ASTVผู้จัดการรายวัน - ส.ว.ทำคลอด 11 กสทช.แล้ว หลังป่วนสภาสูงโวยวิธีการไม่โปร่งใส สังคมจับตามองลงคะแนนลับกว่า 4 ชั่วโมง บิ๊กทหารตบเท้ายึดตำแหน่งเพียบ “เศรษฐพงศ์” ได้คะแนนมากสุด
วานนี้ (5 ก.ย.) ที่รัฐสภา การประชุมวุฒิสภา มี พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาวาระด่วน การเลือกกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดย น.ส.ทัศนา บุญทอง ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการ กสทช.ได้นำเสนอรายงานผลการศึกษา โดยแยกส่วนเป็นเอกสารที่สามารถเปิดเผยได้ และในส่วนที่เป็นรายงานลับ เนื่องจากมีข้อมูลการร้องเรียนผู้ได้รับการเสนอชื่อจากบุคคลภายนอก
เมื่อ น.ส.ทัศนา รายงานจบ บรรยากาศตึงเครียดขึ้นมาทันที เมื่อ นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ อภิปรายถึงข้อมูลความไม่โปร่งใสในกระบวนการสรรหาฯ โดยระบุว่า มีผู้ร้องเรียนมายังคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ที่ตนเป็นประธาน มาก โดยเฉพาะมีการกระทำขัดต่อ พ.ร.บ.กสทช.มาตรา 15 วรรคหก จึงรู้สึกกังวลว่าจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของวุฒิสภา เพราะสถานะองค์กรที่ทำหน้าที่สรรหาฯ กับผู้ถูกเสนอชื่อบางคนเกี่ยวพันกัน ขณะที่บางองค์กรจัดตั้งขึ้นมาโดยไม่มีกฎหมายรองรับ
ทำให้ นายมณเฑียร บุญตัน ส.ว.สรรหา ลุกขึ้นประท้วงว่า นายจิตติพจน์ พูดเท็จเกี่ยวกับองค์กรคนพิการ เพราะใครๆ ก็รู้ หน่วยราชการก็รู้ว่าสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย กับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรเดียวกัน ทำให้ นายจิตติพจน์ ใช้สิทธิ์พาดพิง โดยยืนยันว่า จากข้อมูลที่ได้รับมีความไม่ปกติเกิดขึ้นแน่นอน ตนไม่ได้ดูหมิ่น แต่กฎหมายคือกฎหมาย ถูกต้องคือถูกต้อง ความเป็นเพื่อนเป็นพวกไม่สามารถหยุดความจริงได้ ทำให้บรรยากาศวุ่นวายหนักขึ้น เมื่อ ส.ว.แต่ละฝ่ายผลัดกันลุกขึ้นประท้วง
โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา กรรมาธิการสามัญฯ ยืนยันว่า กระบวนการตรวจสอบเหล่านี้ได้ผ่านขั้นตอนของวุฒิสภาไปแล้ว เรามีหน้าที่ต้องเดินหน้าลงมติเลือก ส่วนเรื่องถูกต้องหรือไม่ไม่ใช่เรื่องของวุฒิสภา เป็นเรื่องที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งขณะนี้มีเรื่องอยู่ในศาลปกครอง 5 สำนวน ส่วนใครได้รับความเสียหายก็ไปยื่นฟ้องศาลได้ ที่สุด พล.อ.ธีรเดช ต้องตัดบทให้เข้าสู่การประชุมลับเมื่อเวลา 11.35 น.
