สเตรตส์ไทมส์ - สื่อสิงคโปร์เผย SMRT โต้ “น้องธันย์” ประมาทเอง-ปัดจ่ายค่าเสียหาย บ.รถไฟฟ้าสิงคโปร์ฟ้องกลับน้องธันย์ 102 ล้านบ. อ้างประมาทไม่ระมัดระวังอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้ขาขาด
บริษัทเอสเอ็มอาร์ที (SMRT) ผู้ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในสิงคโปร์ ยื่นคำร้องคัดค้านการชำระค่าเสียหายมูลค่า 3.4 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 81 ล้านบาท) แก่ครอบครัวของ ด.ญ.ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ หรือน้องธันย์ เด็กไทยวัย 14 ปี ผู้สูญเสียขาทั้งสองข้าง จากอุบัติเหตุพลัดตกรางรถไฟฟ้า ณ สถานีอังมอเกียว (Ang Mo Kio) เมื่อวันที่ 3 เมษายน หนังสือพิมพ์สเตรตส์ไทมส์ของสิงคโปร์รายงาน เมื่อวันศุกร์ (2) ที่ผ่านมา
เอสเอ็มอาร์ทียืนกรานว่า มีมาตรการรักษาความปลอดภัยภายในสถานีรถไฟฟ้าที่เกิดเหตุเพียงพอ พร้อมทั้งโต้แย้งว่า น้องธันย์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อต่อการรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเอง ระหว่างรอรถไฟฟ้าเข้าเทียบชานชาลา
เอกสารคำร้องโต้แย้งของบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ที่ยื่นต่อศาลสูงเมื่อวันพุธ (31 ส.ค.) ฉบับนี้ยังระบุว่า น้องธันย์พลัดตกลงรางรถไฟจากการกระทำของตัวเอง โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการละเลยต่อสิ่งรอบข้าง, การเพิกเฉยต่อการเตรียมพร้อม และขาดความระมัดระวัง ขณะรถไฟฟ้ากำลังเทียบชานชาลา
รายงานระบุว่า บริษัทSMRT ผู้ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าของสิงคโปร์ ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 3.4 ล้านดอลลาร์ หรือเป็นเงินไทยราว 102 ล้านบาท จากครอบครัวน้องธันย์ หรือ ด.ญ.ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ อายุ 14 ปี นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร.ร.จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.ตรัง ซึ่งเดินทางไปเรียนซัมเมอร์คอร์สภาษาอังกฤษ เคมบริดจ์ ที่ประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดประสบอุบัติเหตุโดนคนเบียดจนตกรางรถไฟฟ้าทับขาขาดทั้งสองข้าง เมื่อช่วงเดือน เม.ย.
โดย SMRT ระบุในเอกสารยื่นฟ้องว่า บริษัทได้ใช้มาตรการอย่างเพียงพอในการดูแลความปลอดภัยผู้โดยสารรถไฟฟ้าที่อยู่ในสถานีรถไฟฟ้าแล้ว แต่ด.ญ.ณิชชารีย์ ได้ละเลยต่อความปลอดภัยของตัวเองขณะยืนรอรถไฟ โดยเธอได้ตกลงยังรางรถไฟฟ้าด้วยการกระทำของเธอตัวเอง และว่า เธอได้ก่ออุบัติเหตุโดยไม่สนใจต่อสิ่งรอบข้างและไม่มองรถไฟฟ้าที่กำลังจะวิ่งมา และด.ญ.ณิชชารีย์ ไม่ได้ป้องกันตัวเองอย่างเพียงพอ
รายงานระบุว่า ก่อนหน้านี้ นายกิตติ์ธเนศ เป็นเอกชนะศักดิ์ บิดาของด.ญ.ณิชารีย์ ได้ยื่นฟ้องบริษัทSMRT ต่อศาลสิงคโปร์เพื่อให้ดำเนินคดีกับบริษัทSMRT ที่ดูแลรถไฟฟ้าของสิงคโปร์ ในข้อหาไม่แสดงความรับผิดชอบ โดยกรณีน้องธันย์ประสบอุบัติเหตุขาขาดทั้งสองข้าง โดยบริษัทมีการจ่ายเงินชดเชยให้เพียง 120,000 บาทเท่านั้นกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น.
