดียว แต่ประกาศเส้นไหล่ทวีปที่ชอบด้วยหลักกฎหมายระหว่างประเทศของไทยออกมาในเดือนพฤษภาคม 2516 และส่งเรือรบหลวงเข้าประจำการ
เป็นการกระทำเพื่อแสดงกรรมสิทธิของไทยไว้ก่อน เป็นมรดกพื้นฐานให้คนรุ่นหลังแก้ไขต่อไป
แล้ว 29 ปีต่อมา คนรุ่นหลังทำอะไรกับมรดกพื้นฐานนั้นในกรณีเอ็มโอยู 2544 ??
คำถามข้างต้นผมคงไม่ต้องบอกให้เจ็บปวดกันอีก และคงไม่ต้องเปรียบเทียบว่าเหมือนกันหรือไม่กับการที่คนรุ่นเราทำอะไรกับมรดกพื้นฐานอีกชิ้นหนึ่งที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์มอบไว้ให้ในเดือนกรกฎาคม 2505 ที่ประกาศสงวนสิทธิคัดค้านไม่เห็นดั้วยกับคำพิพากษาศาลโลกกรณีปราสาทพระวิหาร เพราะมันจะเจ็บปวดเพิ่มขึ้น
ก็คงจะได้แบ่งปันความเจ็บปวดนี้ในวาระกระทู้ถามด่วนของผมในวุฒิสภาวันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2554 นี้
ช่างเป็นกรรมของ “ผู้มาก่อนกาลเวลา” โดยแท้ !
ประเด็นนี้กลับมาอีกครั้งในวันนี้ เพราะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีแนวนโยบายชัดเจนที่จะฟื้นฟูสัมพันธ์กัมพูชาเพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งพลังงานในอ่าวไทยโดยแบ่งปันผลประโยชน์กัน โดยกรอบเจรจายังน่าจะเป็นเอ็มโอยู 2544 ที่รัฐบาลชุดที่แล้วหลอกลวงประชาชนและ หลอกลวงวุฒิสภา ว่าจะยกเลิก แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ยกเลิก แถมถูก กัมพูชาเปิดโปงว่ามีการแอบเจรจาลับ ลับกันด้วย
ปัญหาใหญ่ของเอ็มโอยู 2544 คือไปให้ค่ากับเส้นไหล่ทวีปที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดของไทยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 ก่อให้เกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยมากถึงประมาณ 27,000 ตรารางกิโลเมตร
ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ทับซ้อนหากจะมีก็ควรมีน้อยกว่านั้นมาก !
29 ปีนับจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 จนถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ที่ไทยไปลงนามในเอ็มโอยู 2544 นอกจากเราไม่เคยยอมรับเส้นไหล่ทวีปที่รุกล้ำอธิปไตยทะเลอาณาเขตของเกาะกูดที่เป็นอาณาเขตของไทยตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยาม ค.ศ. 1907 ข้อ 2 และไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศใด ๆ รองรับจนผมอยากจะเรียกว่า “เส้นวิปลาส” มากกว่าเส้นไหล่ทวีปแล้ว เรายังได้ประกาศเส้นไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศรองรับในวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 และสั่งให้กองทัพเรือส่งเรือบรบหลวงเข้าประจำการลาดตระเวณในเขตเส้นไหล่ทวีปเพื่อแสดงกรรมสิทธิ์
กัมพูชาในยุคปี 2515 อยู่ภายใต้การปกครองของนายพลลอนนอลที่ทำรัฐประหารโค่นล้มสมเด็จนโรดมสีหนุตั้งแต่ปี 2513 ตั้งตนเป็นผู้นำประเทศและเป็นประธานาธิบดีในระบอบสาธารณรัฐ ภายใต้การหนุนหลังของสหรัฐอเมริกาที่ไม่พอใจสมเด็จนโรดมสีหนุว่าเอียงเข้าข้างจีน
พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เขียนเล่าไว้ในบทความเรื่อง "การเจรจาปัญหาการอ้างเขตไหล่ทวีปทับซ้อนในอ่าวไทยของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน" ผมพบเผยแพร่ในเว็บไซต์โครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สนับสนุนโดย สกว. ตอนหนึ่งว่า....
"การเจรจาปัญหาเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชา เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2513 ซึ่งขณะนั้นกัมพูชายังไม่ได้ประกาศเขตไหล่ทวีป ไทยมีประกาศพื้นที่สัมปทานของกรมทรัพยากรธรณีเมื่อพ.ศ. 2510 การเจรจาครั้งแรกเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเส้นเขตไหล่ ทวีปไทย-กัมพูชา ซึ่งตกลงว่าจะได้มีการเจรจากันในโอกาสต่อไปหลังการเจรจาครั้งแรกแล้ว ต่อมาไม่นาน การเมืองภายในของกัมพูชาก็มีปัญหาอย่างรุนแรงถึงขั้นเปลี่ยนระบอบการปกครองไปเป็นสาธารณรัฐภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีลอนนอล..
