เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีการเกษตร ยืนยันให้กรมวิชาการเกษตรยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารพิษร้ายแรง 4 ชนิด
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีการเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการหลายสาขา องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และเครือข่ายเกษตรกร แถลงยืนยันให้กรมวิชาการเกษตรประกาศยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4 ชนิด ได้แก่ อีพีเอ็น คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส ก่อนวันที่ 22 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ผู้ประกอบการจะต้องเอาสารเคมีการเกษตรมาขึ้นทะเบียนใหม่ตามกฎหมาย
หลังจากมีความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการสารเคมีการเกษตรให้ยืดระยะเวลาการขึ้นทะเบียนสารเคมีการเกษตรออกไปอีก 2 ปี และมีแนวโน้มว่ากรมวิชาการเกษตรซึ่งดูแลวัตถุอันตรายการเกษตรตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตรายเตรียมอนุญาตให้สารเคมีอันตรายหลายชนิดสามารถขึ้นทะเบียนได้นั้น เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีการเกษตรร่วมกันแถลงข้อเรียกร้องต่อกรมวิชาการเกษตร โดยนายแพทย์ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งมีพิษภัยร้ายแรงมากที่สุด 4 ชนิด ได้แก่ อีพีเอ็น คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส เพราะจากผลการศึกษาพบว่าสารเคมีดังกล่าวมีความเป็นพิษสูงมาก สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในเอเชียได้ห้ามใช้ไปแล้ว เนื่องจากมีพิษภัยร้ายแรงต่อมนุษย์ สัตว์ เช่นเดียวกับผลการทดลองในประเทศไทยโดย ดร.สุภาพร ใจการุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่พบว่าแม้สารเคมีทั้ง 4 ชนิดจะมีผลในการลดจำนวนแมลงศัตรูพืชแต่ก็จะได้ผลเพียงระยะสั้น เพราะสารพิษดังกล่าวได้ทำลายแมลงตัวห้ำตัวเบียนซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชในระยะยาว
ทั้งนี้ นายแพทย์ ปัตพงษ์ ยังได้เรียกร้องให้มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2551 อย่างเคร่งครัด โดยไม่ปล่อยให้มีการยืดเวลาการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชออกไปอีก 2 ปี ตามข้อเสนอของผู้ประกอบการ
ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้เปิดเผยผลการสำรวจของสำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงใหม่ ที่พบว่าผู้บริโภคกว่า 60% ตรวจพบสารเคมีการเกษตรตกค้างในเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาหารที่บริโภค ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุในการควบคุมการใช้ การนำเข้า การยกเลิกสารเคมีที่เป็นอันตรายควรจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระทรวงเกษตร เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคอยากเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรปฏิรูประบบการควบคุมการใช้ การนำเข้า การยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายให้เข้มงวด ให้โปร่งใส โดยต้องเปิดเผยข้อมูลการขึ้นทะเบียนสารเคมีของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และอนุกรรมการชุดต่างๆ ให้ผู้บริโภคทราบอย่างโปร่งใส ทั้งนี้ โดยให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี 2552 ที่ระบุว่า “ก่อนการประกาศขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรทุกประเภทให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยขั้นตอนการขึ้นทะเบียน และข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบก่อนการพิจารณา และให้เปิดเผยคำชี้แจงและเหตุผลประกอบการพิจารณาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย” และเรียกร้องไปถึงรัฐบาลให้เร่งผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อจะได้ช่วยสนับสนุนในการให้ความเห็นและตรวจสอบกระทรวงเกษตรตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ต่อไป
หากองค์กรผู้บริโภคพบว่าการดำเนินการของหน่วยงานราชการดำเนินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจะพิจารณาฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป
ทางด้านนายนพดล มั่นศักดิ์ ผู้ประสานงานมูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์ ได้ให้ข้อมูลภาคสนาม โดยยืนยันว่า การยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารพิษทั้ง 4 ชนิดจะไม่กระทบต่อเกษตรกรแต่ประการใด เนื่องจากมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีกเป็นจำนวนมากที่สามารถใช้แทนสารดังกล่าวได้ และที่สำคัญเครือข่ายโรงเรียนชาวนาในจังหวัดนครสวรรค์สามารถพัฒนาทางเลือกการทำนาที่แทบไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงเลย โดยการศึกษาความรู้เรื่องแมลงในแปลงนา และจัดระบบการทำนาที่รักษาความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นา