สำหรับบุคคลที่วุฒิสภาลงคะแนนเลือกเป็น กสทช.11 คน ประกอบด้วย ด้านกิจการกระจายเสียง พล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี ได้ 73 คะแนน เป็นนายทหารรุ่น ตท.6 รุ่นเดียวกับ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี และ พล.อ.อ.ชาลี จันทร์เรือง ส.ว.สรรหา ในอดีตเคยเป็น เสธ.ทอ.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร สังกัดสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(องค์การมหาชน) ด้านกิจการโทรคมนาคม พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ได้ 112 คะแนน อดีต กทช. ปัจจุบันเป็นรักษาการ กสทช.อดีตรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ได้ 118 คะแนน นายทหารฝ่ายกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กระทรวงกลาโหม ด้านกฎหมาย 2 คน คือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ 109 คะแนน และ พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า อดีต ผกก.สภ.สีชมพู จ.ขอนแก่น ได้ 67 คะแนน
ด้านกิจการโทรทัศน์ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ 62 คะแนน ด้านเศรษฐศาสตร์ 2 คน คือ นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (เศรษศาสตร์ ประจำ กทช.) ได้ 110 คะแนน และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ผอ.ศูนย์คอมพิวเตอร์ และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ 58 คะแนน สำหรับกลุ่มตัวแทนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในส่วนของด้านกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คือ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ได้ 95 คะแนน ส่วนด้านกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม คือ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผอ.สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช.ได้ 78 คะแนน และกลุ่มผู้มีผลงาน มีความเชี่ยวชาญประสบการณ์ด้านการศึกษา วัฒนธรรม หรือการพัฒนาสังคม คือ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย ได้ 72 คะแนน3
ทั้งนี้ จากการลงมติของ ส.ว.ในการเลือก กสทช.ถือว่า เกือบจะทั้งหมดเป็นไปตามโพยรายชื่อบล็อกโหวตที่มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นช่วงโค้งสุดท้ายในการวิ่งหาคะแนน ปรากฏว่า มีการแลกเปลี่ยนโพยชื่อระหว่าง ส.ว.กลุ่มต่างๆ ที่พยายามผลักดันคนที่ตัวเองสนับสนุน ซึ่งถือว่าแต่ละกลุ่มทำยอดเข้าเป้ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า กสทช.ชุดนี้เกินครึ่งเป็นเครือข่ายคนในกองทัพ สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ประธานวุฒิสภาจะส่งรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็น กสทช.ให้กับนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งต่อไป โดย กสทช.จะมีวาระการดำรงตำแหน่งทั้งสิ้น 6 ปี หรือผู้มีอายุครบ 70 ปี ต้องพ้นวาระ
วานนี้ (5 ก.ย.) ที่รัฐสภา การประชุมวุฒิสภา มี พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาวาระด่วน การเลือกกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดย น.ส.ทัศนา บุญทอง ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการ กสทช.ได้นำเสนอรายงานผลการศึกษา โดยแยกส่วนเป็นเอกสารที่สามารถเปิดเผยได้ และในส่วนที่เป็นรายงานลับ เนื่องจากมีข้อมูลการร้องเรียนผู้ได้รับการเสนอชื่อจากบุคคลภายนอก
เมื่อ น.ส.ทัศนา รายงานจบ บรรยากาศตึงเครียดขึ้นมาทันที เมื่อ นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ อภิปรายถึงข้อมูลความไม่โปร่งใสในกระบวนการสรรหาฯ โดยระบุว่า มีผู้ร้องเรียนมายังคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ที่ตนเป็นประธาน มาก โดยเฉพาะมีการกระทำขัดต่อ พ.ร.บ.กสทช.มาตรา 15 วรรคหก จึงรู้สึกกังวลว่าจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของวุฒิสภา เพราะสถานะองค์กรที่ทำหน้าที่สรรหาฯ กับผู้ถูกเสนอชื่อบางคนเกี่ยวพันกัน ขณะที่บางองค์กรจัดตั้งขึ้นมาโดยไม่มีกฎหมายรองรับ