“ในสมัยรัฐบาลลอนนอลนี้เอง เมื่อปีพ.ศ. 2515 กัมพูชาก็มีประกาศเขตไหล่ทวีป รัฐบาลไทยขณะนั้นได้พยายามประสานรัฐบาลลอนนอลเพื่อให้มีการเจรจาเกี่ยวกับเขตไหล่ทวีป เพราะหน่วยงานและประชาชนคนไทยเป็นอันมากข้องใจเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากจากหลักเขตแดนที่ 73 ผ่านเกือบกลางเกาะกูดออกไปในทะเล...
“เมื่อกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปเดือนกรกฏาคม 2515 ในเดือนมกราคม 2516 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการเจรจาสิทธิและขอบเขตไหล่ทวีป โดยจอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการ องค์ประกอบอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ภายหลังที่รับหน้าที่ประธานได้ระยะหนึ่ง จอมพลประภาสฯได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้หารือโดยตรงกับลอนนอลขอให้มีการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะเส้นเขตไหล่ทวีปกัมพูชาที่ประกาศเมื่อพ.ศ. 2515 ทำให้ไทยข้องใจในท่าทีของรัฐบาลลอนนอลเกี่ยวกับเกาะกูด...
“ท่านเล่าว่า... ลอนนอลเรียนท่านว่า เส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในเขตไหล่ทวีปกัมพูชา ลอนนอลไม่มีความมุ่งประสงค์ใด ๆ เกี่ยวกับเกาะกูดของไทยทั้งสิ้น และพร้อมที่จะมีการปรับปรุงเส้นดังกล่าว...
“แต่ขณะนั้นการเมืองภายในของกัมพูชาคับขันมาก ฝ่ายค้านและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพยายามหาประเด็นที่จะปลุกระดมประชาชน และต่อต้านรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา หากมีการเจรจาเรื่องเส้นเขตแดนไม่ว่าผลการเจรจาจะออกมาเช่นไร ก็คงจะเป็นประเด็นที่จะนำไปโจมตีรัฐบาลได้ เพราะฉะนั้นเป็นตายอย่างไรก็คงจะให้มีการเจรจาขณะนี้ไม่ได้ ขอชะลอไปก่อนจนกว่าทุกอย่างจะดีขึ้นกว่านี้ แต่ปรากฏว่าไม่มีอะไรดีขึ้นสำหรับลอนนอลจนกัมพูชาถูกยึดครองโดยเขมรแดงไปในที่สุด ลอนนอลก็ลี้ภัยไปอยู่สหรัฐอเมริกา..."
นี่ไม่ใช่คำพูดของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และไม่ใช่ของพล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ที่อาจจะถูกส่ายหน้าปฏิเสธได้อีกว่าเป็นพันธมิตรฯ แต่เป็นคำพูดของผู้รู้ที่อยู่ในเหตุการณ์โดยตรง และไม่ได้เป็นพันธมิตรฯ ไม่ได้มีความคิดเห็นเหมือนกับพันธมิตรฯ
เห็นปมเงื่อนเวลาในประวัติศาสตร์จากข้อเขียนของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภไหมครับ ?
กัมพูชาประกาศเส้นวิปลาสกรกฎาคม 2515 จอมพลประภาส จารุเสถียรไม่ยอมรับ และลงมากำกับคณะกรรมการเจรจาด้วยตัวท่านเองในเดือนมกราคม 2516 จนได้คำสารภาพจากนายพลลอนนอลว่าทำไปเพราะเป็นความประสงค์ของบริษัทน้ำมันเอกชนซึ่งไม่ต้องบอกก็รู้ว่าคือสหรัฐอเมริกา พร้อมปรับให้ เพราะขณะนั้นทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาเหมือนกัน แต่ขอไว้ก่อนเพราะการเมืองภายในกัมพูชากำลังร้อน
จอมพลประภาส จารุเสถียรแม้ได้ชื่อว่าเป็นเผด็จการแต่ก็ยอดคนครับ ท่านไม่รอชะตากรรมอย่างเดียว แต่ประกาศเส้นไหล่ทวีปที่ชอบด้วยหลักกฎหมายระหว่างประเทศของไทยออกมาในเดือนพฤษภาคม 2516 และส่งเรือรบหลวงเข้าประจำการ
เป็นการกระทำเพื่อแสดงกรรมสิทธิของไทยไว้ก่อน เป็นมรดกพื้นฐานให้คนรุ่นหลังแก้ไขต่อไป
แล้ว 29 ปีต่อมา คนรุ่นหลังทำอะไรกับมรดกพื้นฐานนั้นในกรณีเอ็มโอยู 2544 ??
คำถามข้างต้นผมคงไม่ต้องบอกให้เจ็บปวดกันอีก และคงไม่ต้องเปรียบเทียบว่าเหมือนกันหรือไม่กับการที่คนรุ่นเราทำอะไรกับมรดกพื้นฐานอีกชิ้นหนึ่งที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์มอบไว้ให้ในเดือนกรกฎาคม 2505 ที่ประกาศสงวนสิทธิคัดค้านไม่เห็นดั้วยกับคำพิพากษาศาลโลกกรณีปราสาทพระวิหาร เพราะมันจะเจ็บปวดเพิ่มขึ้น
ก็คงจะได้แบ่งปันความเจ็บปวดนี้ในวาระกระทู้ถามด่วนของผมในวุฒิสภาวันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2554 นี้