บริษัทเอสเอ็มอาร์ที (SMRT) ผู้ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในสิงคโปร์ ยื่นคำร้องคัดค้านการชำระค่าเสียหายมูลค่า 3.4 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 81 ล้านบาท) แก่ครอบครัวของ ด.ญ.ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ หรือน้องธันย์ เด็กไทยวัย 14 ปี ผู้สูญเสียขาทั้งสองข้าง จากอุบัติเหตุพลัดตกรางรถไฟฟ้า ณ สถานีอังมอเกียว (Ang Mo Kio) เมื่อวันที่ 3 เมษายน หนังสือพิมพ์สเตรตส์ไทมส์ของสิงคโปร์รายงาน เมื่อวันศุกร์ (2) ที่ผ่านมา
เอสเอ็มอาร์ทียืนกรานว่า มีมาตรการรักษาความปลอดภัยภายในสถานีรถไฟฟ้าที่เกิดเหตุเพียงพอ พร้อมทั้งโต้แย้งว่า น้องธันย์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อต่อการรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเอง ระหว่างรอรถไฟฟ้าเข้าเทียบชานชาลา
เอกสารคำร้องโต้แย้งของบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ที่ยื่นต่อศาลสูงเมื่อวันพุธ (31 ส.ค.) ฉบับนี้ยังระบุว่า น้องธันย์พลัดตกลงรางรถไฟจากการกระทำของตัวเอง โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการละเลยต่อสิ่งรอบข้าง, การเพิกเฉยต่อการเตรียมพร้อม และขาดความระมัดระวัง ขณะรถไฟฟ้ากำลังเทียบชานชาลา
รายงานระบุว่า บริษัทSMRT ผู้ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าของสิงคโปร์ ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 3.4 ล้านดอลลาร์ หรือเป็นเงินไทยราว 102 ล้านบาท จากครอบครัวน้องธันย์ หรือ ด.ญ.ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ อายุ 14 ปี นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร.ร.จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.ตรัง ซึ่งเดินทางไปเรียนซัมเมอร์คอร์สภาษาอังกฤษ เคมบริดจ์ ที่ประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดประสบอุบัติเหตุโดนคนเบียดจนตกรางรถไฟฟ้าทับขาขาดทั้งสองข้าง เมื่อช่วงเดือน เม.ย.
โดย SMRT ระบุในเอกสารยื่นฟ้องว่า บริษัทได้ใช้มาตรการอย่างเพียงพอในการดูแลความปลอดภัยผู้โดยสารรถไฟฟ้าที่อยู่ในสถานีรถไฟฟ้าแล้ว แต่ด.ญ.ณิชชารีย์ ได้ละเลยต่อความปลอดภัยของตัวเองขณะยืนรอรถไฟ โดยเธอได้ตกลงยังรางรถไฟฟ้าด้วยการกระทำของเธอตัวเอง และว่า เธอได้ก่ออุบัติเหตุโดยไม่สนใจต่อสิ่งรอบข้างและไม่มองรถไฟฟ้าที่กำลังจะวิ่งมา และด.ญ.ณิชชารีย์ ไม่ได้ป้องกันตัวเองอย่างเพียงพอ
รายงานระบุว่า ก่อนหน้านี้ นายกิตติ์ธเนศ เป็นเอกชนะศักดิ์ บิดาของด.ญ.ณิชารีย์ ได้ยื่นฟ้องบริษัทSMRT ต่อศาลสิงคโปร์เพื่อให้ดำเนินคดีกับบริษัทSMRT ที่ดูแลรถไฟฟ้าของสิงคโปร์ ในข้อหาไม่แสดงความรับผิดชอบ โดยกรณีน้องธันย์ประสบอุบัติเหตุขาขาดทั้งสองข้าง โดยบริษัทมีการจ่ายเงินชดเชยให้เพียง 120,000 บาทเท่านั้นกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น.