ทำให้ นายมณเฑียร บุญตัน ส.ว.สรรหา ลุกขึ้นประท้วงว่า นายจิตติพจน์ พูดเท็จเกี่ยวกับองค์กรคนพิการ เพราะใครๆ ก็รู้ หน่วยราชการก็รู้ว่าสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย กับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรเดียวกัน ทำให้ นายจิตติพจน์ ใช้สิทธิ์พาดพิง โดยยืนยันว่า จากข้อมูลที่ได้รับมีความไม่ปกติเกิดขึ้นแน่นอน ตนไม่ได้ดูหมิ่น แต่กฎหมายคือกฎหมาย ถูกต้องคือถูกต้อง ความเป็นเพื่อนเป็นพวกไม่สามารถหยุดความจริงได้ ทำให้บรรยากาศวุ่นวายหนักขึ้น เมื่อ ส.ว.แต่ละฝ่ายผลัดกันลุกขึ้นประท้วง
โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา กรรมาธิการสามัญฯ ยืนยันว่า กระบวนการตรวจสอบเหล่านี้ได้ผ่านขั้นตอนของวุฒิสภาไปแล้ว เรามีหน้าที่ต้องเดินหน้าลงมติเลือก ส่วนเรื่องถูกต้องหรือไม่ไม่ใช่เรื่องของวุฒิสภา เป็นเรื่องที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งขณะนี้มีเรื่องอยู่ในศาลปกครอง 5 สำนวน ส่วนใครได้รับความเสียหายก็ไปยื่นฟ้องศาลได้ ที่สุด พล.อ.ธีรเดช ต้องตัดบทให้เข้าสู่การประชุมลับเมื่อเวลา 11.35 น.
สำหรับบุคคลที่วุฒิสภาลงคะแนนเลือกเป็น กสทช.11 คน ประกอบด้วย ด้านกิจการกระจายเสียง พล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี ได้ 73 คะแนน เป็นนายทหารรุ่น ตท.6 รุ่นเดียวกับ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี และ พล.อ.อ.ชาลี จันทร์เรือง ส.ว.สรรหา ในอดีตเคยเป็น เสธ.ทอ.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร สังกัดสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(องค์การมหาชน) ด้านกิจการโทรคมนาคม พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ได้ 112 คะแนน อดีต กทช. ปัจจุบันเป็นรักษาการ กสทช.อดีตรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ได้ 118 คะแนน นายทหารฝ่ายกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กระทรวงกลาโหม ด้านกฎหมาย 2 คน คือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ 109 คะแนน และ พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า อดีต ผกก.สภ.สีชมพู จ.ขอนแก่น ได้ 67 คะแนน
ด้านกิจการโทรทัศน์ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ 62 คะแนน ด้านเศรษฐศาสตร์ 2 คน คือ นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (เศรษศาสตร์ ประจำ กทช.) ได้ 110 คะแนน และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ผอ.ศูนย์คอมพิวเตอร์ และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ 58 คะแนน สำหรับกลุ่มตัวแทนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในส่วนของด้านกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คือ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ได้ 95 คะแนน ส่วนด้านกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม คือ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผอ.สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช.ได้ 78 คะแนน และกลุ่มผู้มีผลงาน มีความเชี่ยวชาญประสบการณ์ด้านการศึกษา วัฒนธรรม หรือการพัฒนาสังคม คือ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย ได้ 72 คะแนน3
ทั้งนี้ จากการลงมติของ ส.ว.ในการเลือก กสทช.ถือว่า เกือบจะทั้งหมดเป็นไปตามโพยรายชื่อบล็อกโหวตที่มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นช่วงโค้งสุดท้ายในการวิ่งหาคะแนน ปรากฏว่า มีการแลกเปลี่ยนโพยชื่อระหว่าง ส.ว.กลุ่มต่างๆ ที่พยายามผลักดันคนที่ตัวเองสนับสนุน ซึ่งถือว่าแต่ละกลุ่มทำยอดเข้าเป้ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า กสทช.ชุดนี้เกินครึ่งเป็นเครือข่ายคนในกองทัพ สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ประธานวุฒิสภาจะส่งรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็น กสทช.ให้กับนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งต่อไป โดย กสทช.จะมีวาระการดำรงตำแหน่งทั้งสิ้น 6 ปี หรือผู้มีอายุครบ 70 ปี ต้องพ้นวาระ