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีการเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการหลายสาขา องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และเครือข่ายเกษตรกร แถลงยืนยันให้กรมวิชาการเกษตรประกาศยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4 ชนิด ได้แก่ อีพีเอ็น คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส ก่อนวันที่ 22 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ผู้ประกอบการจะต้องเอาสารเคมีการเกษตรมาขึ้นทะเบียนใหม่ตามกฎหมาย
หลังจากมีความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการสารเคมีการเกษตรให้ยืดระยะเวลาการขึ้นทะเบียนสารเคมีการเกษตรออกไปอีก 2 ปี และมีแนวโน้มว่ากรมวิชาการเกษตรซึ่งดูแลวัตถุอันตรายการเกษตรตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตรายเตรียมอนุญาตให้สารเคมีอันตรายหลายชนิดสามารถขึ้นทะเบียนได้นั้น เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีการเกษตรร่วมกันแถลงข้อเรียกร้องต่อกรมวิชาการเกษตร โดยนายแพทย์ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งมีพิษภัยร้ายแรงมากที่สุด 4 ชนิด ได้แก่ อีพีเอ็น คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส เพราะจากผลการศึกษาพบว่าสารเคมีดังกล่าวมีความเป็นพิษสูงมาก สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในเอเชียได้ห้ามใช้ไปแล้ว เนื่องจากมีพิษภัยร้ายแรงต่อมนุษย์ สัตว์ เช่นเดียวกับผลการทดลองในประเทศไทยโดย ดร.สุภาพร ใจการุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่พบว่าแม้สารเคมีทั้ง 4 ชนิดจะมีผลในการลดจำนวนแมลงศัตรูพืชแต่ก็จะได้ผลเพียงระยะสั้น เพราะสารพิษดังกล่าวได้ทำลายแมลงตัวห้ำตัวเบียนซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชในระยะยาว
ทั้งนี้ นายแพทย์ ปัตพงษ์ ยังได้เรียกร้องให้มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2551 อย่างเคร่งครัด โดยไม่ปล่อยให้มีการยืดเวลาการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชออกไปอีก 2 ปี ตามข้อเสนอของผู้ประกอบการ
ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้เปิดเผยผลการสำรวจของสำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงใหม่ ที่พบว่าผู้บริโภคกว่า 60% ตรวจพบสารเคมีการเกษตรตกค้างในเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาหารที่บริโภค ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุในการควบคุมการใช้ การนำเข้า การยกเลิกสารเคมีที่เป็นอันตรายควรจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระทรวงเกษตร เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคอยากเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรปฏิรูประบบการควบคุมการใช้ การนำเข้า การยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายให้เข้มงวด ให้โปร่งใส โดยต้องเปิดเผยข้อมูลการขึ้นทะเบียนสารเคมีของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และอนุกรรมการชุดต่างๆ ให้ผู้บริโภคทราบอย่างโปร่งใส ทั้งนี้ โดยให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี 2552 ที่ระบุว่า “ก่อนการประกาศขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรทุกประเภทให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยขั้นตอนการขึ้นทะเบียน และข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบก่อนการพิจารณา และให้เปิดเผยคำชี้แจงและเหตุผลประกอบการพิจารณาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย” และเรียกร้องไปถึงรัฐบาลให้เร่งผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อจะได้ช่วยสนับสนุนในการให้ความเห็นและตรวจสอบกระทรวงเกษตรตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ต่อไป
หากองค์กรผู้บริโภคพบว่าการดำเนินการของหน่วยงานราชการดำเนินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจะพิจารณาฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป
ทางด้านนายนพดล มั่นศักดิ์ ผู้ประสานงานมูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์ ได้ให้ข้อมูลภาคสนาม โดยยืนยันว่า การยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารพิษทั้ง 4 ชนิดจะไม่กระทบต่อเกษตรกรแต่ประการใด เนื่องจากมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีกเป็นจำนวนมากที่สามารถใช้แทนสารดังกล่าวได้ และที่สำคัญเครือข่ายโรงเรียนชาวนาในจังหวัดนครสวรรค์สามารถพัฒนาทางเลือกการทำนาที่แทบไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงเลย โดยการศึกษาความรู้เรื่องแมลงในแปลงนา และจัดระบบการทำนาที่รักษาความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นา